ถกประเด็น เข้นสังคม : เมื่อ ครม. ผ่านร่างกฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศ

รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศ รวมถึงเพศที่สาม ห้ามกีด กัน แบ่งแยกหรือจำกัดสิทธิ ไม่งั้นมีความผิด

         ทำเนียบรัฐบาล * รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศ คุ้มครองตุ๊ด-แต๋ว ระบุผู้ใดหรือองค์กรใดแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ของบุคคล ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ด้วยเหตุผู้นั้นเป็นชาย หรือหญิง หรือเพศที่สาม ถือเป็นความผิด ให้อำนาจคณะกรรมการตรวจสอบสามารถเข้าตรวจค้นในเคหสถานโดยไม่ต้องมีหมายค้น

         ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 เมษายนนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล วาระหนึ่งที่ผ่านการพิจารณาของ ครม.ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คือร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ....

          เหตุผลของการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่า โดยที่ปัจจุบันไม่มีมาตรการป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศที่ชัดเจน ส่งผลให้บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร สมควรมีกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

          ทั้งนี้ ในมาตรการ 3 พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บัญญัติว่า "การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ" หมายความว่า การกระทำหรือไม่กระทำการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างไปจากเพศกำเนิด เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลทางวิชาการ ทางศาสนา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยมาตรา 4 กำหนดให้ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้

          สาระของกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการเรียกว่า "คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) ที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง ซึ่งบุคคลใดเห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวลพ. เพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศหรือไม่ คำวินิจฉัยของ วลพ.ให้เป็นที่สุด

          ในกรณีที่คณะกรรมการ วลพ.วินิจฉัยว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ วลพ.มีอำนาจให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลที่เกี่ยว ข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ด้วยวิธีใดที่เห็นเหมาะสม เพื่อระงับและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (มาตรา 20 วรรคหนึ่ง)

          กฎหมายยังให้อำนาจคณะกรรมการ วลพ. อนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งคณะกรรมการ วลพ.มอบหมาย สามารถเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยมีหมายค้นเว้นแต่หากเนิ่นช้าไปกว่าจะขอหมาย จะทำให้พยานหลักฐานนั้นถูกยักย้ายหรือทำลาย, มีหนังสือสอบถาม หรือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา (มาตรา 22 วรรคสอง)

          บทกำหนดโทษ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ วลพ. ตามมาตรา 20 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ, ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

จึงอยากมาตั้งคำถามว่า...
*** ปิดโหวต วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2558 เวลา 21:54:42 น.
1. เห็นด้วยหรือไม่ กับร่างกฎหมายนี้
2. เห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้บุคคลเพศเดียวกัน สามารถแต่งงานและจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่