ว่าด้วยเรื่องพระลิขิต

กระทู้สนทนา
>ถาม : พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชที่กล่าวโทษเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายว่าปาราชิก เป็นของจริงหรือไม่ครับ?

>ตอบ: เรื่องนี้มีข้อโต้แย้งกันว่าเป็นพระลิขิตจริงหรือไม่ ทำให้เกิดความสับสนในหมู่ชาวพุทธ แต่ทางวัดพระธรรมกายซึ่งน่าจะชี้แจง กลับนิ่งเงียบมาตลอด 10 กว่าปี จากการสืบเสาะหาหลักฐานของทีมงานเพจ ปรากฎดังนี้

1. มีการปลอมพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเกิดขึ้นจริง ดังปรากฎหลักฐานตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 23/2547 ซึ่งได้สรุปเรื่องที่เป็นเหตุให้ต้องมีการแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ว่าเป็นเพราะมีการปลอมพระลิขิตหลายกรรมหลายวาระ อาทิ

-ปลอมพระลิขิตปลดนายบัณฑูร ล่ำซำ ผู้จัดการและประธานมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ จากตำแหน่ง และเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กระทบพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช จึงมีการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามให้สืบสวนในทางลับ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนในที่สุดวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 กองพิสูจน์หลักฐานได้ออกรายงานที่ 1001/2545 ลงความเห็นว่า ลายเซ็นของสมเด็จพระสังฆราช ในเอกสารทั้ง 6 รายการ เป็นลายเซ็นปลอม มีการดำเนินคดีกับ นายเรวัตร อุปพงศ์ นายสิทธิโชค ศรีสุคนธ์ และพระราชรัตนมงคล ผู้รับใช้ใกล้ชิดในวัดบวรนิเวศ ในข้อหา “ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม”

- ในเดือนธันวาคม 2546 ได้มีพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเสนอแต่งตั้งพระราชรัตนมงคล เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม แต่สุดท้ายพระเทพสารเวที เลขานุการของสมเด็จพระสังฆราช ได้ขอพระลิขิตดังกล่าวกลับคืนไป ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชน เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ และเสื่อมเสียพระเกียรติยศของสมเด็จพระสังฆราช และทำให้เกิดความสับสนในหมู่ชาวพุทธเป็นอย่างยิ่ง

2. พระลิขิตในการกล่าวโทษเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายดังกล่าว มีข้อผิดสังเกตหลายประการ อาทิ

- ตัวเลขวันที่ ปีพ.ศ.ใช้ตัวเลขอารบิค ซึ่งในการคณะสงฆ์จะทราบดีว่า เป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง เพราะเอกสารสำคัญของการคณะสงฆ์จะใช้เฉพาะเลขไทยเท่านั้น แม้นักเรียนบาลีก็ต้องใช้เลขไทยทั้งหมด

- วรรคตอนข้อความขาดเป็นช่วงๆ ผิดหลักภาษาไทย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เอกสารสำคัญของสมเด็จพระสังฆราชจะใช้สำนวนการพิมพ์เช่นนี้

- ลายเซ็นสมเด็จพระสังฆราชตัวหนังสือสะดุดเป็นระยะเป็นรูปเหลี่ยม ต่างจากลายเซ็นตามปกติ

3. กรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูปทราบดีถึงพระพลานามัยของสมเด็จพระสังฆราช หลายกรณีจึงเหมือนน้ำท่วมปาก รู้ความจริงแต่พูดไม่ออก เพราะเกรงกระทบพระเกียรติยศของสมเด็จพระสังฆราช ทำให้ต้องนิ่งเงียบ

4. การที่อัยการถอนฟ้องเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย โดยขอให้โอนเงินและที่ให้วัดก่อนนั้น เพราะทุกฝ่ายมุ่งหาทางรักษาพระเกียรติยศสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้ดูว่าได้ทำตามพระลิขิตที่มีเผยแพร่อยู่แล้ว

5. ที่ว่าเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายโอนเงินให้วัดร่วมพันล้านบาทนั้น จริงๆ ศิษยานุศิษย์เป็นผู้โอนเงินของตนให้วัด ทุกคนทำเพื่อรักษาพระเกียรติยศเพื่อให้เรื่องจบ และปัจจัยก็ได้ใช้ในการสร้างวัดต่อไป

6. มหาเถรสมาคมได้พิจารณากลั่นกรองนำเสนอเลื่อนสมณศักดิ์พเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพญาณมหามุนี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 จากคุณูปการที่ท่านได้มีต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ

7. หากเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายปาราชิกจริง เป็นไปไม่ได้เลยที่มหาเถรสมาคมที่ประกอบด้วยพระมหาเถระจากทั้งมหานิกายและธรรมยุติจะนำเสนอเพื่อขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้เช่นนั้น

@@ จึงชัดเจนว่า “คำกล่าวหาว่าเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายปาราชิกนั้น เป็นเรื่องไม่จริง” @@
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่