ตามหัวข้อด้านบนนะครับ ขอลงรายละเอียดแบบหยาบๆ ตามที่ได้สังเกตสถานการณ์มาก่อนหน้าที่จะเริ่มการประมูล เป็นที่รู้กันว่าเมื่อมีการประมูลคลื่นความถี่ระดับชาติเมื่อใด ประชาชนมักจะเข้าใจและให้ความสำคัญอยู่ 3-4 ประเด็นใหญ่ๆ เช่น ฮั้วประมูลกันรึป่าว ? ราคาประมูลแพงหรือถูกเกินไปรึป่าว? เงินจากการประมูลใครได้ใครเสีย? ประชาชนได้อะไร ? ค่าใช้บริการถูกลงหรือแพงขึ้น ?....
ขออธิบายหลักการและความเป็นมาเล็กๆน้อยๆ ก่อนว่า การประมูลคลื่นความถี่เกิดจากข้อกำหนดตามกฎหมายที่ต้องการให้นำทรัพยากรของชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องไม่มีการผูกขาด พูดง่ายๆคือ คลื่นความถี่จะต้องถูกเรียกคืนและนำมาประมูลเพื่อหาผู้ประกอบการนำคลื่นความถี่ย่านต่างๆไปให้บริการ ตามระยะเวลาใบอนุญาตที่ กสทช. กำหนด ยกเว้นคลื่นความถี่สัมปทานที่มีสัญญาตามกฎหมายก่อน พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้ จะไม่สามารถเรียกคืนเพื่อนำมาประมูลได้ ต้องรอให้ครบสัญญาสัมปทานเสียก่อน โดยหลักปฏิบัติเมื่อใกล้ครบกำหนด กสทช. จะกำหนดระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการโดยให้ผู้ประกอบการจะต้องย้ายฐานลูกค้าของตนไปยังคลื่นความถี่ใหม่ หรือเปลี่ยนผู้ให้บริการได้ ตามกฎ Number Portability โดยคลื่นความถี่สัมปทานในปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากการจัดสรรคลื่นความถี่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขในอดีต (เปลี่ยนแปลงเป็น กทช. และ กสทช. ตามลำดับ) ให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ปัจจุบัน คือ TOT) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน คือ CAT) ซึ่งทั้งสองรัฐวิสาหกิจนี้ ก็นำคลื่นความถี่ที่ได้ไปให้ผู้ประกอบการเช่าต่อในระยะเวลาหลายสิบปี จึงเกิดเป็นสัญญาร่วมการงาน หรือ BTO หรือ สัมปทานโทรคมนาคม ในปัจจุบัน โดยเงินที่ได้จากค่าสัมปทาน ส่วนแบ่งจากการให้บริการ จะต้องถูกหักเป็นค่าดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ก่อนเหลือส่งเข้ารัฐนำไปเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป อีกทั้งเมื่อครบสัญญาแล้วอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น โครงข่ายสาย เสาสัญญาน สถานีฐาน อุปกรณ์รับ-ส่ง จะต้องตกเป็นสมบัติของรัฐ พูดง่ายๆคือ เช่าคลื่นมาเสียค่าเช่า ได้เงินมาต้องแบ่ง แถมถนนที่สร้างไว้ต้องยกให้เค้าทั้งหมด
ที่นี่ก็พอจะรู้แล้วว่าความเป็นมาของการดำเนินงานโทรคมนาคมเกิดขึ้นอย่างไร ผู้ประกอบการหลักๆอย่าง AIS / DTAC / TRUE ต่างเป็นผู้มีประสบการณ์และกรำศึกสัมปทานมาหลายสิบปี การจะได้เป็นเจ้าของคลื่นที่ไม่มีข้อผูกมัดและเจ็บตัวแบบสัมปทานคงจะต้องขับเคี่ยวกันหน่อย หลายคนชอบมโนเองว่าเราไม่รู้ทันบริษัทพวกนี้ เค้าฮั้วและคิดกันมาแล้ว ส่วนตัวคิดว่ามันมีทั้ง "ใช่" และ "ไม่ใช่"
ในส่วนของ "ใช่" คือ บริษัทเหล่านี้จะร่วมมือกันก็ต่อเมื่อผลกระทบเกิดขึ้นในระดับการกำกับดูแลที่กระทบภาพรวมทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดค่าบริการขั้นต่ำ การกำหนดสัดส่วนของผู้ถือหุ้น มาตรฐานการให้บริการที่ไม่มีความยืดหยุ่น การออกกฎหมายในลักษณะกีดกันหรือเอื้อประโยชน์ต่อรัฐมากเกินไป ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคตที่จะต้องสอดคล้องกันและสามารถอยู่ร่วมกันได้ รวมถึงราคาเริ่มต้นของใบอนุญาตใช้คลื่นด้วยที่ถูกจับตามองมากที่สุด การที่จะเอา National Practices มาเป็นตัวกำหนดว่าต้องราคาเท่านั้นเท่านี้คงจะไม่ได้ทั้งหมด ต้องดูด้วยว่า องค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ มิติต่างๆของประเทศนั้นๆ สอดคล้องกับสถานการณ์ประเทศไทยหรือไม่ จะทำอย่างไรให้ฮั้วกันยากที่สุด นั้นคือ โจทก์ที่รัฐจะต้องอุดช่องโหว่ ซึ่งการประมูลคลื่น 1800/900 MHz ในครั้งนี้ ต่างจากคลื่น 2100 MHz ตรงที่ มีผู้เข้าแข่งขันรายที่ 4 อย่าง JAS Mobile
ในส่วนของ "ไม่ใช่" คือ เมื่อตลาดโทรคมนาคมมีเสรีมากขึ้นการผูกขาดน้อยลง สงครามธุรกิจจึงเกิดขึ้น เหมือนคิวรถ 3 เจ้า ตั้งอยู่ใกล้กัน ทำอย่างไรจะเชิญชวนให้คนมาขึ้นรถสายของตน แถมมีการคอยจ้องคอยฟ้องเจ้าของพื้นที่คิวรถอีกด้วยว่าคู่แข่งทำไม่ถูกกติกา โดยเฉพาะค่าเช่าคิวรถที่ใครๆก็อยากได้พื้นที่กว้างๆ อยู่ใกล้ๆสถานี BTS ผู้โดยสารไม่ต้องเดินไกล ไม่มีหรอกครับที่จะตกลงกันแล้วจบสวยๆ win : win สิบปีแรกของฉัน สิบปีหลังของนาย ในวงการธุรกิจโลกไม่ได้สวยขนาดนั้น
๋หลายคนคงทราบดีว่า จริงๆแล้ว JAS อยู่ในวงการโทรคมนาคม มานานแล้ว ถือเป็นเจ้าใหญ่เลยทีเดียวในด้านธุกิจให้บริการ Internet (3BB) และการสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ AIS 3G 2100 MHz ที่ผู้ประกอบการถูกบีบให้ต้องขยายข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ดังนั้น เมื่อพูดถึงความเชี่ยวชาญด้านโครงข่ายถือว่ามีความพร้อมทั้งบุคลากรและฝีมือ ประกอบกับ ความพร้อมด้านโครงข่าย IP ของ 3BB ที่จะช่ายเป็น Trunk ชั้นดีสำหรับ Data แถมยังมี Distributed AP อีกหลายแสนจุดทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นด้าน Data ไม่ต้องห่วงเพราะได้เปรียบ AIS DTAC อยู่หลายขุม ส่วนของ Voice ที่หลายคนกังวลนั้น อย่าลืมว่า ในปัจจุบันมีการทำ โครงข่ายร่วมกัน (Infarstructure Sharing) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการสร้างโครงข่าย และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่สามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ได้ โดยสามารถเช่าใช้โครงข่ายของผู้ประกอบการรายอื่นได้ ซึ่ง JAS น่าจะมองเห็นประโยชน์ส่วนนี้ และคิดว่าถ้าจะลดต้นทุนและแก้ปัญหาการใช้งานของ Voice ได้ โครงข่ายร่วมกันนี่แหละจะเป็นกุญแจสำคัญ
อีกปัจจัยนึงที่หลายคงสงสัยว่า JAS เอาเงินมาจากไหน และจะสามารถสู้กับ 3 เจ้าใหญ่ได้หรือไม่ ?
เงินทุนในครั้งนี้เกิดจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนนึง เงินกองทุนส่วนนึง และเงินจาก Partner ส่วนนึง ซึ่ง Partner ดังกล่าว เป็นผู้มีประสบการณ์ในการ Transform Business จากผู้ให้บริการ Internet ไปเป็นธุรกิจ Mobile ซึ่งการันตีได้ว่ามีช่องทางแน่นอน แต่จะออกมารูปแบบไหนนั้น ส่วนตัวคิดว่า JAS คงจะเริ่มจากการเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดโดยตั้งเป้าที่ 1 ล้านเลขหมายแรก ภายใน 2-3 ปี และค่อยๆเพิ่มขึ้น โดยมีจุดขายและความน่าสนใจที่ความเร็วของ Mobile Broadband ซึ่งอาจจะต้องมีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมตามธรรมเนียม เช่น ส่วนลดพ่วงบริการอินเทอร์เน็ต ให้บริการ Free Wi-Fi หรือแม้กระทั่งแถมเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์ แถมอุปกรณ์ IPTV หรือแถมบริการ TV On Demand ก็ว่ากันไป ซึ่งจะไม่พูดถึง TV เลยก็คงจะไม่ได้เพราะจากผลประกอบการล่าสุดจาก Digital TV ของช่อง MONO 39 ถือว่าการตอบรับดี Content หลากหลาย เมื่อเทียบกับช่องอื่นๆ
ทำไมต้องคลื่น 900 MHz ?
ส่วนตัวคิดว่าในแง่ของเทคนิคเป็นส่วนสำคัญที่ JAS ให้น้ำหนัก 900 MHz มากกว่า 1800 MHz สั้นๆเลย ความถี่น้อยกว่าแต่ทะลุทะลวงมากกว่า ส่วนคลื่นความถี่ที่มีอยู่จะเพียงพอให้บริการหรือไม่นั้น ประเด็นไม่ได้อยู่ที่มีคลื่นมากแล้วจะสามารถให้บริการได้อย่าง AIS DTAC TRUE ในทันที JAS กำลังเริ่มทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ถือว่าเป็นช่วงตั้งไข่ คนทำธุรกิจใหม่อยู่ดีๆจะเปิด 4-5 สาขาพร้อมกันเลยไม่ได้ ก็ต้องมีการลองผิดลองถูก เก็บประสบการณ์ เก็บเงินทุน ดูทิศทางไปก่อน ดูผลประกอบการ ว่าจะถอยหรือลุยต่อ ยิ่งในปัจจุบันการทำ Frequency Managing มีตัวอย่างและผู้เชี่ยวชาญที่สามารถ Traning และให้คำปรึกษาได้ รวมถึงมีอุปกรณ์และวิธีการทางเทคนิคที่สามารถบริหารคลื่นความถี่ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ เพราะฉะนั้น Capacity ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือ จะการก้าวผ่าน 1-2 ล้านเลขหมายแรกให้ได้ภายใน 2 ปี ตามเป้าต่างหาก
นอกจากนี้ อีก 3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีการคืนคลื่น 850 MHz อีก ไหนจะคลื่นความถี่ 2300 /2600 MHz ที่รอเจรจาเอาคืน และคลื่นความถี่ 700 MHz ของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ ITU เค้า Recommend ว่าน่าเอาไปทำโทรคมนาคม ซึ่งยังมีให้ประมูลอีกเยอะ
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ?
ความเร็วที่ยอดเยี่ยม ไม่ได้หมายความว่าจะตอบโจทก์ความพึงพอใจของผู้รับบริการเสมอไป การบริการหลังการขาย ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจการให้บริการ ระบบ Help desk / Call Center ต้องแน่น รวดเร็วและเกาถูกจุดที่คัน ระบบ Billing และ Authenticate มีความเสถียร โดยเฉพาะปัญหา Call Drop ถ้าสามารถดูแลสิ่งเหล่านี้ได้ดี จะสร้างความประทับใจแบบปากต่อปาก มีมาตรฐานมีการ Training อยู่เป็นประจำ สิ่งที่ห้ามทำคือการนำระบบ "หลังบ้าน" ของ Internet กับ Mobile มารวมกัน ควรแยกจากกัน ให้บริการเป็นสัดส่วนจะสามารถแก้ปัญหาได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า
ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว...
ควันหลงประมูลคลื่น 900 MHz ทำไม JAS จึงอยากเป็นผู้เล่นรายที่ 4 ในตลาดโทรคมนาคม ?
ขออธิบายหลักการและความเป็นมาเล็กๆน้อยๆ ก่อนว่า การประมูลคลื่นความถี่เกิดจากข้อกำหนดตามกฎหมายที่ต้องการให้นำทรัพยากรของชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องไม่มีการผูกขาด พูดง่ายๆคือ คลื่นความถี่จะต้องถูกเรียกคืนและนำมาประมูลเพื่อหาผู้ประกอบการนำคลื่นความถี่ย่านต่างๆไปให้บริการ ตามระยะเวลาใบอนุญาตที่ กสทช. กำหนด ยกเว้นคลื่นความถี่สัมปทานที่มีสัญญาตามกฎหมายก่อน พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้ จะไม่สามารถเรียกคืนเพื่อนำมาประมูลได้ ต้องรอให้ครบสัญญาสัมปทานเสียก่อน โดยหลักปฏิบัติเมื่อใกล้ครบกำหนด กสทช. จะกำหนดระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการโดยให้ผู้ประกอบการจะต้องย้ายฐานลูกค้าของตนไปยังคลื่นความถี่ใหม่ หรือเปลี่ยนผู้ให้บริการได้ ตามกฎ Number Portability โดยคลื่นความถี่สัมปทานในปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากการจัดสรรคลื่นความถี่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขในอดีต (เปลี่ยนแปลงเป็น กทช. และ กสทช. ตามลำดับ) ให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ปัจจุบัน คือ TOT) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน คือ CAT) ซึ่งทั้งสองรัฐวิสาหกิจนี้ ก็นำคลื่นความถี่ที่ได้ไปให้ผู้ประกอบการเช่าต่อในระยะเวลาหลายสิบปี จึงเกิดเป็นสัญญาร่วมการงาน หรือ BTO หรือ สัมปทานโทรคมนาคม ในปัจจุบัน โดยเงินที่ได้จากค่าสัมปทาน ส่วนแบ่งจากการให้บริการ จะต้องถูกหักเป็นค่าดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ก่อนเหลือส่งเข้ารัฐนำไปเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป อีกทั้งเมื่อครบสัญญาแล้วอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น โครงข่ายสาย เสาสัญญาน สถานีฐาน อุปกรณ์รับ-ส่ง จะต้องตกเป็นสมบัติของรัฐ พูดง่ายๆคือ เช่าคลื่นมาเสียค่าเช่า ได้เงินมาต้องแบ่ง แถมถนนที่สร้างไว้ต้องยกให้เค้าทั้งหมด
ที่นี่ก็พอจะรู้แล้วว่าความเป็นมาของการดำเนินงานโทรคมนาคมเกิดขึ้นอย่างไร ผู้ประกอบการหลักๆอย่าง AIS / DTAC / TRUE ต่างเป็นผู้มีประสบการณ์และกรำศึกสัมปทานมาหลายสิบปี การจะได้เป็นเจ้าของคลื่นที่ไม่มีข้อผูกมัดและเจ็บตัวแบบสัมปทานคงจะต้องขับเคี่ยวกันหน่อย หลายคนชอบมโนเองว่าเราไม่รู้ทันบริษัทพวกนี้ เค้าฮั้วและคิดกันมาแล้ว ส่วนตัวคิดว่ามันมีทั้ง "ใช่" และ "ไม่ใช่"
ในส่วนของ "ใช่" คือ บริษัทเหล่านี้จะร่วมมือกันก็ต่อเมื่อผลกระทบเกิดขึ้นในระดับการกำกับดูแลที่กระทบภาพรวมทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดค่าบริการขั้นต่ำ การกำหนดสัดส่วนของผู้ถือหุ้น มาตรฐานการให้บริการที่ไม่มีความยืดหยุ่น การออกกฎหมายในลักษณะกีดกันหรือเอื้อประโยชน์ต่อรัฐมากเกินไป ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคตที่จะต้องสอดคล้องกันและสามารถอยู่ร่วมกันได้ รวมถึงราคาเริ่มต้นของใบอนุญาตใช้คลื่นด้วยที่ถูกจับตามองมากที่สุด การที่จะเอา National Practices มาเป็นตัวกำหนดว่าต้องราคาเท่านั้นเท่านี้คงจะไม่ได้ทั้งหมด ต้องดูด้วยว่า องค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ มิติต่างๆของประเทศนั้นๆ สอดคล้องกับสถานการณ์ประเทศไทยหรือไม่ จะทำอย่างไรให้ฮั้วกันยากที่สุด นั้นคือ โจทก์ที่รัฐจะต้องอุดช่องโหว่ ซึ่งการประมูลคลื่น 1800/900 MHz ในครั้งนี้ ต่างจากคลื่น 2100 MHz ตรงที่ มีผู้เข้าแข่งขันรายที่ 4 อย่าง JAS Mobile
ในส่วนของ "ไม่ใช่" คือ เมื่อตลาดโทรคมนาคมมีเสรีมากขึ้นการผูกขาดน้อยลง สงครามธุรกิจจึงเกิดขึ้น เหมือนคิวรถ 3 เจ้า ตั้งอยู่ใกล้กัน ทำอย่างไรจะเชิญชวนให้คนมาขึ้นรถสายของตน แถมมีการคอยจ้องคอยฟ้องเจ้าของพื้นที่คิวรถอีกด้วยว่าคู่แข่งทำไม่ถูกกติกา โดยเฉพาะค่าเช่าคิวรถที่ใครๆก็อยากได้พื้นที่กว้างๆ อยู่ใกล้ๆสถานี BTS ผู้โดยสารไม่ต้องเดินไกล ไม่มีหรอกครับที่จะตกลงกันแล้วจบสวยๆ win : win สิบปีแรกของฉัน สิบปีหลังของนาย ในวงการธุรกิจโลกไม่ได้สวยขนาดนั้น
๋หลายคนคงทราบดีว่า จริงๆแล้ว JAS อยู่ในวงการโทรคมนาคม มานานแล้ว ถือเป็นเจ้าใหญ่เลยทีเดียวในด้านธุกิจให้บริการ Internet (3BB) และการสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ AIS 3G 2100 MHz ที่ผู้ประกอบการถูกบีบให้ต้องขยายข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต ดังนั้น เมื่อพูดถึงความเชี่ยวชาญด้านโครงข่ายถือว่ามีความพร้อมทั้งบุคลากรและฝีมือ ประกอบกับ ความพร้อมด้านโครงข่าย IP ของ 3BB ที่จะช่ายเป็น Trunk ชั้นดีสำหรับ Data แถมยังมี Distributed AP อีกหลายแสนจุดทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นด้าน Data ไม่ต้องห่วงเพราะได้เปรียบ AIS DTAC อยู่หลายขุม ส่วนของ Voice ที่หลายคนกังวลนั้น อย่าลืมว่า ในปัจจุบันมีการทำ โครงข่ายร่วมกัน (Infarstructure Sharing) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการสร้างโครงข่าย และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่สามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ได้ โดยสามารถเช่าใช้โครงข่ายของผู้ประกอบการรายอื่นได้ ซึ่ง JAS น่าจะมองเห็นประโยชน์ส่วนนี้ และคิดว่าถ้าจะลดต้นทุนและแก้ปัญหาการใช้งานของ Voice ได้ โครงข่ายร่วมกันนี่แหละจะเป็นกุญแจสำคัญ
อีกปัจจัยนึงที่หลายคงสงสัยว่า JAS เอาเงินมาจากไหน และจะสามารถสู้กับ 3 เจ้าใหญ่ได้หรือไม่ ?
เงินทุนในครั้งนี้เกิดจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนนึง เงินกองทุนส่วนนึง และเงินจาก Partner ส่วนนึง ซึ่ง Partner ดังกล่าว เป็นผู้มีประสบการณ์ในการ Transform Business จากผู้ให้บริการ Internet ไปเป็นธุรกิจ Mobile ซึ่งการันตีได้ว่ามีช่องทางแน่นอน แต่จะออกมารูปแบบไหนนั้น ส่วนตัวคิดว่า JAS คงจะเริ่มจากการเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดโดยตั้งเป้าที่ 1 ล้านเลขหมายแรก ภายใน 2-3 ปี และค่อยๆเพิ่มขึ้น โดยมีจุดขายและความน่าสนใจที่ความเร็วของ Mobile Broadband ซึ่งอาจจะต้องมีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมตามธรรมเนียม เช่น ส่วนลดพ่วงบริการอินเทอร์เน็ต ให้บริการ Free Wi-Fi หรือแม้กระทั่งแถมเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์ แถมอุปกรณ์ IPTV หรือแถมบริการ TV On Demand ก็ว่ากันไป ซึ่งจะไม่พูดถึง TV เลยก็คงจะไม่ได้เพราะจากผลประกอบการล่าสุดจาก Digital TV ของช่อง MONO 39 ถือว่าการตอบรับดี Content หลากหลาย เมื่อเทียบกับช่องอื่นๆ
ทำไมต้องคลื่น 900 MHz ?
ส่วนตัวคิดว่าในแง่ของเทคนิคเป็นส่วนสำคัญที่ JAS ให้น้ำหนัก 900 MHz มากกว่า 1800 MHz สั้นๆเลย ความถี่น้อยกว่าแต่ทะลุทะลวงมากกว่า ส่วนคลื่นความถี่ที่มีอยู่จะเพียงพอให้บริการหรือไม่นั้น ประเด็นไม่ได้อยู่ที่มีคลื่นมากแล้วจะสามารถให้บริการได้อย่าง AIS DTAC TRUE ในทันที JAS กำลังเริ่มทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ถือว่าเป็นช่วงตั้งไข่ คนทำธุรกิจใหม่อยู่ดีๆจะเปิด 4-5 สาขาพร้อมกันเลยไม่ได้ ก็ต้องมีการลองผิดลองถูก เก็บประสบการณ์ เก็บเงินทุน ดูทิศทางไปก่อน ดูผลประกอบการ ว่าจะถอยหรือลุยต่อ ยิ่งในปัจจุบันการทำ Frequency Managing มีตัวอย่างและผู้เชี่ยวชาญที่สามารถ Traning และให้คำปรึกษาได้ รวมถึงมีอุปกรณ์และวิธีการทางเทคนิคที่สามารถบริหารคลื่นความถี่ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ เพราะฉะนั้น Capacity ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือ จะการก้าวผ่าน 1-2 ล้านเลขหมายแรกให้ได้ภายใน 2 ปี ตามเป้าต่างหาก
นอกจากนี้ อีก 3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีการคืนคลื่น 850 MHz อีก ไหนจะคลื่นความถี่ 2300 /2600 MHz ที่รอเจรจาเอาคืน และคลื่นความถี่ 700 MHz ของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ ITU เค้า Recommend ว่าน่าเอาไปทำโทรคมนาคม ซึ่งยังมีให้ประมูลอีกเยอะ
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ?
ความเร็วที่ยอดเยี่ยม ไม่ได้หมายความว่าจะตอบโจทก์ความพึงพอใจของผู้รับบริการเสมอไป การบริการหลังการขาย ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจการให้บริการ ระบบ Help desk / Call Center ต้องแน่น รวดเร็วและเกาถูกจุดที่คัน ระบบ Billing และ Authenticate มีความเสถียร โดยเฉพาะปัญหา Call Drop ถ้าสามารถดูแลสิ่งเหล่านี้ได้ดี จะสร้างความประทับใจแบบปากต่อปาก มีมาตรฐานมีการ Training อยู่เป็นประจำ สิ่งที่ห้ามทำคือการนำระบบ "หลังบ้าน" ของ Internet กับ Mobile มารวมกัน ควรแยกจากกัน ให้บริการเป็นสัดส่วนจะสามารถแก้ปัญหาได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า
ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว...