คำว่า อนิจจัง ที่แปลว่า ไม่เที่ยงนี้ แม้ชาวพุทธเองก็ยังเข้าใจความหมายของคำนี้ผิดพลาด จึงทำให้ไม่สามารถเข้าใจหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธเจ้า(ในเรื่องอริยสัจ ๔)ได้อย่างถูกต้องตามไปด้วย
คำว่า อนิจจังนี้ หมายถึง ความไม่เที่ยง ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า นิจจัง ที่แปลว่า เที่ยง โดยคำว่าเที่ยงนี้ก็หมายถึงลักษณะหรือสภาพที่เป็นอย่างนั้นตลอดไปอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปสักเท่าใดก็ตามมันก็จะไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่ว่าจะมีอะไรมาทำลายมันก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงหรือเรียกว่าเป็นนิรันดร ซึ่งความหมายก็จะเหมือนกับคำว่า อมตะ ที่แปลว่า ไม่ตาย หรือไม่สูญหายไปอย่างเด็ดขาด หรือเรียกว่า ไม่มีกาลเวลาเพราะเมื่อมันเที่ยงก็จะไม่มีการเกิดและการดับนั่นเอง
คำว่า ไม่เที่ยง จึงหมายถึงลักษณะหรือสภาพที่ตรงข้ามกับคำว่า เที่ยง คือ ไม่สามารถอยู่ในลักษณะหรือสภาพนั้นได้ตลอดไป หรือเรียกได้ว่า เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันจะต้องดับหายไปอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว และแม้ขณะที่ยังตั้งอยู่(คือเกิดมาแล้วยังไม่ดับ)มันก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
มีอะไรบ้างที่ไม่เที่ยง? สิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ก็ได้แก่สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง(หรือสร้างหรือประกอบ)ขึ้นมาจากสิ่งอื่น (เช่นร่างกายของคนเราก็ประกอบมาจากรูปธาตุ๔) ซึ่งคำว่า สังขาร หมายถึง ปรุงแต่ง โดยจะหมายถึงกิริยาการปรุงแต่งก็ได้ หรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาก็ได้ หรือการไปปรุงแต่งสิ่งอื่นก็ได้
แต่เราต้องระวังว่า ความไม่เที่ยงของสิ่งปรุงแต่งนี้มันจะต้องมีความไม่เที่ยงจริงๆ ไม่ใช่ว่าสิ่งปรุงแต่งจะมีความไม่เที่ยงได้ตลอดไป (เข้าใจว่าความไม่เที่ยงนี้จะเที่ยงได้) อย่างเช่น เรามักเข้าใจว่า จิตไม่เที่ยง คือจิตจะเกิด-ดับอยู่เสมอ แล้วเราก็เข้าใจว่าจิตที่เกิด-ดับนี้เองที่มีความเที่ยงแท้ คือจะไม่ดับหายไปไหน สามารถที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ได้เมื่อร่างกายตายไปแล้ว คือเรียกง่ายๆว่า เข้าใจผิดว่าจิตเป็นสิ่งเที่ยง(หรืออมตะ) แต่จิตที่เที่ยงนี้จะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งนี่คือความเข้าใจว่าความไม่เที่ยงจะเที่ยงได้ อันเป็นการตีความหมายของคำว่าอนิจจังนี้ผิดพลาดไป
เมื่อเข้าใจำว่าอนิจจังผิด ก็จะเข้าใจคำว่าทุกขังผิดตามไปด้วยทันที คือจะเข้าใจผิดไปว่ามี สิ่งปรุงแต่งที่ไม่ต้องมีสภาวะที่ต้องทนอยู่ด้วย เช่น เข้าใจว่าจะมีสภาพที่จิตจะมีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรัดรได้ อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่านิพพานคือบ้านเมืองหรือสภาพที่มีแต่ความสุขไม่มีความทุกข์เลยชั่วนิรันดร
เมื่อเข้าใจคำว่า ทุกขัง ผิด ก็จะเข้าใจคำว่า อนัตตา ผิดตามไปด้วยทันที คือคำว่า อนัตตา หมายถึง ไม่ใช่ตัวตน แต่เมื่อเราเข้าใจผิดว่ามีจิตที่จะมีความสุขอยู่ชั่วนิรันดรได้ ก็จึงทำให้เข้าใจคำว่าอนัตตาผิดไปว่าหมายถึงเป็นตัวตนที่ตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดรได้ ซึ่งความหมายของคำว่า ตัวตนที่ตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดร นี้ก็เป็นความหมายของคำว่า อัตตา ซึ่งเป็นคำสอนของศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ ที่แปลว่า ตัวตน ที่ตรงข้ามกับคำว่า อนัตตา ของพระพุทธเจ้านั่นเอง
เมื่อเข้าใจว่าจิตเป็นอัตตาหรือตัวตนที่เวียนว่ายตาย-เกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้แล้ว ก็จึงทำให้เข้าใจคำสอนเรื่องการดับทุกข์ในชีวิตปัจจุบัน(หรืออริยสัจ ๔)ของพระพุทธเจ้าผิดไปอีก คือไปเข้าใจผิดว่าหลักอริยสัจ ๔ นี้เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อสั่งสมบารมีเอาไว้เพื่อไปดับทุกข์หรือนิพพานเอาในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไปอีกหมื่นชาติแสนชาติอย่างที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมานมนานแล้วนั่นเอง
จึงขอให้ชาวพุทธพยายามทำความเข้าใจเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี้ให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้เข้าใจหลักอริยสัจ ๔ ที่เป็นหลักปฏิบัติเพื่อกำจัดความทุกข์ของจิตใจเราในปัจจุบันกันต่อไป
ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าใจความหมายของคำว่าอนิจจังไม่ถูกต้อง
คำว่า อนิจจังนี้ หมายถึง ความไม่เที่ยง ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า นิจจัง ที่แปลว่า เที่ยง โดยคำว่าเที่ยงนี้ก็หมายถึงลักษณะหรือสภาพที่เป็นอย่างนั้นตลอดไปอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปสักเท่าใดก็ตามมันก็จะไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่ว่าจะมีอะไรมาทำลายมันก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงหรือเรียกว่าเป็นนิรันดร ซึ่งความหมายก็จะเหมือนกับคำว่า อมตะ ที่แปลว่า ไม่ตาย หรือไม่สูญหายไปอย่างเด็ดขาด หรือเรียกว่า ไม่มีกาลเวลาเพราะเมื่อมันเที่ยงก็จะไม่มีการเกิดและการดับนั่นเอง
คำว่า ไม่เที่ยง จึงหมายถึงลักษณะหรือสภาพที่ตรงข้ามกับคำว่า เที่ยง คือ ไม่สามารถอยู่ในลักษณะหรือสภาพนั้นได้ตลอดไป หรือเรียกได้ว่า เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันจะต้องดับหายไปอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว และแม้ขณะที่ยังตั้งอยู่(คือเกิดมาแล้วยังไม่ดับ)มันก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
มีอะไรบ้างที่ไม่เที่ยง? สิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ก็ได้แก่สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง(หรือสร้างหรือประกอบ)ขึ้นมาจากสิ่งอื่น (เช่นร่างกายของคนเราก็ประกอบมาจากรูปธาตุ๔) ซึ่งคำว่า สังขาร หมายถึง ปรุงแต่ง โดยจะหมายถึงกิริยาการปรุงแต่งก็ได้ หรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาก็ได้ หรือการไปปรุงแต่งสิ่งอื่นก็ได้
แต่เราต้องระวังว่า ความไม่เที่ยงของสิ่งปรุงแต่งนี้มันจะต้องมีความไม่เที่ยงจริงๆ ไม่ใช่ว่าสิ่งปรุงแต่งจะมีความไม่เที่ยงได้ตลอดไป (เข้าใจว่าความไม่เที่ยงนี้จะเที่ยงได้) อย่างเช่น เรามักเข้าใจว่า จิตไม่เที่ยง คือจิตจะเกิด-ดับอยู่เสมอ แล้วเราก็เข้าใจว่าจิตที่เกิด-ดับนี้เองที่มีความเที่ยงแท้ คือจะไม่ดับหายไปไหน สามารถที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ได้เมื่อร่างกายตายไปแล้ว คือเรียกง่ายๆว่า เข้าใจผิดว่าจิตเป็นสิ่งเที่ยง(หรืออมตะ) แต่จิตที่เที่ยงนี้จะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งนี่คือความเข้าใจว่าความไม่เที่ยงจะเที่ยงได้ อันเป็นการตีความหมายของคำว่าอนิจจังนี้ผิดพลาดไป
เมื่อเข้าใจำว่าอนิจจังผิด ก็จะเข้าใจคำว่าทุกขังผิดตามไปด้วยทันที คือจะเข้าใจผิดไปว่ามี สิ่งปรุงแต่งที่ไม่ต้องมีสภาวะที่ต้องทนอยู่ด้วย เช่น เข้าใจว่าจะมีสภาพที่จิตจะมีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรัดรได้ อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่านิพพานคือบ้านเมืองหรือสภาพที่มีแต่ความสุขไม่มีความทุกข์เลยชั่วนิรันดร
เมื่อเข้าใจคำว่า ทุกขัง ผิด ก็จะเข้าใจคำว่า อนัตตา ผิดตามไปด้วยทันที คือคำว่า อนัตตา หมายถึง ไม่ใช่ตัวตน แต่เมื่อเราเข้าใจผิดว่ามีจิตที่จะมีความสุขอยู่ชั่วนิรันดรได้ ก็จึงทำให้เข้าใจคำว่าอนัตตาผิดไปว่าหมายถึงเป็นตัวตนที่ตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดรได้ ซึ่งความหมายของคำว่า ตัวตนที่ตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดร นี้ก็เป็นความหมายของคำว่า อัตตา ซึ่งเป็นคำสอนของศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ ที่แปลว่า ตัวตน ที่ตรงข้ามกับคำว่า อนัตตา ของพระพุทธเจ้านั่นเอง
เมื่อเข้าใจว่าจิตเป็นอัตตาหรือตัวตนที่เวียนว่ายตาย-เกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้แล้ว ก็จึงทำให้เข้าใจคำสอนเรื่องการดับทุกข์ในชีวิตปัจจุบัน(หรืออริยสัจ ๔)ของพระพุทธเจ้าผิดไปอีก คือไปเข้าใจผิดว่าหลักอริยสัจ ๔ นี้เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อสั่งสมบารมีเอาไว้เพื่อไปดับทุกข์หรือนิพพานเอาในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไปอีกหมื่นชาติแสนชาติอย่างที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมานมนานแล้วนั่นเอง
จึงขอให้ชาวพุทธพยายามทำความเข้าใจเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี้ให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้เข้าใจหลักอริยสัจ ๔ ที่เป็นหลักปฏิบัติเพื่อกำจัดความทุกข์ของจิตใจเราในปัจจุบันกันต่อไป