ความหมายของคำว่า "เดียรถีย์" ในความเห็นของผม

บ่อเกิด  (อายตนะ)   ที่เป็นเหมือนติตถะ  (ท่า)  หรือ บ่อเกิดของ
เดียรถีย์ทั้งหลาย   ชื่อว่า  ติตถายตนะ  แปลว่า  ลัทธิเดียรถีย์.
         ในบทว่า  ติตฺถายตนานิ  นั้น   นักศึกษาควรรู้จักติตถะ   ควรรู้จัก        
ติตถกร (เจ้าลัทธิ) ควรรู้จักเดียรถีย์ (และ) ควรรู้จักสาวกของเดียรถีย์ (ก่อน).
         ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ติตถะ  (ลัทธิ).  บุคคลผู้ให้เกิดทิฏฐิ ๖๒ เหล่านั้น
ชื่อว่า ติตถกร. บุคคลผู้พอใจ ชอบใจ  ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านั้น     ชื่อว่า  เดียรถีย์
บุคคลผู้ถวายปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้น    ชื่อว่า  สาวกของเดียรถีย์.
*   พระสูตรเป็น  ติตถสูตร   (ข้อความนี้ได้มาหลังจากได้ค้นคว้าใน แหล่งความรู้อื่นๆ จึงมีความถูกต้องตามพุทธพจน์)
=========================================================
ในความเห็นผม คำว่า เดียรถีย์  มีความหมายดังนี้
                       1.   เดียรถีย์ เปรียบเสมือน "การขึ้นท่าน้ำที่ผิด"
                         หมายถึง คำสอน ของลัทธิต่างๆๆที่ไม่สามารถพ้นทุกข์ได้
                        
                        2. เดียรถีย์มีความหมาย ตรงกับคำว่า  ติตฺถิย ในส่วนนี้ผมเข้าใจว่า ปกติความเห็น โดยทั่วไปก็จะมีความเห็นเป็นคู่ๆ
                          ที่เห็นขัดแย้งกัน หรือตรงข้ามกัน และถ้ามีความเห็น อื่นอีกที่เห็นต่าง เป็นแนวทางที่สาม หรือมากกว่า
                          ก็อาจใช้คำว่า ติตฺถิย  ดังนั้น ติตถิยะ กระผมเข้าใจว่าหมายถึง นานาความคิดเห็น
                    
                         จากประเด็นที่หนึ่งและประเด็นที่สอง ดังนั้น คำว่าเดียรถีย์ จึงหมายความว่า นานาคำสอนที่ไม่สามารถพ้นทุกข์ได้  
                         (หมายถึงตัวบุคคล ที่พอใจชอบใจ ในคำสอน)
                         หากแต่ คำว่า เดียรถีย์ ไม่สามารถใช้กับ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้  เพราะ คำสอน  ของพระพุทธเจ้าสามารถสอนให้
                         พ้นทุกข์ได้  และในสมัยพุทธกาล ศาสนาพุทธได้รับ การยอมรับ คือมีผู้บรรลุธรรมมาก เป็นเครื่องยืนยัน ว่าสามารถบรรลุ
                         ธรรมและพ้นทุกข์ได้จริง  สามารถปราบ
                         มิจฉาทิฏฐิ ใน คำสอน อื่นๆ จนไม่สามารถโต้แย้งได้ เจ้าผู้ปกครองในสมัยนั้น ต่างยอมรับเลื่อมใส ศรัทธา เป็นอันมาก
                         ด้วยเหตุผล ที่พิสูจน์ชัด ตามความเป็นจริง จากสภาวะการณ์จริงที่ได้รับการยอมรับอย่างมากมายและกว้างขวาง
                         ในคำสอนที่สามารถพ้นทุกข์ได้จริง ไม่มีใครสามารถกล่าวหาหรือโต้แย้งได้ ดังนั้น คำว่า เดียรถีย์ จึงไม่สามารถใช้
                         กับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้โดยเหตุผลและสภาวะธรรมตามความเป็นจริง ครับ
                        
                                                                             (โดยผมเข้าใจโดยนัยยะนี้)
                          คำแปลที่กระผมแปลจากความเข้าใจนี้ได้แปลตามข้อมูล หามาได้ในเบื้องต้น ความหมายที่ได้จึงไม่ชัดเจนครอบคลุมตามหรือผิดไปจากที่พุทธพจน์ กำหนดไว้ เช่นคำว่า ติต ที่แรกกระผมมีความเข้าใจว่า  ทุติ  ทวิ แปลว่าสอง  ตติ แปลว่า สาม กระผมจึงเทียบเคียงกับคำว่า ติต ว่าเป็นสาม  แต่ในพุทธพจน์ แปลว่า บ่อเกิด จึงไม่ตรง กับในความหมายเดิม ครับ แต่มีเจตนาสื่อสารให้ ชาวพุทธด้วยกันเข้าใจ ในความหมายเท่าที่ จะทำได้  ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่