คุณ Gkon Kontax ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นพี่ ไปดูมา ได้เขียนในเฟซบุ๊ก
ได้รับอนุญาตให้นำมาแปะที่นี่ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
.......................................................................................
เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา มีโอกาสไปชมการแสดงละครเพลงเรื่อง "โหมโรง เดอะมิวสิคัล"
ที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ (KBank Siam Pic-Ganesha) ชั้น7 สยามสแควร์วัน รอบนี้เป็นรอบสำหรับสื่อมวลชน
**คำเตือน - บทความแสดงความเห็นต่อละครเพลง "โหมโรง เดอะมิวสิคัล" ครั้งนี้
เปิดเผยการลำดับเนื้อหาหลายส่วน อาจส่งผลต่อการเสพงานละครของท่าน **
...........
"โหมโรง เดอะมิวสิคัล" ดัดแปลงเป็นละครเพลงจากบทประพันธ์ของ คุณอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ เล่าเรื่องชีวิตของ "ศร" (หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)) คนระนาดที่ผ่านทั้งยุคทองรุ่งเรืองสูงสุดและยุคตกต่ำที่สุดของวงการดนตรีไทย กำกับการแสดงโดย คุณธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม ร่วมกับ ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ ซึ่งรับหน้าที่ฝึกสอนการแสดงด้วย
ไปชมมาแล้ว เป็นยังไง ดีไหม มีเพื่อนถามด้วยความสนใจตามประสาคนคอเดียวกันที่รักใคร่ใหลหลงศิลปะการแสดงบนเวทีประเภทนี้ และเผื่อเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจด้วยว่าควรค่าแก่การซื้อตั๋วเข้าชมหรือไม่
ดีไหม ขอตอบว่า 'ดี' แต่... 'ดีเป็นส่วนๆ ดีเป็นจุดๆ' ข้อดีที่พบก็ดีมาก ชอบมากกกกก ข้อด้อยที่ไม่ชอบก็เป็นส่วนสำคัญของงานละครเพลงทีเดียว
มาว่าถึงข้อดีกันก่อน
ละครทำได้ดีในแง่ของการสื่อสารความเป็นไทย หากใครที่เป็นคอดนตรีไทย ตั้งใจว่าจะไปดูเรื่องนี้เพื่อชื่นชมการแสดงดนตรีไทยชั้นดีแล้วละก็ บอกได้เลยว่า มีฉากดีๆ ให้ดูจุใจพอสมควร โดยเฉพาะฉากไฮไลต์ของเรื่องอย่างการประชันระนาดระหว่างนายศรและขุนอินทร์ที่เคยทำให้เราระทึกขวัญมาแล้วเมื่อคราวชมภาพยนตร์ ในละครเพลงครั้งนี้ก็ทำได้ดี น่าตื่นตาตื่นใจสมกับความคาดหวังไม่แพ้กัน
ชอบอกว่าน่าทึ่ง น่าตื่นเต้น น่าอัศจรรย์มากกับการได้เห็นฉากที่นักแสดงเอกทั้งสองท่านดวลระนาดกันอย่างถึงพริกถึงขิง เล่นกันสดๆ ไม่มีกั๊ก ดุเดือด
สนุก สมจริงมาก (เพราะเล่นจริง ไม่ได้ซิงค์เสียง 555) สะใจสมใจคนดูอย่างเราเป็นอันมาก งานนี้ต้องขอชื่นชมคุณอาร์ม กรกันต์เป็นพิเศษ ยิ่งเมื่อได้รู้ภายหลังว่าคุณอาร์มไม่เคยเล่นระนาดมาก่อน แต่มาฝึกทีหลังเพื่อรับบทนี้โดยเฉพาะนี่ ต้องขอยกนิ้วให้เลย สุดยอดมากๆ
เอาเป็นว่าใครชอบดนตรีไทย รับรองได้ฟินกับฉากนี้แน่นอน นอกจากนั้นก็ยังมีฉากดีๆ หลายฉากที่ได้ดูนักแสดงเล่นดนตรีกันสดๆ ทั้งเล่นเดี่ยวและบรรเลงเป็นวง
งานส่วนอื่นๆ ก็ถือว่าทำได้สมราคา โปรดัคชั่นดี ฉากสวย กำกับฉากลื่นไหล องค์ประกอบศิลป์สวย งานเก๋ไก๋ไม่ไก่กา มีการใช้เทคนิคสมัยใหม่อย่างการฉายภาพเคลื่อนไหวบนจอประกอบเหตุการณ์เนื้อเรื่องให้สมจริง มีมิติ ให้ความรู้สึกร่วม เสริมให้ละครดูมีค่าถึงที่สุด
มีหลายฉากที่ออกแบบได้งดงาม ฉลาด และทำได้วิจิตรพิสดารจริงๆ อย่างฉากนายศรนอนรำพึงในเรือเป็นต้น ขอบอกว่าสวยมากกกกกก
ทีนี้ มาว่ากันถึงข้อ..ที่ขอเรียกว่าไม่ชอบ ก็แล้วกัน
นั่นคือบทละคร
บทละครที่ผู้กำกับบอกว่าเป็นบทละครดัดแปลงนี้..เรียกว่าดัดแปลงก็จริง แต่ปรากฏว่า การเดินเรื่องก็ยังเป็นไปตามแบบพล็อตหนัง ซึ่งเป็นภาษาภาพยนตร์ ยังไม่ใช้ภาษาของละครเวทีอย่างเต็มที่มีประสิทธิภาพนัก เนื้อเรื่องจะตัดกลับไปกลับมาระหว่างอดีตและปัจจุบัน เดี๋ยวๆ เล่าเรื่องตอนหนุ่ม พ่อกำลังจะพาพระเอกเข้าบางกอกครั้งแรกเพื่อไปเปิดหูเปิดตา ตัดฉับไป มาอีกฉากเป็นท่านครูศรในวัยชรา เล่นๆ ไปสักเพลงสองเพลง ตัดกลับมาตอนหนุ่มต่อจากฉากเมื่อกี้อีก แล้วสักพักก็ตัดกลับไปตอนเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เชื่อผู้นำชาติพ้นภัยอีก ตัดกลับไปกลับมาๆ เช่นนี้ตลอดทั้งเรื่อง
เป็นการตัดกลับไปกลับมาโดยไม่มีเหตุผลรองรับ ไม่มีจุดเชื่อม ไม่มีตัวเชื่อมใดๆ ไม่มีการเสริมต่อซึ่งกันและกันระหว่างฉาก เช่นว่าฉากวัยหนุ่มมีเหตุอะไรที่ส่งผลกระทบไปถึงฉากวัยชรา แล้วฉากวัยชรามีอะไรที่พาให้ตัวละคร(และคนดู)ต้องย้อนกลับไปค้นหาในวัยหนุ่ม การรับส่งระหว่างฉากข้ามเวลาไม่มี การเดินเรื่องทั้งหมดเป็นแต่เพียงการเล่าเหตุการณ์สลับเวลาเฉยๆ เท่านั้น เหมือนเราอ่านหนังสือบทที่ 1-2-3 ตัดกลับไป 10-11 ตัดกลับมา 4-5 ตัดกลับไป 12-13 ผลคือไม่สามารถดึงให้เราเข้าไปอยู่ในเรื่องได้ ทำให้เราไม่รู้สึกร่วมไปกับละคร ไม่มีการเร่งเร้าความสนใจคนดูให้พุ่งขึ้นๆๆๆ เพราะอารมณ์คนดูถูกตัดจบ ฉับๆๆ ขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา
คือถ้าจะใช้เทคนิคเดินเรื่องแบบนี้ มันควรมีแกนกลาง หรือแก่นของเรื่อง หรืออะไรบางอย่างที่เป็นหลัก ซึ่งสะกิดให้คนดูกลับไปนึกถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเล่าเรื่องในวัยหนุ่มหรือวัยชรา แต่นี่ไม่มีประเด็นให้คนดูสนใจและติดตามทั้งนั้น อะไรเป็นสาเหตุของตรงนี้ แล้วพอถึงตรงนั้น เราควรจะกลับไปนึกถึงอะไรที่มันเชื่อมโยงมาจากเหตุก่อนหน้า สิ่งเหล่านี้ควรมี แต่ก็ไม่มีเลย
นอกจากกลวิธีเล่าเรื่องสลับวัยแล้ว การแบ่งเนื้อหาเป็นสององก์อย่างที่เห็น ไม่ได้ช่วยให้คนดูเกิดอารมณ์คล้อยตามจนถึงกับช่วย 'ลุ้น' ไปกับตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยหนุ่ม หรือวัยชรา องก์แรกตัดจบที่ความว้าวุ่นและกังวลใจของนายศรเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูคนสำคัญ แต่พอขึ้นองก์สองกลับกลายเป็นฉากนายทหารร้องเล่นเต้นรำกับดนตรียุคใหม่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ นับเป็นการจบองก์ของละครเพลงที่ไม่กระแทกใจใดๆ ให้ผู้ชมจดจำ ซ้ำร้าย พอเปิดองก์สอง เรื่องราวที่เกิดขึ้นกลับไม่เกี่ยวโยงกับท้ายองก์แรกที่เพิ่งผ่านไป ไม่ตามติดถึงสิ่งที่ทิ้งค้างไว้ใดๆ เลย
เลยกลายเป็นว่า บทละครเพลงเรื่องนี้เล่าเรื่องชีวิตทั้งสองช่วงไปพร้อมๆ กันแบบคู่ขนาน แล้วจับเอาไฮไลต์ทั้งสองวัยไประเบิดอยู่ตอนจบของเรื่องในองก์สอง ทำให้สารหลักของโหมโรงที่พยายามสื่อให้คนดูเห็นถึงความสำคัญของเสียงดนตรี ของรากเหง้าวัฒนธรรมไทย ที่บอกกล่าวผ่านคำพูดตัวละครและเพลงต่างๆ ตั้งแต่องก์แรกจนถึงองก์ที่สอง กลับอ่อนด้อยจนไม่ส่งผลกระทบถึงใจคนดูจนทำให้สะเทือนใจอย่างที่ควรจะเป็น
ในเรื่องโหมโรง เหตุการณ์สำคัญในชีวิตครูศร ศิลปบรรเลง มีสองช่วงคือ ช่วงวัยหนุ่ม ซึ่งจะไปถึงจุดคลี่คลายในตอนดวลระนาดกับขุนอินทร์ กับช่วงวัยแก่ ที่ครูศรประสบมรสุมชีวิต จากความขัดแย้งเมื่อเกิดการปะทะกันทางความคิดระหว่างรากเหง้าวัฒนธรรมเดิมกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ถาโถมมากับกระแสโลกยุคใหม่
ส่วนตัวกลับมองว่า จะดีกว่าไหม ถ้าเดินเรื่องโดยแบ่งช่วงชีวิตของนายศรให้ชัดเจนไปเลย ให้องก์แรกบอกเล่าถึงที่มาตั้งแต่วัยเด็ก ความหวัง ความใฝ่ฝัน เสียงที่ได้ยินในหัว ไล่เรื่อยไปจนถึงจุดสูงสุดของชีวิตในวัยหนุ่มในตอนจบองก์แรก ให้จบแบบอลังการด้วยฉากประชันระนาด ให้คนดูสะเทือนใจในคุณค่าและความสำคัญของดนตรีที่หล่อหลอมนายศรมาตลอดตั้งแต่ต้น
น่าจะเป็นการจบองก์แรกที่มีความหมาย มีความยิ่งใหญ่อะไรบางอย่างที่ประทับใจผู้ชม
จากนั้นเปิดองก์สองด้วยความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันเมื่อนายศร ณ บัดนี้ ในวัยชรา กลายเป็นท่านครูที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือ มีหน้ามีตา ด้วยเพลงที่เล่าถึงความสำคัญของดนตรีและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่ประกอบขึ้นมาเป็นวง (ฉากนายเทิดเข้าพบครูศรเป็นครั้งแรก) จากนั้นค่อยเล่าถึงอุปสรรคและศัตรูใหญ่ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและวัฒนธรรม
เช่นนี้จะทำให้เห็นภาพความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างองก์แรกและองก์สอง จากความยิ่งใหญ่ของดนตรีไทยที่ปูเรื่องมาในองก์แรก ให้เห็นว่ามีความท้าทายอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นแล้ว กลายเป็นแรงปะทะสำคัญที่ทำให้คนดูติดตามในองก์สอง ว่าเรื่องราวอุปสรรคชีวิตของท่านครูจะดำเนินไปอย่างไรจนถึงตอนจบเมื่อได้รับการยอมรับนับถือด้วยใจจริงจากพันโทวีระนายทหารใหญ่ศัตรูตัวฉกาจ (ฉากเล่นระนาดของท่านครู แสดงโดยคุณสุประวัติ ปัทมสูต ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ถือเป็นฉากยิ่งใหญ่ที่ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีอยู่แล้ว)
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้ได้ข้อสรุปว่า "ละครเรื่องนี้ ถามว่าดีไหม -ดี- ดีเป็นจุดๆ" โทนและภาพรวมของเรื่อง คือขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา
สำหรับเรื่องเพลง ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับภาพรวมของละคร เพลงมีทั้งดีและไม่ดี บางเพลงดีมาก เพราะมาก ทำนองงดงาม คำร้องสละสลวย สัมผัสนอกสัมผัสในแพรวพราว (ตัวอย่างเช่นเพลงที่นายศรพบหน้าแม่โชติ) ในขณะที่บางเพลงกลับรู้สึกว่า ..ทำไมถึงกลายเป็นคนละเรื่อง ระดับภาษาที่ใช้ไม่สม่ำเสมอกันเลย ซ้ำบางเพลงแทบหาสัมผัสไม่เจอด้วยซ้ำ
รู้สึกเหมือนกับทีมงานโยนเนื้อหาทั้งเรื่องแบ่งไปให้คนสิบคนช่วยกันทำเพลงคนละเพลง เพลงธีมของแต่ละคนก็ไม่มี ดนตรีจากส่วนที่เป็นเพลงดีๆ ที่ควรจะเอามาทำ reprise ก็ไม่ทำ อะไรทำนองนี้
ถามว่าร้องดีไหม-ร้องดี เล่นดีไหม-เล่นดี มุกตลกถูกจริตคนดูไทยมีไหม-มี และเวิร์ค นักแสดงโดยรวมทำหน้าที่ได้ดีไม่มีที่ติ แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่การเอาทั้งหมดมารวมกัน ยังรู้สึกว่าไม่ลงตัวทีเดียวนัก
อย่างไรก็ตาม เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ มาถึงคำถามสำคัญคือ น่าไปดูไหม สมควรซื้อตั๋วไปดูหรือไม่ ก็ยังจะขอตอบว่า ขอให้ไปดูเถอะ เพราะอย่างน้อย ก็จะได้เห็นความตั้งใจทำงานของคนทำ ถึงแม้คะแนนสำหรับภาพรวมอาจน้อยไปหน่อย
แต่งานแสดงชุดนี้ ยังถือว่ามีข้อดีอยู่มากทีเดียว ควรค่าแก่การไปสัมผัสสักครั้ง คนดูจะได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่หาดูไม่ได้ง่ายนักจากงานละครเพลงในเมืองไทย โดยเฉพาะการนำเสนอเรื่องราวว่าด้วยรากเหง้าวัฒนธรรมของชาติเรา
-----------------------------------------------------------------------------
จบความเห็นเรื่องละครแล้ว ขอต่อเรื่องการบริหารจัดการของโรงละครสักนิด
ขอเล่าถึงสิ่งที่พบเห็นในวันดูละคร และขอเสนอแนะข้อคิดเห็นนิดๆ หน่อยๆ ดังนี้
1. การกวดขันเรื่องเวลาเข้าชมการแสดง
รอบที่ไปดู พนักงานเหมือนยังไม่พร้อม ขนาดถึงเวลาทุ่มครึ่งตามกำหนดที่ควรเริ่มแสดงแล้ว ก็ยังไม่ปล่อยให้ผู้ชมเข้าโรง กว่าจะเข้าโรงหมดและเริ่มแสดงก็ปาเข้าไปทุ่มกว่า ไม่แน่ใจว่ารอบอื่นๆ หลังจากวันนั้น เป็นเช่นนี้หรือไม่ อยากให้ทางทีมงานและโรงละครปรับปรุงด้วย ทั้งนี้ ควรให้ผู้ชมเริ่มทะยอยเข้าโรงตั้งแต่ทุ่มตรง ควรมีกริ่งเตือนให้ผู้ชมที่ยังยืนรีรอออกันอยู่ด้านนอกรีบเข้าโรงก่อนเวลา อย่างน้อยคือเตือน 2 ครั้ง (10 นาที และ 5 นาทีก่อนการแสดง) เพื่อป้องกันความขลุกขลักและล่าช้าของการแสดง)
2. การประกาศเรื่องมารยาทการชมการแสดง
ควรมีประกาศย้ำเรื่องมารยาทของการชมการแสดง จำได้ว่ามีพูดเตือนเรื่องเครื่องมือสื่อสาร แต่เรื่องที่ไม่ได้ประกาศเตือนคือ ให้ผู้ชมงดการส่งเสียงใดๆ ทั้งสิ้น
ไม่ว่าการพูดคุยโดยไม่จำเป็น หรือการส่งเสียงกรอบแกรบจากถุงกระดาษ ถุงพลาสติก ฯลฯ ทั้งนี้ รอบที่ได้ดู มีคนดูสองท่านด้านหน้า พูดคุยกันเกือบทุกระยะ ส่วนด้านหลังมีคนดูบอกบท พากย์นำสองครั้ง (พอพระเอกหยิบซอ นางก็จะบอกว่า "อุ้ย เดี๋ยวเจอนางเอก" ท่านครูร้องเพลงท่อนสุดท้าย ทิ้งค้างไว้ ขาดอีก 2 คำ นางก็ต่อคำร้องออกมาให้ได้ยินว่า "..ยังไง" (เนื้อร้องสองคำสุดท้าย) คือนางคิดในใจไม่เป็น และเก็บความอวดรู้ไว้กับตนเองไม่ได้ ต้องระบายออกมาให้ผู้ชมรอบข้างได้ยิน สิ่งเหล่านี้ ไม่ควรเกิดขึ้น หรืออย่างน้อย ควรประกาศเตือนให้ผู้ชมทุกท่านทราบแต่เนิ่นๆ ว่าไม่ควรทำ ขอทางโรงละครโปรดพิจารณาเรื่องเพิ่มคำประกาศเตือนข้อนี้ด้วย
3. การดูแลผู้ชมช่วงพักครึ่ง
ตอนพักครึ่ง ข้าพเจ้าออกจากโรงเพื่อเข้าห้องน้ำ ปรากฏว่า ที่ทางออก พนักงานขอเอาหมึกประทับตราที่ข้อมือ (ทำนองว่ากันคนนอกแอบเข้ามาในโรง) ขอบอกว่านี่เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้ข้อมือเลอะเทอะสกปรกโดยไม่จำเป็น นี่ไม่ใช่การแสดงคอนเสิร์ต ที่จะมีใครแอบเข้ามาขอดูครึ่งหลัง คือจะประทับตราข้อมือไปเพื่ออะไร จะมีชาวบ้านที่ไหนแอบเข้ามาดูสนุกด้วยเฉพาะแค่ครึ่งหลังของเรื่อง อีกอย่างหนึ่ง เท่าที่สังเกตดูพื้นที่โดยรอบบริเวณห้องน้ำ ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครเล็ดลอดเข้ามาได้ การวางพนักงานดักไว้น่าจะดีพอแล้ว หรือขอให้ผู้ชมนำตั๋วติดตัวไปด้วย ไม่ควรใช้ตรายางประทับข้อมือให้เลอะเทอะเช่นนี้ ขอให้พิจารณายกเลิกเสีย
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ไปดู "โหมโรง เดอะมิวสิคัล" เมื่อ ๓ เม.ย. ๕๘
ได้รับอนุญาตให้นำมาแปะที่นี่ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
.......................................................................................
เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา มีโอกาสไปชมการแสดงละครเพลงเรื่อง "โหมโรง เดอะมิวสิคัล"
ที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ (KBank Siam Pic-Ganesha) ชั้น7 สยามสแควร์วัน รอบนี้เป็นรอบสำหรับสื่อมวลชน
**คำเตือน - บทความแสดงความเห็นต่อละครเพลง "โหมโรง เดอะมิวสิคัล" ครั้งนี้
เปิดเผยการลำดับเนื้อหาหลายส่วน อาจส่งผลต่อการเสพงานละครของท่าน **
...........
"โหมโรง เดอะมิวสิคัล" ดัดแปลงเป็นละครเพลงจากบทประพันธ์ของ คุณอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ เล่าเรื่องชีวิตของ "ศร" (หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)) คนระนาดที่ผ่านทั้งยุคทองรุ่งเรืองสูงสุดและยุคตกต่ำที่สุดของวงการดนตรีไทย กำกับการแสดงโดย คุณธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม ร่วมกับ ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ ซึ่งรับหน้าที่ฝึกสอนการแสดงด้วย
ไปชมมาแล้ว เป็นยังไง ดีไหม มีเพื่อนถามด้วยความสนใจตามประสาคนคอเดียวกันที่รักใคร่ใหลหลงศิลปะการแสดงบนเวทีประเภทนี้ และเผื่อเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจด้วยว่าควรค่าแก่การซื้อตั๋วเข้าชมหรือไม่
ดีไหม ขอตอบว่า 'ดี' แต่... 'ดีเป็นส่วนๆ ดีเป็นจุดๆ' ข้อดีที่พบก็ดีมาก ชอบมากกกกก ข้อด้อยที่ไม่ชอบก็เป็นส่วนสำคัญของงานละครเพลงทีเดียว
มาว่าถึงข้อดีกันก่อน
ละครทำได้ดีในแง่ของการสื่อสารความเป็นไทย หากใครที่เป็นคอดนตรีไทย ตั้งใจว่าจะไปดูเรื่องนี้เพื่อชื่นชมการแสดงดนตรีไทยชั้นดีแล้วละก็ บอกได้เลยว่า มีฉากดีๆ ให้ดูจุใจพอสมควร โดยเฉพาะฉากไฮไลต์ของเรื่องอย่างการประชันระนาดระหว่างนายศรและขุนอินทร์ที่เคยทำให้เราระทึกขวัญมาแล้วเมื่อคราวชมภาพยนตร์ ในละครเพลงครั้งนี้ก็ทำได้ดี น่าตื่นตาตื่นใจสมกับความคาดหวังไม่แพ้กัน
ชอบอกว่าน่าทึ่ง น่าตื่นเต้น น่าอัศจรรย์มากกับการได้เห็นฉากที่นักแสดงเอกทั้งสองท่านดวลระนาดกันอย่างถึงพริกถึงขิง เล่นกันสดๆ ไม่มีกั๊ก ดุเดือด
สนุก สมจริงมาก (เพราะเล่นจริง ไม่ได้ซิงค์เสียง 555) สะใจสมใจคนดูอย่างเราเป็นอันมาก งานนี้ต้องขอชื่นชมคุณอาร์ม กรกันต์เป็นพิเศษ ยิ่งเมื่อได้รู้ภายหลังว่าคุณอาร์มไม่เคยเล่นระนาดมาก่อน แต่มาฝึกทีหลังเพื่อรับบทนี้โดยเฉพาะนี่ ต้องขอยกนิ้วให้เลย สุดยอดมากๆ
เอาเป็นว่าใครชอบดนตรีไทย รับรองได้ฟินกับฉากนี้แน่นอน นอกจากนั้นก็ยังมีฉากดีๆ หลายฉากที่ได้ดูนักแสดงเล่นดนตรีกันสดๆ ทั้งเล่นเดี่ยวและบรรเลงเป็นวง
งานส่วนอื่นๆ ก็ถือว่าทำได้สมราคา โปรดัคชั่นดี ฉากสวย กำกับฉากลื่นไหล องค์ประกอบศิลป์สวย งานเก๋ไก๋ไม่ไก่กา มีการใช้เทคนิคสมัยใหม่อย่างการฉายภาพเคลื่อนไหวบนจอประกอบเหตุการณ์เนื้อเรื่องให้สมจริง มีมิติ ให้ความรู้สึกร่วม เสริมให้ละครดูมีค่าถึงที่สุด
มีหลายฉากที่ออกแบบได้งดงาม ฉลาด และทำได้วิจิตรพิสดารจริงๆ อย่างฉากนายศรนอนรำพึงในเรือเป็นต้น ขอบอกว่าสวยมากกกกกก
ทีนี้ มาว่ากันถึงข้อ..ที่ขอเรียกว่าไม่ชอบ ก็แล้วกัน
นั่นคือบทละคร
บทละครที่ผู้กำกับบอกว่าเป็นบทละครดัดแปลงนี้..เรียกว่าดัดแปลงก็จริง แต่ปรากฏว่า การเดินเรื่องก็ยังเป็นไปตามแบบพล็อตหนัง ซึ่งเป็นภาษาภาพยนตร์ ยังไม่ใช้ภาษาของละครเวทีอย่างเต็มที่มีประสิทธิภาพนัก เนื้อเรื่องจะตัดกลับไปกลับมาระหว่างอดีตและปัจจุบัน เดี๋ยวๆ เล่าเรื่องตอนหนุ่ม พ่อกำลังจะพาพระเอกเข้าบางกอกครั้งแรกเพื่อไปเปิดหูเปิดตา ตัดฉับไป มาอีกฉากเป็นท่านครูศรในวัยชรา เล่นๆ ไปสักเพลงสองเพลง ตัดกลับมาตอนหนุ่มต่อจากฉากเมื่อกี้อีก แล้วสักพักก็ตัดกลับไปตอนเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เชื่อผู้นำชาติพ้นภัยอีก ตัดกลับไปกลับมาๆ เช่นนี้ตลอดทั้งเรื่อง
เป็นการตัดกลับไปกลับมาโดยไม่มีเหตุผลรองรับ ไม่มีจุดเชื่อม ไม่มีตัวเชื่อมใดๆ ไม่มีการเสริมต่อซึ่งกันและกันระหว่างฉาก เช่นว่าฉากวัยหนุ่มมีเหตุอะไรที่ส่งผลกระทบไปถึงฉากวัยชรา แล้วฉากวัยชรามีอะไรที่พาให้ตัวละคร(และคนดู)ต้องย้อนกลับไปค้นหาในวัยหนุ่ม การรับส่งระหว่างฉากข้ามเวลาไม่มี การเดินเรื่องทั้งหมดเป็นแต่เพียงการเล่าเหตุการณ์สลับเวลาเฉยๆ เท่านั้น เหมือนเราอ่านหนังสือบทที่ 1-2-3 ตัดกลับไป 10-11 ตัดกลับมา 4-5 ตัดกลับไป 12-13 ผลคือไม่สามารถดึงให้เราเข้าไปอยู่ในเรื่องได้ ทำให้เราไม่รู้สึกร่วมไปกับละคร ไม่มีการเร่งเร้าความสนใจคนดูให้พุ่งขึ้นๆๆๆ เพราะอารมณ์คนดูถูกตัดจบ ฉับๆๆ ขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา
คือถ้าจะใช้เทคนิคเดินเรื่องแบบนี้ มันควรมีแกนกลาง หรือแก่นของเรื่อง หรืออะไรบางอย่างที่เป็นหลัก ซึ่งสะกิดให้คนดูกลับไปนึกถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเล่าเรื่องในวัยหนุ่มหรือวัยชรา แต่นี่ไม่มีประเด็นให้คนดูสนใจและติดตามทั้งนั้น อะไรเป็นสาเหตุของตรงนี้ แล้วพอถึงตรงนั้น เราควรจะกลับไปนึกถึงอะไรที่มันเชื่อมโยงมาจากเหตุก่อนหน้า สิ่งเหล่านี้ควรมี แต่ก็ไม่มีเลย
นอกจากกลวิธีเล่าเรื่องสลับวัยแล้ว การแบ่งเนื้อหาเป็นสององก์อย่างที่เห็น ไม่ได้ช่วยให้คนดูเกิดอารมณ์คล้อยตามจนถึงกับช่วย 'ลุ้น' ไปกับตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยหนุ่ม หรือวัยชรา องก์แรกตัดจบที่ความว้าวุ่นและกังวลใจของนายศรเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูคนสำคัญ แต่พอขึ้นองก์สองกลับกลายเป็นฉากนายทหารร้องเล่นเต้นรำกับดนตรียุคใหม่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ นับเป็นการจบองก์ของละครเพลงที่ไม่กระแทกใจใดๆ ให้ผู้ชมจดจำ ซ้ำร้าย พอเปิดองก์สอง เรื่องราวที่เกิดขึ้นกลับไม่เกี่ยวโยงกับท้ายองก์แรกที่เพิ่งผ่านไป ไม่ตามติดถึงสิ่งที่ทิ้งค้างไว้ใดๆ เลย
เลยกลายเป็นว่า บทละครเพลงเรื่องนี้เล่าเรื่องชีวิตทั้งสองช่วงไปพร้อมๆ กันแบบคู่ขนาน แล้วจับเอาไฮไลต์ทั้งสองวัยไประเบิดอยู่ตอนจบของเรื่องในองก์สอง ทำให้สารหลักของโหมโรงที่พยายามสื่อให้คนดูเห็นถึงความสำคัญของเสียงดนตรี ของรากเหง้าวัฒนธรรมไทย ที่บอกกล่าวผ่านคำพูดตัวละครและเพลงต่างๆ ตั้งแต่องก์แรกจนถึงองก์ที่สอง กลับอ่อนด้อยจนไม่ส่งผลกระทบถึงใจคนดูจนทำให้สะเทือนใจอย่างที่ควรจะเป็น
ในเรื่องโหมโรง เหตุการณ์สำคัญในชีวิตครูศร ศิลปบรรเลง มีสองช่วงคือ ช่วงวัยหนุ่ม ซึ่งจะไปถึงจุดคลี่คลายในตอนดวลระนาดกับขุนอินทร์ กับช่วงวัยแก่ ที่ครูศรประสบมรสุมชีวิต จากความขัดแย้งเมื่อเกิดการปะทะกันทางความคิดระหว่างรากเหง้าวัฒนธรรมเดิมกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ถาโถมมากับกระแสโลกยุคใหม่
ส่วนตัวกลับมองว่า จะดีกว่าไหม ถ้าเดินเรื่องโดยแบ่งช่วงชีวิตของนายศรให้ชัดเจนไปเลย ให้องก์แรกบอกเล่าถึงที่มาตั้งแต่วัยเด็ก ความหวัง ความใฝ่ฝัน เสียงที่ได้ยินในหัว ไล่เรื่อยไปจนถึงจุดสูงสุดของชีวิตในวัยหนุ่มในตอนจบองก์แรก ให้จบแบบอลังการด้วยฉากประชันระนาด ให้คนดูสะเทือนใจในคุณค่าและความสำคัญของดนตรีที่หล่อหลอมนายศรมาตลอดตั้งแต่ต้น
น่าจะเป็นการจบองก์แรกที่มีความหมาย มีความยิ่งใหญ่อะไรบางอย่างที่ประทับใจผู้ชม
จากนั้นเปิดองก์สองด้วยความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันเมื่อนายศร ณ บัดนี้ ในวัยชรา กลายเป็นท่านครูที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือ มีหน้ามีตา ด้วยเพลงที่เล่าถึงความสำคัญของดนตรีและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่ประกอบขึ้นมาเป็นวง (ฉากนายเทิดเข้าพบครูศรเป็นครั้งแรก) จากนั้นค่อยเล่าถึงอุปสรรคและศัตรูใหญ่ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและวัฒนธรรม
เช่นนี้จะทำให้เห็นภาพความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างองก์แรกและองก์สอง จากความยิ่งใหญ่ของดนตรีไทยที่ปูเรื่องมาในองก์แรก ให้เห็นว่ามีความท้าทายอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นแล้ว กลายเป็นแรงปะทะสำคัญที่ทำให้คนดูติดตามในองก์สอง ว่าเรื่องราวอุปสรรคชีวิตของท่านครูจะดำเนินไปอย่างไรจนถึงตอนจบเมื่อได้รับการยอมรับนับถือด้วยใจจริงจากพันโทวีระนายทหารใหญ่ศัตรูตัวฉกาจ (ฉากเล่นระนาดของท่านครู แสดงโดยคุณสุประวัติ ปัทมสูต ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ถือเป็นฉากยิ่งใหญ่ที่ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีอยู่แล้ว)
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้ได้ข้อสรุปว่า "ละครเรื่องนี้ ถามว่าดีไหม -ดี- ดีเป็นจุดๆ" โทนและภาพรวมของเรื่อง คือขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา
สำหรับเรื่องเพลง ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับภาพรวมของละคร เพลงมีทั้งดีและไม่ดี บางเพลงดีมาก เพราะมาก ทำนองงดงาม คำร้องสละสลวย สัมผัสนอกสัมผัสในแพรวพราว (ตัวอย่างเช่นเพลงที่นายศรพบหน้าแม่โชติ) ในขณะที่บางเพลงกลับรู้สึกว่า ..ทำไมถึงกลายเป็นคนละเรื่อง ระดับภาษาที่ใช้ไม่สม่ำเสมอกันเลย ซ้ำบางเพลงแทบหาสัมผัสไม่เจอด้วยซ้ำ
รู้สึกเหมือนกับทีมงานโยนเนื้อหาทั้งเรื่องแบ่งไปให้คนสิบคนช่วยกันทำเพลงคนละเพลง เพลงธีมของแต่ละคนก็ไม่มี ดนตรีจากส่วนที่เป็นเพลงดีๆ ที่ควรจะเอามาทำ reprise ก็ไม่ทำ อะไรทำนองนี้
ถามว่าร้องดีไหม-ร้องดี เล่นดีไหม-เล่นดี มุกตลกถูกจริตคนดูไทยมีไหม-มี และเวิร์ค นักแสดงโดยรวมทำหน้าที่ได้ดีไม่มีที่ติ แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่การเอาทั้งหมดมารวมกัน ยังรู้สึกว่าไม่ลงตัวทีเดียวนัก
อย่างไรก็ตาม เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ มาถึงคำถามสำคัญคือ น่าไปดูไหม สมควรซื้อตั๋วไปดูหรือไม่ ก็ยังจะขอตอบว่า ขอให้ไปดูเถอะ เพราะอย่างน้อย ก็จะได้เห็นความตั้งใจทำงานของคนทำ ถึงแม้คะแนนสำหรับภาพรวมอาจน้อยไปหน่อย
แต่งานแสดงชุดนี้ ยังถือว่ามีข้อดีอยู่มากทีเดียว ควรค่าแก่การไปสัมผัสสักครั้ง คนดูจะได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่หาดูไม่ได้ง่ายนักจากงานละครเพลงในเมืองไทย โดยเฉพาะการนำเสนอเรื่องราวว่าด้วยรากเหง้าวัฒนธรรมของชาติเรา
-----------------------------------------------------------------------------
จบความเห็นเรื่องละครแล้ว ขอต่อเรื่องการบริหารจัดการของโรงละครสักนิด
ขอเล่าถึงสิ่งที่พบเห็นในวันดูละคร และขอเสนอแนะข้อคิดเห็นนิดๆ หน่อยๆ ดังนี้
1. การกวดขันเรื่องเวลาเข้าชมการแสดง
รอบที่ไปดู พนักงานเหมือนยังไม่พร้อม ขนาดถึงเวลาทุ่มครึ่งตามกำหนดที่ควรเริ่มแสดงแล้ว ก็ยังไม่ปล่อยให้ผู้ชมเข้าโรง กว่าจะเข้าโรงหมดและเริ่มแสดงก็ปาเข้าไปทุ่มกว่า ไม่แน่ใจว่ารอบอื่นๆ หลังจากวันนั้น เป็นเช่นนี้หรือไม่ อยากให้ทางทีมงานและโรงละครปรับปรุงด้วย ทั้งนี้ ควรให้ผู้ชมเริ่มทะยอยเข้าโรงตั้งแต่ทุ่มตรง ควรมีกริ่งเตือนให้ผู้ชมที่ยังยืนรีรอออกันอยู่ด้านนอกรีบเข้าโรงก่อนเวลา อย่างน้อยคือเตือน 2 ครั้ง (10 นาที และ 5 นาทีก่อนการแสดง) เพื่อป้องกันความขลุกขลักและล่าช้าของการแสดง)
2. การประกาศเรื่องมารยาทการชมการแสดง
ควรมีประกาศย้ำเรื่องมารยาทของการชมการแสดง จำได้ว่ามีพูดเตือนเรื่องเครื่องมือสื่อสาร แต่เรื่องที่ไม่ได้ประกาศเตือนคือ ให้ผู้ชมงดการส่งเสียงใดๆ ทั้งสิ้น
ไม่ว่าการพูดคุยโดยไม่จำเป็น หรือการส่งเสียงกรอบแกรบจากถุงกระดาษ ถุงพลาสติก ฯลฯ ทั้งนี้ รอบที่ได้ดู มีคนดูสองท่านด้านหน้า พูดคุยกันเกือบทุกระยะ ส่วนด้านหลังมีคนดูบอกบท พากย์นำสองครั้ง (พอพระเอกหยิบซอ นางก็จะบอกว่า "อุ้ย เดี๋ยวเจอนางเอก" ท่านครูร้องเพลงท่อนสุดท้าย ทิ้งค้างไว้ ขาดอีก 2 คำ นางก็ต่อคำร้องออกมาให้ได้ยินว่า "..ยังไง" (เนื้อร้องสองคำสุดท้าย) คือนางคิดในใจไม่เป็น และเก็บความอวดรู้ไว้กับตนเองไม่ได้ ต้องระบายออกมาให้ผู้ชมรอบข้างได้ยิน สิ่งเหล่านี้ ไม่ควรเกิดขึ้น หรืออย่างน้อย ควรประกาศเตือนให้ผู้ชมทุกท่านทราบแต่เนิ่นๆ ว่าไม่ควรทำ ขอทางโรงละครโปรดพิจารณาเรื่องเพิ่มคำประกาศเตือนข้อนี้ด้วย
3. การดูแลผู้ชมช่วงพักครึ่ง
ตอนพักครึ่ง ข้าพเจ้าออกจากโรงเพื่อเข้าห้องน้ำ ปรากฏว่า ที่ทางออก พนักงานขอเอาหมึกประทับตราที่ข้อมือ (ทำนองว่ากันคนนอกแอบเข้ามาในโรง) ขอบอกว่านี่เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้ข้อมือเลอะเทอะสกปรกโดยไม่จำเป็น นี่ไม่ใช่การแสดงคอนเสิร์ต ที่จะมีใครแอบเข้ามาขอดูครึ่งหลัง คือจะประทับตราข้อมือไปเพื่ออะไร จะมีชาวบ้านที่ไหนแอบเข้ามาดูสนุกด้วยเฉพาะแค่ครึ่งหลังของเรื่อง อีกอย่างหนึ่ง เท่าที่สังเกตดูพื้นที่โดยรอบบริเวณห้องน้ำ ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครเล็ดลอดเข้ามาได้ การวางพนักงานดักไว้น่าจะดีพอแล้ว หรือขอให้ผู้ชมนำตั๋วติดตัวไปด้วย ไม่ควรใช้ตรายางประทับข้อมือให้เลอะเทอะเช่นนี้ ขอให้พิจารณายกเลิกเสีย
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง