ว่าด้วยองค์กรการปกครองของสาธารณรัฐโรมัน

สมัยก่อนผมดูหนังเกี่ยวกับจักรวรรดิโรมัน เกี่ยวกับซีซาร์บ้าง  ได้แต่ร้องโอ้โหในใจ ทำไมมันยิ่งใหญ่จังฟระ กินอาณาเขตเกือบทั่วยุโรป               แต่โคตร งงกับโครงสร้างการปกครองของโรมันมาก เคยได้ยินแต่สภาเซเนต ก็เลยคิดว่าคิดว่าคงเป็นองค์กรที่ใหญ่ มีอำนาจมากๆ  แต่พอเรียนประวัติศาสตร์ทั้งในหนังสือและอาจารย์มหาวิทยาลัยสอน ก็เลยถึงบางอ้อว่า มันยังมีโครงสร้างที่ซับซ้อนลงไปอีก สิ่งที่เรารู้มันแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ก็เลยอยากจะแชร์ความรู้ให้กับเพื่อนๆคร่าวๆ
           ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนเลยนะครับว่าหลังจากโรมันเปลี่ยนการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ จะมีประชากรของรัฐอยู่2พวก นั่นก็คือ
1. พวกพรีเบียนส์ (ชื่อเหมือนพวกปรสิตเลยแฮะ) เป็นพวกมีจำนวนประชากรที่มากที่สุดของพลเมืองทั้งหมด ส่วนใหญ่คือพวกชาวชา ชาวไร่ พวกใช้แรงงาน รวมถึงพ่อค้า แม่ค้า
2. พวกพาร์ทีเชียน (อันนี้หนักกว่าชื่อเหมือนพวกสายพันธุ์สุนัขเลย) เป็นพวกมีจำนวนประชากรน้อย แต่แข็งแกร่งทางศักดินา ร่ำรวยเงินทอง  ส่วนใหญ่เป็นพวกเจ้าขุนมูลนาย
สองกลุ่มนี้ถามว่าใครเป็นใหญ่และมีอำนาจทางการเมือง นั่นก็คือพวกขุนนางแหละหรือพวกพาร์ทีเชียนครับ ส่วนไอ่พวกพรีเบียนส์แทบไม่มีสิทธิไม่มีเสียงอะไรกับเขาเลยแต่สะสมเงินทองได้ แต่ไอ่พวกพรีเบียนส์นี่สำคัญนะครับเพราะเป็นแรงงานชั้นดีให้กับพวกขุนนางเลย พวกพรีเบียนส์นี่เคยเรียกร้องสิทธิแต่พวกพาร์ทีเชียนมันก็ไม่ยอมให้อีกฝ่ายมีอำนาจ (แหงหล่ะ!มีอำนาจคนเดียวสบายใจ ) สุดท้ายก็ประท้วงด้วยการอพยพ พวกขุนนางจึงยอมให้พวกพรีเบียนส์มีสิทธิทางการเมืองและผลประโยชน์ในรูปของสภาราษฏร
           เอาหล่ะครับคราวนี้เรารู้ความเป็นมาแล้วก็เข้ามาถึงโครงสร้างจริงๆกัน
โครงสร้างของสาธารณรัฐโรมัน มีอยู่3 โครงสร้างใหญ่ๆได้แก่

         1. ทรีบูนส์ หรือสภาราษฎร ประกอบด้วยพวกพาร์ทีเชี่ยนและพรีเบียนส์มีหน้าที่แต่งตั้งกงสุล(ผมจะกล่าวในโครงสร้างต่อไป) และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ความสามารถพิเศษสามารถคัดค้านหรือวีโต้  หากมีการออกกฏหมายที่ขัดผลประโยชน์ และให้ความเห็นยินยอมหรือปฏิเสธกฏหมายที่กงสุลและสภาเซเนทนำเสนอ รวมถึงตัดสินคดีความที่สำคัญ  จำนวนของทรีบูนส์มีแค่10 คนในการออกกฏหมาย หากมีผู้ไม่หวังดีทำร้ายทรีบูนส์ เหอะๆ ผลก็คือประหารอย่างเดียวครับ และมีออกกฏหมายเป็นลายลักษณ์อักษร โดยใช้ต้นแบบจากกฏหมายโซลอนของกรีก ต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็น กฎหมาย12 โต๊ะ สำเร็จเมื่อ450ปีก่อนคริสตกาล
         2. กงสุล มีจำนวนแค่2คนเท่านั้น (อะไรกันวะมีแค่2คน) อำนาจเท่าเทียมกัน แต่ถึงมีแค่2คน แต่อำนาจล้นเลยหล่ะครับ เพราะเป็นประมุขฝ่ายบริหารมีอำนาจในด้านการทางทหาร นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ การสร้างและออกโนยบายต่างๆ ส่วนใหญ่คัดเลือกมาจากพวกชาวพาร์ทีเชี่ยน(ขุนนางชั้นสูง) โดยสภาราษฎรเป็นผู้ลงมติอยู่ตำแหน่งคราวละ1ปี ความสามารถพิเศษคือสามารถแต่งตั้งหรือมอบอำนาจ ผู้บัญชาการทัพ(น่าจะเป็นพวกแม่ทัพใหญ่ๆที่ทำสงคราม) แต่ต้องได้รับการยินยอมจากสภาเซเนทก่อนนะครับ มีระยะในการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานแค่6เดือน มีอำนาจเด็ดขาดทางการทหาร ทั้งการระดมพล การตัดสินผู้ประพฤติผิดวินัยได้เต็มที่ ซึ่งกงสุลจะบริหารงานปกครองด้วยความช่วยเหลือจากสภาเซเนท
         3. สภาเซเนท ก็จัดหนึ่งในโครงสร้างการปกครองที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งไม่น้อยหน้า เพราะด้วยจำนวนมีสมาชิกถึง300 คน ซึ่งเลือกจากพวกพาร์ทีเชียน มีฐานะการดำรงตำแหน่งยาวนานมากคือตลอดชีวิต  โดยกงสุลเป็นผู้แต่งตั้ง (ไอ่กงสุลนี่ใหญ่จริงๆ) เมื่อกงสุลปฏิบัติหน้าที่ครบตามวาระแล้วจะได้เป้นสมาชิกสภาเซเนทโดยอัตโนมัติ หน้าที่สำคัญของสภาเซเนทก็คือควบคุมดูแลการต่างประเทศ ดูแลการคลัง การประกาศสงคราม และที่พิเศษคือมีสิทธิยับยั้งความคิดของสภาราษฎร ในช่วงต้นๆโรมันสภาเซเนทจะมีอำนาจมาก ถึงขนาดกงสุลขอความคิดเห็น คำแนะนำแทบทั้งสิ้น ซึ่งนโยบายก็เพื่อผลประโยชน์ของพาทิเชี่ยนทั้งสิ้น
          
          ทั้ง3องค์กรนี้จะเปรียบเสมือนการคานอำนาจซึ่งกันและกัน มิให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งมีอำนาจเพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันก็มีการประสานงานทำงานร่วมกันด้วย อย่างเช่น กงสุลมีนโยบายต้องการแผ่ขยายอาณาเขตโดยการทำสงครามจึงมีจัดรวมพลกำลังทางทหาร แต่ก็ต้องผ่านการสนับสนุนจากสภาราษฎรและสภาเซเนทด้วย เช่นการขออาวุธยุทโธปกรณ์ ขอเสบียงอาหาร หากสภาเซเนทไม่ให้การสนับสนุน ก็จำเป็นต้องยกเลิกโดยปริยาย นอกจากนั้น เมื่อวาระขุนพลแม่ทัพหมดลง สภาเซเนทจะเป็นตัวตัดสินว่าจะให้ต่อหรือให้พ้นวาระ
           หลายท่านยังสงสัยว่าส่วนสภาราษฎรหรือทรีบูนส์ละวะมันใช้อำนาจคานแบบไหน คือแบบนี้นะครับสภาราษฎรจะมีหน้าที่ให้สัตยาบันหรือเพิกถอนเงื่อนไขสันติภาพหรือข้อตกลงในสัญญาต่างๆและที่ไฮไลต์สำคัญสุดๆคือเมื่อวาระของกงสุลหมดลง(อย่าลืมนะครับว่ากงสุลถึงแม้จะมีอำนาจมาก แต่มีวาระแค่ปีเดียวเท่านั้น) กงสุลต้องมีชี้แจงรายละเอียดของภารกิจที่ปฏิบัติต่อสภาราษฎร ในเวลาเดียวกันสภาเซเนทต้องยำเกรงและเคารพสภาราษฎร เพราะกรณีทำผิดมีโทษประหารสถานเดียวเลยนะครับ สภาเซเนทไม่มีอำนาจในการไต่สวนคดีความ ถ้าไม่ได้รับการยืนยันจากทรีบูนส์ (อำนาจทรีบูนส์นี่โหดเหมือนกันนะเนี่ย) ยัง ยัง ไม่พอครับ หากสภาเซเนทจะตัดสินลงโทษในเรื่องใดก็ตาม ถ้าทรีบูนส์เพียงแค่คนเดียว (ปกติมี10คนนะ) ขัดขวางการไต่สวนหรือตัดสิน สภาเซเนทก็ไม่สามารถตัดสินคดีความได้ ด้วยเหตุนี้สภาเซเนทต้องให้เกียรติและเคารพเสียงประชาชนด้วย
            อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือประชาชนต้องเคารพสมาชิกภาเซเนท เพราะผู้พิพากษาในคดีแพ่งแต่งตั้งมาจากสภาเซเนท ความเมตตาปราณีจากผู้พิพากษาเหล้านี้ย่อมมีผลต่อประชาชนเมื่อเกิดคดี และโดยทั่วไปจะไม่ขัดขวางโครงการหรือนโยบายของกงสุล เพราะในสนามรบประชาชนทุกคนขึ้นตรงต่ออำนาจเด็ดขาดจากกงสุล (กงสุลมีอำนาจทางการทหาร สามารถเรียกระดมพลได้)

            จะเห็นได้ว่าปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้สาธารณรัฐโรมันแผ่ขยายได้กว้างนอกจากความสามารถของผู้นำ แม่ทัพนายกอง ชัยภูมิ เป็นต้นแล้ว ปัจจัยทางการเมืองปกครองก็เป็นส่วนส่งเสริมให้โรมันแผ่อาณาเขตได้อย่างประสิทธิภาพและครองอำนาจได้อย่างยาวนาน

ปล.ทุกท่านสามารถเพิ่มความรู้เพิ่มเติมได้นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่