ดร.โกร่ง วิเคราะห์เศรษฐกิจซบเซาซึมยาว ห่วงเข้าสู่ภาวะ "กับดักสภาพคล่อง"
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ได้เขียนบทความถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยขณะนี้ การส่งออกที่ซบเซา ซึ่งในสถานการณ์ที่ตลาดภายในประเทศซบเซาพร้อมกับตลาดต่างประเทศ ขณะนี้เมื่อการบริโภคของครัวเรือนและภาคเอกชนหดตัว การลงทุนภาคเอกชนคงไม่เกิดขึ้น การส่งออกก็พอมองเห็นว่าคงจะหดตัว จึงเหลือการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐบาล ที่จะเป็นตัวดึงให้ภาวะเศรษฐกิจของเราไม่ทรุดตัวหนักไปกว่าปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตามที่น่าห่วงคือเศรษฐกิจของเรากำลังจะเคลื่อนตัวจากภาวะเงินฝืดหรือdeflationเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือ "recession" และเข้าสู่ภาวะ "กับดักสภาพคล่อง"
------------
บทความ ซบเซาซึมยาว
ที่มา นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 มีนาคม 2558
ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่หน่วยงานราชการประกาศออกมาสอดคล้องกันกับบรรยากาศทางเศรษฐกิจของประชาชนไม่ว่าจะเป็นประชาชนระดับใดต่างก็มีความรู้สึกว่าการทำมาหากินฝืดเคืองไม่คล่องตัวเหมือนกับเมื่อ2-3 ปีก่อน
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่เล็กและเปิด ลำพังแต่จะใช้ตลาดภายในประเทศย่อมจะไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณการผลิตสินค้าและบริการเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตรหรือสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งยังต้องพึ่งพาภาคบริการอันได้แก่ การท่องเที่ยว สถานที่ที่นักท่องเที่ยวมาใช้บริการ โรงแรม ที่พัก รีสอร์ต สถานบริการ สถานพักผ่อนหย่อนใจต่างๆ
สถานการณ์เศรษฐกิจของโลกในขณะนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ายังอยู่ในภาวะซบเซาตลาดสำคัญๆของสินค้าและบริการอันเป็นแหล่งที่มาของเงินที่นำมาซื้อสินค้าและบริการของเราอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ยุโรปก็ยังมีปัญหาหนี้สินของประเทศบางประเทศที่เป็นตัวดึงรั้งเศรษฐกิจของตนไว้ไม่ให้ฟื้นตัว ทั้งประเทศของเราเองก็เข้าเกณฑ์ที่เขาจะต้องตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยการเจรจาเขตเศรษฐกิจเสรีกับยุโรปก็ดำเนินต่อไปไม่ได้เพราะเขาไม่เจรจากับรัฐบาลของเราซึ่งเป็นรัฐบาลทหารหลังจากการทำรัฐประหาร
องค์ประกอบสำคัญที่ประกอบกันเป็นรายได้ประชาชาติได้แก่การบริโภคของครัวเรือน การลงทุนของภาคเอกชน การลงทุนของภาครัฐบาลของรัฐวิสาหกิจ การส่งออกสินค้า
สําหรับการส่งออก ในบรรยากาศเศรษฐกิจของโลกและบรรยากาศทางการเมืองของไทย ตัวเลขที่ทางการประกาศออกมา การส่งออกของเราขยายตัวเพียง 0.7 เปอร์เซ็นต์ อัตราการขยายตัวในระดับนี้เป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา ไม่แน่ใจว่าถ้าคิดเป็นปริมาณของสินค้าที่ส่งออกอาจจะลดลงก็ได้ ส่วนปีนี้อัตราการขยายตัวของการส่งออกก็ไม่น่าจะสดใสอะไรนัก เพราะเริ่มต้นเดือนมกราคมก็พบว่าการส่งออกหดตัวถึง 3.46 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว ทั้งปีก็อาจจะหดตัวแทนที่จะขยายตัว
การส่งออกที่ซบเซาอย่างนี้ เกิดขึ้นทั้งในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยแม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรม เพราะผลิตผลทางการเกษตรมีเพียงร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด แต่ผลิตภัณฑ์จากภาคเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากภาคเกษตรก็มีสัดส่วนที่สูงในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมด
เมื่อการส่งออกซบเซาก็เป็นผลทำให้รายได้ของเกษตรกรหดตัวแทนที่จะเพิ่มขึ้นตลาดภายในของสินค้าภาคอุตสาหกรรมจึงหดตัวลงไปด้วยการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานล่วงเวลาจึงลดลง
ในสถานการณ์อย่างนี้ที่ตลาดภายในประเทศซบเซาพร้อมๆกับตลาดต่างประเทศ การผลิตของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนปริมาณร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม จึงไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต เมื่อการผลิตไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต การลงทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานหรือการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าใหม่ๆ ก็ไม่เกิด การลงทุนของภาคเอกชนจึงไม่เกิด นอกจากนั้น ระดับการพัฒนาของการขนส่งก็ยังล้าหลังประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่ง เช่น จีน มาเลเซีย ไม่ต้องพูดถึงเกาหลีใต้ ไต้หวัน และอื่นๆ
เมื่อการบริโภคของครัวเรือนและภาคเอกชนหดตัว การลงทุนภาคเอกชนคงไม่เกิดขึ้น การส่งออกก็พอมองเห็นว่าคงจะหดตัว ก็เหลือการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐบาล ที่จะเป็นตัวดึงให้ภาวะเศรษฐกิจของเราไม่ทรุดตัวหนักไปกว่าปีที่แล้ว
ที่น่าห่วงก็คือเศรษฐกิจของเรากำลังจะเคลื่อนตัวจากภาวะเงินฝืดหรือdeflationเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือ"recession"และเข้าสู่ภาวะ "กับดักสภาพคล่อง"
ภาวะเงินฝืดหรือ deflation เกิดขึ้นแล้ว ที่เห็นได้ก็คืออัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลขติดลบ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจึงเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ซึ่งเป็นผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลหลักของโลกแข็งกว่าค่าเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งเท่ากับเป็นการให้แต้มต่อประเทศที่เป็นคู่แข่ง
เครื่องชี้อีกอันหนึ่งก็คือภาวะเงินล้นตลาดการเงินทาง ธปท.ได้ประกาศว่ามีเงินที่ล้นระบบอยู่ประมาณ 9 แสนล้านบาท ตัวเลขนี้หมายความว่า การลงทุนยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการออมอยู่ประมาณ 9 แสนล้านบาท หากเศรษฐกิจยังซบเซาต่อไป ตัวเลขนี้จะขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ นักเศรษฐศาสตร์เรียกภาวะเช่นนี้ว่าภาวะ "กับดักสภาพคล่อง" หรือ "liquidity trap" เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาพนี้แล้วการจะดึงออกจากสภาพเช่นนี้จะทำได้ยาก
การแก้ไขต้องรีบทำโดยด่วน นโยบายอันแรกก็คือผลักดันการส่งออกทุกวิถีทาง อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกต้องขจัดออกไป อุปสรรคสำคัญของการส่งออกก็คือ "ค่าเงิน" ควรจะอ่อนกว่าประเทศคู่แข่ง ดอกเบี้ยก็ควรจะต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ธนาคารกลางควรให้ความร่วมมือ
อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบเป็นอันตรายกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปกติจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ยกเว้นในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซามากๆ เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบจะทำให้ธุรกิจทุกประเภทขาดทุน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อติดลบต้องดึงกลับมาให้เป็นบวก
ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศให้มากขึ้นควรจะมีแผนการท่องเที่ยวร่วมมือกับภาคเอกชนดึงดูดให้นักท่องเที่ยวในตลาดระดับบนให้มากขึ้นขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวต้องถือเป็นนโยบายสำคัญที่สุด
การลงทุนโดยภาครัฐบาลก็เป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อชดเชยการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชนการลงทุนของภาครัฐบาลนั้นอาจจะให้กระทรวงทบวงกรมทำเองเช่นกรมทางหลวงกรมทางหลวงชนบทและกรมชลประทาน ขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญๆ ก็จัดทำโดยรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น การลงทุนของรัฐวิสาหกิจจึงเป็นเรื่องจำเป็นและรีบด่วน
เงินทุนสำหรับการลงทุนก็ไม่ควรจะไปกู้จากต่างประเทศควรจะออกพันธบัตรกู้ยืมเป็นเงินบาทจากตลาดภายในประเทศจะเป็นการช่วยให้ภาวะเงินล้นตลาดลดลงหากไปกู้มาจากต่างประเทศก็จะไม่ช่วยลดปริมาณเงินที่ล้นตลาดไม่ช่วยให้เศรษฐกิจออกจากสภาวะ "กับดับสภาพคล่อง" การที่รัฐบาลไม่ลงทุนหรือลงทุนน้อยเกินไปจะเป็นอันตราย จะทำให้เศรษฐกิจที่ถดถอยอยู่แล้วเดินเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาเร็วยิ่งขึ้น
ควรจะต้องช่วยกันคิดมิฉะนั้นอาจจะต้องลำบากกันอีก
ที่มา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425565448
ดร.โกร่ง วิเคราะห์เศรษฐกิจซบเซาซึมยาว ห่วงเข้าสู่ภาวะ "กับดักสภาพคล่อง"
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ได้เขียนบทความถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยขณะนี้ การส่งออกที่ซบเซา ซึ่งในสถานการณ์ที่ตลาดภายในประเทศซบเซาพร้อมกับตลาดต่างประเทศ ขณะนี้เมื่อการบริโภคของครัวเรือนและภาคเอกชนหดตัว การลงทุนภาคเอกชนคงไม่เกิดขึ้น การส่งออกก็พอมองเห็นว่าคงจะหดตัว จึงเหลือการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐบาล ที่จะเป็นตัวดึงให้ภาวะเศรษฐกิจของเราไม่ทรุดตัวหนักไปกว่าปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตามที่น่าห่วงคือเศรษฐกิจของเรากำลังจะเคลื่อนตัวจากภาวะเงินฝืดหรือdeflationเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือ "recession" และเข้าสู่ภาวะ "กับดักสภาพคล่อง"
------------
บทความ ซบเซาซึมยาว
ที่มา นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 มีนาคม 2558
ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่หน่วยงานราชการประกาศออกมาสอดคล้องกันกับบรรยากาศทางเศรษฐกิจของประชาชนไม่ว่าจะเป็นประชาชนระดับใดต่างก็มีความรู้สึกว่าการทำมาหากินฝืดเคืองไม่คล่องตัวเหมือนกับเมื่อ2-3 ปีก่อน
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่เล็กและเปิด ลำพังแต่จะใช้ตลาดภายในประเทศย่อมจะไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณการผลิตสินค้าและบริการเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตรหรือสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งยังต้องพึ่งพาภาคบริการอันได้แก่ การท่องเที่ยว สถานที่ที่นักท่องเที่ยวมาใช้บริการ โรงแรม ที่พัก รีสอร์ต สถานบริการ สถานพักผ่อนหย่อนใจต่างๆ
สถานการณ์เศรษฐกิจของโลกในขณะนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ายังอยู่ในภาวะซบเซาตลาดสำคัญๆของสินค้าและบริการอันเป็นแหล่งที่มาของเงินที่นำมาซื้อสินค้าและบริการของเราอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ยุโรปก็ยังมีปัญหาหนี้สินของประเทศบางประเทศที่เป็นตัวดึงรั้งเศรษฐกิจของตนไว้ไม่ให้ฟื้นตัว ทั้งประเทศของเราเองก็เข้าเกณฑ์ที่เขาจะต้องตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยการเจรจาเขตเศรษฐกิจเสรีกับยุโรปก็ดำเนินต่อไปไม่ได้เพราะเขาไม่เจรจากับรัฐบาลของเราซึ่งเป็นรัฐบาลทหารหลังจากการทำรัฐประหาร
องค์ประกอบสำคัญที่ประกอบกันเป็นรายได้ประชาชาติได้แก่การบริโภคของครัวเรือน การลงทุนของภาคเอกชน การลงทุนของภาครัฐบาลของรัฐวิสาหกิจ การส่งออกสินค้า
สําหรับการส่งออก ในบรรยากาศเศรษฐกิจของโลกและบรรยากาศทางการเมืองของไทย ตัวเลขที่ทางการประกาศออกมา การส่งออกของเราขยายตัวเพียง 0.7 เปอร์เซ็นต์ อัตราการขยายตัวในระดับนี้เป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา ไม่แน่ใจว่าถ้าคิดเป็นปริมาณของสินค้าที่ส่งออกอาจจะลดลงก็ได้ ส่วนปีนี้อัตราการขยายตัวของการส่งออกก็ไม่น่าจะสดใสอะไรนัก เพราะเริ่มต้นเดือนมกราคมก็พบว่าการส่งออกหดตัวถึง 3.46 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว ทั้งปีก็อาจจะหดตัวแทนที่จะขยายตัว
การส่งออกที่ซบเซาอย่างนี้ เกิดขึ้นทั้งในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยแม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรม เพราะผลิตผลทางการเกษตรมีเพียงร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด แต่ผลิตภัณฑ์จากภาคเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากภาคเกษตรก็มีสัดส่วนที่สูงในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมด
เมื่อการส่งออกซบเซาก็เป็นผลทำให้รายได้ของเกษตรกรหดตัวแทนที่จะเพิ่มขึ้นตลาดภายในของสินค้าภาคอุตสาหกรรมจึงหดตัวลงไปด้วยการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานล่วงเวลาจึงลดลง
ในสถานการณ์อย่างนี้ที่ตลาดภายในประเทศซบเซาพร้อมๆกับตลาดต่างประเทศ การผลิตของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนปริมาณร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม จึงไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต เมื่อการผลิตไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต การลงทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานหรือการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าใหม่ๆ ก็ไม่เกิด การลงทุนของภาคเอกชนจึงไม่เกิด นอกจากนั้น ระดับการพัฒนาของการขนส่งก็ยังล้าหลังประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่ง เช่น จีน มาเลเซีย ไม่ต้องพูดถึงเกาหลีใต้ ไต้หวัน และอื่นๆ
เมื่อการบริโภคของครัวเรือนและภาคเอกชนหดตัว การลงทุนภาคเอกชนคงไม่เกิดขึ้น การส่งออกก็พอมองเห็นว่าคงจะหดตัว ก็เหลือการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐบาล ที่จะเป็นตัวดึงให้ภาวะเศรษฐกิจของเราไม่ทรุดตัวหนักไปกว่าปีที่แล้ว
ที่น่าห่วงก็คือเศรษฐกิจของเรากำลังจะเคลื่อนตัวจากภาวะเงินฝืดหรือdeflationเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือ"recession"และเข้าสู่ภาวะ "กับดักสภาพคล่อง"
ภาวะเงินฝืดหรือ deflation เกิดขึ้นแล้ว ที่เห็นได้ก็คืออัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลขติดลบ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจึงเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ซึ่งเป็นผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลหลักของโลกแข็งกว่าค่าเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งเท่ากับเป็นการให้แต้มต่อประเทศที่เป็นคู่แข่ง
เครื่องชี้อีกอันหนึ่งก็คือภาวะเงินล้นตลาดการเงินทาง ธปท.ได้ประกาศว่ามีเงินที่ล้นระบบอยู่ประมาณ 9 แสนล้านบาท ตัวเลขนี้หมายความว่า การลงทุนยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการออมอยู่ประมาณ 9 แสนล้านบาท หากเศรษฐกิจยังซบเซาต่อไป ตัวเลขนี้จะขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ นักเศรษฐศาสตร์เรียกภาวะเช่นนี้ว่าภาวะ "กับดักสภาพคล่อง" หรือ "liquidity trap" เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาพนี้แล้วการจะดึงออกจากสภาพเช่นนี้จะทำได้ยาก
การแก้ไขต้องรีบทำโดยด่วน นโยบายอันแรกก็คือผลักดันการส่งออกทุกวิถีทาง อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกต้องขจัดออกไป อุปสรรคสำคัญของการส่งออกก็คือ "ค่าเงิน" ควรจะอ่อนกว่าประเทศคู่แข่ง ดอกเบี้ยก็ควรจะต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ธนาคารกลางควรให้ความร่วมมือ
อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบเป็นอันตรายกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปกติจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ยกเว้นในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซามากๆ เพราะอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบจะทำให้ธุรกิจทุกประเภทขาดทุน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดมาก เพราะอัตราเงินเฟ้อติดลบต้องดึงกลับมาให้เป็นบวก
ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศให้มากขึ้นควรจะมีแผนการท่องเที่ยวร่วมมือกับภาคเอกชนดึงดูดให้นักท่องเที่ยวในตลาดระดับบนให้มากขึ้นขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวต้องถือเป็นนโยบายสำคัญที่สุด
การลงทุนโดยภาครัฐบาลก็เป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อชดเชยการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชนการลงทุนของภาครัฐบาลนั้นอาจจะให้กระทรวงทบวงกรมทำเองเช่นกรมทางหลวงกรมทางหลวงชนบทและกรมชลประทาน ขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญๆ ก็จัดทำโดยรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น การลงทุนของรัฐวิสาหกิจจึงเป็นเรื่องจำเป็นและรีบด่วน
เงินทุนสำหรับการลงทุนก็ไม่ควรจะไปกู้จากต่างประเทศควรจะออกพันธบัตรกู้ยืมเป็นเงินบาทจากตลาดภายในประเทศจะเป็นการช่วยให้ภาวะเงินล้นตลาดลดลงหากไปกู้มาจากต่างประเทศก็จะไม่ช่วยลดปริมาณเงินที่ล้นตลาดไม่ช่วยให้เศรษฐกิจออกจากสภาวะ "กับดับสภาพคล่อง" การที่รัฐบาลไม่ลงทุนหรือลงทุนน้อยเกินไปจะเป็นอันตราย จะทำให้เศรษฐกิจที่ถดถอยอยู่แล้วเดินเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาเร็วยิ่งขึ้น
ควรจะต้องช่วยกันคิดมิฉะนั้นอาจจะต้องลำบากกันอีก
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425565448