เห็นด้วยหรือไม่ ?? กมธ.ยกร่างฯเคาะส.ว. 200 คนมาจากการสรรหา 5แนวทาง อยู่ 6 ปีวาระเดียว

ไปยังลิ๊งค์ข่าว ให้กดที่รูป


     เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่พัทยา จ.ชลบุรี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาส่วนที่ 3วุฒิสภามาตรา 123 กำหนดให้ส.ว.มีจำนวนไม่เกิน 200 คน เป็นได้ 6 ปี วาระเดียว ซึ่งจะมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมจากบุคคล ดังนี้

(1) ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เลือกกันเองให้ได้ไม่เกิน 10  คน  

(2) ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร ข้าราชการฝ่ายทหารซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ผู้บัญชาการเหล่าทัพ พนักงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าองค์กรดังกล่าว  เลือกกันเองประเภทละไม่เกิน 10 คน แต่ต้องไม่เป็นผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น

(3) ผู้แทนองค์กรวิชาชีพหรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งเลือกกันเองตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.จำนวนไม่เกิน 10 คน

(4) ผู้ซึ่งมาจากการเลือกกันเองขององค์กรด้านเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่น จำนวนไม่เกิน 50 คน

(5) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และอื่น ๆ ตามที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.จำนวนไม่เกิน 100 คน  


    ด้านนายมานิจ สุขสมจิตร รองประธาน กมธ.ยกร่างฯคนที่ 2 แถลงเพิ่มเติมว่า ตอนแรกมีการบัญญัติคำว่าด้านสื่อมวลชนไว้ใน(4) แต่ตนได้เสนอให้ตัดออกไป เพราะต้องการให้อาชีพสื่อมวลชนปลอดจากการเมือง ตามหลักการสื่อฯต้องวางตนเป็นกลางทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นต่างๆอย่างตรงไปตรงมาไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากเข้าไปเข้าไปเป็นส.ว.เกรงว่าจะไม่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับนายจักกฤษ พูนเพิ่มประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยแล้วและทั้ง2คนก็เห็นด้วย

     พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการ กำหนดว่าผู้ที่เคยเป็นส.ว.พ้นตำแหน่งมาไม่เกิน 2 ปีจะเป็นรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆในองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่ได้ ส่วนในมาตรา 132 กำหนดว่าเมื่อมีนายกรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลให้ทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคล วุฒิสภาจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อก่อน แล้วรายงานต่อวุฒิสภา เพื่อแจ้งให้นายกรัฐมนตรีรัยทราบ แต่จะมีมติ"เห็นชอบ"หรือ"ไม่เห็นชอบ"ไม่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาบังคับใช้กับการเสนอแต่งตั้งปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าหน่วยราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของรัฐวิสาหกิจด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้การดำเนินการของกมธ.จะเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา.





อยากทราบเหตุผลประกอบของแต่ละท่านโดยละเอียด  
ที่ทำให้ท่านเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย   ในแต่ละข้อทั้ง5 หรือบางประโยคในกระทู้ข่าว
หรือมีข้อคิดเห็น ว่าทั้ง5ข้อ มีข้อดี-ข้อเสีย   อย่างไรบ้าง


ถ้าเห็นว่าประเด็นเรื่องนี้น่าศึกษา ก็ช่วยกดโหวตให้ขึ้นแนะนำ เพื่อเป็นกรณีศึกษาเรียนรู้กันไป
เพราะผมว่าเรื่องนี้สำคัญมากทีเดียว เพราะว่าเหล่านี้มันมีผลต่อระบบการเมืองในอนาคต มากมายมหาศาลจริงๆ
1. เห็นด้วยหรือไม่ ?? กมธ.ยกร่างฯเคาะส.ว. 200 คนมาจากการสรรหา 5แนวทาง อยู่ 6 ปีวาระเดียว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่