ข้อสอบยากหรือการออกข้อสอบไม่สอดดคล้องกับสิ่งที่เรียน

ผมเห็นเด็กๆบานเกี่ยวกับเรื่องข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งมักจะบ่นว่ายาก หรือยากมาก หรือโคตรยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการคำนวณอย่างวิชาคณิตศาสตร์ ผมขอยกตัวอย่างวิชานี้วิชาเดียวนะครับวิชาอื่นก็เป็นหมด ซึ่งในฐานะที่เคยเรียนและเป็นติวเตอร์สอนพิเศษมา 5 ปี ผมมองว่าข้อสอบนั้นมันยากเกินไป  จากใจเลยครับคิดง่ายๆเลยเรียนเลขมา 6 เทอม กว่า 16 บทเรียน (รวมรายวิชาเพิ่มเติม) วัดคุณด้วยข้อสอบ 30-40 ข้อเท่านั้นในรายวิชาสามัญ บางบทเรียนมาทั้งเทอมออกมา 1 ข้อเท่านั้น หรือบางบทก็คิดซับซ้อนหลายตลบ  ย้อนกลับไปดูกับสิ่งที่ได้เรียนในโรงเรียนคุณอาจจะตกใจว่าเกินครึ่งของเด็กที่เรียนในโรงเรียนรัฐบาลได้เรียนแบบผิวเผินเท่านั้น  กล่าวคือการเรียนการสอนในห้องเรียนได้เรียนเฉพาะเนื้อหาพื้นฐาน  พื้นฐานมากๆ ยิ่งในหนังสือแบบเรียนของรัฐอย่าง สสวท. นั้นเนื้อหามันผิดกับข้อสอบ PAT 1 ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างมาก ผมเข้าใจว่าการสอบแข่งขันเข้าเรียนในที่เรียนที่จำกัดนั้นมันจะต้องสามารถคัดเลือกนักเรียนที่มีศักยภาพที่เพียงพอที่จะเข้าเรียนในสถาบันนั้น   แต่การออกข้อสอบที่ยากเกินกว่าที่เรียนมากจนเกินไปทำให้คะแนนที่ได้ออกมานั้นส่วนใหญ่มากจากการที่เดามั่วแล้วฝนคำตอบซึ่งบังเอิญถูกพอดี  เพราะคะแนนเฉลี่ยมันต่ำมากครับ  ส่วนคนที่ได้คะแนนมากก็มีส่วนน้อยมากเท่านั้นที่ขยันเรียนจริงๆ ทางใดทางหนึ่งครับอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องการนักเรียนที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะเข้าไปเป็นนักศึกษาในสถาบันนั้นๆ แต่ในทำนองเดียวกันข้อสอบที่ยากแต่การเรียนการสอนในห้องเรียนไม่พร้อมพอที่จะช่วยนักเรียนสามารถเป็นแนวทางในการนำไปต่อยอดอ่านเพิ่มเติมได้นั้น  บอกได้คำเดียวเลยว่ายากเหลือเกินครับที่นักเรียนจะสามารถประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องพึ่งทางอื่น  แม่ว่าสื่อการเรียนการสอน Multimedia มากมายเหลือเกินในสมัยนี้ซึ่งไม่เหมือนสมัยก่อน  แต่อย่าลืมครับว่าสื่อเหล่านี้ไม่ได้มีเฉพาะทางที่ดีอย่างเดียวมัยมีอย่างอื่นที่จะชักนำเด็กๆออกนอกลู่นอกทางได้เช่นเดียวกันครับ  ฝากถึงผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในรัฐบาล  แม้ว่าลูกหลานท่านได้มีโอกาสดีกว่าเด็กไทยโดยได้รับการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมีมาตรฐานในการศึกษาที่ค่อนข้างสูง  และการสอบวัดมาตรฐานที่มีคุณภาพมากๆ (ดูแค่หนังสือเรียนก็ผิดกันแล้ว ลองเอาแบบเรียนของนักเรียนอินเตอร์ กับแบบเรียนเด็กไทยมาเทียบกันดูสิครับต่างกันมาก) อย่างน้อยๆคนไทยก็ไม่น่าจะเสียเปรียบทางด้านการศึกษาขนาดนั้น  การจัดการเรียนการสอนและการทดสอบมาตรฐานกับสิ่งที่เป็นจริงและสอดคล้องกันจะทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ  นั่นหมายถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและได้ “คนที่มีคุณภาพ” เช่นกัน

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เห็นด้วย มากๆๆๆๆๆๆ ครับ

ผมแนะสอนมา ๓๐ ปี พูดเรื่องนี้เสมอ
เพื่อนบางคนว่า ไม่ออกให้ยาก จะคัดแยกได้อย่างไร

ได้แน่ ๆ ครับ
ตอนผมเป็น นศ. มีอจ.หลายท่าน แสดงให้ผมเห็นหลายวิธีครับ
ขอยก ตย.

ข้อสอบไม่ยาก ครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน ทุกหัวข้อ
แต่อจ.ออกข้อสอบ มาก ๆๆ ข้อ เทพอย่างไรก็ไม่มีทางทำทัน

วิธีนี้ นร.สามารถเลือกข้อที่ถนัด ทำก่อน
คนขยัน เคยอ่านเคยทำ ก็จะทำได้เร็ว
ไม่ต้องลุ้นว่า ออกบทไหน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่