หัวขบวนของความพยายามล้มประมูลเพื่อออกใบอนุญาต 4 จีบนคลื่นความถี่ 1800 และ 900 MHz ที่ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)” มีคำสั่งให้ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)” ระงับการประมูลเอาไว้ก่อนหน้าเมื่อ 18 ก.ค. 2557
แม้ประชาชนคนไทยจะไม่มีโอกาสได้ล่วงรู้ตื้นลึกหนาบางสาเหตุที่ คสช.สั่งระงับการประมูล 4 จีเอาไว้ เป็นไปเพียงเพื่อให้ กสทช.ดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้เกิดความโปร่งใส หรือมีใบสั่งใครหรือไม่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การชะลอการประมูล 4 จีดังกล่าวไม่เพียงทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสในการลงทุน สูญโอกาส ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายเพรียกหา ยังทำให้ประเทศไทยต้องล้าหลังเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้และอีกกว่าครึ่งค่อนโลกที่ต่างให้บริการมือถือ 4 จีกันแล้ว บางประเทศถึงขั้นเริ่มทดสอบระบบ 4.5 และ 5 จีกันไปแล้ว
ทั้งยังก่อให้เกิดคำถาม “ย้อนแย้ง” เป็นการดำเนินการที่สวนนโยบาย “เศรษฐกิจดิจิตอล” ที่รัฐบาล คสช.ป่าวประกาศจะให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่จะให้ประชาชนในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะ“เอสเอ็มอี” ได้เข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเตอร์เน็ต บรอดแบนด์ราคาถูกหรือไม่? เพราะนโยบายดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารโทรคมนาคมไทยยังคง “ล้าหลัง” อยู่เช่นนี้
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.จะออกมายืนยัน ประเทศไทยจะมีการประมูลมือถือ 4G ในปี 2558 นี้อย่างแน่นอน แต่เมื่อดูพฤติกรรมการดำเนินงานของรัฐที่แสดงออกมา หลายฝ่ายเริ่มจะไม่มั่นใจประชาชนคนไทยจะได้เห็นการประมูล 4 จีเกิดขึ้นในปีนี้หรือไม่
ยิ่งเมื่อ “หม่อมอุ๋ย” แบไต๋ก่อนหน้า ต้องรอให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ที่นัยว่าจะเป็นผู้ที่จะพิจารณาวางนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ และกำหนดให้ กสทช.ต้องส่งแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ 4 จีที่ว่ามาให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนยิ่งเพิ่ม น้ำหนักให้เส้นทางประมูล 4 จีของประเทศไทยส่อจะทอดยาวออกไปไม่มีกำหนด
ล่าสุด กลุ่มทุนที่อยู่หลังฉากความพยายามยื้อการประมูล 4 จี เริ่มแพลมหางออกมาให้เห็นถึงขั้นร้องแรกแหกกระเชอว่า หากรัฐบาลปล่อยให้ กสทช.เปิดประมูล 4 จีบนคลื่น 1800 หรือ 900 MHz ไปในวันนี้ คงไม่พ้นเงื้อมมือของ 3 ค่ายสื่อสารเจ้าของสัมปทานเดิมคือ AIS DTAC และ True ขณะที่หน่วยงานของรัฐคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ที่เป็นเจ้าของสัมปทานที่แท้จริงคงได้แต่นั่งทำตาปริบๆ เพราะไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ คงได้แต่กอดเสาและอุปกรณ์เครือข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนมา
พร้อมเรียกร้องให้รัฐโอนคลื่นความถี่ 4 จีดังกล่าวให้สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจโดยตรง เพื่อที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้ดูแลลูกค้าเก่าทั้ง 2 จีและ 3 จีต่อไป และหากรัฐต้องการประมูลคลื่น 4 จีจริงก็ควรไปเอาคลื่น 2600 MHz ที่ อสมท.ถือครองอยู่ที่นัยว่ามีอยู่กว่า 120 เมก (MG) มาประมูลแทน จะเหมาะสมสอดคล้องกับนานาประเทศมากกว่า
หากพิจารณาอย่างผิวเผินทุกฝ่ายคงจะเออออห่อหมกไปกับข้อเรียกร้องข้างต้นแน่ แต่หากย้อนไปพิจารณาบทเรียนในอดีตที่สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “ทีโอที-แคท” ที่เคยได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่สามารถจะนำไปให้บริการมือถือ 3 จีได้ก่อนใครโดยไม่ต้องจ่ายค่าต๋งใดๆ ให้แก่รัฐแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งสองหน่วยงานกลับไม่ได้นำเอาคลื่นความถี่เหล่านี้ไปใช้อย่างคุ้มค่าแต่อย่างใด
ทั้งในส่วนของคลื่นความถี่ 1900 MHz ที่สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจร่วมลงขันจัดตั้งบริษัท ACT Mobile เพื่อร่วมกันให้บริการมือถือ 1900 MHz ซึ่งก็เจ๊งไม่เป็นท่าลูกค้ามีถึง 1,000 รายหรือไม่วันนี้ ขณะที่คลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ทีโอทีได้รับจัดสรรมาให้บริการ 3G ด้วยตนเองก็จอดไม่เป็นท่า การลงทุนขยายโครงข่ายเป็นไปด้วยความล่าช้ามีพื้นที่ให้บริการที่จำกัด แม้จะเปิดให้บริการ 3G ก่อนใครแต่กลับมีผู้ใช้บริการเรือนหมื่นเท่านั้น
ฟากฝั่ง กสท นั้นนำคลื่นความถี่ 850 MHz ดอดไป “เซ็งลี้” ให้พันธมิตรฮุบเอาคลื่นไปให้บริการ 3 จีต่อ และแม้จะสามารถสร้างโครงข่าย 3G และเปิดให้บริการทั่วประเทศแซงหน้าทีโอที แต่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่กลับตกแก่บริษัทเอกชนที่สามารถให้บริการ 3G โดยไม่ต้องประมูล
ขณะที่สถานะของสองรัฐวิสาหกิจนั้น วันนี้ยังคงอยู่ในสภาพหืดจับต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการขนานใหญ่ตามคำสั่งของ “ซูเปอร์บอร์ด” รัฐวิสาหกิจ จะออกหมู่หรือจ่ายังต้องลุ้นอีกหลายเฮือก!
สถานะของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสภาพ “หืดจับ” จนต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการขนานใหญ่นี่หรือ คือองค์กรที่รัฐควรจัดสรรคลื่นความถี่ 4 ไปให้โดยไม่ต้องประมูล คงต้องย้อนถามกลับไปหากองค์กรรัฐวิสาหกิจที่ว่าหากจะต้องลงทุนเครือข่าย 4 จีนี้อีก 30,000-40,000 ล้านในอนาคต 1-2 ปีข้างหน้า
สองหน่วยงานที่กำลังอยู่ในสภาพหืดจับ ไม่รู้จะมีเงินเดือนจ่ายพนักงานหรือไม่นั้น จะแสวงหาเม็ดเงินลงทุนจากไหนหรือ? จะบากหน้าไปขอกู้จากสถาบันการเงินที่ไหน ใครเขาจะกล้าให้กู้ หรือคิดจะบากหน้าไปของบลงทุนจากกระทรวงการคลังที่กำลัง “หน้ามืด” กับการงัดเอา กม.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาไล่รีดภาษีผู้คนเข้าจนงานเข้าในขณะนี้ ก็ยิ่งไม่ต้องไปจินตนาการกันเลย
แล้วประชาชนคนไทยจะฝากผีฝากไข้ไว้กับมือถือ 4 จีเจ้ากรรมที่แค่คิดก็ขนหัวลุกซู่แล้วเช่นนี้ได้อย่างไร?
กลัวแต่ว่าหากสองหน่วยงานฮุบคลื่น 4 จีไปได้สมใจอยากแล้ว จะหาทางประเคนหรือ “เซ็งลี้” คลื่นออกไปให้เอกชนสวาปามกันหล่ะไม่ว่า เพราะบทเรียนในอดีตมันมีมาให้กันมาแล้ว จริงไม่จริง!!!
เซ็งลี้สัมปทาน 4 จี เริ่มโผล่หางกันออกมาแล้ว.....
แม้ประชาชนคนไทยจะไม่มีโอกาสได้ล่วงรู้ตื้นลึกหนาบางสาเหตุที่ คสช.สั่งระงับการประมูล 4 จีเอาไว้ เป็นไปเพียงเพื่อให้ กสทช.ดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้เกิดความโปร่งใส หรือมีใบสั่งใครหรือไม่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การชะลอการประมูล 4 จีดังกล่าวไม่เพียงทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสในการลงทุน สูญโอกาส ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายเพรียกหา ยังทำให้ประเทศไทยต้องล้าหลังเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้และอีกกว่าครึ่งค่อนโลกที่ต่างให้บริการมือถือ 4 จีกันแล้ว บางประเทศถึงขั้นเริ่มทดสอบระบบ 4.5 และ 5 จีกันไปแล้ว
ทั้งยังก่อให้เกิดคำถาม “ย้อนแย้ง” เป็นการดำเนินการที่สวนนโยบาย “เศรษฐกิจดิจิตอล” ที่รัฐบาล คสช.ป่าวประกาศจะให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่จะให้ประชาชนในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะ“เอสเอ็มอี” ได้เข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเตอร์เน็ต บรอดแบนด์ราคาถูกหรือไม่? เพราะนโยบายดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารโทรคมนาคมไทยยังคง “ล้าหลัง” อยู่เช่นนี้
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.จะออกมายืนยัน ประเทศไทยจะมีการประมูลมือถือ 4G ในปี 2558 นี้อย่างแน่นอน แต่เมื่อดูพฤติกรรมการดำเนินงานของรัฐที่แสดงออกมา หลายฝ่ายเริ่มจะไม่มั่นใจประชาชนคนไทยจะได้เห็นการประมูล 4 จีเกิดขึ้นในปีนี้หรือไม่
ยิ่งเมื่อ “หม่อมอุ๋ย” แบไต๋ก่อนหน้า ต้องรอให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ที่นัยว่าจะเป็นผู้ที่จะพิจารณาวางนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ และกำหนดให้ กสทช.ต้องส่งแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ 4 จีที่ว่ามาให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนยิ่งเพิ่ม น้ำหนักให้เส้นทางประมูล 4 จีของประเทศไทยส่อจะทอดยาวออกไปไม่มีกำหนด
ล่าสุด กลุ่มทุนที่อยู่หลังฉากความพยายามยื้อการประมูล 4 จี เริ่มแพลมหางออกมาให้เห็นถึงขั้นร้องแรกแหกกระเชอว่า หากรัฐบาลปล่อยให้ กสทช.เปิดประมูล 4 จีบนคลื่น 1800 หรือ 900 MHz ไปในวันนี้ คงไม่พ้นเงื้อมมือของ 3 ค่ายสื่อสารเจ้าของสัมปทานเดิมคือ AIS DTAC และ True ขณะที่หน่วยงานของรัฐคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ที่เป็นเจ้าของสัมปทานที่แท้จริงคงได้แต่นั่งทำตาปริบๆ เพราะไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ คงได้แต่กอดเสาและอุปกรณ์เครือข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนมา
พร้อมเรียกร้องให้รัฐโอนคลื่นความถี่ 4 จีดังกล่าวให้สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจโดยตรง เพื่อที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้ดูแลลูกค้าเก่าทั้ง 2 จีและ 3 จีต่อไป และหากรัฐต้องการประมูลคลื่น 4 จีจริงก็ควรไปเอาคลื่น 2600 MHz ที่ อสมท.ถือครองอยู่ที่นัยว่ามีอยู่กว่า 120 เมก (MG) มาประมูลแทน จะเหมาะสมสอดคล้องกับนานาประเทศมากกว่า
หากพิจารณาอย่างผิวเผินทุกฝ่ายคงจะเออออห่อหมกไปกับข้อเรียกร้องข้างต้นแน่ แต่หากย้อนไปพิจารณาบทเรียนในอดีตที่สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ “ทีโอที-แคท” ที่เคยได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่สามารถจะนำไปให้บริการมือถือ 3 จีได้ก่อนใครโดยไม่ต้องจ่ายค่าต๋งใดๆ ให้แก่รัฐแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งสองหน่วยงานกลับไม่ได้นำเอาคลื่นความถี่เหล่านี้ไปใช้อย่างคุ้มค่าแต่อย่างใด
ทั้งในส่วนของคลื่นความถี่ 1900 MHz ที่สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจร่วมลงขันจัดตั้งบริษัท ACT Mobile เพื่อร่วมกันให้บริการมือถือ 1900 MHz ซึ่งก็เจ๊งไม่เป็นท่าลูกค้ามีถึง 1,000 รายหรือไม่วันนี้ ขณะที่คลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ทีโอทีได้รับจัดสรรมาให้บริการ 3G ด้วยตนเองก็จอดไม่เป็นท่า การลงทุนขยายโครงข่ายเป็นไปด้วยความล่าช้ามีพื้นที่ให้บริการที่จำกัด แม้จะเปิดให้บริการ 3G ก่อนใครแต่กลับมีผู้ใช้บริการเรือนหมื่นเท่านั้น
ฟากฝั่ง กสท นั้นนำคลื่นความถี่ 850 MHz ดอดไป “เซ็งลี้” ให้พันธมิตรฮุบเอาคลื่นไปให้บริการ 3 จีต่อ และแม้จะสามารถสร้างโครงข่าย 3G และเปิดให้บริการทั่วประเทศแซงหน้าทีโอที แต่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่กลับตกแก่บริษัทเอกชนที่สามารถให้บริการ 3G โดยไม่ต้องประมูล
ขณะที่สถานะของสองรัฐวิสาหกิจนั้น วันนี้ยังคงอยู่ในสภาพหืดจับต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการขนานใหญ่ตามคำสั่งของ “ซูเปอร์บอร์ด” รัฐวิสาหกิจ จะออกหมู่หรือจ่ายังต้องลุ้นอีกหลายเฮือก!
สถานะของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสภาพ “หืดจับ” จนต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการขนานใหญ่นี่หรือ คือองค์กรที่รัฐควรจัดสรรคลื่นความถี่ 4 ไปให้โดยไม่ต้องประมูล คงต้องย้อนถามกลับไปหากองค์กรรัฐวิสาหกิจที่ว่าหากจะต้องลงทุนเครือข่าย 4 จีนี้อีก 30,000-40,000 ล้านในอนาคต 1-2 ปีข้างหน้า
สองหน่วยงานที่กำลังอยู่ในสภาพหืดจับ ไม่รู้จะมีเงินเดือนจ่ายพนักงานหรือไม่นั้น จะแสวงหาเม็ดเงินลงทุนจากไหนหรือ? จะบากหน้าไปขอกู้จากสถาบันการเงินที่ไหน ใครเขาจะกล้าให้กู้ หรือคิดจะบากหน้าไปของบลงทุนจากกระทรวงการคลังที่กำลัง “หน้ามืด” กับการงัดเอา กม.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาไล่รีดภาษีผู้คนเข้าจนงานเข้าในขณะนี้ ก็ยิ่งไม่ต้องไปจินตนาการกันเลย
แล้วประชาชนคนไทยจะฝากผีฝากไข้ไว้กับมือถือ 4 จีเจ้ากรรมที่แค่คิดก็ขนหัวลุกซู่แล้วเช่นนี้ได้อย่างไร?
กลัวแต่ว่าหากสองหน่วยงานฮุบคลื่น 4 จีไปได้สมใจอยากแล้ว จะหาทางประเคนหรือ “เซ็งลี้” คลื่นออกไปให้เอกชนสวาปามกันหล่ะไม่ว่า เพราะบทเรียนในอดีตมันมีมาให้กันมาแล้ว จริงไม่จริง!!!