พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
"อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ" คือ การพึ่งตนของตนเอง
อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมากเป็นอย่างยอด
เพราะทำให้เราได้รู้จักกรรมดี-กรรมชั่ว ของตัวเอง
คือ "กมฺมสฺสโกมฺหิ" แล้วเราก็จะไม่ต้องไปหวังพึ่งคนอื่นเลย
การหาที่พึ่งอันนี้ ต้องอาศัยธรรม ๕ ประการ คือ
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ซึ่งเรียกว่า "พละ หรือ กำลัง" ที่จะเป็นเครื่องช่วยค้ำจุน
ส่งเสริมให้เรามีกำลังใจก้าวไปสู่ความดี
รวมลงแล้วก็สงเคราะห์อยู่ใน "ศีล สมาธิ ปัญญา" นั่นเอง
คือ ศรัทธา ได้แก่ "ศีล" , วิริยะ สติและสมาธิ เข้าอยู่ใน "สมาธิ"
และปัญญาก็เข้าใจองค์ "ปัญญา"
เมื่อผู้ใดมี "ศรัทธา" ก็เท่ากับมีทรัพย์แล้ว เขาเป็นผู้ไม่จน
ศีลเป็นเหมือนผ้าขาวที่หุ้มห่อพันกายให้งดงาม
เหมือนกลีบดอกบัวที่ห่อหุ้มความหอมของเกสรไว้
และเป็นตัว "ปหานธรรม" ที่คอยตัดทำลาย
ความชั่วทุจริตทางกายให้เป็น "กายสุจริต"
นี้เป็นตัวศีล..แต่ก็ยังไม่ดีนัก และเมื่อมีศีลแล้ว
ก็จะต้องมี "ธรรม" กำกับด้วย
"วิริยะ"เป็นตัวขยันหมั่นเพียร บากบั่น
แกล้วกล้าในกิจการงานไม่ท้อถอย
เพื่อให้เป็นกำลังเจริญก้าวหน้าในความดี
"สติ" เป็นตัวสำรวมระวัง
ในการดำเนินทางกาย วาจา ใจ ไม่ให้ผิดพลาด
กำหนดรู้ในความดี ความชั่ว อันเป็นเหตุ
ที่จะไม่ให้ความประพฤติตกไปในทางบาปอกุศลได้
"สมาธิ" คือ ความตั้งจิตมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
คือ เอกายนมรรค ไม่ให้จิตโอนเอน โยกคลอน
หรือหวั่นไหวไปในอารมณ์ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว
ทั้งอดีตและอนาคต ต้องทำใจให้เป็น "มโนสุจริต"
ทั้ง ๓ องค์นี้ (ศีล สมาธิ ปัญญา) เรียกว่า "ศีลธรรม"
ละวิตก วิจาร พยาปาทะ วิหิงสา เป็น "เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป"
จิตไม่เข้าไปยินดียินร้ายในกิเลสกามและพัสดุกามทั้งดีและชั่ว
เป็นจิตของ "ผู้บวช" ถึงจะบวชก็ตาม ไม่บวชก็ตาม
อยู่บ้านก็ตาม อยู่วัดก็ตาม จัดเป็น "ผู้บวช" ทั้งสิ้น
พละ ๕ ธรรมทำให้ตนพึ่งตนเองได้ : ท่านพ่อลี ธัมมธโร
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
"อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ" คือ การพึ่งตนของตนเอง
อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมากเป็นอย่างยอด
เพราะทำให้เราได้รู้จักกรรมดี-กรรมชั่ว ของตัวเอง
คือ "กมฺมสฺสโกมฺหิ" แล้วเราก็จะไม่ต้องไปหวังพึ่งคนอื่นเลย
การหาที่พึ่งอันนี้ ต้องอาศัยธรรม ๕ ประการ คือ
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ซึ่งเรียกว่า "พละ หรือ กำลัง" ที่จะเป็นเครื่องช่วยค้ำจุน
ส่งเสริมให้เรามีกำลังใจก้าวไปสู่ความดี
รวมลงแล้วก็สงเคราะห์อยู่ใน "ศีล สมาธิ ปัญญา" นั่นเอง
คือ ศรัทธา ได้แก่ "ศีล" , วิริยะ สติและสมาธิ เข้าอยู่ใน "สมาธิ"
และปัญญาก็เข้าใจองค์ "ปัญญา"
เมื่อผู้ใดมี "ศรัทธา" ก็เท่ากับมีทรัพย์แล้ว เขาเป็นผู้ไม่จน
ศีลเป็นเหมือนผ้าขาวที่หุ้มห่อพันกายให้งดงาม
เหมือนกลีบดอกบัวที่ห่อหุ้มความหอมของเกสรไว้
และเป็นตัว "ปหานธรรม" ที่คอยตัดทำลาย
ความชั่วทุจริตทางกายให้เป็น "กายสุจริต"
นี้เป็นตัวศีล..แต่ก็ยังไม่ดีนัก และเมื่อมีศีลแล้ว
ก็จะต้องมี "ธรรม" กำกับด้วย
"วิริยะ"เป็นตัวขยันหมั่นเพียร บากบั่น
แกล้วกล้าในกิจการงานไม่ท้อถอย
เพื่อให้เป็นกำลังเจริญก้าวหน้าในความดี
"สติ" เป็นตัวสำรวมระวัง
ในการดำเนินทางกาย วาจา ใจ ไม่ให้ผิดพลาด
กำหนดรู้ในความดี ความชั่ว อันเป็นเหตุ
ที่จะไม่ให้ความประพฤติตกไปในทางบาปอกุศลได้
"สมาธิ" คือ ความตั้งจิตมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
คือ เอกายนมรรค ไม่ให้จิตโอนเอน โยกคลอน
หรือหวั่นไหวไปในอารมณ์ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว
ทั้งอดีตและอนาคต ต้องทำใจให้เป็น "มโนสุจริต"
ทั้ง ๓ องค์นี้ (ศีล สมาธิ ปัญญา) เรียกว่า "ศีลธรรม"
ละวิตก วิจาร พยาปาทะ วิหิงสา เป็น "เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป"
จิตไม่เข้าไปยินดียินร้ายในกิเลสกามและพัสดุกามทั้งดีและชั่ว
เป็นจิตของ "ผู้บวช" ถึงจะบวชก็ตาม ไม่บวชก็ตาม
อยู่บ้านก็ตาม อยู่วัดก็ตาม จัดเป็น "ผู้บวช" ทั้งสิ้น