วันนี้เก็บหุ้นรถไฟฟ้าครบ แล้วตามเป้า เลยขอมาเชียร์หุ้นหน่อยครับ
วันที่ 2 นี้อย่าลืมไปประชุมกันครับ
ข่าวความคืบหน้ารถไฟฟ้าครับ
updated: 26 มี.ค. 2558 เวลา 15:20:10 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หลังเปิดหน้าดินลงเข็มก่อสร้างเมื่อปี 2554 ขณะนี้ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน" ส่วนต่อขยายจากบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. กำลังรุดหน้าไปด้วยดี มีผลงานก้าวหน้ารวม 60.19% ยังล่าช้าจากแผนงาน 1.31%
อุโมงค์ ช.การช่างเร็วกว่าแผน
แยกเป็นสัญญาที่ 1 โครงสร้างใต้ดินช่วง "หัวลำโพง-สนามไชย" ระยะทาง 2.8 กม. ไซต์ก่อสร้างของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ คืบหน้า 68.24% ล่าช้า 1.27% จะแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2560
สัญญาที่ 2 โครงสร้างใต้ดินช่วง "สนามไชย-ท่าพระ" ระยะทาง 2.6 กม. งานก่อสร้างของ "บมจ.ช.การช่าง" คืบหน้า 70.84% เร็วกว่าแผน 1.55% จะแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม 2559
สัญญาที่ 3 โครงสร้างทางยกระดับช่วง "เตาปูน-ท่าพระ" ระยะทาง 13 กม. ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SH-UN (บมจ.ยูนิคฯและซิโนไฮโดร) คืบหน้า 46.04% เร็วกว่าแผน 0.05% จะแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2560
สัญญาที่ 4 โครงสร้างยกระดับช่วง "ท่าพระ-หลักสอง" ระยะทาง 10.5 กม. ของ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น คืบหน้า 53.3% ช้าจากแผน 5.36% จะแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2560 และสัญญาที่ 5 งานระบบรางของ ช.การช่าง คืบหน้า 70.37% เร็วกว่าแผน 0.30% จะแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2560
เจรจารายเดิมเดินรถส่วนต่อขยาย
สิ่งที่ต้องลุ้นต่อ "การคัดเลือกเอกชนเดินรถ" วงเงินลงทุน 22,141 ล้านบาท ที่ติดหล่ม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ มาหลายปี จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปจะเดินรถแบบจ้างหรือสัมปทาน จึงเป็นที่มาของอีเวนต์กดปุ่มอุโมงค์ที่ 2 สร้างลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ที่"บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจไซต์งาน ช.การช่าง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558
แม้ "บิ๊กตู่" ส่งสัญญาณ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ให้เดินรถต่อเนื่อง โดยเจรจารายเดิม "บีเอ็มซีแอล-บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ" ธุรกิจในเครือ "ช.การช่าง" เป็นลำดับแรก หากผลตอบแทนไม่สมประโยชน์กัน ถึงจะเปิดประมูลหารายใหม่
แต่ยังต้องฝ่าด่านคณะกรรมการมาตรา 13 อีกหลายยก กว่าจะสะเด็ดน้ำคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 เดือน รวมถึงด่านคณะกรรมการตรวจสอบสัญญาคุณธรรมที่รัฐบาลชุดนี้นำมาใช้กับโครงการนี้ด้วย
BMCL ลุ้นจ้างหรือสัมปทาน
ขณะที่ "บีเอ็มซีแอล" ต้องลุ้นระทึกว่า คณะกรรมการมาตรา 13 จะเคาะแนวทางไหนระหว่าง "จ้างกับให้สัมปทาน" เพราะถ้าจ้างเท่ากับรัฐบาลรับความเสี่ยงให้ ขณะที่ "สัมปทาน" บีเอ็มซีแอลจะต้องแบกรับความเสี่ยงเอง และแบ่งผลตอบแทนรายได้ค่าโดยสารให้ รฟม.เป็นรายปีตามที่ตกลง เหมือนรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก
"ไม่กังวลใจ จะเป็นวิธีจ้างหรือสัมปทาน เราเป็นผู้ลงทุนต้องทำตามกติการัฐ ถ้ารัฐอยากจ้างความเสี่ยงอยู่ที่รัฐ แต่ถ้าเป็นสัมปทานแสดงว่ารัฐไม่รับความเสี่ยง ให้เอกชนรับแทน มาคุยผลประโยชน์กัน" คำตอบจาก "พงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.ช.การช่าง
พร้อมย้ำว่า...ขอให้เป็นรายเดิมที่เป็นผู้เดินรถสายนี้ เพราะเป็นส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าใต้ดินสายเดิมที่บริษัทเดินรถให้ ทำให้การบริการวิ่งเป็นวงกลม และเป็นประโยชน์ อย่างแรกคือรถวิ่งต่อไปได้เลย ที่เรียกว่าเดินรถต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนรถ เช่น ขึ้นจากสามย่านไปหัวลำโพง ทะลุไปวัดมังกรฯ ถ้าคนละเจ้าต้องเปลี่ยนรถที่หัวลำโพง
"พงษ์สฤษดิ์" บอกว่า เมื่อเลือกเดินรถแบบต่อเนื่องแล้ว ต้องเจรจารายเดิมจะดีกว่าเปิดประมูลใหม่ ซึ่งบีเอ็มซีแอลมีโครงข่ายเดิมวิ่งบริการอยู่ครึ่งวง รออีกครึ่งวงใหม่จะครบโครงข่าย ขยายไม่ได้หรือโตไปมากกว่านี้แล้ว ประโยชน์คือสะดวก ปลอดภัย และเปิดได้เร็ว เพราะถ้าเราทำต่อ จะทยอยเปิดบริการเป็น 4 เฟส
ทยอยเปิดเป็นเฟส-ดีเดย์ปี?60
โดยช่วงเตาปูน-บางซื่อ (เชื่อมสายสีม่วง) จะใช้รถขบวนเดิมของใต้ดินมาวิ่ง พร้อมเปิดบริการกลางปี 2559 จากนั้นเปิดทดสอบเดินรถช่วงเตาปูน-บางพลัด เดือนมิถุนายน และเปิดบริการเดือนพฤศจิกายน 2560 เปิดทดสอบเดินรถช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เดือนตุลาคม และเปิดบริการเดือนมีนาคม 2561 และเปิดทดสอบเดินรถช่วงบางพลัด-ท่าพระ เดือนมกราคม และเปิดบริการเดือนมิถนายน 2561
"ถ้าเป็นรายใหม่ต้องรอให้เสร็จทั้งหมดถึงเปิดเดินรถได้ ให้เราดำเนินการนอกจากเปิดเร็ว ยังประหยัดงบประมาณ เพราะสามารถใช้คนเดิม ระบบเดิม ไม่ต้องซื้อใหม่ ซึ่ง รฟม.ประเมินไว้ประหยัดได้ 1 หมื่นล้านบาทใน 30 ปี" บิ๊ก ช.การช่างกล่าวและว่า
อยากเสนอให้รัฐเร่งเซ็นสัญญาโดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 60% กว่าจะสั่งซื้อรถ ติดตั้งระบบและทดสอบ ใช้เวลา 2-3 ปีกว่าจะเปิดบริการได้ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนสายสีม่วง งานก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีรถมาวิ่ง เพราะกว่าสัญญาเดินรถที่ รฟม.เจรจากับบีเอ็มซีแอลจะเสร็จใช้เวลากว่า 2 ปี
เปิดสีม่วง-น้ำเงินนล้างขสดทุน
ขณะที่ภาพอนาคต "บีเอ็มซีแอล" หลังเปิดเดินรถสายสีม่วงและสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย "พงษ์สฤษดิ์" บอกว่า จะทำให้บีเอ็มซีแอลดีขึ้นทันที ตอนนี้ขาดทุนถึงจุดต่ำสุดไปแล้ว มีหนี้กว่า 1.3 หมื่นล้าน จนต้องควบรวมกับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ หรือบีอีซีแอล เพื่อเสริมแกร่งฐานะการเงินภายใต้ชื่อใหม่ "บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้า" หรือ BEM จะจดทะเบียนเดือนกรกฎาคมนี้ ด้วยทุนประมาณ 15,000 ล้านบาท
แต่ถ้าส่วนต่อขยายยังล่าช้าอีก จะเป็นปัญหาเดิม ๆ อีก เพราะธุรกิจระบบขนส่งมวลชนขึ้นอยู่กับผู้โดยสาร ถ้าไม่ขยายคนก็ไม่ใช้ ทุกวันนี้บีเอ็มซีแอลถึงเหนื่อยเพราะคนไม่ใช้ ไม่มีส่วนต่อขยาย เดินมา 20 กม. ผ่านมา 10 ปียังเท่าเดิม ทำไมของบีทีเอสคนเยอะเพราะเขาต่อทุกปี แต่ของ รฟม.ทำแล้วด้วนมา 10 ปีแล้ว
"เราไม่อยากขาดทุนหรอก เมื่อผู้โดยสารไม่มา ต้องลุยหาโครงข่ายใหม่ รถไฟฟ้าใต้ดินตอนแรกจะมีผู้โดยสาร 4 แสนเที่ยวคนต่อวัน เมื่อส่วนต่อขยายใหม่เปิดใช้จะเป็น 7 แสนเที่ยวคนต่อวัน ผ่านมา 10 ปีเพิ่งได้ 2.4 แสนเที่ยวคนต่อวัน รอสายสีม่วงเปิดปีหน้า คาดว่ามีผู้โดยสารอีกประมาณ 2 แสนเที่ยวคนต่อวัน"
"พงษ์สฤษดิ์" ย้ำว่า ถ้ารัฐบาลให้เดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยาย จะเตรียมการได้ทันที ทั้งคัดเลือกระบบรถไฟจะเป็นซีเมนส์ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส แคนาดา จะสั่งผลิต 28 ขบวน ใช้เวลา 2 ปี แต่ระหว่างรอรถใหม่จะนำรถเก่ามาวิ่งให้บริการไปก่อนจากสถานีบางซื่อ-เตาปูน เพื่อป้อนคนเข้าสู่ระบบสายสีม่วงที่มีกำหนดจะเปิดต้นปีหน้า จากนั้นเมื่อรถมาถึงสามารถทดสอบพร้อมวิ่งได้ทันที
เป็นความพร้อมสุดขีดของภาคเอกชน รอแค่รัฐบาลมาต่อยอดเท่านั้น
ไขปริศนาที่มาเงิน 290 ล้าน จุดเกิดเหตุ "สถานีสนามไชย"
สัมภาษณ์
งานอุโมงค์ "สถานีสนามไชย" ส่วนหนึ่งในสัญญารถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ของ "ช.การช่าง" วงเงิน 10,687 ล้านบาท จู่ๆ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นฮอต อิสชู ท่ามกลางการเปิดศึกชิงเก้าอี้ ผู้ว่าการ รฟม.คนใหม่ ทั้งที่งานจบไปตั้งแต่ปี 2556
หลังมีการร้องเรียนไปยัง "สตง.-สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน" ถึงการเพิ่มงบประมาณจากสัญญาเดิมอีก จำนวน 290 ล้านบาท ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ "ช.การช่าง"
สำหรับข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร "พงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.ช.การช่าง มีคำตอบ
- สาเหตุเพิ่มค่าก่อสร้างอีก
เกิดปัญหาเพราะงานสัญญาที่รัฐจ้างเป็นดีไซน์แอนด์บิลด์ ให้ออกแบบและก่อสร้างไปพร้อมกัน มองว่างานก่อสร้างระดับนี้เมื่อออกแบบแล้วสร้างไม่ได้จริงจะมีปัญหา ซึ่งสถานีสนามไชยเดิมจะก่อสร้างด้วยวิธีทำเป็นตัวกำแพงคันดินแล้วขุดลงไป แต่ปัจจัยสำคัญคือสภาพดินและสภาพน้ำ ตอนประมูล (ปี 2553) พบว่าสภาพดินและน้ำบริเวณนี้ใช้ได้ น่าจะเพียงพอถ้าใช้วิธีดูดน้ำบาดาล โดยระหว่างขุดจะต้องดูดน้ำบาดาลออก ทาง รฟม.ตกลงจ้างด้วยราคาหนึ่ง
แต่บริเวณนี้มีความยากกว่าที่อื่น เพราะเป็นเขตรัตนโกสินทร์ชั้นใน ห้ามขุดเจาะบนถนน จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากร ในการประมูลไม่มีผู้รับจ้างคนไหนไปรู้สภาพดินทั้งหมด แต่ข้อมูล ณ วันนั้น เรากับรัฐรู้ข้อมูลเหมือนกันว่าสภาพดินเป็นแบบนี้ ก็ใช้วิธีดูดน้ำบาดาลขุดเจาะได้ ปรากฏว่าพอทำจริง ไปเช็กสภาพ ปรากฏว่าสภาพดินแตกต่างจากวันประมูล สภาพดินเหมือนทราย บอกรัฐว่าไม่ใช่เรื่องปกติ คนละเรื่องกันเลย
จึงนำข้อมูลทั้งหมดให้ AIT มาสำรวจ แสดงว่าสภาพดินแม่น้ำเจ้าพระยามีอะไรแปลก ทำให้ค่าของดินแตกต่างจากตอนประมูลสิ้นเชิง ใครจะไปเมกค่าดินได้ ทาง AIT บอกว่าอาจจะเป็นไปได้ คือ 1.น้ำท่วมใหญ่ปี?54 และ 2.แม่น้ำเจ้าพระยามีสภาพเปลี่ยนแปลงตลอด ได้หารือว่าจะสร้างวิธีเดิมได้ไหม ทาง AIT บอกว่าไม่ได้เด็ดขาด เวลาดูดน้ำบาดาลดินจะทรุด สถานีกว้าง 50 เมตร ยาว 200 เมตร ถ้าดูดน้ำบาดาลออกไปจะมีแนวออกไปข้าง ๆ จะเป็นโซนที่ทรุดทั้งหมด ทั้งวัดราชบพิธฯ มิวเซียมสยาม วัดโพธิ์ สถานีตำรวจพระราชวัง จะถล่มลงมาหมด เพราะสภาพดินตรงนี้เป็นทราย ไม่ใช่ดินแบบที่เห็น และหารือกับที่ปรึกษากับ รฟม. ผลสรุปออกมาว่าถ้าทำแบบวิธีเดิม สิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเป็นสภาพวิบัติเหมือนในไต้หวัน หรือเยอรมนี
ขึ้นรถให้ทัน วันที่ 2 นี้ประชุมแล้วระวังขึ้นรถไม่ทัน ผมเก็บของครบแล้ววันนี้เลยมาเชียร์ครับ
วันที่ 2 นี้อย่าลืมไปประชุมกันครับ
ข่าวความคืบหน้ารถไฟฟ้าครับ
updated: 26 มี.ค. 2558 เวลา 15:20:10 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หลังเปิดหน้าดินลงเข็มก่อสร้างเมื่อปี 2554 ขณะนี้ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน" ส่วนต่อขยายจากบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. กำลังรุดหน้าไปด้วยดี มีผลงานก้าวหน้ารวม 60.19% ยังล่าช้าจากแผนงาน 1.31%
อุโมงค์ ช.การช่างเร็วกว่าแผน
แยกเป็นสัญญาที่ 1 โครงสร้างใต้ดินช่วง "หัวลำโพง-สนามไชย" ระยะทาง 2.8 กม. ไซต์ก่อสร้างของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ คืบหน้า 68.24% ล่าช้า 1.27% จะแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2560
สัญญาที่ 2 โครงสร้างใต้ดินช่วง "สนามไชย-ท่าพระ" ระยะทาง 2.6 กม. งานก่อสร้างของ "บมจ.ช.การช่าง" คืบหน้า 70.84% เร็วกว่าแผน 1.55% จะแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม 2559
สัญญาที่ 3 โครงสร้างทางยกระดับช่วง "เตาปูน-ท่าพระ" ระยะทาง 13 กม. ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SH-UN (บมจ.ยูนิคฯและซิโนไฮโดร) คืบหน้า 46.04% เร็วกว่าแผน 0.05% จะแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2560
สัญญาที่ 4 โครงสร้างยกระดับช่วง "ท่าพระ-หลักสอง" ระยะทาง 10.5 กม. ของ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น คืบหน้า 53.3% ช้าจากแผน 5.36% จะแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2560 และสัญญาที่ 5 งานระบบรางของ ช.การช่าง คืบหน้า 70.37% เร็วกว่าแผน 0.30% จะแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2560
เจรจารายเดิมเดินรถส่วนต่อขยาย
สิ่งที่ต้องลุ้นต่อ "การคัดเลือกเอกชนเดินรถ" วงเงินลงทุน 22,141 ล้านบาท ที่ติดหล่ม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ มาหลายปี จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปจะเดินรถแบบจ้างหรือสัมปทาน จึงเป็นที่มาของอีเวนต์กดปุ่มอุโมงค์ที่ 2 สร้างลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ที่"บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจไซต์งาน ช.การช่าง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558
แม้ "บิ๊กตู่" ส่งสัญญาณ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ให้เดินรถต่อเนื่อง โดยเจรจารายเดิม "บีเอ็มซีแอล-บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ" ธุรกิจในเครือ "ช.การช่าง" เป็นลำดับแรก หากผลตอบแทนไม่สมประโยชน์กัน ถึงจะเปิดประมูลหารายใหม่
แต่ยังต้องฝ่าด่านคณะกรรมการมาตรา 13 อีกหลายยก กว่าจะสะเด็ดน้ำคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 เดือน รวมถึงด่านคณะกรรมการตรวจสอบสัญญาคุณธรรมที่รัฐบาลชุดนี้นำมาใช้กับโครงการนี้ด้วย
BMCL ลุ้นจ้างหรือสัมปทาน
ขณะที่ "บีเอ็มซีแอล" ต้องลุ้นระทึกว่า คณะกรรมการมาตรา 13 จะเคาะแนวทางไหนระหว่าง "จ้างกับให้สัมปทาน" เพราะถ้าจ้างเท่ากับรัฐบาลรับความเสี่ยงให้ ขณะที่ "สัมปทาน" บีเอ็มซีแอลจะต้องแบกรับความเสี่ยงเอง และแบ่งผลตอบแทนรายได้ค่าโดยสารให้ รฟม.เป็นรายปีตามที่ตกลง เหมือนรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก
"ไม่กังวลใจ จะเป็นวิธีจ้างหรือสัมปทาน เราเป็นผู้ลงทุนต้องทำตามกติการัฐ ถ้ารัฐอยากจ้างความเสี่ยงอยู่ที่รัฐ แต่ถ้าเป็นสัมปทานแสดงว่ารัฐไม่รับความเสี่ยง ให้เอกชนรับแทน มาคุยผลประโยชน์กัน" คำตอบจาก "พงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.ช.การช่าง
พร้อมย้ำว่า...ขอให้เป็นรายเดิมที่เป็นผู้เดินรถสายนี้ เพราะเป็นส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าใต้ดินสายเดิมที่บริษัทเดินรถให้ ทำให้การบริการวิ่งเป็นวงกลม และเป็นประโยชน์ อย่างแรกคือรถวิ่งต่อไปได้เลย ที่เรียกว่าเดินรถต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนรถ เช่น ขึ้นจากสามย่านไปหัวลำโพง ทะลุไปวัดมังกรฯ ถ้าคนละเจ้าต้องเปลี่ยนรถที่หัวลำโพง
"พงษ์สฤษดิ์" บอกว่า เมื่อเลือกเดินรถแบบต่อเนื่องแล้ว ต้องเจรจารายเดิมจะดีกว่าเปิดประมูลใหม่ ซึ่งบีเอ็มซีแอลมีโครงข่ายเดิมวิ่งบริการอยู่ครึ่งวง รออีกครึ่งวงใหม่จะครบโครงข่าย ขยายไม่ได้หรือโตไปมากกว่านี้แล้ว ประโยชน์คือสะดวก ปลอดภัย และเปิดได้เร็ว เพราะถ้าเราทำต่อ จะทยอยเปิดบริการเป็น 4 เฟส
ทยอยเปิดเป็นเฟส-ดีเดย์ปี?60
โดยช่วงเตาปูน-บางซื่อ (เชื่อมสายสีม่วง) จะใช้รถขบวนเดิมของใต้ดินมาวิ่ง พร้อมเปิดบริการกลางปี 2559 จากนั้นเปิดทดสอบเดินรถช่วงเตาปูน-บางพลัด เดือนมิถุนายน และเปิดบริการเดือนพฤศจิกายน 2560 เปิดทดสอบเดินรถช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เดือนตุลาคม และเปิดบริการเดือนมีนาคม 2561 และเปิดทดสอบเดินรถช่วงบางพลัด-ท่าพระ เดือนมกราคม และเปิดบริการเดือนมิถนายน 2561
"ถ้าเป็นรายใหม่ต้องรอให้เสร็จทั้งหมดถึงเปิดเดินรถได้ ให้เราดำเนินการนอกจากเปิดเร็ว ยังประหยัดงบประมาณ เพราะสามารถใช้คนเดิม ระบบเดิม ไม่ต้องซื้อใหม่ ซึ่ง รฟม.ประเมินไว้ประหยัดได้ 1 หมื่นล้านบาทใน 30 ปี" บิ๊ก ช.การช่างกล่าวและว่า
อยากเสนอให้รัฐเร่งเซ็นสัญญาโดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 60% กว่าจะสั่งซื้อรถ ติดตั้งระบบและทดสอบ ใช้เวลา 2-3 ปีกว่าจะเปิดบริการได้ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนสายสีม่วง งานก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีรถมาวิ่ง เพราะกว่าสัญญาเดินรถที่ รฟม.เจรจากับบีเอ็มซีแอลจะเสร็จใช้เวลากว่า 2 ปี
เปิดสีม่วง-น้ำเงินนล้างขสดทุน
ขณะที่ภาพอนาคต "บีเอ็มซีแอล" หลังเปิดเดินรถสายสีม่วงและสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย "พงษ์สฤษดิ์" บอกว่า จะทำให้บีเอ็มซีแอลดีขึ้นทันที ตอนนี้ขาดทุนถึงจุดต่ำสุดไปแล้ว มีหนี้กว่า 1.3 หมื่นล้าน จนต้องควบรวมกับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ หรือบีอีซีแอล เพื่อเสริมแกร่งฐานะการเงินภายใต้ชื่อใหม่ "บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้า" หรือ BEM จะจดทะเบียนเดือนกรกฎาคมนี้ ด้วยทุนประมาณ 15,000 ล้านบาท
แต่ถ้าส่วนต่อขยายยังล่าช้าอีก จะเป็นปัญหาเดิม ๆ อีก เพราะธุรกิจระบบขนส่งมวลชนขึ้นอยู่กับผู้โดยสาร ถ้าไม่ขยายคนก็ไม่ใช้ ทุกวันนี้บีเอ็มซีแอลถึงเหนื่อยเพราะคนไม่ใช้ ไม่มีส่วนต่อขยาย เดินมา 20 กม. ผ่านมา 10 ปียังเท่าเดิม ทำไมของบีทีเอสคนเยอะเพราะเขาต่อทุกปี แต่ของ รฟม.ทำแล้วด้วนมา 10 ปีแล้ว
"เราไม่อยากขาดทุนหรอก เมื่อผู้โดยสารไม่มา ต้องลุยหาโครงข่ายใหม่ รถไฟฟ้าใต้ดินตอนแรกจะมีผู้โดยสาร 4 แสนเที่ยวคนต่อวัน เมื่อส่วนต่อขยายใหม่เปิดใช้จะเป็น 7 แสนเที่ยวคนต่อวัน ผ่านมา 10 ปีเพิ่งได้ 2.4 แสนเที่ยวคนต่อวัน รอสายสีม่วงเปิดปีหน้า คาดว่ามีผู้โดยสารอีกประมาณ 2 แสนเที่ยวคนต่อวัน"
"พงษ์สฤษดิ์" ย้ำว่า ถ้ารัฐบาลให้เดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยาย จะเตรียมการได้ทันที ทั้งคัดเลือกระบบรถไฟจะเป็นซีเมนส์ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส แคนาดา จะสั่งผลิต 28 ขบวน ใช้เวลา 2 ปี แต่ระหว่างรอรถใหม่จะนำรถเก่ามาวิ่งให้บริการไปก่อนจากสถานีบางซื่อ-เตาปูน เพื่อป้อนคนเข้าสู่ระบบสายสีม่วงที่มีกำหนดจะเปิดต้นปีหน้า จากนั้นเมื่อรถมาถึงสามารถทดสอบพร้อมวิ่งได้ทันที
เป็นความพร้อมสุดขีดของภาคเอกชน รอแค่รัฐบาลมาต่อยอดเท่านั้น
ไขปริศนาที่มาเงิน 290 ล้าน จุดเกิดเหตุ "สถานีสนามไชย"
สัมภาษณ์
งานอุโมงค์ "สถานีสนามไชย" ส่วนหนึ่งในสัญญารถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ของ "ช.การช่าง" วงเงิน 10,687 ล้านบาท จู่ๆ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นฮอต อิสชู ท่ามกลางการเปิดศึกชิงเก้าอี้ ผู้ว่าการ รฟม.คนใหม่ ทั้งที่งานจบไปตั้งแต่ปี 2556
หลังมีการร้องเรียนไปยัง "สตง.-สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน" ถึงการเพิ่มงบประมาณจากสัญญาเดิมอีก จำนวน 290 ล้านบาท ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ "ช.การช่าง"
สำหรับข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร "พงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.ช.การช่าง มีคำตอบ
- สาเหตุเพิ่มค่าก่อสร้างอีก
เกิดปัญหาเพราะงานสัญญาที่รัฐจ้างเป็นดีไซน์แอนด์บิลด์ ให้ออกแบบและก่อสร้างไปพร้อมกัน มองว่างานก่อสร้างระดับนี้เมื่อออกแบบแล้วสร้างไม่ได้จริงจะมีปัญหา ซึ่งสถานีสนามไชยเดิมจะก่อสร้างด้วยวิธีทำเป็นตัวกำแพงคันดินแล้วขุดลงไป แต่ปัจจัยสำคัญคือสภาพดินและสภาพน้ำ ตอนประมูล (ปี 2553) พบว่าสภาพดินและน้ำบริเวณนี้ใช้ได้ น่าจะเพียงพอถ้าใช้วิธีดูดน้ำบาดาล โดยระหว่างขุดจะต้องดูดน้ำบาดาลออก ทาง รฟม.ตกลงจ้างด้วยราคาหนึ่ง
แต่บริเวณนี้มีความยากกว่าที่อื่น เพราะเป็นเขตรัตนโกสินทร์ชั้นใน ห้ามขุดเจาะบนถนน จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากร ในการประมูลไม่มีผู้รับจ้างคนไหนไปรู้สภาพดินทั้งหมด แต่ข้อมูล ณ วันนั้น เรากับรัฐรู้ข้อมูลเหมือนกันว่าสภาพดินเป็นแบบนี้ ก็ใช้วิธีดูดน้ำบาดาลขุดเจาะได้ ปรากฏว่าพอทำจริง ไปเช็กสภาพ ปรากฏว่าสภาพดินแตกต่างจากวันประมูล สภาพดินเหมือนทราย บอกรัฐว่าไม่ใช่เรื่องปกติ คนละเรื่องกันเลย
จึงนำข้อมูลทั้งหมดให้ AIT มาสำรวจ แสดงว่าสภาพดินแม่น้ำเจ้าพระยามีอะไรแปลก ทำให้ค่าของดินแตกต่างจากตอนประมูลสิ้นเชิง ใครจะไปเมกค่าดินได้ ทาง AIT บอกว่าอาจจะเป็นไปได้ คือ 1.น้ำท่วมใหญ่ปี?54 และ 2.แม่น้ำเจ้าพระยามีสภาพเปลี่ยนแปลงตลอด ได้หารือว่าจะสร้างวิธีเดิมได้ไหม ทาง AIT บอกว่าไม่ได้เด็ดขาด เวลาดูดน้ำบาดาลดินจะทรุด สถานีกว้าง 50 เมตร ยาว 200 เมตร ถ้าดูดน้ำบาดาลออกไปจะมีแนวออกไปข้าง ๆ จะเป็นโซนที่ทรุดทั้งหมด ทั้งวัดราชบพิธฯ มิวเซียมสยาม วัดโพธิ์ สถานีตำรวจพระราชวัง จะถล่มลงมาหมด เพราะสภาพดินตรงนี้เป็นทราย ไม่ใช่ดินแบบที่เห็น และหารือกับที่ปรึกษากับ รฟม. ผลสรุปออกมาว่าถ้าทำแบบวิธีเดิม สิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเป็นสภาพวิบัติเหมือนในไต้หวัน หรือเยอรมนี