เอามาฝากค่ะ
....................................................................
ถ้าระลึกชาติได้จะรู้เลย ชาติใดที่ไม่รู้จักศาสนาพุทธน่ะ จิตใจจะวังเวงที่สุดเลย ใช้คำว่าวังเวงนะ มันรู้สึกอย่างนั้น ถามว่าจิตใจชั่วไหม ไม่ชั่วหรอก เพราะเคยทำทานเคยถือศีลอะไรอย่างเนี้ย มันไม่ชั่วหรอก แต่มันไม่รู้ทิศทาง ไม่รู้ว่าชีวิตเราเกิดมาทำอะไร เกิดมาเพื่ออะไร ทำอย่างไรจะใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่รู้เลย ก็ทำตามประเพณี ทำความดีอย่างโลกๆไป ตามๆกันไปเรื่อยๆ เด็กๆก็เรียนหนังสือไป โตขึ้นมีลูกมีเมียมีสามี เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานอะไรไป แล้วก็แก่เจ็บตายไปชาติหนึ่ง การที่ได้เป็นมนุษย์นี่ยาก กว่าจะได้เป็นมนุษย์ยากนะ อย่างในวัดในวาเนี่ย มนุษย์น้อยนะ อมนุษย์เยอะนะ งั้นกว่าจะเป็นมนุษย์นี้ยาก เป็นมนุษย์แล้วกว่าจะได้เจอศาสนาพุทธยากนะ ยากมาก เจอแล้วกว่าเราจะมีศรัทธาที่จะเข้ามานั่งฟังธรรมนี่ยากมากเลย
หลวงปู่เทสก์เคยถามว่าคนในโลกมีกี่พันล้านคนล่ะ ตอนนั้นกราบเรียนท่านว่ามีสี่พันล้าน เดี๋ยวนี้เท่าไหร่ไม่รู้นะ ตอนนั้นนานแล้ว บอกมีสี่พันกว่าล้านครับ เป็นชาวพุทธเท่าไหร่ บอกเหลือไม่เยอะแล้วครับ เหลือนิดเดียว ไม่กี่ร้อยล้าน เป็นชาวพุทธแล้วที่เข้าวัดเข้าวามีน้อย อย่างเมืองไทยชาวพุทธร้อยคน ที่สนใจเข้าวัดเข้าวามีน้อย ที่เข้ามาในวัดแล้วสนใจศึกษาธรรมะจริงๆก็น้อยลงไปอีกนะ ส่วนมากเข้ามาในวัดก็ไม่ได้ศึกษาธรรมะ มาหาหวยหาเบอร์ หาอะไรอย่างนี้ หาโชคหาลาภหาความสบายใจ กลุ้มใจขึ้นมาก็มานั่งเล่าความทุกข์ให้พระฟังนะ แล้วก็สดชื่นกลับไป พระนี่หงิกเลย พระก็รับขยะมาเต็มเลยนะ พระทุกข์แทน พระมีความทุกข์เพราะโยมเอาขยะมาใส่ โยมสบายใจ นี่หาโยมภาวนายาก ยาก คนเข้าวัดร้อยคนจะภาวนาซักคนสองคนก็ยาก พวกเรานี่ถือว่าส่วนน้อยมากเลยนะ คือในเมืองไทยคนตั้งหลายสิบล้าน สนใจศึกษาธรรมะจริงๆสักเท่าไหร่กัน ศึกษาตามแฟชั่นน่ะเยอะ ถึงยุคนี้คนชอบปฏิบัติธรรม แต่ปฏิบัติเป็นแฟชั่นซะเยอะ ที่ปฏิบัติโดยมุ่งต่ออรรถต่อธรรมจริงๆมีไม่มาก
ทีนี้ท่านยังบอกอีกนะ ว่าคนที่ปฏิบัติร้อยคนน่ะจะเข้าถึงธรรมแท้ๆ สักคนหนึ่งก็ยาก ดังนั้นการปฏิบัติจึงเป็นงานที่ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้ตายจริงๆ เพราะเรามีโอกาสแล้ว เราฝ่าด่านมาหลายด่านแล้วนะ เราได้เป็นมนุษย์ เรามาเกิดเป็นมนุษย์ในยุคที่มีศาสนาพุทธ ไม่ได้เกิดในยุคที่มีศาสนาพุทธอย่างเดียว เราเกิดยุคที่แผ่นดินนี้มีศาสนาพุทธให้เราศึกษาอยู่ ยิ่งยากหนักเข้าไปอีก อย่างตอนนี้คนในเอธิโอเปียก็เกิดยุคที่ยังมีศาสนาพุทธแต่ไม่เคยสัมผัสเลย นี่ของเราได้สัมผัสเพราะเรามีศรัทธามีความเลื่อมใส เราเข้าใกล้ครูบาอาจารย์ ได้ฟังธรรมะที่สืบทอดกันมา หน้าที่เหลืออันเดียวเอง ลงมือทำลงมือปฏิบัติ อย่าถอยนะ อย่าท้อแท้ ดูทุกวันดูไป เรียนรู้กายเรียนรู้ใจของเราไปเรื่อย รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจ ว่าจริงๆเขาเป็นยังไง เขาเที่ยงหรือไม่เที่ยง เขาเป็นสุขหรือเขาเป็นทุกข์ เขาบังคับได้หรือเขาบังคับไม่ได้ เรียนเพื่อให้เห็นความจริง ไม่ใช่เรียนเพื่อให้เที่ยงนะ ไม่ใช่เรียนเพื่อให้สุข ไม่ใช่เรียนเพื่อที่จะบังคับให้ได้ ขันธ์ห้าไม่เที่ยง ยังไงก็ไม่เที่ยง ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ยังไงก็ต้องเป็นทุกข์ ขันธ์ห้าเป็นอนัตตา ยังไงก็ต้องเป็นอนัตตา ขันธ์ห้าของหมาของแมวของปุถุชนหรือขันธ์ห้าของพระอรหันต์ก็เป็นไตรลักษณ์เหมือนกันทั้งนั้นเลย ไม่มีอะไรต่างกัน ต่างกันแค่รูปลักษณ์ เนื้อแท้ก็เหมือนกันนั่นแหล่ะ บังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์ไม่ใช่คนที่ฝึกจนบังคับขันธ์ห้าสำเร็จนะ แต่คือผู้ที่เรียนรู้ขันธ์ห้าจนรู้ความจริงของมัน แล้วปล่อยวางความยึดถือได้
ธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
(หนังสือ อริยสัจ | พิมพ์ครั้งที่1 : ธรรมบรรณาการจากชมรมกัลยาณธรรม)
การเกิดเป็นมนุษย์ และการพบพุทธศาสนาเป็นของยาก เร่งทำความเพียรกันเถิด
....................................................................
ถ้าระลึกชาติได้จะรู้เลย ชาติใดที่ไม่รู้จักศาสนาพุทธน่ะ จิตใจจะวังเวงที่สุดเลย ใช้คำว่าวังเวงนะ มันรู้สึกอย่างนั้น ถามว่าจิตใจชั่วไหม ไม่ชั่วหรอก เพราะเคยทำทานเคยถือศีลอะไรอย่างเนี้ย มันไม่ชั่วหรอก แต่มันไม่รู้ทิศทาง ไม่รู้ว่าชีวิตเราเกิดมาทำอะไร เกิดมาเพื่ออะไร ทำอย่างไรจะใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่รู้เลย ก็ทำตามประเพณี ทำความดีอย่างโลกๆไป ตามๆกันไปเรื่อยๆ เด็กๆก็เรียนหนังสือไป โตขึ้นมีลูกมีเมียมีสามี เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานอะไรไป แล้วก็แก่เจ็บตายไปชาติหนึ่ง การที่ได้เป็นมนุษย์นี่ยาก กว่าจะได้เป็นมนุษย์ยากนะ อย่างในวัดในวาเนี่ย มนุษย์น้อยนะ อมนุษย์เยอะนะ งั้นกว่าจะเป็นมนุษย์นี้ยาก เป็นมนุษย์แล้วกว่าจะได้เจอศาสนาพุทธยากนะ ยากมาก เจอแล้วกว่าเราจะมีศรัทธาที่จะเข้ามานั่งฟังธรรมนี่ยากมากเลย
หลวงปู่เทสก์เคยถามว่าคนในโลกมีกี่พันล้านคนล่ะ ตอนนั้นกราบเรียนท่านว่ามีสี่พันล้าน เดี๋ยวนี้เท่าไหร่ไม่รู้นะ ตอนนั้นนานแล้ว บอกมีสี่พันกว่าล้านครับ เป็นชาวพุทธเท่าไหร่ บอกเหลือไม่เยอะแล้วครับ เหลือนิดเดียว ไม่กี่ร้อยล้าน เป็นชาวพุทธแล้วที่เข้าวัดเข้าวามีน้อย อย่างเมืองไทยชาวพุทธร้อยคน ที่สนใจเข้าวัดเข้าวามีน้อย ที่เข้ามาในวัดแล้วสนใจศึกษาธรรมะจริงๆก็น้อยลงไปอีกนะ ส่วนมากเข้ามาในวัดก็ไม่ได้ศึกษาธรรมะ มาหาหวยหาเบอร์ หาอะไรอย่างนี้ หาโชคหาลาภหาความสบายใจ กลุ้มใจขึ้นมาก็มานั่งเล่าความทุกข์ให้พระฟังนะ แล้วก็สดชื่นกลับไป พระนี่หงิกเลย พระก็รับขยะมาเต็มเลยนะ พระทุกข์แทน พระมีความทุกข์เพราะโยมเอาขยะมาใส่ โยมสบายใจ นี่หาโยมภาวนายาก ยาก คนเข้าวัดร้อยคนจะภาวนาซักคนสองคนก็ยาก พวกเรานี่ถือว่าส่วนน้อยมากเลยนะ คือในเมืองไทยคนตั้งหลายสิบล้าน สนใจศึกษาธรรมะจริงๆสักเท่าไหร่กัน ศึกษาตามแฟชั่นน่ะเยอะ ถึงยุคนี้คนชอบปฏิบัติธรรม แต่ปฏิบัติเป็นแฟชั่นซะเยอะ ที่ปฏิบัติโดยมุ่งต่ออรรถต่อธรรมจริงๆมีไม่มาก
ทีนี้ท่านยังบอกอีกนะ ว่าคนที่ปฏิบัติร้อยคนน่ะจะเข้าถึงธรรมแท้ๆ สักคนหนึ่งก็ยาก ดังนั้นการปฏิบัติจึงเป็นงานที่ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้ตายจริงๆ เพราะเรามีโอกาสแล้ว เราฝ่าด่านมาหลายด่านแล้วนะ เราได้เป็นมนุษย์ เรามาเกิดเป็นมนุษย์ในยุคที่มีศาสนาพุทธ ไม่ได้เกิดในยุคที่มีศาสนาพุทธอย่างเดียว เราเกิดยุคที่แผ่นดินนี้มีศาสนาพุทธให้เราศึกษาอยู่ ยิ่งยากหนักเข้าไปอีก อย่างตอนนี้คนในเอธิโอเปียก็เกิดยุคที่ยังมีศาสนาพุทธแต่ไม่เคยสัมผัสเลย นี่ของเราได้สัมผัสเพราะเรามีศรัทธามีความเลื่อมใส เราเข้าใกล้ครูบาอาจารย์ ได้ฟังธรรมะที่สืบทอดกันมา หน้าที่เหลืออันเดียวเอง ลงมือทำลงมือปฏิบัติ อย่าถอยนะ อย่าท้อแท้ ดูทุกวันดูไป เรียนรู้กายเรียนรู้ใจของเราไปเรื่อย รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจ ว่าจริงๆเขาเป็นยังไง เขาเที่ยงหรือไม่เที่ยง เขาเป็นสุขหรือเขาเป็นทุกข์ เขาบังคับได้หรือเขาบังคับไม่ได้ เรียนเพื่อให้เห็นความจริง ไม่ใช่เรียนเพื่อให้เที่ยงนะ ไม่ใช่เรียนเพื่อให้สุข ไม่ใช่เรียนเพื่อที่จะบังคับให้ได้ ขันธ์ห้าไม่เที่ยง ยังไงก็ไม่เที่ยง ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ยังไงก็ต้องเป็นทุกข์ ขันธ์ห้าเป็นอนัตตา ยังไงก็ต้องเป็นอนัตตา ขันธ์ห้าของหมาของแมวของปุถุชนหรือขันธ์ห้าของพระอรหันต์ก็เป็นไตรลักษณ์เหมือนกันทั้งนั้นเลย ไม่มีอะไรต่างกัน ต่างกันแค่รูปลักษณ์ เนื้อแท้ก็เหมือนกันนั่นแหล่ะ บังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอรหันต์ไม่ใช่คนที่ฝึกจนบังคับขันธ์ห้าสำเร็จนะ แต่คือผู้ที่เรียนรู้ขันธ์ห้าจนรู้ความจริงของมัน แล้วปล่อยวางความยึดถือได้
ธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
(หนังสือ อริยสัจ | พิมพ์ครั้งที่1 : ธรรมบรรณาการจากชมรมกัลยาณธรรม)