จูเลียส ซีซาร์ 5/5 (บทสุดท้ายกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของจักรวรรดิโรมัน)

จูเลียส ซีซาร์ 5/5 (บทสุดท้ายกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของจักรวรรดิโรมัน)
เนื้อหายาวไปมีคลิปเสียงเล่าให้ฟังครับ
https://youtu.be/xDQIGXrz4TI

46 ปีก่อนคริสตกาล (Rome 46 B.C.)
หลังจากที่ “จูเลียส ซีซาร์” ตั้งตัวเองเป็นผู้เผด็จการของโรม และได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือรัฐสภา แต่ซีซาร์กลับต้องเผชิญหน้ากับโรคประหลาดที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางรักษาได้ (คาดได้ว่าซีซาร์นั้นอาจจะเป็นโรคลมชัก) ถึงแม้ว่าซีซาร์นั้นจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพ แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้โรมนั้นแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
และเมื่อทุกอย่างอยู่ในการควบคุมไว้ได้ทั้งหมดแล้ว ซีซาร์จึงคิดที่จะแก้ไขและปฏิรูประเบียบต่างๆของรัฐสภาขึ้นมาใหม่

การปฏิรูปของซีซาร์ (Caesar’s Reforms) 
เป็นเวลาหลายปี ที่ “จูเลียส ซีซาร์” เฝ้ามองรัฐสภาที่ไร้ซึ่งประสิทธิภาพ แต่กลับมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ซีซาร์รู้ว่า อนาคตและความสำเร็จของโรมนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนมากกว่าเหล่าสมาชิกที่อยู่ในรัฐสภา ซึ่งกับปัญหาใหญ่ ที่รื้อรังมานานของโรมก็คือ “ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ” 
โดยในกรุงโรมน้ัน มีประชาชนที่ยากไร้ อดอยากเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนเหล่านี้ก็ไม่มีงานทำ ดังนั้นซีซาร์จึง พยามที่จะปฏิรูปและสร้างคุณภาพชีวิตของชาวโรมันให้ดีขึ้น  ซีซาร์จึงเริ่มวางแผนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ มากมายไม่ว่าจะเป็น การสร้างวิหาร ห้องสมุด และท่าเรือแห่งใหม่ ให้กับกรุงโรม และกับโครงการเหล่านี้ สามารถสร้างงานให้กับชาวโรมันได้เป็นอย่างมาก ทำให้เศรษฐกิจในโรมเกิดการขยายตัว เหล่าคนจนต่างก็มีรายได้มากเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตของชาวโรมันก็ดีขึ้นตามไปด้วย และความนิยมในตัวของซีซาร์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน

ในขณะที่การปฏิรูปของซีซาร์นั้น สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนชาวโรมันได้อย่างมากมาย แต่กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากเหล่าสมาชิกในรัฐสภา แต่ซีซาร์นั้นก็ไม่ได้สนใจ และเพื่อการขยายอำนาจและสร้างแข็งแกร่งให้กับโรมต่อไป ซีซาร์จึงเสนอนโยบายให้มอบสิทธิพลเมืองให้แก่ชนชาวดินแดนต่างๆ ที่โรม เคยพิชิตมาได้อย่างดินแดนทางตอนเหนือ ก็คือ “โกล” สามารถที่จะกลายมาเป็นประชาชนชาวโรมันได้ ทำให้รัฐสภานั้นต่างไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่ด้วยซีซาร์นั้นถืออำนาจเบ็ดเสร็จจึงไม่มีใครสามารถคัดค้านได้

ซึ่งซีซาร์นั้นได้มอบหมายงานใหญ่น้อยให้กับ “บลูตัส” ซึ่งเป็นบุตรชายของ “เซอร์วิเลีย” ภรรยาลับของซีซาร์ ช่วยดูแล และกับการที่ “จูเลียส ซีซาร์” นั้นไร้ซึ่งบุตรผู้สืบทอดอำนาจต่อ ทำให้กับการกระทำของซีซาร์เอง ก็ทำเหมือนกับว่า “บลูตัส” นั้น คือคนที่จะมารับช่วงสืบทอดอำนาจต่อจากเขา และกับความสัมพันธ์ที่กำลังจะไปได้ดี ทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป จากการมาถึงของคนๆหนึ่ง นั้นคือ “พระนางคลีโอพัตรา”
 
การกลับมาของคลีโอพัตรา (The Return Of Cleopatra)
หลังจากหนึ่งปีที่ซีซาร์ออกจากอียิปต์ “คลีโอพัตรา” ก็เดินทางตามซีซาร์มาที่กรุงโรม ซึ่งกับการมาของ “คลีโอพัตรา” ในครั้งนี้ มิใช่มาในฐานะราชินีแห่งอียิปต์เพียงอย่างเดียว แต่พระนางยังมาพร้อมกับเด็กทารกเพศชาย นามว่า “เซซาเรียน” ซึ่งเด็กคนนี้นั้น พระนาง “คลีโอพัตรา” ก็ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า “เซซาเรียน” เป็นบุตรของพระนาง กับ “จูเลียส ซีซาร์” อีกด้วย ทำให้เหล่าสมาชิกของรัฐสภาต้องตกตะลึกกับในเหตุการณ์ครั้งนี้ รวมถึง “บลูตัส” ผู้ที่คาดว่าจะได้รับการสืบทอดอำนาจต่อจากซีซาร์อีกด้วย

กษัตริย์แห่งโรม (The King Of Rome)
 45 ปี ก่อนคริสตกาล “จูเลียส ซีซาร์” ผู้นำเผด็จการของโรม ที่เคยพิชิตดินแดนมาแล้วมากกว่า 200,000 ตารางไมล์ และเป็นผู้นำที่พากรุงโรมออกจากปัญหาความสับสนวุ่นวายต่างๆได้ แต่จากการมาถึงของ “คลีโอพัตรา” ซีซาร์เริ่มมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนโรมจากสาธารณรัฐให้เป็นจักรวรรดิ โดยมีจักรพรรดิกุมอำนาจเบ็ดเสร็จเพียงคนเดียว รวมถึงการจัดตั้งให้มีราชวงค์ปกครองและสืบทอดอำนาจต่อจากเขา  และเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเมืองให้กับตัวเองมากขึ้น “จูเลียส ซีซาร์” ประกาศต่อรัฐสภาแต่งตั้งตนเองให้เป็นผู้นำเผด็จการจากเดิมเพียงแค่สิบปี กลายเป็นตลอดทั้งชีวิต
ทำให้สมาชิกรัฐสภาต่างไม่เห็นด้วยกันนโยบายผูกขาดอำนาจของซีซาร์ในครั้งนี้ และในระหว่างนั้นอาการป่วยของซีซาร์กลับกำเริบขึ้นมา ทำให้เหล่าสมาชิกของรัฐสภาต่างก็รู้ถึงอาการป่วยของซีซาร์ที่ได้เก็บเป็นความลับมานาน และคิดว่าการป่วยของซีซาร์ในครั้งนี้เป็นโอกาสที่จะบีบให้ซีซาร์นั้นพ้นออกจากตำแหน่งไป
 
การบุกพาร์เธีย (The Invasion Of Parthia)
ซึ่งซีซาร์รู้ดีว่าการป่วยของตนเองนั้นอาจเป็นสาเหตุทำให้เขาดูอ่อนแอในสายตาของเหล่าสมาชิกรัฐสภา ซีซาร์จึงคิดแผนที่จะรักษาอำนาจของเขาให้คงอยู่ ดังนั้นซีซาร์จึงประกาศที่จะบุก “อาณาจักรพาร์เธีย” ซึ่งเป็นจักรวรรดิเดียวกันกับที่ “แครสซัส” น้ันเคยพ่ายแพ้มาก่อน และหากซีซาร์ได้รับชัยชนะที่พาร์เธีย ไม่เพียงจะนำมาซึ่งความร่ำรวยมากยิ่งขึ้น แต่ซีซาร์ก็จะยังได้รับความนิยมจากประชาชนชาวโรมันมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
แต่สำหรับ “บลูตัส” แล้ว หลังจากข่าวการป่วยของซีซาร์รู้ถึงหูของเหล่าสมาชิกรัฐสภา “บลูตัส” ก็ถูก บีบให้ต้องเลิกข้าง กับโอกาสที่จะกำจัดซีซาร์ให้พ้นจากอำนาจในครั้งนี้ และ “บลูตัส” เองก็รู้ดีว่า การบุกพาร์เธียของซีซาร์ในครั้งนี้นั้น เป็นเพียงเพื่อการรักษาอำนาจไว้เท่านั้นเอง
ดังนั้นเพื่อผลประทางการเมือง “บลูตัส” ทนไม่ได้กับสถานการณ์ ที่จะให้สาธารณรัฐโรมัน ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจเพียงแค่คนๆเดียว ไปตลอดชีวิต “บลูตัส” จึงเข้าร่วมเพื่อกำจัด “จูเลียส ซีซาร์” ในครั้งนี้ด้วย
 
วันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล (March 15 , 44 B.C.)
กับการต่างหวาดกลัว ว่าซีซาร์นั้นจะตั้งตนเป็นจักรพรรดิแห่งโรม สามวันก่อนที่ซีซาร์มีกำหนดจะออกเดินทางไปพาร์เธีย มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการฉุกเฉิน ซึ่งเหล่าสมาชิกรัฐสภารู้ดีว่า ทันทีที่ซีซาร์เดินทางออกจากโรมในฐานะนายพลใหญ่เพื่อไปพิชิตอาณาจักรพาร์เธีย  รอบข้างกายของซีซาร์ก็จะเต็มไปด้วยองครักษ์คุ้มกันมากมาย ซึ่งต่างกับตอนนี้ ที่ซีซาร์ยังอยู่ในกรุงโรม โดยซีซาร์ได้รับการคุ้มกันที่ไม่มากนัก
และเพื่อความแน่ใจ เหล่าสมาชิกรัฐสภาได้ว่าจ้างทหารยามให้ยืนเฝ้าอยู่ด้านนอก หาทางกันคนใกล้ชิดของซีซาร์ออกไป และรวมถึง “มาร์ค แอนโทนี่” ด้วย และแล้ว วันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล “จูเลียส ซีซาร์” ถูกแทงมากกว่า 23 แผลโดยเหล่าสมาชิกรัฐสภา นำโดย “บลูตัส” คนสนิทที่เป็นเหมือนดั่งบุตรชายของ”จูเลียส ซีซาร์” 

กำเนิดจักรวรรดิ (The Birth Of An Empire) 
การลอบสังหาร “จูเลียส ซีซาร์” สร้างความตกใจเป็นอย่างมากให้กับโรม และขณะที่ทั้งเมืองกำลังอยู่ในความเศร้าโศกอยู่นั้น “บรูตัส” และเหล่าสมาชิกรัฐสภาก็พยามที่จะฟื้นฟูระบบสาธารรัฐให้กับมาเหมือนเดิม แต่สิ่งต่างๆกลับไปไม่เป็นอย่างที่คาดไว้ ในช่วงเกิดศูนย์ญากาศทางการเมือน เกิดความรุนแรงเกินจะควบคุมได้  และหลายเดือนต่อมา “บลูตัส”และ”มาร์ค แอนโทนี่” กลายเป็นคู่แข่งกันในการแย่งชิงอำนาจกัน และการต่อสู้กันในสนามรบ “บลูตัส” กลับพ่ายแพ้ และในขณะที่กำลังจะถูกจับตัว เขาปลิดชีพตัวเอง
จากนั้นไม่นาน เหล่าพันธมิตรของ “มาร์ค แอนโทนี่” ที่เคยสนับสนุนเขา ต่างก็สมคบคิดกันเพื่อกำจัดเขา “มาร์ค แอนโทนี่” จึงหนีไปอียิปต์ และได้แต่งงานกับ “คลีโอพัตรา” และต่อมาตอนหลังได้เกิดสงครามระหว่างอียิปต์กับโรม “มาร์ค แอนโทนี่”และ”คลีโอพัตรา” ฆ่าตัวตายพร้อมกัน ส่วนลูกชายของซีซาร์ “เซซาเรียน” ได้ปกครองอียิปต์อยู่เพียงแค่สองสัปดาห์เท่านั้น ก่อนจะถูกฆ่าตายขณะอายุได้ 17 ปี
 
ซึ่งกับการลอบสังหาร “จูเลียส ซีซาร์” ในตอนนั้น เหล่าสมาชิกรัฐสภาของโรมันเชื่อว่า พวกเขาได้ช่วยรักษาสาธารณรัฐไว้ให้พ้นจากผู้นำที่กุมอำนาจไว้เพียงคนเดียว แต่กลับตรงกันข้าม กลายเป็นการเริ่มต้นการปกครองของจักรวรรดิที่มีอำนาจเด็ดขาดขึ้นมาแทน
และหลังจากหลายปีของความรุนแรงและกลียุค ในวันที่ 16 มกราคม 27 ปีก่อนคริสตกาล มีผู้นำคนใหม่ นามว่า “อ็อกเทเวียน” ซี่งเป็นหลานชายของ “จูเลียส ซีซาร์” ซึ่ง “อ็อกเทเวียน” ผู้นี้สามารถที่จะรวบรวมโรมให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง และได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของโรม โดยสามารถปกครองกรุงโรมต่อมาได้อีกกว่า 40 ปี
ท้ายที่สุด ระบอบสาธารณรับก็ได้ถูกทำลายลง และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพล ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดก็คือ “จูเลียส ซีซาร์” ผู้ย่ิงใหญ่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่