ขออนุญาตตั้งกระทู้โดยไม่เอ่ยชื่อมหาวิทยาลัยนะครับ หวังว่าไม่ผิดกฎระเบียบที่นี่ ขอให้ถกกันในแง่วิชาการ หรือเสนอแนะจริงๆนะครับ
เรื่องคือว่า เพื่อน ของเพื่อนเจ้าของกระทู้อีกที ทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยรัฐเกรดกลางๆแห่งหนึ่งสังกัดสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
เป็นถึง ดร. ด้านภาษาอังกฤษ หรือเกี่ยวกับด้านการสอนภาษาอังกฤษ จบมาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในไทย และปริญญาโท
ก็จบทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Master of Applied Linguistics with TESOL) จากมหาวิทยาลัยที่สหราชอาณาจักรมาก่อนที่จะเป็น ดร.
ทีนี้ก็มีพรรคพวกของพี่คนนี้มาชักชวนให้ไปสอนโดยเป็นอาจารย์พิเศษภาษาอังกฤษ รายวิชาอังกฤษพื้นฐาน กับรายวิชาอังกฤษที่เป็นวิชา Major อังกฤษของสถาบันแห่งนี้ แกก็บ่นในวงกินข้าวว่า
"ห่วยแตกมากๆ คุณภาพคนเรียน สอนอะไรไปก็ไม่รับ ไม่ตั้งใจเรียน ทั้งที่เนื้อหาแสนจะง่ายมากๆในรายวิชาอังกฤษพื้นฐาน ความรู้ประมาณเด็ก ม.ต้น หรือ ม.4 ก็น่าจะทำได้ ตอบได้ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเอกชนนั้นๆ เช่นเรื่อง Tense/Greeting/การบอกทิศทาง ส่วนเด็กในรายวิชาMajor อังกฤษ ก็อ่อนอีก สอนต้องแปลให้ตลอด ไม่สามารถพูดอังกฤษแม้ใช้ศัพท์ธรรมดาพูดอังกฤษไม่ได้ศัพท์หรูอะไรเลย"
คำถามคือว่า สงสัยดังต่อไปนี้
1. รายวิชาอังกฤษพื้นฐาน ของมหาวิทยาลัยเอกชนเกรดกลางๆ (Foundation English) มันเรียนง่ายขนาดนั้นเลยหรือครับ? ผมไม่อยากถามไประดับ
มหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่ได้โด่งดังมากนะครับ เพราะถ้าระดับกลางๆมันง่ายขนาดนี้
2. ที่ว่าต้องเรียนง่ายขนาดนั้น เพราะเด็กนิสิต นักศึกษาไม่มีพื้นฐานดีใช่หรือไม่? ซึ่งผมจะไม่เปรียบเทียบกับเนื้อหา
ที่เป็น Foundation English ของสถาบันภาษา มธ. ธรรมศาสตร์นะ เพราะหนังสือที่สถาบันภาษา มธ.จัดทำขึ้นนั้น เขาต้องไปรับผิดชอบ
สอนนักศึกษาปริญญาตรีของคณะต่างๆ ใน มธ.ที่ไม่ใช่เด็กเอกอังกฤษเรียน ผมเคยเห็นแล้วก็ยากอยู่ประมาณหนึ่ง
3. มันผิดที่ครู/อาจารย์/คนสอนด้วยหรือไม่ ว่าอ้าวคุณเป็นครูเป็นคนสอนนี่คุณไม่มีวิธีจัดการบริหาร หรือจัดการเรียนการสอนให้เขาเรียนได้เข้าใจ หรือทำให้บทเรียนน่าสนใจหรือ คำถามข้อนี้ออกแนวไม่ใช่นอยด์นะครับ แต่บางครั้งเราก็นั่งฟังอยู่ในวงทานข้าวที่พี่แกบ่น มันเหมือนได้แต่บ่นๆพ่นๆไปเรื่อยถึงปัญหาที่ประสบเจอมา?
4. ถามจริงเหอะครับ นโยบายที่กระทรวงพยายามทำแบบนี้ออกมา ดังรูปที่ผมต้องพยายามแนบไฟล์ประกาศกระทรวงมานี้ มันช่วยยกระดับภาษาอังกฤษของนิสิตหรือผู้เรียนระดับปริญญาตรีในไทยได้หรือไม่ครับ? หรือแค่แต่ละสถานศึกษาทำเป็นพิธีกรรมออกมา ลูบหน้าปะจมูกว่า อย่างน้อยได้ทำแล้วตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษานี้เพื่อให้การประเมิน/ประกันคุณภาพการศึกษาผ่านเกณฑ์? และถ้าไม่ใช้เกณฑ์แบบนี้ ทราบว่าบางมหาวิทยาลัยออกข้อสอบหรือพยายาม Benchmark แนวข้อสอบให้เทียบกับเกณฑ์ CEFR ให้ได้ ประเด็นคือบางคนบอกผมว่าใช้ข้อสอบ CU-TEP หรือ IELTS ดีกว่าไหม มาตรฐานกว่ากันเยอะ?
อยากทราบพื้นฐานภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนเกรดกลางๆครับว่าแย่จริงไหม
เรื่องคือว่า เพื่อน ของเพื่อนเจ้าของกระทู้อีกที ทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยรัฐเกรดกลางๆแห่งหนึ่งสังกัดสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
เป็นถึง ดร. ด้านภาษาอังกฤษ หรือเกี่ยวกับด้านการสอนภาษาอังกฤษ จบมาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในไทย และปริญญาโท
ก็จบทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Master of Applied Linguistics with TESOL) จากมหาวิทยาลัยที่สหราชอาณาจักรมาก่อนที่จะเป็น ดร.
ทีนี้ก็มีพรรคพวกของพี่คนนี้มาชักชวนให้ไปสอนโดยเป็นอาจารย์พิเศษภาษาอังกฤษ รายวิชาอังกฤษพื้นฐาน กับรายวิชาอังกฤษที่เป็นวิชา Major อังกฤษของสถาบันแห่งนี้ แกก็บ่นในวงกินข้าวว่า "ห่วยแตกมากๆ คุณภาพคนเรียน สอนอะไรไปก็ไม่รับ ไม่ตั้งใจเรียน ทั้งที่เนื้อหาแสนจะง่ายมากๆในรายวิชาอังกฤษพื้นฐาน ความรู้ประมาณเด็ก ม.ต้น หรือ ม.4 ก็น่าจะทำได้ ตอบได้ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเอกชนนั้นๆ เช่นเรื่อง Tense/Greeting/การบอกทิศทาง ส่วนเด็กในรายวิชาMajor อังกฤษ ก็อ่อนอีก สอนต้องแปลให้ตลอด ไม่สามารถพูดอังกฤษแม้ใช้ศัพท์ธรรมดาพูดอังกฤษไม่ได้ศัพท์หรูอะไรเลย"
คำถามคือว่า สงสัยดังต่อไปนี้
1. รายวิชาอังกฤษพื้นฐาน ของมหาวิทยาลัยเอกชนเกรดกลางๆ (Foundation English) มันเรียนง่ายขนาดนั้นเลยหรือครับ? ผมไม่อยากถามไประดับ
มหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่ได้โด่งดังมากนะครับ เพราะถ้าระดับกลางๆมันง่ายขนาดนี้
2. ที่ว่าต้องเรียนง่ายขนาดนั้น เพราะเด็กนิสิต นักศึกษาไม่มีพื้นฐานดีใช่หรือไม่? ซึ่งผมจะไม่เปรียบเทียบกับเนื้อหา
ที่เป็น Foundation English ของสถาบันภาษา มธ. ธรรมศาสตร์นะ เพราะหนังสือที่สถาบันภาษา มธ.จัดทำขึ้นนั้น เขาต้องไปรับผิดชอบ
สอนนักศึกษาปริญญาตรีของคณะต่างๆ ใน มธ.ที่ไม่ใช่เด็กเอกอังกฤษเรียน ผมเคยเห็นแล้วก็ยากอยู่ประมาณหนึ่ง
3. มันผิดที่ครู/อาจารย์/คนสอนด้วยหรือไม่ ว่าอ้าวคุณเป็นครูเป็นคนสอนนี่คุณไม่มีวิธีจัดการบริหาร หรือจัดการเรียนการสอนให้เขาเรียนได้เข้าใจ หรือทำให้บทเรียนน่าสนใจหรือ คำถามข้อนี้ออกแนวไม่ใช่นอยด์นะครับ แต่บางครั้งเราก็นั่งฟังอยู่ในวงทานข้าวที่พี่แกบ่น มันเหมือนได้แต่บ่นๆพ่นๆไปเรื่อยถึงปัญหาที่ประสบเจอมา?
4. ถามจริงเหอะครับ นโยบายที่กระทรวงพยายามทำแบบนี้ออกมา ดังรูปที่ผมต้องพยายามแนบไฟล์ประกาศกระทรวงมานี้ มันช่วยยกระดับภาษาอังกฤษของนิสิตหรือผู้เรียนระดับปริญญาตรีในไทยได้หรือไม่ครับ? หรือแค่แต่ละสถานศึกษาทำเป็นพิธีกรรมออกมา ลูบหน้าปะจมูกว่า อย่างน้อยได้ทำแล้วตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษานี้เพื่อให้การประเมิน/ประกันคุณภาพการศึกษาผ่านเกณฑ์? และถ้าไม่ใช้เกณฑ์แบบนี้ ทราบว่าบางมหาวิทยาลัยออกข้อสอบหรือพยายาม Benchmark แนวข้อสอบให้เทียบกับเกณฑ์ CEFR ให้ได้ ประเด็นคือบางคนบอกผมว่าใช้ข้อสอบ CU-TEP หรือ IELTS ดีกว่าไหม มาตรฐานกว่ากันเยอะ?