เมื่อโรมันนั้นได้ทิ้งการปกครองของกษัตริย์ลงก็ได้เกิดการออกแบบระบบใหม่ซึ่งแบ่งองค์กรที่สำคัญได้ตามนี้ คือ
กงสุล (Consul)
วุฒิสภาหรือสภาเซเนท (Senate)
สภาราษฎร เรียกว่า สภาเซนจูรี่ (Centuriate)
ซึ่งก่อนที่จะเข้าใจระบบอันยุ่งยากแบบนี้เราต้องเข้าใจสถานภาพของพลเมืองโรมัน พลเมืองพวกหนึ่งก็จะมีพวกแพทริเชียน (Patrician) หรือพวกมีทรัพย์สินเงินง่ายๆคนรวยละครับ พวกนี้มีจำนวนไม่เกิน 10% ของพลเมืองทั้งหมด และอีกพวกหนึ่งคือพวกพลีเบียน (Plebeians) มีจำนวนถึง 90% เป็นประชาชนที่ไม่มีที่ดินครองหรือก็มีแค่แปลงเล็กๆ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาไม่ก็พ่อค้า เรื่องมันเกิดเมื่อพวกแพทริเซียนที่ร่ำรวยจึงสามารถมีปัญญาเรียนหนังสือได้ ทำให้กลายเป็นชนชั้นปกครอง ส่วนพลีเบียนเลยกลายเป็นคนชั้นล่างคอยหากินกันไปในแต่วัน ปัญหามันเริ่มจากตรงนี้ละครับเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิที่จะเข้ารับรัฐการได้ มีแต่พวกแพทริเซียนเท่านั้นที่สามารถเป็นกงสุลได้ เพราะมีฐานะเป็นพลเมืองเต็มตัว (Full Citzenship) ช่วงหลังจึงเกิดการเรียกร้องสิทธิของพวกพลีเบียนซึ่งเป็นยาพิษดีๆนี่ละที่จะทำให้ระบบสาธารณรัฐพังลงในอนาคต เพราะเอาแต่ปรับกฎตามใจพวกนี้
ต่อเลยกับองค์กรของระบบใหม่ของโรมันกันนะครับ
- กงสุล เป็นตำแหน่งสูงสุดของรัฐ มี 2 คน เลือกโดยพวกแพทริเซียน ถ้าสงสัยว่าทำไมมีสองคนเพราะเอาไว้คานอำนาจกันจะได้ไม่มีใครมีอำนาจมากกว่าอีกคน แต่ละคนมีสิทธิยับยั้ง (Veto) ช่วงเวลาของตำแหน่งนี้ก็แค่ตราวละ 1 ปี (
โรมันเกลียดระบบกษัตริย์ขนาดไหนก็ดูกฏแต่ละอย่างที่ตั้งกันก็พอ)
กงสุลนั้นจะทำงานที่กรุงโรมเท่านั้น แต่เมื่อพอเวลามีศึกสงครามคงไม่มีใครอยากฟังสองคนคานกันในเวลาคับขัน เลยมีอีกตำแหน่งไว้แก้ปํญหาจุดนี้ คือ
ผู้เผด็จกาจ (Dictator) ซึ่งจะกุมอำนาจการสั่งการไว้ทั้งหมดถึงชื่อจะดูแย่แต่อำนาจในการอยู่ตำแหน่งนี้จะมีเวลาไม่เกิน 6 เดือน เหล่าเผ็ดจการจึงคืนอำนาจทั้งหมดให้กงสุลส่วนใหญ่ก็คืนด้วยดี
- สภาเซเนท วุมิสภานั้นเอง องค์กรที่มีอำนาจในสาธารณรัฐรองจากกงสุล ส่วนใหญ่จะเป็นพวกแพทริเซียน มีสมาชิกทั้งหมด 300 คน เรียกว่า เซเนเตอร์
สมาชิกสภาจะถูกกงสุลแต่งตั้งให้ส่วนเซเนทก็แต่งตั้งกงสุล กงสุลพอหมดครบวาระแล้วก็จะกลาบเป็นสภาเซเนทโดยอัตโนมัติ สภาเซเนทนั้นควบคุมเกี่ยวกับการคลัง การประกาศสงคราม ตัดสินคดี และสิทธิในการยับยั้งสภาราษฎรบางข้อได้
- สภาราษฎร หรือ สภาเซนจูรี่ หรือ สภาร้อยคน (The Centuriate Assembly) สภานี้จะประกอบจากราษฎรโรมันทั้งพวกแพทริเซียนและพลีเบียน มีจำนวน 100 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ถึงจะสภานี้จะมีพวกคนชั้นสูงกับพลเมือง สุดท้ายเสียงของพวกแพทริเซียนมีอิทธิพลกว่าในสภา สภานี้จะมีอำนาจน้อยกว่าสภาเซเนทแม้ว่าจะทำหน้าที่เลือกกงสุลเหมือนสภาเซเนทก็ตาม
ถึงดูเหมือนการที่เป็นกงสุลจะง่ายแต่การที่จะได้ตำแหน่งนั้นมันไม่ได้ง่ายๆอย่างที่คิด ไม่ใช่ว่าจะรวยแล้วได้มาเลย ก่อนที่จะได้เป็นคนนั้นต้องเป็น
เพรเตอร์ (Preator) ก่อน ตำแหน่งจะทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาหรือเป็นผู้ราชการจังหวัด บางคนที่มีความสามารถพิเศษ คือ รบเก่ง ก็เป็นแม่ทัพในยามสงคราม
เพรเตอร์จะได้รับแต่งตั้งจากสภาเซนจูรี่ ตำแหน่งคราวละ 1 ปี มีจำนวนตั้งแต่ 1 ถึง 8 คน แล้วแต่หน้าที่การงาน และยังมีอีกตำแหน่งอีกหนึ่งอันด้วย คือ
พวกเซนเซอร์ (Censor) มี 2 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 18 เดือน และจะเป็นผู้ที่เคยเป็นกงสุลมาก่อน พวกนี้จะทำหน้าที่หาบุคคลที่มีคุณสมบัติ หรือเหมาะที่จะได้รับเลือกมาเป็นสมาชิกเซเนท เพื่อป้องกันการโกงทุจริต
ระบบการทำงานในองค์กรทั้งสาม
ทั้งสามองค์กรนี้เกิดมาเพื่อให้คานอำนาจระหว่างกัน สมมุติว่า กงสุลอยากออกนโยบายใหม่แต่ทำโดยไม่ได้รับความสนับสนุนจากสภาเซเนทหรือสภาราษฎรนโยบายนั้นก็จะถูกปฎิเสธอย่างง่ายๆ แม้แต่ในเวลาสงครามกงสุลก็ไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากสภาเซเนท
ขณะเดียวกันสภาเซเนทต้องเคารพสภาราษฎรด้วย เพราะสภาเซเนทจะไม่มีอำนาจที่จะไต่สวนใดๆถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากสภาราษฎร แม้จะมีกรณีที่นักโทษกระทำฝ่าฝืนกฎหมายร้ายแรง แต่สภาราษฎรสามารถเพิกถอนข้อเงื่อนไขต่างๆได้ แค่ทรีบูนเห็นต่างคนเดียว ถ้าต้องเคารพกันแบบนี้ประชาชนเองก็ต้องคารพสภานี้เหมือนกัน ซึ่งทั้งสามองค์กรย่อมต้องฟังอีกฝ่ายเสมอ กงสุลฟังเสียงสภาเซเนท สภาเซเนทฟังเสียงประชาชน ประชาชนเคารพเซเนท
ดูเหมือนจะดูสวยหรูทุกอย่างใช่ไหมครับ นั้นละครับมันเป็นแค่หลักการไม่ใข่การปฏิบัติจริง ความจริงแล้วอำนาจส่วนมากเป็นของพวกแพทริเซียน ทำให้
พลีเบียนรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม
จึงเกิดเหตุการณ์ที่พวกพลีเบียนจะถอนตัวจากกรุงโรมไปตั้งถิ่นที่อื่นแทนประมาณปี 490 ก่อน ค.ศ. ทีนี้ก็เจริญสำหรับพวกแพทริเซียนสิครับ ถ้าไม่มีพวกพลีเบียนทำไร่ทำนาจะเอาอะไรกินละครับ เลยต้องยอมแบ่งอำนาจให้ ตั้งพวกพลีเบียนที่พอรู้กฎหมายให้เข้ารับรัฐการตำแหน่งทรีบูน (Tribunes) ทำหน้าที่ดูแลพวกชนชั้นล่าง (นี่ละครับที่ผมพูดไว้ถ้ายอมพวกนี้มากๆปัญหามันจะเกิดในอนาคต เห็นเรียกร้องกันได้เลยเรียกร้องกันใหญ่)
แต่การเรียกร้องนี้ก็เกิด กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) เมื่อพวกคนทั้วไปไม่รู้กฏหมายเพราะไม่มีลายลักษณ์อักษรเขียนไว้
แก้ง่ายๆครับ จัดทำแผ่นกฏหมายสัมฤทธิ์ 12 แผ่น จารึกกฏหมายไว้แล้ววางไว้บนโต๊ะ 12 ตัว ตั้งกลางเมืองให้เห็นกันให้หมดจะได้รู้กฏหมาย
กฏหมายเริ่มขึ้นราว 451 ปีก่อน ค.ศ. ใช้เวลาเพียงสองปีเสร็จในปี 449 ปีก่อน ค.ศ. เป็นกฏหมายฉบับแรกๆของโรมและเป็นรากฐานของกฏหมายต่อมา
กฏหมายสิบสองโต๊ะ
เพราะกฎหมายสิบสองโต๊ะเนี่ยละทำให้พวกพลีเบียนเลยได้สิทธิตั้งสภา เรียกว่าไทรเบิลหรือสภาเผ่าพันธุ์ (Tribal assembly) มีหน้าที่ออกกฏหมายและแต่งตั้งทรีบูนให้อยู่ตำแหน่งปีละ 10 คน ทรีบูนมีหน้าที่เป็นผู้นำในสภาไทรเบิล เป็นผู้ดูแลพวกพลีเบียนด้วยกัน เมื่อใดมีข้อข้องใจพวกพลีเบียนจะร่างมติเรียกร้องให้มีการแก้ไข เรียกว่า เพบลิไซท์ การเรียกร้องของพลีเบียนนับเป็นวิธีสู้กับพวกแพทริเซียนโดยที่ไม่ต้องรบกัน สามารถเจรจากับพวกแพทริเซียน
พร้อมกับสิทธิเข้ารับตำแหน่งรัฐการได้ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเป็นสภาเซเนทและเป็นกงสุลด้วย ต่อมาในปี 366 ปีก่อน ค.ศ. ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฏหมายที่ห้ามชนชั้นต่างชั้นแต่งงานกัน ให้แต่งงานกันได้ เลยเกิดชนชั้นใหม่ขึ้น คือ โนเบิล (Nobles) พอเราเคลียร์เรื่องระบบต่างๆในสาธารณรัฐโรมันแล้วทุกคนคงสงสัยว่าทำไมกรุงโรมจากแรกๆที่เป็นเมืองเล็กๆสามารถครองแถบอิตาลีเกือบทั้งหมด ง่ายๅครับเพื่อนบ้านรอบๆนั้นบางคนก็ไม่ได้เป็นมิตรสำหรับโรมนะครับ มีแต่ดุๆหรือไม่ดุแต่พร้อมที่กระทืบโรมมันเมื่อได้โอกาส สงครามเกิดในยุคนี้ถือว่าไม่แปลกครับมีแถบทุกรุ่น ผมเองก็อยากจะเล่าสงครามที่พาโรมสู่ความเป็นใหญ่นะครับ แต่โรมนั้นไม่ใช่ว่าจะอยู่ๆจะยิ่งใหญ่เลย เพราะแรกๆโรมนั้นโดนพวกเคลติก (Celtic) บุกตีเมืองแตก
เคลติกบุกอิตาลี (390-387 ก่อน ค.ศ.)
พอมาช่วงปี 390 ก่อน ค.ศ. เผ่าแกลลิกหลายเผ่าเข้ามาบุกทางเหนือ เมืองบริวารที่โรมตีได้ขอความช่วยเหลือจากโรม โรมันจึงยกทัพไปปราบพวกนี้ในแม่น้ำอัลเลีย (Battle of Allia River)
แพ้ครับ ต้องหนีกลับเมือง กองทัพกอลตามมาตีต่อที่กรุงโรมและปล้นเมือง โรมันต้องยอมจ่ายทองให้พวกคนเถื่อนไปไกลๆ ทำให้โรมฝังใจกลัวกลุ่มกอลเล็กๆ และทำให้ตลอดเวลาพวกโรมันเกลียดกอลหรือคนเถื่อนนั้นละครับ
ครั้งต่อไปผมจะเล่าการขยายอิทธิพลของโรมันหลังการพ่ายแพ้ให้กับคนเถื่อนกันนะครับ บายละวันนี้
อ้างอิงที่มาข้อมูล
หนังสือ แกะรอยอารยะโรมัน จาก คอสมอส
สาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) Senatus Populusque Romanus SPQR (The Roman Senate and People) I
กงสุล (Consul)
วุฒิสภาหรือสภาเซเนท (Senate)
สภาราษฎร เรียกว่า สภาเซนจูรี่ (Centuriate)
ซึ่งก่อนที่จะเข้าใจระบบอันยุ่งยากแบบนี้เราต้องเข้าใจสถานภาพของพลเมืองโรมัน พลเมืองพวกหนึ่งก็จะมีพวกแพทริเชียน (Patrician) หรือพวกมีทรัพย์สินเงินง่ายๆคนรวยละครับ พวกนี้มีจำนวนไม่เกิน 10% ของพลเมืองทั้งหมด และอีกพวกหนึ่งคือพวกพลีเบียน (Plebeians) มีจำนวนถึง 90% เป็นประชาชนที่ไม่มีที่ดินครองหรือก็มีแค่แปลงเล็กๆ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาไม่ก็พ่อค้า เรื่องมันเกิดเมื่อพวกแพทริเซียนที่ร่ำรวยจึงสามารถมีปัญญาเรียนหนังสือได้ ทำให้กลายเป็นชนชั้นปกครอง ส่วนพลีเบียนเลยกลายเป็นคนชั้นล่างคอยหากินกันไปในแต่วัน ปัญหามันเริ่มจากตรงนี้ละครับเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิที่จะเข้ารับรัฐการได้ มีแต่พวกแพทริเซียนเท่านั้นที่สามารถเป็นกงสุลได้ เพราะมีฐานะเป็นพลเมืองเต็มตัว (Full Citzenship) ช่วงหลังจึงเกิดการเรียกร้องสิทธิของพวกพลีเบียนซึ่งเป็นยาพิษดีๆนี่ละที่จะทำให้ระบบสาธารณรัฐพังลงในอนาคต เพราะเอาแต่ปรับกฎตามใจพวกนี้
ต่อเลยกับองค์กรของระบบใหม่ของโรมันกันนะครับ
- กงสุล เป็นตำแหน่งสูงสุดของรัฐ มี 2 คน เลือกโดยพวกแพทริเซียน ถ้าสงสัยว่าทำไมมีสองคนเพราะเอาไว้คานอำนาจกันจะได้ไม่มีใครมีอำนาจมากกว่าอีกคน แต่ละคนมีสิทธิยับยั้ง (Veto) ช่วงเวลาของตำแหน่งนี้ก็แค่ตราวละ 1 ปี (โรมันเกลียดระบบกษัตริย์ขนาดไหนก็ดูกฏแต่ละอย่างที่ตั้งกันก็พอ)
กงสุลนั้นจะทำงานที่กรุงโรมเท่านั้น แต่เมื่อพอเวลามีศึกสงครามคงไม่มีใครอยากฟังสองคนคานกันในเวลาคับขัน เลยมีอีกตำแหน่งไว้แก้ปํญหาจุดนี้ คือ
ผู้เผด็จกาจ (Dictator) ซึ่งจะกุมอำนาจการสั่งการไว้ทั้งหมดถึงชื่อจะดูแย่แต่อำนาจในการอยู่ตำแหน่งนี้จะมีเวลาไม่เกิน 6 เดือน เหล่าเผ็ดจการจึงคืนอำนาจทั้งหมดให้กงสุลส่วนใหญ่ก็คืนด้วยดี
- สภาเซเนท วุมิสภานั้นเอง องค์กรที่มีอำนาจในสาธารณรัฐรองจากกงสุล ส่วนใหญ่จะเป็นพวกแพทริเซียน มีสมาชิกทั้งหมด 300 คน เรียกว่า เซเนเตอร์
สมาชิกสภาจะถูกกงสุลแต่งตั้งให้ส่วนเซเนทก็แต่งตั้งกงสุล กงสุลพอหมดครบวาระแล้วก็จะกลาบเป็นสภาเซเนทโดยอัตโนมัติ สภาเซเนทนั้นควบคุมเกี่ยวกับการคลัง การประกาศสงคราม ตัดสินคดี และสิทธิในการยับยั้งสภาราษฎรบางข้อได้
- สภาราษฎร หรือ สภาเซนจูรี่ หรือ สภาร้อยคน (The Centuriate Assembly) สภานี้จะประกอบจากราษฎรโรมันทั้งพวกแพทริเซียนและพลีเบียน มีจำนวน 100 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ถึงจะสภานี้จะมีพวกคนชั้นสูงกับพลเมือง สุดท้ายเสียงของพวกแพทริเซียนมีอิทธิพลกว่าในสภา สภานี้จะมีอำนาจน้อยกว่าสภาเซเนทแม้ว่าจะทำหน้าที่เลือกกงสุลเหมือนสภาเซเนทก็ตาม