พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B9%D1%B5%B5%C5%D1%A1%C9%B3%D0
อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา,
ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา;
เป็นเพราะช่วงนี้กำลังสนใจอ่านเรื่องนิพพานอัตตา(อนัตตา) อยู่ จึงมีเรื่องมาเสนอ ปรึกษา สอบถาม และสอบทานมากหน่อยนะครับท่าน
คือในแง่ที่ว่า นิพพานอนัตตานั้น ประเด็นแรกที่ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตเอาไว้ก็คือ ยังไม่พบหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้นะครับ
แต่เรื่องที่ตั้งใจจะสอบถามในกระทู้นี้ก็คือ นิพพาน มีอนัตตลักษณะหรือไม่ ?
จากหลักฐานที่ยกมาเป็นของหลวงปู่ปยุตโตนะครับ ผมไม่แน่ใจว่า หลวงปู่ท่านอ้างจากพุทธพจน์หรือพระอรรถกถานะครับ
ถ้าหากท่านใดทราบ กรุณาบอกด้วยนะครับ จะได้เป็นความรู้ครับท่าน เกี่ยวกับเรื่อง นิพพานและอนัตตลักษณะ ขออนุญาต
แยกกล่าวเป็นข้อๆ นะครับท่าน
๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
อันนี้ผมเห็นว่าแปลกๆแล้วหละครับ ข้อแรก นิพพานไม่มีองค์ประกอบ ไม่ใช่การประชุมของอะไร ถือว่าไม่ผ่านนะครับ
ข้อสอง ไม่มีอะไรอยู่ในนิพพานแน่ๆ ถือว่าว่างเปล่านะครับ ข้อนี้ผ่าน
ข้อสาม อันนี้งงเล็กน้อยครับท่าน การว่างจากสมมุติต่างๆ หมายรวมไปถึง การสมมุติเรียกด้วยหรือเปล่าครับท่าน ?
เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การสมมุติเรียกว่านิพพาน ก็ยังใช้ไม่ได้ ยิ่งสมมุติเรียกว่า นิพพานอัตตา นิพพานอนัตตา ก็ยิ่งใช้ไม่ได้เข้าไปใหญ่
ท่านคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ ?
๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
อันนี้ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยสักเท่าไรนะครับ เพราะเป็นการกล่าวค้านพระพุทธดำรัส
เพราะพระคาถาจากโกลิตสูตร ระบุว่า
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖
มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ พึงรู้ความดับกิเลสของตน( ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ) ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=2266&w=%E2%A1%C5%D4%B5
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
ในเรื่องที่ว่า ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชาไม่ได้ อันนี้ผมยอมรับว่าน่าจะจริงนะครับ คือเราคงสั่งอะไรนิพพานไม่ได้
แต่เราพอที่จะตั้งความปรารถนาได้ไหม ? ผมไม่แน่ใจครับท่าน เช่นว่า การเสวยผลสมาบัติ หรือการเข้าสัญญาเวทยิธนิโรธ
อย่างนี้พอจะเข้าข่ายหรือไม่ครับท่าน ?
๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
ข้อนี้คงไม่เกี่ยวนะครับ เพราะนิพพานไม่ใช่สังขตะ หรือสังขาร ไม่มีเหตุปัจจัย ข้อนี้ผ่านไปเลยนะครับท่าน
๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
ข้อนี้ผมเข้าใจว่า เป็นการนำเอาอุจเฉททิฐิมาอธิบาย ซึ่งผิดนะครับท่าน เพราะภาวะที่ตรงข้ามกับอัตตา คือ นิรัตตา นี่ครับ
คือเท่าที่ทราบ น่าจะให้คำนิยามกันประมาณนี้ ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า การนำความหมายของ นิรัตตา มาบัญญัติเป็นนิยาม
ของอนัตตลักษณะ ก็ดูแปลกๆอยู่นะครับ ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าอย่างไรบ้างครับ ?
ขออนุญาตสรุปประเด็นนะครับ คือถ้าเราจะบอกว่า นิพพานอนัตตา ผมยังเห็นว่าฟังดูแปลกๆ เพราะเมื่อดูคำนิยาม
ของอนัตตลักษณะ ก็เหมือนกับว่า จะกล่าวถึง ขันธ์ห้า ไม่มีเจตนาจะกล่าวถึงนิพพาน อีกทั้งข้อความบางอย่าง
ก็เหมือนจะขัดแย้งกับหลักฐานจากพระสูตร หรือบางข้อ เหมือนจะเป็นมิจฉาทิฐิด้วยซ้ำ
เอาเป็นว่า ผมยังไม่ด่วนสรุปอะไรทั้งนั้น นะครับท่าน เป็นเพียงแค่ตั้งข้อสังเกตเอาไว้เฉยๆ
และขออนุญาตสอบถามความเห็น จากท่านผู้รู้ เพื่อเป็นวิทยาทาน ก็แล้วกันนะครับท่าน
ขออนุโมทนาสาธุครับท่าน
นิพพาน ดูไม่ค่อยจะเข้ากันได้สักเท่าไรกับ อนัตตลักษณะ นะครับท่าน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B9%D1%B5%B5%C5%D1%A1%C9%B3%D0
อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา,
ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา;
เป็นเพราะช่วงนี้กำลังสนใจอ่านเรื่องนิพพานอัตตา(อนัตตา) อยู่ จึงมีเรื่องมาเสนอ ปรึกษา สอบถาม และสอบทานมากหน่อยนะครับท่าน
คือในแง่ที่ว่า นิพพานอนัตตานั้น ประเด็นแรกที่ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตเอาไว้ก็คือ ยังไม่พบหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้นะครับ
แต่เรื่องที่ตั้งใจจะสอบถามในกระทู้นี้ก็คือ นิพพาน มีอนัตตลักษณะหรือไม่ ?
จากหลักฐานที่ยกมาเป็นของหลวงปู่ปยุตโตนะครับ ผมไม่แน่ใจว่า หลวงปู่ท่านอ้างจากพุทธพจน์หรือพระอรรถกถานะครับ
ถ้าหากท่านใดทราบ กรุณาบอกด้วยนะครับ จะได้เป็นความรู้ครับท่าน เกี่ยวกับเรื่อง นิพพานและอนัตตลักษณะ ขออนุญาต
แยกกล่าวเป็นข้อๆ นะครับท่าน
๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
อันนี้ผมเห็นว่าแปลกๆแล้วหละครับ ข้อแรก นิพพานไม่มีองค์ประกอบ ไม่ใช่การประชุมของอะไร ถือว่าไม่ผ่านนะครับ
ข้อสอง ไม่มีอะไรอยู่ในนิพพานแน่ๆ ถือว่าว่างเปล่านะครับ ข้อนี้ผ่าน
ข้อสาม อันนี้งงเล็กน้อยครับท่าน การว่างจากสมมุติต่างๆ หมายรวมไปถึง การสมมุติเรียกด้วยหรือเปล่าครับท่าน ?
เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การสมมุติเรียกว่านิพพาน ก็ยังใช้ไม่ได้ ยิ่งสมมุติเรียกว่า นิพพานอัตตา นิพพานอนัตตา ก็ยิ่งใช้ไม่ได้เข้าไปใหญ่
ท่านคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ ?
๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
อันนี้ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยสักเท่าไรนะครับ เพราะเป็นการกล่าวค้านพระพุทธดำรัส
เพราะพระคาถาจากโกลิตสูตร ระบุว่า
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖
มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ พึงรู้ความดับกิเลสของตน( ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ) ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=2266&w=%E2%A1%C5%D4%B5
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
ในเรื่องที่ว่า ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชาไม่ได้ อันนี้ผมยอมรับว่าน่าจะจริงนะครับ คือเราคงสั่งอะไรนิพพานไม่ได้
แต่เราพอที่จะตั้งความปรารถนาได้ไหม ? ผมไม่แน่ใจครับท่าน เช่นว่า การเสวยผลสมาบัติ หรือการเข้าสัญญาเวทยิธนิโรธ
อย่างนี้พอจะเข้าข่ายหรือไม่ครับท่าน ?
๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
ข้อนี้คงไม่เกี่ยวนะครับ เพราะนิพพานไม่ใช่สังขตะ หรือสังขาร ไม่มีเหตุปัจจัย ข้อนี้ผ่านไปเลยนะครับท่าน
๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
ข้อนี้ผมเข้าใจว่า เป็นการนำเอาอุจเฉททิฐิมาอธิบาย ซึ่งผิดนะครับท่าน เพราะภาวะที่ตรงข้ามกับอัตตา คือ นิรัตตา นี่ครับ
คือเท่าที่ทราบ น่าจะให้คำนิยามกันประมาณนี้ ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า การนำความหมายของ นิรัตตา มาบัญญัติเป็นนิยาม
ของอนัตตลักษณะ ก็ดูแปลกๆอยู่นะครับ ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าอย่างไรบ้างครับ ?
ขออนุญาตสรุปประเด็นนะครับ คือถ้าเราจะบอกว่า นิพพานอนัตตา ผมยังเห็นว่าฟังดูแปลกๆ เพราะเมื่อดูคำนิยาม
ของอนัตตลักษณะ ก็เหมือนกับว่า จะกล่าวถึง ขันธ์ห้า ไม่มีเจตนาจะกล่าวถึงนิพพาน อีกทั้งข้อความบางอย่าง
ก็เหมือนจะขัดแย้งกับหลักฐานจากพระสูตร หรือบางข้อ เหมือนจะเป็นมิจฉาทิฐิด้วยซ้ำ
เอาเป็นว่า ผมยังไม่ด่วนสรุปอะไรทั้งนั้น นะครับท่าน เป็นเพียงแค่ตั้งข้อสังเกตเอาไว้เฉยๆ
และขออนุญาตสอบถามความเห็น จากท่านผู้รู้ เพื่อเป็นวิทยาทาน ก็แล้วกันนะครับท่าน
ขออนุโมทนาสาธุครับท่าน