Evita และประจำตัวของเธอที่ใช้ทักทายประชาชน
ต่อจากกระทู้ที่แล้ว:
http://ppantip.com/topic/33426224
หัวข้อเนื้อหากระทู้ที่แล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้- ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอาชีพนักแสดง
- การก้าวเข้าสูาเวทีทางการเมืองของอาร์เจนตินา หลังจากที่ได้สมรสกับพันเอกฉวน Juan Domingo Perón [ฆวน โดมิงโก เปรอน]
- จุดเริ่นต้นของ Peronism (เปรอนนิยม) ซึ่งเปลี่ยนแปลงการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของอาร์เจนตินามาจนถึงทุกวันนี้
- สิทธิการเลือกตั้งสตรี, รัฐธรรมนูญ 1949, มูลนิธิเอบา เปรอนเพื่องานสังคมสงเคราะห์, แบบเรียนลัทธิตัวบุคคล (Cult of Personality)
- แฟชั่นและการแต่งตัวของเธอ
ยังคงพาเยี่ยมชมที่พิพิธภัณฑ์ Evita [เอบิตา]* ใน Buenos Aires สำหรับวิธีเดินทางอยู่ที่กระทู้ที่แล้ว หลังจากสองกระทู้นี้แล้ว เผื่อใครที่สนใจจะแวะมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้หากมาที่บูเอโนสไอเรส ลำดับเนื้อหายังคงอ้างอิงจากลำดับนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ (ดูในกระทู้ก่อนหน้า) อาจจะมีรูปที่ถ่ายจากพิพิธภัณฑ์น้อยลง
*Evita [เอบิตา] หรือชื่อเต็ม María Eva Duarte de Perón [มาเรีย เอบา ดูอาร์เต เด เปรอน]* มักอ่านติดปากว่า "เอวิต้า" หรือ "เอวา เปรอง" จริงๆ แล้วภาษาสเปน "v" อ่านออกเสียง "บ" ส่วน "n" ออกเสียง "น" และนามสกุลของเธอคือ "Duarte" ไม่ใช่ "Perón" แต่ปกติในภาษาสเปนนามสกุลของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะห้อยท้ายต่อว่า de + นามสกุลสามี (ศพของเธอฝังที่หลุมศพตระกูล Duarte)
แต่กระทู้นี้อาจจะเน้นเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองมากกว่า สำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์อาร์เจนตินาและยุคของเปรอน ในอาร์เจนตินาเองยังคงเป็นที่ถกเถียงว่าแท้จริงแล้วการมาถึงของเปรอนนั้นส่งผลดีหรือผลเสียต่อประเทศกันแน่ ซึ่งแน่นอนว่าในทางวิชาการไม่มีข้อสรุปตายตัว ขึ้นอยู่กับการให้เหตุผลสนับสนุนของแต่ละฝ่าย ใครที่มีข้อมูลอื่นหรือต้องการแลกเปลี่ยนก็ยินดีครับ
*หลายคนอาจจะนำเหตุการณ์ที่ผ่านมาของประเทศนี้มาเชื่อมโยงและเปรียบเทียบกับประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากมีอาจมองว่าประเทศไทยหลังจากปี 2540 จนถึงทุกวันนี้ มีความคล้ายคลึงกับอาร์เจนตินาตินายุคเปรอนเป็นต้นมา ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่เถียงกันได้และน่าสนใจ ยินดีเปิดรับทุกความเห็นครับ (ภายใต้กฎของ Pantip)
Timeline ประวัติศาสตร์ของอาร์เจนตินาช่วงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งน่าจะทำให้อ่านกระทู้ที่แล้วและกระทู้นี้ง่ายขึ้น
1943-1946: รัฐบาลทหาร - ฆวน เปรอนในฐานะรองประธานาธิบดีและหัวหน้ากรมแรงงาน จุดเริ่มต้นของเปรอนนิยม
1946-1952: รัฐบาลเปรอนสมัยที่ 1 - พรรคเดียวเสียงข้างมากอย่างถล่มทลาย ครบวาระ
1952-1955: รัฐบาลเปรอนสมัยที่ 2 - ได้รับเลือกตั้งซ้ำ เกิดรัฐประหาร เปรอนลี้ภัยไปต่างประเทศ
1955-1958: รัฐบาลทหาร "Liberator Revolution" - พรรคการเมืองเปรอนนิยมซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศถูกสังห้ามเคลื่อนไหว เกิดกระบวนการลบล้างเปรอนนิยม (de-Peronisation) ส่วนเปรอนเริ่มสั่งการมาจากต่างประเทศ
1958-1966: ประชาธิปไตยภายใต้อำนาจทหาร - พรรคฝ่ายตรงข้ามได้รับเลือกตั้ง (พรรคของเปรอนถูกแบน) ทหารยังคงแทรกแทรงการบริหาร รัฐบาลพลเรือนอ่อนแอ โดยมีสองรัฐบาลและถูกทหารทำรัฐประหารทั้งคู่
1966-1973: รัฐบาลทหาร "Argentine Revolution" - ทหารกลับมาคุมประเทศโดยตรงอีกครั้ง กลุ่มเคลื่อนไหวของผู้นิยมเปรอนบางส่วนใช้ความรุนแรงโดยเฉพาะกองโจร ประเทศไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดทหารได้เจรจากับเปรอน
1973-1974: รัฐบาลเปรอนสมัยที่ 3 - เปรอนกลับมาอีกครั้งและชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย กลุ่มหัวรุนแรงยังคงก่อความไม่สงบและคุมไม่อยู่ เปรอนเสียชีวิตในปีต่อมา
1974-1976: รัฐบาลอิซาเบล เปรอน - รองประธานาธิบดีอิซาเบล เปรอน (ภรรยาคนที่ 3 ของเขา) ขึ้นเป็นประธานาธิบดีโดยอัติโนมัติ ความไม่สงบที่รุนแรงขึ้นและปัญหาเศรษฐกิจทำให้ประเทศขาดเสถียรภาพอย่างมาก ทหารทำรัฐประหารอีกครั้ง
1916-1983: รัฐบาลทหาร "National Reorganisation Process" - ทหารได้เข้ารักษาความสงบ มีการใช้ Systematic State Terrorism กวาดล้างผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองแบบถอนรากถอนโคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้นิยมเปรอนและฝ่ายซ้าย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 30,000 คน เป็นช่วง "สงครามสกปรก" (Dirty War) ต่อมาอาร์เจนตินาแพ้สงคราม Falklands ทำให้ทหารจัดการเลือกตั้ง เป็น Military Junta สุดท้ายของอาร์เจนตินา
1983-1989: รัฐบาลของนาย Alfonsin - รัฐบาลพลเรือนจากพรรคฝ่ายตรงข้ามเปรอนได้รับชัยนะในการเลือกตั้ง มีการตั้งคณะสืบหาความจริง และดำเนินคดีผู้นำในรัฐประหารและนายทหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยใช้กระบวนการยุติธรรมปกติ
ปัจจุบันรัฐบาลของอาร์เจนตินาของ Cristina de Kirchner มาจากพรรคของเปรอน โดยมาจากกลุ่มฝ่ายซ้ายในพรรค
หัวหน้าคณะ Junta (Jorge Rafael Videla) เสียชีวิตในคุกไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา
ความเดิมตอนที่แล้ว
โต๊ะ อุปกรณ์การเรียนจากมูลนิธิเอบา เปรอน
นโยบายการศึกษาเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ชนชั้นนำจารีตประเภณียากที่จะรับได้ การบริจาคสิ่งของโดยมูลนิธิเอบา เปรอน นั้นมีการปลูกฝังอุดมการณ์แก่เด็กและเยาวชนไปในตัว โดยเฉพาะเนื้อหาในแบบเรียนที่ออกมาในช่วงรัฐบาลนี้ ตัวอย่างเช่นหนังสืออ่านนอกเวลาเรื่อง "Evita" สำหรับเด็กชั้น ป.1 (คำแปลอยู่ใน spoil)
กระทู้แบบเรียนเล่มนี้โดยเฉพาะ
http://ppantip.com/topic/33438960
Evita Museum ที่ Buenos Aires และประวัติของเธอฉบับย่อ (จบ) + ประวัติศาสตร์การเมืองอาร์เจนตินาเล็กน้อย
Evita และประจำตัวของเธอที่ใช้ทักทายประชาชน
ต่อจากกระทู้ที่แล้ว: http://ppantip.com/topic/33426224
หัวข้อเนื้อหากระทู้ที่แล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยังคงพาเยี่ยมชมที่พิพิธภัณฑ์ Evita [เอบิตา]* ใน Buenos Aires สำหรับวิธีเดินทางอยู่ที่กระทู้ที่แล้ว หลังจากสองกระทู้นี้แล้ว เผื่อใครที่สนใจจะแวะมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้หากมาที่บูเอโนสไอเรส ลำดับเนื้อหายังคงอ้างอิงจากลำดับนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ (ดูในกระทู้ก่อนหน้า) อาจจะมีรูปที่ถ่ายจากพิพิธภัณฑ์น้อยลง
*Evita [เอบิตา] หรือชื่อเต็ม María Eva Duarte de Perón [มาเรีย เอบา ดูอาร์เต เด เปรอน]* มักอ่านติดปากว่า "เอวิต้า" หรือ "เอวา เปรอง" จริงๆ แล้วภาษาสเปน "v" อ่านออกเสียง "บ" ส่วน "n" ออกเสียง "น" และนามสกุลของเธอคือ "Duarte" ไม่ใช่ "Perón" แต่ปกติในภาษาสเปนนามสกุลของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะห้อยท้ายต่อว่า de + นามสกุลสามี (ศพของเธอฝังที่หลุมศพตระกูล Duarte)
แต่กระทู้นี้อาจจะเน้นเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองมากกว่า สำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์อาร์เจนตินาและยุคของเปรอน ในอาร์เจนตินาเองยังคงเป็นที่ถกเถียงว่าแท้จริงแล้วการมาถึงของเปรอนนั้นส่งผลดีหรือผลเสียต่อประเทศกันแน่ ซึ่งแน่นอนว่าในทางวิชาการไม่มีข้อสรุปตายตัว ขึ้นอยู่กับการให้เหตุผลสนับสนุนของแต่ละฝ่าย ใครที่มีข้อมูลอื่นหรือต้องการแลกเปลี่ยนก็ยินดีครับ
*หลายคนอาจจะนำเหตุการณ์ที่ผ่านมาของประเทศนี้มาเชื่อมโยงและเปรียบเทียบกับประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากมีอาจมองว่าประเทศไทยหลังจากปี 2540 จนถึงทุกวันนี้ มีความคล้ายคลึงกับอาร์เจนตินาตินายุคเปรอนเป็นต้นมา ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่เถียงกันได้และน่าสนใจ ยินดีเปิดรับทุกความเห็นครับ (ภายใต้กฎของ Pantip)
Timeline ประวัติศาสตร์ของอาร์เจนตินาช่วงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งน่าจะทำให้อ่านกระทู้ที่แล้วและกระทู้นี้ง่ายขึ้น
1943-1946: รัฐบาลทหาร - ฆวน เปรอนในฐานะรองประธานาธิบดีและหัวหน้ากรมแรงงาน จุดเริ่มต้นของเปรอนนิยม
1946-1952: รัฐบาลเปรอนสมัยที่ 1 - พรรคเดียวเสียงข้างมากอย่างถล่มทลาย ครบวาระ
1952-1955: รัฐบาลเปรอนสมัยที่ 2 - ได้รับเลือกตั้งซ้ำ เกิดรัฐประหาร เปรอนลี้ภัยไปต่างประเทศ
1955-1958: รัฐบาลทหาร "Liberator Revolution" - พรรคการเมืองเปรอนนิยมซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศถูกสังห้ามเคลื่อนไหว เกิดกระบวนการลบล้างเปรอนนิยม (de-Peronisation) ส่วนเปรอนเริ่มสั่งการมาจากต่างประเทศ
1958-1966: ประชาธิปไตยภายใต้อำนาจทหาร - พรรคฝ่ายตรงข้ามได้รับเลือกตั้ง (พรรคของเปรอนถูกแบน) ทหารยังคงแทรกแทรงการบริหาร รัฐบาลพลเรือนอ่อนแอ โดยมีสองรัฐบาลและถูกทหารทำรัฐประหารทั้งคู่
1966-1973: รัฐบาลทหาร "Argentine Revolution" - ทหารกลับมาคุมประเทศโดยตรงอีกครั้ง กลุ่มเคลื่อนไหวของผู้นิยมเปรอนบางส่วนใช้ความรุนแรงโดยเฉพาะกองโจร ประเทศไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดทหารได้เจรจากับเปรอน
1973-1974: รัฐบาลเปรอนสมัยที่ 3 - เปรอนกลับมาอีกครั้งและชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย กลุ่มหัวรุนแรงยังคงก่อความไม่สงบและคุมไม่อยู่ เปรอนเสียชีวิตในปีต่อมา
1974-1976: รัฐบาลอิซาเบล เปรอน - รองประธานาธิบดีอิซาเบล เปรอน (ภรรยาคนที่ 3 ของเขา) ขึ้นเป็นประธานาธิบดีโดยอัติโนมัติ ความไม่สงบที่รุนแรงขึ้นและปัญหาเศรษฐกิจทำให้ประเทศขาดเสถียรภาพอย่างมาก ทหารทำรัฐประหารอีกครั้ง
1916-1983: รัฐบาลทหาร "National Reorganisation Process" - ทหารได้เข้ารักษาความสงบ มีการใช้ Systematic State Terrorism กวาดล้างผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองแบบถอนรากถอนโคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้นิยมเปรอนและฝ่ายซ้าย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 30,000 คน เป็นช่วง "สงครามสกปรก" (Dirty War) ต่อมาอาร์เจนตินาแพ้สงคราม Falklands ทำให้ทหารจัดการเลือกตั้ง เป็น Military Junta สุดท้ายของอาร์เจนตินา
1983-1989: รัฐบาลของนาย Alfonsin - รัฐบาลพลเรือนจากพรรคฝ่ายตรงข้ามเปรอนได้รับชัยนะในการเลือกตั้ง มีการตั้งคณะสืบหาความจริง และดำเนินคดีผู้นำในรัฐประหารและนายทหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยใช้กระบวนการยุติธรรมปกติ
ปัจจุบันรัฐบาลของอาร์เจนตินาของ Cristina de Kirchner มาจากพรรคของเปรอน โดยมาจากกลุ่มฝ่ายซ้ายในพรรค
หัวหน้าคณะ Junta (Jorge Rafael Videla) เสียชีวิตในคุกไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา
ความเดิมตอนที่แล้ว
โต๊ะ อุปกรณ์การเรียนจากมูลนิธิเอบา เปรอน
นโยบายการศึกษาเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ชนชั้นนำจารีตประเภณียากที่จะรับได้ การบริจาคสิ่งของโดยมูลนิธิเอบา เปรอน นั้นมีการปลูกฝังอุดมการณ์แก่เด็กและเยาวชนไปในตัว โดยเฉพาะเนื้อหาในแบบเรียนที่ออกมาในช่วงรัฐบาลนี้ ตัวอย่างเช่นหนังสืออ่านนอกเวลาเรื่อง "Evita" สำหรับเด็กชั้น ป.1 (คำแปลอยู่ใน spoil)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กระทู้แบบเรียนเล่มนี้โดยเฉพาะ http://ppantip.com/topic/33438960