#เลื่อนสอบทั่วประเทศ ความกังวลของนักเรียน ม.6 กับการเลื่อนสอบจากน้ำท่วมภาคใต้
สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมผลกระทบหนักต่อประชาชนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มคนหนึ่งที่ถูกเรียกว่าอนาคตของชาติ อย่างกลุ่ม ‘นักเรียน ม.6’ กับข้อเรียกร้องให้ #เลื่อนสอบทั่วประเทศ
‘การสอบเข้ามหาวิทยาลัย’ เป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของเด็ก ม.6 ทุกคน โดยปัจจุบันใช้ระบบที่เรียกว่า ‘TCAS’ ที่จะมีข้อสอบกลาง จัดการโดย สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แล้วจึงนำคะแนนเหล่านั้นไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ ที่กำหนดเกณฑ์คะแนนที่ใช้แตกต่างกันออกไป
โดยในปีนี้ สนามสอบแรกที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น คือ TGAT และ TPAT ที่จะจัดสอบในวันที่ 7-9 และ 14 ธันวาคม 2567 ณ สนามสอบทั่วประเทศ ตามที่นักเรียนแต่ละคนเลือกลงทะเบียนไว้ หรือตามที่ระบบสุ่มสนามสอบมาให้
แต่ในเมื่อสถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ยังหนัก ปรากฏภาพหลายโรงเรียนที่เป็นสนามสอบจมอยู่ภายใต้น้ำสูง หรือเรียกได้ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถจัดสอบ หรือให้นักเรียนเดินทางไปเข้าร่วมการสอบได้
ก่อให้เกิดประเด็นบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านแพลตฟอร์ม X ที่นักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย ออกมาเล่าถึงความลำบาก ที่หนังสือและอุปกรณ์เตรียมสอบต่างๆ ก็ถูกเอาน้ำพาไปหมด รวมถึงสภาพจิตใจที่ยังไม่มั่นคง และที่สำคัญที่สุด แม้จะพร้อมไปสอบ ก็ไม่สามารถไปสอบได้ เพราะสนามสอบก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม หรือเส้นทางสัญจรเพื่อดินทางไปสอบถูกปิดลง
ทำให้ทั้งนักเรียนในภาคใต้ และนักเรียน ผู้เข้าร่วมสอบทั่วประเทศ ออกมาแสดงความคิดเห็นในหลากหลายทิศทาง โดยความเห็นส่วนใหญ่เห็นว่า เมื่อมีเพื่อนนักเรียนที่เผชิญสถานการณ์ยากลำบากอยู่จริงๆ ก็ควรมีการจัดการ เช่น เลื่อนสอบ หรือเยียวยา
แต่มีความกังวลที่ทับซ้อนกัน ว่าหากเลื่อนสอบหมดทั้งประเทศ อาจกระทบผู้ที่เสียค่าใช้จ่ายในการสอบไปแล้ว เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน หรือค่าที่พักไปสอบที่สนามสอบต่างจังหวัด เพราะบางรายวิชาไม่ได้มีสนามสอบที่ครอบคลุมทุกจังหวัด หรือระบบสมัครสอบสุ่มสนามให้ เช่น คนที่บ้านอยู่กรุงเทพฯ แต่ต้องไปสอบที่เชียงใหม่ ดังนั้นหากเลื่อนสอบทั้งประเทศ ภาครัฐอาจต้องมีมาตรการเยียวยาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
แล้วถ้าหากเลื่อนสอบแค่ในพื้นที่ภาคใต้ จะเป็นไปได้ไหม? กรณีนี้ก็อาจจะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในด้านของข้อสอบ ที่แม้ว่าจะออกข้อสอบหลายชุด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจมะความยากง่ายที่แตกต่างกันอยู่ดี
ทปอ. ได้ตัดสินใจ และประกาศเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ว่าจะให้เลื่อนเพียง 4 สนามสอบในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจนจัดสอบไม่ได้เท่านั้น โดยเลื่อนออกไปเป็น 21-23 ธันวาคม และสำหรับนักเรียนในปัตตานีกับสงขลาที่มีปัญหากับการเดินทางไปสอบ ก็สามารถลงทะเบียนขอเลื่อนสอบทางออนไลน์ได้เช่นกัน โดยระบุว่า ข้อสอบจะเป็นชุดใหม่ มาตรฐานเดิม ตาม Blue Print หรือแนวข้อสอบ
แต่ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การเลื่อนเพียงบางสนามสอบอาจทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมได้ วันนี้ (4 ธันวาคม) จึงมีกระแสแฮชแท็ก #เลื่อนสอบทั่วประเทศ บน X เพื่อเรียกร้องในโค้งสุดท้าย ว่าการที่ข้อสอบกลางระดับประเทศจะมีหลายชุดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และไม่ยุติธรรม
เพราะแม้ว่าความยากง่าย หรือคะแนนจะแตกต่างกันเพียงแค่เล็กน้อยในระดับจุดทศนิยม ก็อาจทำให้ผลลัพธ์นั้นเปลี่ยนไปได้ เพราะแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยมีที่นั่งที่รับได้จำกัด คนที่สอบไม่ติด อาจคะแนนต่างจากคนที่สอบติดเพียงหลักทศนิยม ซึ่งหากมาพบว่าเป็นผู้ที่ใช้ข้อสอบคนละชุดกัน ก็อาจกลายเป็นประเด็นถกเถียงอีกครั้งได้
หรือมากไปกว่านั้น คือคนมองว่า หากพบปัญหาหรือมีถกเถียงจำนวนมากหลังมีการประกาศคะแนน อาจทำให้ ทปอ. ตัดสินใจยกเลิกใช้คะแนน TGAT ไปเลย กล่าวคือ ไปใช้แค่คะแนนในวิชาอื่นๆ หรือส่วนอื่นๆ ในการตัดสินผลเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในปี 2567 กับข้อสอบ กสพท. ที่ในพาร์ทหนึ่งของข้อสอบที่มีปัญหา จึงยกเลิกการใช้คะแนนในพาร์ทนั้นไปเลย ซึ่งก็อาจไม่ยุติธรรมกับผู้ที่ตั้งใจเตรียมตัวในรายวิชานั้นๆ เช่นกัน
ด้วยเวลาที่เหลือเพียงอีก 3 วันก่อนจะถึงวันสอบตามกำหนดการ จึงจะต้องมาติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ทปอ. จะรับฟังเสียงเรียกร้องนี้ และปรับแก้นโยบายอย่างไรหรือไม่ หรือหากยังคงแนวทางการเลื่อนสอบบางพื้นที่และมีข้อสอบหลายชุด อาจต้องติดตามผลลัพธ์ต่อไปในระยะยาว
ที่มา :The MATTER
ความกังวลของนักเรียน ม.6 กับการเลื่อนสอบจากน้ำท่วมภาคใต้
สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมผลกระทบหนักต่อประชาชนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มคนหนึ่งที่ถูกเรียกว่าอนาคตของชาติ อย่างกลุ่ม ‘นักเรียน ม.6’ กับข้อเรียกร้องให้ #เลื่อนสอบทั่วประเทศ
‘การสอบเข้ามหาวิทยาลัย’ เป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของเด็ก ม.6 ทุกคน โดยปัจจุบันใช้ระบบที่เรียกว่า ‘TCAS’ ที่จะมีข้อสอบกลาง จัดการโดย สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แล้วจึงนำคะแนนเหล่านั้นไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ ที่กำหนดเกณฑ์คะแนนที่ใช้แตกต่างกันออกไป
โดยในปีนี้ สนามสอบแรกที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น คือ TGAT และ TPAT ที่จะจัดสอบในวันที่ 7-9 และ 14 ธันวาคม 2567 ณ สนามสอบทั่วประเทศ ตามที่นักเรียนแต่ละคนเลือกลงทะเบียนไว้ หรือตามที่ระบบสุ่มสนามสอบมาให้
แต่ในเมื่อสถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ยังหนัก ปรากฏภาพหลายโรงเรียนที่เป็นสนามสอบจมอยู่ภายใต้น้ำสูง หรือเรียกได้ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถจัดสอบ หรือให้นักเรียนเดินทางไปเข้าร่วมการสอบได้
ก่อให้เกิดประเด็นบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านแพลตฟอร์ม X ที่นักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย ออกมาเล่าถึงความลำบาก ที่หนังสือและอุปกรณ์เตรียมสอบต่างๆ ก็ถูกเอาน้ำพาไปหมด รวมถึงสภาพจิตใจที่ยังไม่มั่นคง และที่สำคัญที่สุด แม้จะพร้อมไปสอบ ก็ไม่สามารถไปสอบได้ เพราะสนามสอบก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม หรือเส้นทางสัญจรเพื่อดินทางไปสอบถูกปิดลง
ทำให้ทั้งนักเรียนในภาคใต้ และนักเรียน ผู้เข้าร่วมสอบทั่วประเทศ ออกมาแสดงความคิดเห็นในหลากหลายทิศทาง โดยความเห็นส่วนใหญ่เห็นว่า เมื่อมีเพื่อนนักเรียนที่เผชิญสถานการณ์ยากลำบากอยู่จริงๆ ก็ควรมีการจัดการ เช่น เลื่อนสอบ หรือเยียวยา
แต่มีความกังวลที่ทับซ้อนกัน ว่าหากเลื่อนสอบหมดทั้งประเทศ อาจกระทบผู้ที่เสียค่าใช้จ่ายในการสอบไปแล้ว เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน หรือค่าที่พักไปสอบที่สนามสอบต่างจังหวัด เพราะบางรายวิชาไม่ได้มีสนามสอบที่ครอบคลุมทุกจังหวัด หรือระบบสมัครสอบสุ่มสนามให้ เช่น คนที่บ้านอยู่กรุงเทพฯ แต่ต้องไปสอบที่เชียงใหม่ ดังนั้นหากเลื่อนสอบทั้งประเทศ ภาครัฐอาจต้องมีมาตรการเยียวยาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
แล้วถ้าหากเลื่อนสอบแค่ในพื้นที่ภาคใต้ จะเป็นไปได้ไหม? กรณีนี้ก็อาจจะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในด้านของข้อสอบ ที่แม้ว่าจะออกข้อสอบหลายชุด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจมะความยากง่ายที่แตกต่างกันอยู่ดี
ทปอ. ได้ตัดสินใจ และประกาศเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ว่าจะให้เลื่อนเพียง 4 สนามสอบในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจนจัดสอบไม่ได้เท่านั้น โดยเลื่อนออกไปเป็น 21-23 ธันวาคม และสำหรับนักเรียนในปัตตานีกับสงขลาที่มีปัญหากับการเดินทางไปสอบ ก็สามารถลงทะเบียนขอเลื่อนสอบทางออนไลน์ได้เช่นกัน โดยระบุว่า ข้อสอบจะเป็นชุดใหม่ มาตรฐานเดิม ตาม Blue Print หรือแนวข้อสอบ
แต่ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การเลื่อนเพียงบางสนามสอบอาจทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมได้ วันนี้ (4 ธันวาคม) จึงมีกระแสแฮชแท็ก #เลื่อนสอบทั่วประเทศ บน X เพื่อเรียกร้องในโค้งสุดท้าย ว่าการที่ข้อสอบกลางระดับประเทศจะมีหลายชุดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และไม่ยุติธรรม
เพราะแม้ว่าความยากง่าย หรือคะแนนจะแตกต่างกันเพียงแค่เล็กน้อยในระดับจุดทศนิยม ก็อาจทำให้ผลลัพธ์นั้นเปลี่ยนไปได้ เพราะแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยมีที่นั่งที่รับได้จำกัด คนที่สอบไม่ติด อาจคะแนนต่างจากคนที่สอบติดเพียงหลักทศนิยม ซึ่งหากมาพบว่าเป็นผู้ที่ใช้ข้อสอบคนละชุดกัน ก็อาจกลายเป็นประเด็นถกเถียงอีกครั้งได้
หรือมากไปกว่านั้น คือคนมองว่า หากพบปัญหาหรือมีถกเถียงจำนวนมากหลังมีการประกาศคะแนน อาจทำให้ ทปอ. ตัดสินใจยกเลิกใช้คะแนน TGAT ไปเลย กล่าวคือ ไปใช้แค่คะแนนในวิชาอื่นๆ หรือส่วนอื่นๆ ในการตัดสินผลเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในปี 2567 กับข้อสอบ กสพท. ที่ในพาร์ทหนึ่งของข้อสอบที่มีปัญหา จึงยกเลิกการใช้คะแนนในพาร์ทนั้นไปเลย ซึ่งก็อาจไม่ยุติธรรมกับผู้ที่ตั้งใจเตรียมตัวในรายวิชานั้นๆ เช่นกัน
ด้วยเวลาที่เหลือเพียงอีก 3 วันก่อนจะถึงวันสอบตามกำหนดการ จึงจะต้องมาติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ทปอ. จะรับฟังเสียงเรียกร้องนี้ และปรับแก้นโยบายอย่างไรหรือไม่ หรือหากยังคงแนวทางการเลื่อนสอบบางพื้นที่และมีข้อสอบหลายชุด อาจต้องติดตามผลลัพธ์ต่อไปในระยะยาว
ที่มา :The MATTER