ที่รัฐสภา นางทิชา ณ นคร อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และอดีตกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงเปิดใจต่อเหตุผลที่ลาออกจากตำแหน่ง สปช. และกมธ.ยกร่างรัฐธรมนูญต่อสื่อมวลชน โดยมีเครือข่ายสตรี กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่ นางถวิลวดี บุรีกุล, น.ส.สุภัทรา นาคะผิว, นายคำนูณ สิทธิสมาน ให้กำลังใจ ทั้งนี้นางทิชา ยืนยันว่าการตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เป็นเพราะหมดศรัทธาที่จะสื่อสารกับ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากในประเด็นการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองให้กับเพศหญิง ทั้งในสัดส่วนสภาท้องถิ่นและการส่งบุคคลลงสมัครส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ แม้จะมีการประนีประนอม ปรับถ้อยคำจากเพศหญิง เป็นเพศตรงข้ามแล้ว แต่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเพศชายผู้คัดค้านยังไม่ยอมรับเหตุผลของตน ที่มองว่าการเพิ่มสัดส่วนสตรีเพศดังกล่าวเพื่อให้ผู้หญิงเข้าร่วมการขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความสมดุล และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางสังคม วัฒนธรรมและทางการเมืองที่ต้องอาศัยมาตรการพิเศษชั่วคราวในการกำหนดสัดส่วนเพศตรงข้าม จำนวน 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อยไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ยืนยันว่าการตัดสินใจลาออกจาก สปช. และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับประเด็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญ เพราะตนไม่สังกัดกลุ่มใด และการกระทำดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นการต่อต้านคณะรักษาความแห่งชาติ (คสช.) แต่เมื่อการตัดสินใจของตนเองเพื่อรักษาจุดยืนและอุดมการณ์ของตนเอง ไมได้ต่อต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่หากมีผู้ใดนำไปผูกโยงและทำความมั่นคงสั่นสะเทือน ตนยืนยันว่าเหตุผลการลาออกเพราะต้องการรักษาจุดยืนและอุดมการณ์ของตนเอง หลังจากที่ไม่สามารถทำหน้าที่ในพื้นที่ที่ความเห็นของตนไม่สามารถขับเคลื่อนได้ แต่หากหลังจากนี้มีการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนอื่นต้องดูต่อไปว่าใครจะทำ และจุดยืนในลำดับต่อไปจะเป็นเช่นไร
“แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกฯ จะบอกว่าขณะนี้เพศหญิงก็เป็นใหญ่อยู่แล้ว เพราะมีสถานะเป็นทั้งแม่ และภรรยา แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นการยกขึ้นมาพูดเพื่อสร้างความขบขัน หรือเป็นเรื่อง Joke เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติจริงผู้หญิงไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง การกำหนดนโยบายสาธารณะ ประเด็นทางสังคม ดังนั้นการกำหนดสัดส่วนเพศหญิงไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสให้เพศหญิงให้เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง” นางทิชา กล่าว
นางทิชา กล่าวด้วยว่าสำหรับบทบาทหลังจากนี้เป็นสิ่งที่คาดหมายว่าจะได้ผลักดันประเด็นและข้อห่วงใยจากภายนอกไปสู่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเชื่อว่าบทบาทภายนอกนั้นจะมีพลังอีกแบบ ที่มีความเป็นอิสระภาพ มีเสรีภาพที่สามารถสื่อสารได้ สำหรับเสรีชน สิ่งนี้มีความหมาย ทั้งนี้การเดินออกจากตำแหน่งถือเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าประเด็นข้อห่วงใยหากไม่ทบทวน ภาคประชาชนและมุมมองอื่นที่อยู่ภายนอกจะต้องตั้งคำถามจำนวนมาก เพราะการทำงานของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหมือนอยู่ภายใต้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ แต่ไม่รู้ว่าภายนอกมีสภาพอากาศเช่นไร ประเด็นเหล่านี้ต้องอาศัยบุคคลภายนอกที่นำเสนอประเด็น เพื่อยืนยันว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่เพื่ออยู่ในห้องปฏิบัติการเพื่อคน 36 คนเท่านั้น แต่ต้องใช้กับคน 60 ล้านคน และมีสภาพอากาศ และบรรยากาศที่แตกต่าง
- See more at:
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/637464#sthash.F7ip3vSr.dpuf
ทิชา ณ นคร อดีตสปช. เปิดใจเหตุผลลาออก
ที่รัฐสภา นางทิชา ณ นคร อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และอดีตกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงเปิดใจต่อเหตุผลที่ลาออกจากตำแหน่ง สปช. และกมธ.ยกร่างรัฐธรมนูญต่อสื่อมวลชน โดยมีเครือข่ายสตรี กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่ นางถวิลวดี บุรีกุล, น.ส.สุภัทรา นาคะผิว, นายคำนูณ สิทธิสมาน ให้กำลังใจ ทั้งนี้นางทิชา ยืนยันว่าการตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เป็นเพราะหมดศรัทธาที่จะสื่อสารกับ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากในประเด็นการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองให้กับเพศหญิง ทั้งในสัดส่วนสภาท้องถิ่นและการส่งบุคคลลงสมัครส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ แม้จะมีการประนีประนอม ปรับถ้อยคำจากเพศหญิง เป็นเพศตรงข้ามแล้ว แต่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเพศชายผู้คัดค้านยังไม่ยอมรับเหตุผลของตน ที่มองว่าการเพิ่มสัดส่วนสตรีเพศดังกล่าวเพื่อให้ผู้หญิงเข้าร่วมการขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความสมดุล และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางสังคม วัฒนธรรมและทางการเมืองที่ต้องอาศัยมาตรการพิเศษชั่วคราวในการกำหนดสัดส่วนเพศตรงข้าม จำนวน 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อยไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ยืนยันว่าการตัดสินใจลาออกจาก สปช. และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับประเด็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญ เพราะตนไม่สังกัดกลุ่มใด และการกระทำดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นการต่อต้านคณะรักษาความแห่งชาติ (คสช.) แต่เมื่อการตัดสินใจของตนเองเพื่อรักษาจุดยืนและอุดมการณ์ของตนเอง ไมได้ต่อต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่หากมีผู้ใดนำไปผูกโยงและทำความมั่นคงสั่นสะเทือน ตนยืนยันว่าเหตุผลการลาออกเพราะต้องการรักษาจุดยืนและอุดมการณ์ของตนเอง หลังจากที่ไม่สามารถทำหน้าที่ในพื้นที่ที่ความเห็นของตนไม่สามารถขับเคลื่อนได้ แต่หากหลังจากนี้มีการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนอื่นต้องดูต่อไปว่าใครจะทำ และจุดยืนในลำดับต่อไปจะเป็นเช่นไร
“แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกฯ จะบอกว่าขณะนี้เพศหญิงก็เป็นใหญ่อยู่แล้ว เพราะมีสถานะเป็นทั้งแม่ และภรรยา แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นการยกขึ้นมาพูดเพื่อสร้างความขบขัน หรือเป็นเรื่อง Joke เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติจริงผู้หญิงไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง การกำหนดนโยบายสาธารณะ ประเด็นทางสังคม ดังนั้นการกำหนดสัดส่วนเพศหญิงไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสให้เพศหญิงให้เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง” นางทิชา กล่าว
นางทิชา กล่าวด้วยว่าสำหรับบทบาทหลังจากนี้เป็นสิ่งที่คาดหมายว่าจะได้ผลักดันประเด็นและข้อห่วงใยจากภายนอกไปสู่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเชื่อว่าบทบาทภายนอกนั้นจะมีพลังอีกแบบ ที่มีความเป็นอิสระภาพ มีเสรีภาพที่สามารถสื่อสารได้ สำหรับเสรีชน สิ่งนี้มีความหมาย ทั้งนี้การเดินออกจากตำแหน่งถือเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าประเด็นข้อห่วงใยหากไม่ทบทวน ภาคประชาชนและมุมมองอื่นที่อยู่ภายนอกจะต้องตั้งคำถามจำนวนมาก เพราะการทำงานของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหมือนอยู่ภายใต้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ แต่ไม่รู้ว่าภายนอกมีสภาพอากาศเช่นไร ประเด็นเหล่านี้ต้องอาศัยบุคคลภายนอกที่นำเสนอประเด็น เพื่อยืนยันว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่เพื่ออยู่ในห้องปฏิบัติการเพื่อคน 36 คนเท่านั้น แต่ต้องใช้กับคน 60 ล้านคน และมีสภาพอากาศ และบรรยากาศที่แตกต่าง
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/637464#sthash.F7ip3vSr.dpuf