ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมคณะอนุกมธ.พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 3 ของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่มี นายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน มีการเสนอรูปแบบจัดการเลือกตั้ง การนับผลคะแนนเลือกตั้งส.ส.ทั้งระบบบัญชีรายชื่อ ระบบเขต ในรูปแบบใหม่โดยยกโมเดลจากต่างประเทศทั้งระบบการจัดการเลือกตั้งแบบออสเตรเลียและแบบเยอรมันมาหารือ ซึ่งที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่โน้มเอียงไปทางฝั่งเยอรมัน
ที่นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะอนุกรรมาธิการเป็นผู้เสนอ เพราะวิธีเลือกตั้งแบบเยอรมัน จะทำให้ทุกคะแนนที่ลงนั้นมีค่า ไม่ถูกตัดทิ้ง พรรคขนาดกลางและเล็กมี โอกาสได้ส.ส.มากขึ้นเพราะจะคิดจากคะแนนของระบบบัญชีรายชื่อเป็นหลัก เช่น ประเทศไทยมีส.ส. 500 คน พรรค ข. ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ร้อยละ 10 ของทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนส.ส.ที่ควรจะมี 50 คน แต่ชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพียง 30 เขต ผลคือ พรรค ข.จะมีส.ส. 50 คน มาจากแบบแบ่งเขต 30 คน และจะได้ส.ส.จากบัญชีรายชื่ออีก 20 คน รวมเป็น 50 คน โดยระบบนี้จะคำนึงถึงผู้ที่ลงคะแนนเสียงในภาพรวมเป็นหลักเพื่อมาคำนวณหาสัดส่วนส.ส.ที่ควรจะเป็น
โดยนายนครินทร์ชี้แจงว่า ระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันจะแตกต่างจากระบบการเลือกตั้งของไทย ต่างจากในรัฐธรรมนูญ ปี ′40 และ ′50 ที่เป็นระบบแบบแถมให้ โดยพรรคชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเท่าไรก็ให้ไปรวมกับสัดส่วนที่ได้จากบัญชีรายชื่อทั้งหมด แต่ระบบนี้จะคิดจำนวนผู้แทนฯ จากระบบบัญชีรายชื่อเป็นหลัก ที่สำคัญจะช่วยแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจากการเลือกตั้งได้
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางแบบเยอรมัน และเตรียมจัดทำเอกสารนำเสนอต่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน พิจารณาในวันที่ 12-13 ธ.ค.นี้และมั่นใจว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะตอบรับแนวทางที่อนุกรรมาธิการเสนอ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1417389919
อนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมธรรมนูญนำระบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมันมาใช้ในไทย
ที่นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะอนุกรรมาธิการเป็นผู้เสนอ เพราะวิธีเลือกตั้งแบบเยอรมัน จะทำให้ทุกคะแนนที่ลงนั้นมีค่า ไม่ถูกตัดทิ้ง พรรคขนาดกลางและเล็กมี โอกาสได้ส.ส.มากขึ้นเพราะจะคิดจากคะแนนของระบบบัญชีรายชื่อเป็นหลัก เช่น ประเทศไทยมีส.ส. 500 คน พรรค ข. ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ร้อยละ 10 ของทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนส.ส.ที่ควรจะมี 50 คน แต่ชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพียง 30 เขต ผลคือ พรรค ข.จะมีส.ส. 50 คน มาจากแบบแบ่งเขต 30 คน และจะได้ส.ส.จากบัญชีรายชื่ออีก 20 คน รวมเป็น 50 คน โดยระบบนี้จะคำนึงถึงผู้ที่ลงคะแนนเสียงในภาพรวมเป็นหลักเพื่อมาคำนวณหาสัดส่วนส.ส.ที่ควรจะเป็น
โดยนายนครินทร์ชี้แจงว่า ระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันจะแตกต่างจากระบบการเลือกตั้งของไทย ต่างจากในรัฐธรรมนูญ ปี ′40 และ ′50 ที่เป็นระบบแบบแถมให้ โดยพรรคชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเท่าไรก็ให้ไปรวมกับสัดส่วนที่ได้จากบัญชีรายชื่อทั้งหมด แต่ระบบนี้จะคิดจำนวนผู้แทนฯ จากระบบบัญชีรายชื่อเป็นหลัก ที่สำคัญจะช่วยแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจากการเลือกตั้งได้
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางแบบเยอรมัน และเตรียมจัดทำเอกสารนำเสนอต่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน พิจารณาในวันที่ 12-13 ธ.ค.นี้และมั่นใจว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะตอบรับแนวทางที่อนุกรรมาธิการเสนอ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1417389919