คำว่า อนิจจัง ที่แปลว่า ไม่เที่ยง นั้นเราอาจจะดูว่าเป็นคำที่เข้าใจได้ง่าย แต่ถ้าจะพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วคำนี้เป็นคำที่เข้าใจได้ยาก เพราะมีความหมายลึกซึ้ง รวมทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า ทุกขัง และ อนัตตาด้วย และถ้าเข้าใจคำว่าอนิจจังนี้ได้อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะทำลายความเชื่อที่ผิดๆเรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า รวมทั้งความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย เป็นต้น ที่ปลอมปนอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าในปัจจุบันได้อีกด้วย
คำว่า อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง คือเป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่า เที่ยง ดังนั้นการที่จะเข้าใจคำว่า ไม่เที่ยง เราก็ต้องมาทำความเข้าใจคำว่า เที่ยง ก่อน คือคำว่า นิจจัง แปลว่า เที่ยง ซึ่งหมายถึง เวลาเที่ยงตรง คือถ้ายังไม่ถึงเที่ยงตรง หรือเลยเที่ยงตรงไปแล้วแม้เสี้ยววินาทีก็เรียกว่าไม่เที่ยง คือสรุปแล้วคำว่า เที่ยง มันหมายถึงการหยุดนิ่งหรือไม่มีเวลา หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่า อมตะ (ไม่ตายอย่างเด็ดขาด) หรือ นิรันดร (ตลอดไป) นั่นเอง
เมื่อคำว่า เที่ยง หมายถึง ไม่เปลี่ยนแปลง หรือ อมตะ หรือ นิรันดร ดังนั้นคำว่า ไม่เที่ยง จึงหมายถึง เปลี่ยนแปลง หรือ ไม่เป็นอมตะ หรือ ไม่เป็นนิรันดร คือคำว่า เปลี่ยนแปลงก็หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือไหลๆอยู่เสมอ ส่วนคำว่า ไม่เป็นอมตะก็หมายถึง มันต้องตายหรือแตก (ใช้กับวัตถุ) หรือดับ (ใช้กับจิต) หายไปอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว ส่วนคำว่า ไม่เป็นนิรันดร ก็หมายถึง มันไม่สามารถตั้งอยู่หรือดำรงอยู่ไปในลักษณะเดิมหรือสภาวะเดิมได้ตลอดไป คือเรียกว่ามันต้องแตกหรือดับไปในที่สุดนั่นเอง
คำว่า นิจจัง นั้นเป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่สอนว่า จิต หรือ วิญญาณ ของคนเรานี้ นิจจัง คือ เที่ยง หรือเป็นอมตะ หรือสามารถตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นใดมาสร้างหรือปรุงแต่งหรือประกอบมันขึ้นมา ดังเขาจึงเชื่อว่า แม้ว่าร่างกายจะตาย แต่จิต หรือ วิญญาณ นี้จะไม่ตายตาม แต่มันสามารถที่จะออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วเพื่อไปเกิดยังร่างกายใหม่ได้ ซึ่งความเชื่อนี้เองที่เป็นเหตุให้เกิดการจินตนาการเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องเทวดา นางฟ้า ผี เปรต เป็นต้นขึ้นมา ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้ปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าภายหลังที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานไปแล้วประมาณ ๘ ร้อยปี (
http://www.rosenini.com/suanmokkh/chaiya/27.htm )
เรื่องจิตหรือวิญญาณสามารถออกจากร่างกายได้นี้ เป็นความเชื่อดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ แต่ชาวพุทธบางคนที่พอจะเข้าใจคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนอยู่บ้างว่า "จิต (สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้) หรือ วิญญาณ (การรับรู้ทางระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย) ของคนเรานี้ไม่เที่ยง" ก็จะเข้าใจได้ว่า ถ้าบอกว่าจิตหรือวิญญาณสามารถออกจากร่างกายได้ ก็เท่ากับเป็นความเชื่อว่าจิตเที่ยง ซึ่งก็จะขัดแย้งกับคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนว่า "จิตหรือวิญญาณไม่เที่ยง" เมื่อมันไม่เที่ยงมันจึงไม่สามารถที่จะออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วได้ แต่เขาก็ยังเชื่อว่า แม้ร่างกายจะตาย แต่จิตหรือวิญญาณของแต่ละคนจะไม่สูญหาย เพราะถึงแม้มันจะดับหายไปในร่างกายนี้แล้วก็จริง แต่ถ้าจิตยังมีอวิชชาหรือกิเลสอยู่ อวิชชาหรือกิเลสนี้จะเป็นเหตุ (คล้ายๆกับการส่งกระแสคลื่นออกไปเหมือนคลื่นวิทยุ) ทำให้เกิดจิตใหม่ขึ้นมาในร่างกายใหม่ได้เหมือนจิตเดิมอีก ซึ่งความหมายก็คือจิตหรือวิญญาณของคนเราแต่ละคนนี้เที่ยงหรือเป็นอมตะนั่นเอง เพราะมันก็ยังคงมีจิตหรือวิญญาณเหมือนเก่าเกิดขึ้นมาสืบต่อเอาไว้ได้เรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งความหมายก็คือยังคงเป็นความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณของเราแต่ละคนนี้เป็นอมตะหรือเที่ยง เหมือนความเชื่อเรื่องจิตหรือวิญญาณสามารถออกจากร่างกายที่ตายแล้วได้ อย่างที่ศาสนาพราหมณ์สอนนั่นเอง
เมื่อชาวพุทธที่เข้าใจผิดว่าจิตหรือวิญญาณนี้เที่ยง ดังนั้นเขาจึงได้รับเอาความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องเทวดา นางฟ้า ผี เปรต เป็นต้น เข้ามาว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งนี่ก็แสดงถึงว่า ผู้ที่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องเทวดา นางฟ้า ผี เปรต เป็นต้นนี้ ยังมีความเชื่อที่ผิดเพี้ยน หรือไม่ถูกต้องตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนว่า "จิตหรือวิญญาณของคนเรานี้ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ต้องทนอยู่อย่างยากลำบาก (ทุกขัง) และไม่ใช่อัตตา (อนัตตา)" เพราะยังมีความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณนี้เป็นอัตตา (ตัวตนอมตะหรือตัวตนที่แท้จริง) เพราะสิ่งที่เป็นอัตตานั้นจะมีลักษณะเที่ยง (นิจจัง) และทนอยู่อย่างสบาย (สุขัง)
จึงขอฝากให้ชาวพุทธได้ช่วยกันศึกษาเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานี้ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้เข้าใจคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะได้ขจัดคำสอนของศาสนาพราหมณ์ที่ปลอมปนอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าออกไป และเพื่อที่จะได้เกิดดวงตาเห็นธรรม อันจะนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความหลุดพ้นจากความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันกันต่อไป
คำว่า อนิจจัง ที่คุณอาจยังไม่เข้าใจ
คำว่า อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง คือเป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่า เที่ยง ดังนั้นการที่จะเข้าใจคำว่า ไม่เที่ยง เราก็ต้องมาทำความเข้าใจคำว่า เที่ยง ก่อน คือคำว่า นิจจัง แปลว่า เที่ยง ซึ่งหมายถึง เวลาเที่ยงตรง คือถ้ายังไม่ถึงเที่ยงตรง หรือเลยเที่ยงตรงไปแล้วแม้เสี้ยววินาทีก็เรียกว่าไม่เที่ยง คือสรุปแล้วคำว่า เที่ยง มันหมายถึงการหยุดนิ่งหรือไม่มีเวลา หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่า อมตะ (ไม่ตายอย่างเด็ดขาด) หรือ นิรันดร (ตลอดไป) นั่นเอง
เมื่อคำว่า เที่ยง หมายถึง ไม่เปลี่ยนแปลง หรือ อมตะ หรือ นิรันดร ดังนั้นคำว่า ไม่เที่ยง จึงหมายถึง เปลี่ยนแปลง หรือ ไม่เป็นอมตะ หรือ ไม่เป็นนิรันดร คือคำว่า เปลี่ยนแปลงก็หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือไหลๆอยู่เสมอ ส่วนคำว่า ไม่เป็นอมตะก็หมายถึง มันต้องตายหรือแตก (ใช้กับวัตถุ) หรือดับ (ใช้กับจิต) หายไปอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว ส่วนคำว่า ไม่เป็นนิรันดร ก็หมายถึง มันไม่สามารถตั้งอยู่หรือดำรงอยู่ไปในลักษณะเดิมหรือสภาวะเดิมได้ตลอดไป คือเรียกว่ามันต้องแตกหรือดับไปในที่สุดนั่นเอง
คำว่า นิจจัง นั้นเป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่สอนว่า จิต หรือ วิญญาณ ของคนเรานี้ นิจจัง คือ เที่ยง หรือเป็นอมตะ หรือสามารถตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นใดมาสร้างหรือปรุงแต่งหรือประกอบมันขึ้นมา ดังเขาจึงเชื่อว่า แม้ว่าร่างกายจะตาย แต่จิต หรือ วิญญาณ นี้จะไม่ตายตาม แต่มันสามารถที่จะออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วเพื่อไปเกิดยังร่างกายใหม่ได้ ซึ่งความเชื่อนี้เองที่เป็นเหตุให้เกิดการจินตนาการเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องเทวดา นางฟ้า ผี เปรต เป็นต้นขึ้นมา ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้ปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าภายหลังที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานไปแล้วประมาณ ๘ ร้อยปี ( http://www.rosenini.com/suanmokkh/chaiya/27.htm )
เรื่องจิตหรือวิญญาณสามารถออกจากร่างกายได้นี้ เป็นความเชื่อดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ แต่ชาวพุทธบางคนที่พอจะเข้าใจคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนอยู่บ้างว่า "จิต (สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้) หรือ วิญญาณ (การรับรู้ทางระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย) ของคนเรานี้ไม่เที่ยง" ก็จะเข้าใจได้ว่า ถ้าบอกว่าจิตหรือวิญญาณสามารถออกจากร่างกายได้ ก็เท่ากับเป็นความเชื่อว่าจิตเที่ยง ซึ่งก็จะขัดแย้งกับคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนว่า "จิตหรือวิญญาณไม่เที่ยง" เมื่อมันไม่เที่ยงมันจึงไม่สามารถที่จะออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วได้ แต่เขาก็ยังเชื่อว่า แม้ร่างกายจะตาย แต่จิตหรือวิญญาณของแต่ละคนจะไม่สูญหาย เพราะถึงแม้มันจะดับหายไปในร่างกายนี้แล้วก็จริง แต่ถ้าจิตยังมีอวิชชาหรือกิเลสอยู่ อวิชชาหรือกิเลสนี้จะเป็นเหตุ (คล้ายๆกับการส่งกระแสคลื่นออกไปเหมือนคลื่นวิทยุ) ทำให้เกิดจิตใหม่ขึ้นมาในร่างกายใหม่ได้เหมือนจิตเดิมอีก ซึ่งความหมายก็คือจิตหรือวิญญาณของคนเราแต่ละคนนี้เที่ยงหรือเป็นอมตะนั่นเอง เพราะมันก็ยังคงมีจิตหรือวิญญาณเหมือนเก่าเกิดขึ้นมาสืบต่อเอาไว้ได้เรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งความหมายก็คือยังคงเป็นความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณของเราแต่ละคนนี้เป็นอมตะหรือเที่ยง เหมือนความเชื่อเรื่องจิตหรือวิญญาณสามารถออกจากร่างกายที่ตายแล้วได้ อย่างที่ศาสนาพราหมณ์สอนนั่นเอง
เมื่อชาวพุทธที่เข้าใจผิดว่าจิตหรือวิญญาณนี้เที่ยง ดังนั้นเขาจึงได้รับเอาความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องเทวดา นางฟ้า ผี เปรต เป็นต้น เข้ามาว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งนี่ก็แสดงถึงว่า ผู้ที่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องเทวดา นางฟ้า ผี เปรต เป็นต้นนี้ ยังมีความเชื่อที่ผิดเพี้ยน หรือไม่ถูกต้องตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนว่า "จิตหรือวิญญาณของคนเรานี้ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ต้องทนอยู่อย่างยากลำบาก (ทุกขัง) และไม่ใช่อัตตา (อนัตตา)" เพราะยังมีความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณนี้เป็นอัตตา (ตัวตนอมตะหรือตัวตนที่แท้จริง) เพราะสิ่งที่เป็นอัตตานั้นจะมีลักษณะเที่ยง (นิจจัง) และทนอยู่อย่างสบาย (สุขัง)
จึงขอฝากให้ชาวพุทธได้ช่วยกันศึกษาเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานี้ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้เข้าใจคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะได้ขจัดคำสอนของศาสนาพราหมณ์ที่ปลอมปนอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าออกไป และเพื่อที่จะได้เกิดดวงตาเห็นธรรม อันจะนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความหลุดพ้นจากความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันกันต่อไป