การมีสมาชิกวุฒิสภาก็ยังไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่าบ้านเมืองเราเป็นประชาธิปไตย
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั่วประเทศ ผลปรากฎอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่าง 2 ขั้วการเมือง แบ่งกันไปตามพื้นที่ ฝ่ายหนึ่งครองภาคเหนือ-อีสาน เป็นส่วนใหญ่ ส่วนอีกฝ่ายก็ครองภาคใต้ รวมถึงฝ่ายที่อิสระไม่ขึ้นกับฝ่ายใด (อ่านรายละเอียดรายชื่อ ส.ว.ได้ที่
http://bit.ly/Qv9yD8 ) แต่สิ่งหนึ่งที่หายไปจากการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาสรรหากว่าครึ่งหนึ่ง ที่มาจากการแต่งตั้งผ่านองค์กรอิสระ 7 องค์กร หรือที่เราเรียกว่า “7 อรหันต์”[1] ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนในทางใดๆเลย แตกต่างกับเหล่าสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งที่มีที่มาโดยชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย ความไม่ปกติของระบบสมาชิกวุฒิสภานี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพิกลพิการของระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา ว่าอำนาจที่แท้จริงยังไม่ได้เป็นของประชาชน ในยุคหนึ่งช่วงหลังปี 2519 เราถูกเรียกว่า “ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (semi-democracy)”
ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบเกิดขึ้นหลังการรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้เชิญนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยคณะปฏิรูปได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 2517 ยกเลิกรัฐสภาและการเลือกตั้ง ยุบพรรคการเมือง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2519 ที่กลุ่มรัฐประหารร่าง โดยในร่างชั่วคราวได้มีโครงการจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็ว และมีการระบุแผนการที่จะให้ประเทศไทยผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนานถึง 12 ปี เพราะเชื่อว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย[2] และกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาสรรหาชุดปัจจุบันก็มีรูปแบบโครงสร้างเริ่มต้นมาจากยุคนี้
นักวิชาการหลายกลุ่มมองว่ารูปแบบของสมาชิกวุฒิสภาสรรหาเป็นความพยายามดิ้นรนของกลุ่มอำนาจเก่า ทหารชั้นสูง เพื่อควบคุมรัฐสภา[3] และเมื่อมองดูถึงอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองกฏหมายก่อนขึ้นทูลเกล้า ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่ง ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง จะพบว่าไม่ได้น้อยไปกว่าอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฏร(ส.ส.)เลย[4] เมื่ออำนาจหน้าที่สำคัญขนาดนี้ จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญของกลุ่มอำนาจเก่าในการพยายามควบคุมรัฐสภาเอาไว้ เพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอ ในเมื่ออำนาจตามรัฐธรรมนูญปี 2550 สามารถพิจารณาแต่งตั้งคณะบุคคลไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระทั้งหลายได้อีก ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ,ป.ป.ช.,ค.ต.ส.,กกต.,ก.ส.ม.และองค์กรอื่นๆ [5]
อ่านมาถึงจุดนี้ จะพบความย้อนแย้งในระบบการเมืองไทย เมื่อคนที่แต่งตั้งเหล่า ส.ว.สรรหา คือ 7 องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และย้อนกลับกันเมื่อคนที่แต่งตั้งให้คณะบุคคลไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ คือ เหล่าวุฒิสภา พูดง่ายๆ คือ เลือกกันเอง วนเป็นวัฏจักรเลย ดังนั้นเราจะเห็นกลุ่มคนพวกเดียวกันเข้ามาทำหน้าที่สลับกันไปมา และช่วยเหลือกันและกัน เพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้ามในการบริหารบ้านเมือง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
http://bit.ly/QuagQx
การมีสมาชิกวุฒิสภาก็ยังไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่าบ้านเมืองเราเป็นประชาธิปไตย
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั่วประเทศ ผลปรากฎอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่าง 2 ขั้วการเมือง แบ่งกันไปตามพื้นที่ ฝ่ายหนึ่งครองภาคเหนือ-อีสาน เป็นส่วนใหญ่ ส่วนอีกฝ่ายก็ครองภาคใต้ รวมถึงฝ่ายที่อิสระไม่ขึ้นกับฝ่ายใด (อ่านรายละเอียดรายชื่อ ส.ว.ได้ที่ http://bit.ly/Qv9yD8 ) แต่สิ่งหนึ่งที่หายไปจากการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาสรรหากว่าครึ่งหนึ่ง ที่มาจากการแต่งตั้งผ่านองค์กรอิสระ 7 องค์กร หรือที่เราเรียกว่า “7 อรหันต์”[1] ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนในทางใดๆเลย แตกต่างกับเหล่าสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งที่มีที่มาโดยชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย ความไม่ปกติของระบบสมาชิกวุฒิสภานี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพิกลพิการของระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา ว่าอำนาจที่แท้จริงยังไม่ได้เป็นของประชาชน ในยุคหนึ่งช่วงหลังปี 2519 เราถูกเรียกว่า “ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (semi-democracy)”
ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบเกิดขึ้นหลังการรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้เชิญนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยคณะปฏิรูปได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 2517 ยกเลิกรัฐสภาและการเลือกตั้ง ยุบพรรคการเมือง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2519 ที่กลุ่มรัฐประหารร่าง โดยในร่างชั่วคราวได้มีโครงการจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็ว และมีการระบุแผนการที่จะให้ประเทศไทยผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนานถึง 12 ปี เพราะเชื่อว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย[2] และกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาสรรหาชุดปัจจุบันก็มีรูปแบบโครงสร้างเริ่มต้นมาจากยุคนี้
นักวิชาการหลายกลุ่มมองว่ารูปแบบของสมาชิกวุฒิสภาสรรหาเป็นความพยายามดิ้นรนของกลุ่มอำนาจเก่า ทหารชั้นสูง เพื่อควบคุมรัฐสภา[3] และเมื่อมองดูถึงอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองกฏหมายก่อนขึ้นทูลเกล้า ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่ง ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง จะพบว่าไม่ได้น้อยไปกว่าอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฏร(ส.ส.)เลย[4] เมื่ออำนาจหน้าที่สำคัญขนาดนี้ จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญของกลุ่มอำนาจเก่าในการพยายามควบคุมรัฐสภาเอาไว้ เพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอ ในเมื่ออำนาจตามรัฐธรรมนูญปี 2550 สามารถพิจารณาแต่งตั้งคณะบุคคลไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระทั้งหลายได้อีก ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ,ป.ป.ช.,ค.ต.ส.,กกต.,ก.ส.ม.และองค์กรอื่นๆ [5]
อ่านมาถึงจุดนี้ จะพบความย้อนแย้งในระบบการเมืองไทย เมื่อคนที่แต่งตั้งเหล่า ส.ว.สรรหา คือ 7 องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และย้อนกลับกันเมื่อคนที่แต่งตั้งให้คณะบุคคลไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ คือ เหล่าวุฒิสภา พูดง่ายๆ คือ เลือกกันเอง วนเป็นวัฏจักรเลย ดังนั้นเราจะเห็นกลุ่มคนพวกเดียวกันเข้ามาทำหน้าที่สลับกันไปมา และช่วยเหลือกันและกัน เพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้ามในการบริหารบ้านเมือง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://bit.ly/QuagQx