Disclaimer: รีวิวแบบตรงไปตรงมาตามความรู้สึกส่วนตัว
โขนพระราชทาน 2024 จัดแสดงตอน
“พระจักราวตาร” เหตุผลที่ผู้จัดเลือกทำตอนนี้ เพราะ เป็นการเฉลิมฉลองโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา เลยเลือกทำตอนรามาวตาร เพราะตามคติความเชื่อของไทยแล้ว กษัตริย์คือพระนารายณ์ (พระวิษณุ, พระราม, พระจักรา) อวตารลงมา
ข้อมูลทั่วไป
เรื่องราวทั้งหมดของโขนปีนี้จะเป็นลักษณะของการ
“จับตอน” กล่าวคือ เป็นการหยิบตอนเล็กตอนน้อยของเรื่องรามเกียรติ์มาปะติดปะต่อกัน (เน้นช่วงมูลเหตุของศึกระหว่างพระรามและทศกัณฐ์) ไปจนถึงตอนพระรามครองเมือง
ดังนั้น การดำเนินเรื่องจึง
มีความมึนงง และชวนสับสน อยู่พอสมควร
แนะนำว่าใครที่ไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคยกับรามเกียรติ์ ให้อ่านเรื่องย่อมาก่อนชมการแสดง ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ไม่เข้าใจและเบื่อได้
รีวิวฉาก
การแสดงโขนรอบนี้มีฉากไม่ได้เยอะมาก แบ่งเป็น 2 องก์ องก์ละ 4 ฉาก รวมทั้งหมด 8 ฉาก
โหมโรง
รำถวายพระพร ภายในโรงละครไฟสาดสะท้อนประติมากรรมตราสัญลักษณ์ 6 รอบ 72 พรรษา มากไปจนมองตรา วปร แทบจะไม่เห็น แล้วก็รู้สึกว่าปีนี้ทำนองเพลงแปลก ๆ ฟังแล้วไม่ค่อยชินหูเท่าไหร่
องก์ที่ 1
ฉากที่ 1 นารายณ์บรรทมสินธุ์ (วิษณุอนันตศายิน)
ฉากนี้เป็นฉากเปิดของเรื่อง หลายคนน่าจะเห็นมามากแล้วตามสื่อต่าง ๆ จะเป็นตอนที่พระอินทร์มาเชิญพระนารยณ์ซึ่งบรรทมอยู่เหนืออนันตนาคราชกลางเกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) เพื่อลงไปอวตารเป็นพระราม และพระลักษมี พระวรชายา อวตารลงไปเป็นางสีดา
เป็นครั้งแรกในเวทีโขนพระราชทานที่เปิดมาด้วยฉาก Highlight ของเรื่อง มีพญานาคตัวและหัวขยับได้ พ่นควันได้ มีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณมาเป่าสังข์ เทวดาเหาะลอยไปมา แต่ส่วนตัวรู้สึกว่าไม่ได้ตื่นเต้น อาจเพราะมันเป็นฉากแรกของการแสดงเลยไม่ทำให้ได้ลุ้นอะไร
ประติมากรรมนารายณ์ทรงสุบรรณ
เทียบกับภาพฉบับร่าง
องค์ประกอบฉากยังเรียบ ๆ พอมาลองเทียบกับที่เคยฟังผู้ออกแบบฉากสัมภาษณ์ว่าจะเป็นฉากที่มีรายละเอียดซับซ้อน เลยรู้สึกคาดหวังมากเกินไป น่าจะทำให้ยิ่งใหญ่กว่านี้ได้ อย่างประติมากรรมนารายณ์บรรทมสินธุ์ตอนแรก ถ้าทำให้เป็นแบบลอยตัวของจริงเลยน่าจะอลังการกว่า อันนี้เหมือนแค่แขวนลอยไว้เฉย ๆ
ฉากที่ 2 กฤษฎาภินิหารพระจักราวตาร
ฉากนี้จะมีฉากย่อย 2 ฉาก ได้แก่ ปราบกากนาสูร และ ยกธนูโมลีที่เมืองมิถิลา
ฉากปราบนางกากนาสูรรู้สึกว่ามีอีกาบินมาเยอะเกิน พอบินมาเยอะ สลิงก็เยอะตาม เลยทำให้ค่อนข้างเวียนหัว และหลุด focus ไม่รู้จะมองอะไรดีระหว่างสลิง ฤๅษี อีกา หรือคณะพระราม ตัว costume กากนาสูรไม่ค่อยเด่น กลืนไปกลับอีกาที่เหาะมาตัวอื่น ๆ น่าจะให้สวมหัวโขนที่เป็นกากนาสูรจริง ๆ
เอาใจช่วยน้องที่เล่นเป็นพระราม หรือพระลักษมณ์ ก็ไม่รู้จำไม่ได้ ตอนแรกจะยกลอยแต่เหมือนไม่ขึ้น หล่นลงมาเล็กน้อย สุดท้ายก็ขึ้นได้ เก่งมาก
ฉากยกธนูโมลี กับเจอสีดา ไม่มีอะไรเลย เหมือนแค่เอามาคั่นช่วงรอเปลี่ยนฉากถัดไปมากกว่า แต่นางสีดาสวยมาก
ฉากที่ 3 สำมนักขาก่อศึก
อันนี้ก็เป็นฉากท้องพระโรงกรุงลงกาปกติเจ้าเก่าเหมือนปีก่อน ๆ มีนางสำมนักขาที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นโผล่มาก ฉากนี้เต็มไปด้วยยักษ์พร้อมหน้าทั้ง กุมภกรรณ อินทรชิต พิเภก เพราะ ยังไม่ได้เริ่มศึกกันเลย ตัวละครเหล่านี้เลยยังอยู่ในกรุงลงกา
จังหวะที่ทศกัณฐ์โกรธแล้วเหลือแต่ไฟสีแดงมีควันสวยมาก
จากนั้นทศกัณฐ์ให้มารีศแปลงกายไปเป็นกวางทองเพื่อล่อพระรามออกมาจากนางสีดา ตัวกวางทองคือสวยมาก ขนาดมองจากระยะห่างมาพอควรยังเห็นความสวย
ฉากที่ 4 พลัดพราก
ฉากนี้เป็นฉากที่ค่อนข้างนานมาก ประกอบไปด้วยฉากย่อย ๆ ตอนแรกเป็นฉากอาศรมฤๅษีพระราม มีกวางทองโผล่มาแล้วนางสีดาอยากได้ จนพระรามต้องยอมออกไปจับ ซีนนางสีดาบทพากย์ตลกมาก ขำกันทั้งโรง
ต่อมาเป็นฉากที่รู้สึกประทับใจที่สุดในการแสดงครั้งนี้ คือ
“พระรามตามกวาง“ องค์ประกอบทุกอย่างลงตัวมาก ฉากสวย นักแสดงเล่นเก่ง การวาง blocking ทั้งตัวพระราม กวางทอง ต้นไม้ทองที่ขยับได้เพื่อให้กวางซ่อนตัว ทุกอย่างลงจังหวะ คิดว่าต้องซ้อมกันมานานมากถึงได้เป๊ะขนาดนี้
ยิ่งฉากทองลายรดน้ำด้านหลังคือสวยมาก ๆ ถ้าใครตาดีจะสังเกตเห็นน้อนหมูเด้งในฉากด้วย อยู่ล่าง ๆ
พอพระรามแผลงศรยิงกวางทอง (มารีศแปลง ตามอุบายทศกัณฐ์) ก็ตัดภาพมายังอาศรมพระรามอีกครั้ง สีดาได้ยินเสียงพระรามแปลงของมารีศ จึงให้พระลักษมณ์ออกไปตาม เป็นอันเข้าแผนทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์แปลงเป็นสุธรรมฤๅษีมาหลอกนางสีดา
บทพากย์สีดาเรียกเสียงหัวเราะได้อีกรอบกับซีน ”เชิญนิมนต์ท่านออกไป“
จากนั้นทศกัณฐ์ลักนางสีดาพาขึ้นราชรถเหาะกลับกรุงลงกา เหมือนอย่างที่น่าจะเคยเห็นตามข่าว ก็คือยกลอยไปทั้งราชรถทั้งคัน ถือเป็นซีนปิดจบองก์ที่ 1 แบบสมบูรณ์
ราชรถลอยของจริงจะเห็นสลิงประมาณนี้ แต่ก็ยังคงสวยงาม
โดยรวมองก์ที่ 1 ถ้าให้พูดตามความจริง คือ ค่อนข้างน่าเบื่อ เนื้อเรื่องค่อนข้างกระโดด ไม่ปะติดปะต่อกัน ถ้าไม่อ่านรามเกียรติ์มาก่อนน่าจะงง
แล้วก็มีซีนฉากดำ หรือ ฉากที่เอามาคั่นเพื่อรอเปลี่ยนฉาก มากเกินไป ประกอบกับการดำเนินเรื่องแบบจับตอนมาทำให้มันแปลก ๆ มาสนุกในช่วงพระรามออกเดินป่าเป็นต้นไป
รีวิว พระจักราวตาร 2024 แบบละเอียดที่สุด
Disclaimer: รีวิวแบบตรงไปตรงมาตามความรู้สึกส่วนตัว
โขนพระราชทาน 2024 จัดแสดงตอน “พระจักราวตาร” เหตุผลที่ผู้จัดเลือกทำตอนนี้ เพราะ เป็นการเฉลิมฉลองโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา เลยเลือกทำตอนรามาวตาร เพราะตามคติความเชื่อของไทยแล้ว กษัตริย์คือพระนารายณ์ (พระวิษณุ, พระราม, พระจักรา) อวตารลงมา
ข้อมูลทั่วไป
เรื่องราวทั้งหมดของโขนปีนี้จะเป็นลักษณะของการ “จับตอน” กล่าวคือ เป็นการหยิบตอนเล็กตอนน้อยของเรื่องรามเกียรติ์มาปะติดปะต่อกัน (เน้นช่วงมูลเหตุของศึกระหว่างพระรามและทศกัณฐ์) ไปจนถึงตอนพระรามครองเมือง
ดังนั้น การดำเนินเรื่องจึง มีความมึนงง และชวนสับสน อยู่พอสมควร แนะนำว่าใครที่ไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคยกับรามเกียรติ์ ให้อ่านเรื่องย่อมาก่อนชมการแสดง ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ไม่เข้าใจและเบื่อได้
รีวิวฉาก
การแสดงโขนรอบนี้มีฉากไม่ได้เยอะมาก แบ่งเป็น 2 องก์ องก์ละ 4 ฉาก รวมทั้งหมด 8 ฉาก
โหมโรง
รำถวายพระพร ภายในโรงละครไฟสาดสะท้อนประติมากรรมตราสัญลักษณ์ 6 รอบ 72 พรรษา มากไปจนมองตรา วปร แทบจะไม่เห็น แล้วก็รู้สึกว่าปีนี้ทำนองเพลงแปลก ๆ ฟังแล้วไม่ค่อยชินหูเท่าไหร่
องก์ที่ 1
ฉากที่ 1 นารายณ์บรรทมสินธุ์ (วิษณุอนันตศายิน)
ฉากนี้เป็นฉากเปิดของเรื่อง หลายคนน่าจะเห็นมามากแล้วตามสื่อต่าง ๆ จะเป็นตอนที่พระอินทร์มาเชิญพระนารยณ์ซึ่งบรรทมอยู่เหนืออนันตนาคราชกลางเกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) เพื่อลงไปอวตารเป็นพระราม และพระลักษมี พระวรชายา อวตารลงไปเป็นางสีดา
เป็นครั้งแรกในเวทีโขนพระราชทานที่เปิดมาด้วยฉาก Highlight ของเรื่อง มีพญานาคตัวและหัวขยับได้ พ่นควันได้ มีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณมาเป่าสังข์ เทวดาเหาะลอยไปมา แต่ส่วนตัวรู้สึกว่าไม่ได้ตื่นเต้น อาจเพราะมันเป็นฉากแรกของการแสดงเลยไม่ทำให้ได้ลุ้นอะไร
ประติมากรรมนารายณ์ทรงสุบรรณ
เทียบกับภาพฉบับร่าง
องค์ประกอบฉากยังเรียบ ๆ พอมาลองเทียบกับที่เคยฟังผู้ออกแบบฉากสัมภาษณ์ว่าจะเป็นฉากที่มีรายละเอียดซับซ้อน เลยรู้สึกคาดหวังมากเกินไป น่าจะทำให้ยิ่งใหญ่กว่านี้ได้ อย่างประติมากรรมนารายณ์บรรทมสินธุ์ตอนแรก ถ้าทำให้เป็นแบบลอยตัวของจริงเลยน่าจะอลังการกว่า อันนี้เหมือนแค่แขวนลอยไว้เฉย ๆ
ฉากที่ 2 กฤษฎาภินิหารพระจักราวตาร
ฉากนี้จะมีฉากย่อย 2 ฉาก ได้แก่ ปราบกากนาสูร และ ยกธนูโมลีที่เมืองมิถิลา
ฉากปราบนางกากนาสูรรู้สึกว่ามีอีกาบินมาเยอะเกิน พอบินมาเยอะ สลิงก็เยอะตาม เลยทำให้ค่อนข้างเวียนหัว และหลุด focus ไม่รู้จะมองอะไรดีระหว่างสลิง ฤๅษี อีกา หรือคณะพระราม ตัว costume กากนาสูรไม่ค่อยเด่น กลืนไปกลับอีกาที่เหาะมาตัวอื่น ๆ น่าจะให้สวมหัวโขนที่เป็นกากนาสูรจริง ๆ
เอาใจช่วยน้องที่เล่นเป็นพระราม หรือพระลักษมณ์ ก็ไม่รู้จำไม่ได้ ตอนแรกจะยกลอยแต่เหมือนไม่ขึ้น หล่นลงมาเล็กน้อย สุดท้ายก็ขึ้นได้ เก่งมาก
ฉากยกธนูโมลี กับเจอสีดา ไม่มีอะไรเลย เหมือนแค่เอามาคั่นช่วงรอเปลี่ยนฉากถัดไปมากกว่า แต่นางสีดาสวยมาก
ฉากที่ 3 สำมนักขาก่อศึก
อันนี้ก็เป็นฉากท้องพระโรงกรุงลงกาปกติเจ้าเก่าเหมือนปีก่อน ๆ มีนางสำมนักขาที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นโผล่มาก ฉากนี้เต็มไปด้วยยักษ์พร้อมหน้าทั้ง กุมภกรรณ อินทรชิต พิเภก เพราะ ยังไม่ได้เริ่มศึกกันเลย ตัวละครเหล่านี้เลยยังอยู่ในกรุงลงกา
จังหวะที่ทศกัณฐ์โกรธแล้วเหลือแต่ไฟสีแดงมีควันสวยมาก
จากนั้นทศกัณฐ์ให้มารีศแปลงกายไปเป็นกวางทองเพื่อล่อพระรามออกมาจากนางสีดา ตัวกวางทองคือสวยมาก ขนาดมองจากระยะห่างมาพอควรยังเห็นความสวย
ฉากที่ 4 พลัดพราก
ฉากนี้เป็นฉากที่ค่อนข้างนานมาก ประกอบไปด้วยฉากย่อย ๆ ตอนแรกเป็นฉากอาศรมฤๅษีพระราม มีกวางทองโผล่มาแล้วนางสีดาอยากได้ จนพระรามต้องยอมออกไปจับ ซีนนางสีดาบทพากย์ตลกมาก ขำกันทั้งโรง
ต่อมาเป็นฉากที่รู้สึกประทับใจที่สุดในการแสดงครั้งนี้ คือ “พระรามตามกวาง“ องค์ประกอบทุกอย่างลงตัวมาก ฉากสวย นักแสดงเล่นเก่ง การวาง blocking ทั้งตัวพระราม กวางทอง ต้นไม้ทองที่ขยับได้เพื่อให้กวางซ่อนตัว ทุกอย่างลงจังหวะ คิดว่าต้องซ้อมกันมานานมากถึงได้เป๊ะขนาดนี้
ยิ่งฉากทองลายรดน้ำด้านหลังคือสวยมาก ๆ ถ้าใครตาดีจะสังเกตเห็นน้อนหมูเด้งในฉากด้วย อยู่ล่าง ๆ
พอพระรามแผลงศรยิงกวางทอง (มารีศแปลง ตามอุบายทศกัณฐ์) ก็ตัดภาพมายังอาศรมพระรามอีกครั้ง สีดาได้ยินเสียงพระรามแปลงของมารีศ จึงให้พระลักษมณ์ออกไปตาม เป็นอันเข้าแผนทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์แปลงเป็นสุธรรมฤๅษีมาหลอกนางสีดา
บทพากย์สีดาเรียกเสียงหัวเราะได้อีกรอบกับซีน ”เชิญนิมนต์ท่านออกไป“
จากนั้นทศกัณฐ์ลักนางสีดาพาขึ้นราชรถเหาะกลับกรุงลงกา เหมือนอย่างที่น่าจะเคยเห็นตามข่าว ก็คือยกลอยไปทั้งราชรถทั้งคัน ถือเป็นซีนปิดจบองก์ที่ 1 แบบสมบูรณ์
ราชรถลอยของจริงจะเห็นสลิงประมาณนี้ แต่ก็ยังคงสวยงาม
โดยรวมองก์ที่ 1 ถ้าให้พูดตามความจริง คือ ค่อนข้างน่าเบื่อ เนื้อเรื่องค่อนข้างกระโดด ไม่ปะติดปะต่อกัน ถ้าไม่อ่านรามเกียรติ์มาก่อนน่าจะงง
แล้วก็มีซีนฉากดำ หรือ ฉากที่เอามาคั่นเพื่อรอเปลี่ยนฉาก มากเกินไป ประกอบกับการดำเนินเรื่องแบบจับตอนมาทำให้มันแปลก ๆ มาสนุกในช่วงพระรามออกเดินป่าเป็นต้นไป