ผมคิดว่า ในเมื่อเรายอมที่จะให้ประเทศหยุดอยู่กับที่ เพื่อทำการปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปประชาธิปไตยให้สมบูรณ์แบบ ผมจึงอยากมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางปฏิรูปอีกแนวทางหนึ่งนะครับ
โดยส่วนตัว ผมมองว่า ส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง จนทำให้ประเทศต้องติดกับดักความแตกแยกจนเดินหน้าต่อไม่ได้นั้น ต้องมีกระบวนการยุติธรรมรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้นนอกจากการปฏิรูปนักการเมือง การสร้างค่านิยม 12 ประการแล้วนั้น กระบวนการยุติธรรมก็ควรจะต้องปฏิรูปด้วยเช่นกันครับ
ผมมองว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า ก็คือ ความไม่ยุติธรรมครับ
ผมมองว่า การใช้วิจารณญาณ โดยไม่ได้อ้างอิงตามตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด นั่นคือ ความไม่มีมาตรฐานครับ
ผมมองว่า การวินิจฉัยคดีใดๆ โดยไม่ใส่ใจกับบรรทัดฐานที่เคยทำไว้ นั่นคือ การวินิจฉัยแบบสองมาตรฐานครับ
ผมจึงมองว่า เรื่องเหล่านี้ต่างหากครับที่ทำให้สังคมเกิดความคลางแคลงสงสัย
ผมจึงมองว่า เรื่องเหล่านี้ต่างหากครับที่ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก
และผมยังมองอีกว่า เรื่องเหล่านี้ครับที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยเสื่อมศรัทธาอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และถ้าเรายังปล่อยให้ความเสื่อมศรัทธาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผมเกรงว่า สักวันหนึ่งในวันข้างหน้า จะมีคนไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมอีกต่อไป นั่นหมายถึงกฎหมายจะใช้บังคับไม่ได้ ถึงตอนนั้น ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าบ้านเมืองมีกฎเกณฑ์ที่คนมากมายไม่เคารพ
จริงอยู่ เราอาจถูกปลูกฝังให้เชื่อฟังคำสั่งศาล
จริงอยู่ เราอาจถูกปลูกฝังให้เคารพคำวินิจฉัย
จริงอยู่ เราอาจถูกปลูกฝังให้ยอมรับทั้งคำสั่งทั้งคำวินิจฉัยของศาล
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเคารพกับการยอมรับ มันต้องขึ้นอยู่กับคนที่มาทำหน้าที่ ต้องทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ เป็นกลาง ไม่เอนเอียง และทั้งคำสั่งทั้งคำวินิจฉัยจะต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน โดยเหตุผลตามข้อเท็จจริงของกฎหมาย จนสังคมยอมรับอย่างสิ้นสงสัย
แต่ที่ผ่านมาก็เห็นกันด้วยถ้วนหน้า เพียงแต่บางฝ่ายได้ประโยชน์ก็เห็นด้วยและยอมรับ บางฝ่ายเมื่อเสียผลประโยชน์ก็ไม่เชื่อและไม่ยอมรับ นั่นเป็นเพราะหลายต่อหลายคำวินิจฉัย มีข้อคลางแคลงใจจริงๆถึงมาตรฐานแห่งคำวินิจฉัยว่า มันเป็นไปตามข้อกฎหมายหรือเป็นไปตามความเชื่อกันแน่ นี่ต่างหากครับที่ทำให้เกิดความแตกแยกไม่มีสิ้นสุด
ดังนั้น เมื่อเราต้องการปฏิรูปนักการเมืองมีจิตสำนึกทางการเมืองสูงกว่าคนธรรมดา
ดังนั้น เมื่อเราต้องการปฏิรูปข้าราชการต่างให้ทำหน้าที่อย่างซื่อตรง โดยไม่อิงแอบนักการเมือง
ดังนั้น เมื่อเราต้องการปฏิรูปรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ
แล้วทำไมเราจึงไม่คิดปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ยึดโยงกับประชาชนล่ะครับ
การยึดโยงเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้
การยึดโยงเพื่อให้ประชาชนมั่นใจในความโปร่งใส
และการยึดโยงเพื่อให้คนทำหน้าที่ตะหนักถึงความสำคัญของประชาชน
ไม่ใช่แต่งตั้งกันเอง แล้วจะให้ประชาชนยอมรับ
ไม่ใช่เพิ่มอำนาจให้ตัวเอง โดยไม่สนใจกับสายตาประชาชน
ไม่ใช่ชี้ถูกชี้ผิด โดยไม่แคร์กับความนึกคิดของประชาชน
นั่นเป็นเพราะประชาชนนั้น มันไม่ได้ให้คุณให้โทษนั่นเอง ดังนั้นถ้าไม่ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ยึดโยงกับประชาชนแล้วไซร้ ถึงจะให้ประชาชนเชื่อกระบวนการยุติธรรมแทรกแซงไม่ได้ แต่จะห้ามประชาชนคิด ลางทีความยุติธรรมก็อาจสั่งได้ก็เป็นได้นะครับ จริงไหม
ผมมีข้อเสนอการปฏิรูปประเทศตามแนวคิดของ ทวดเอง
โดยส่วนตัว ผมมองว่า ส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง จนทำให้ประเทศต้องติดกับดักความแตกแยกจนเดินหน้าต่อไม่ได้นั้น ต้องมีกระบวนการยุติธรรมรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้นนอกจากการปฏิรูปนักการเมือง การสร้างค่านิยม 12 ประการแล้วนั้น กระบวนการยุติธรรมก็ควรจะต้องปฏิรูปด้วยเช่นกันครับ
ผมมองว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า ก็คือ ความไม่ยุติธรรมครับ
ผมมองว่า การใช้วิจารณญาณ โดยไม่ได้อ้างอิงตามตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด นั่นคือ ความไม่มีมาตรฐานครับ
ผมมองว่า การวินิจฉัยคดีใดๆ โดยไม่ใส่ใจกับบรรทัดฐานที่เคยทำไว้ นั่นคือ การวินิจฉัยแบบสองมาตรฐานครับ
ผมจึงมองว่า เรื่องเหล่านี้ต่างหากครับที่ทำให้สังคมเกิดความคลางแคลงสงสัย
ผมจึงมองว่า เรื่องเหล่านี้ต่างหากครับที่ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก
และผมยังมองอีกว่า เรื่องเหล่านี้ครับที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยเสื่อมศรัทธาอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และถ้าเรายังปล่อยให้ความเสื่อมศรัทธาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผมเกรงว่า สักวันหนึ่งในวันข้างหน้า จะมีคนไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมอีกต่อไป นั่นหมายถึงกฎหมายจะใช้บังคับไม่ได้ ถึงตอนนั้น ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าบ้านเมืองมีกฎเกณฑ์ที่คนมากมายไม่เคารพ
จริงอยู่ เราอาจถูกปลูกฝังให้เชื่อฟังคำสั่งศาล
จริงอยู่ เราอาจถูกปลูกฝังให้เคารพคำวินิจฉัย
จริงอยู่ เราอาจถูกปลูกฝังให้ยอมรับทั้งคำสั่งทั้งคำวินิจฉัยของศาล
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเคารพกับการยอมรับ มันต้องขึ้นอยู่กับคนที่มาทำหน้าที่ ต้องทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ เป็นกลาง ไม่เอนเอียง และทั้งคำสั่งทั้งคำวินิจฉัยจะต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน โดยเหตุผลตามข้อเท็จจริงของกฎหมาย จนสังคมยอมรับอย่างสิ้นสงสัย
แต่ที่ผ่านมาก็เห็นกันด้วยถ้วนหน้า เพียงแต่บางฝ่ายได้ประโยชน์ก็เห็นด้วยและยอมรับ บางฝ่ายเมื่อเสียผลประโยชน์ก็ไม่เชื่อและไม่ยอมรับ นั่นเป็นเพราะหลายต่อหลายคำวินิจฉัย มีข้อคลางแคลงใจจริงๆถึงมาตรฐานแห่งคำวินิจฉัยว่า มันเป็นไปตามข้อกฎหมายหรือเป็นไปตามความเชื่อกันแน่ นี่ต่างหากครับที่ทำให้เกิดความแตกแยกไม่มีสิ้นสุด
ดังนั้น เมื่อเราต้องการปฏิรูปนักการเมืองมีจิตสำนึกทางการเมืองสูงกว่าคนธรรมดา
ดังนั้น เมื่อเราต้องการปฏิรูปข้าราชการต่างให้ทำหน้าที่อย่างซื่อตรง โดยไม่อิงแอบนักการเมือง
ดังนั้น เมื่อเราต้องการปฏิรูปรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ
แล้วทำไมเราจึงไม่คิดปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ยึดโยงกับประชาชนล่ะครับ
การยึดโยงเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้
การยึดโยงเพื่อให้ประชาชนมั่นใจในความโปร่งใส
และการยึดโยงเพื่อให้คนทำหน้าที่ตะหนักถึงความสำคัญของประชาชน
ไม่ใช่แต่งตั้งกันเอง แล้วจะให้ประชาชนยอมรับ
ไม่ใช่เพิ่มอำนาจให้ตัวเอง โดยไม่สนใจกับสายตาประชาชน
ไม่ใช่ชี้ถูกชี้ผิด โดยไม่แคร์กับความนึกคิดของประชาชน
นั่นเป็นเพราะประชาชนนั้น มันไม่ได้ให้คุณให้โทษนั่นเอง ดังนั้นถ้าไม่ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ยึดโยงกับประชาชนแล้วไซร้ ถึงจะให้ประชาชนเชื่อกระบวนการยุติธรรมแทรกแซงไม่ได้ แต่จะห้ามประชาชนคิด ลางทีความยุติธรรมก็อาจสั่งได้ก็เป็นได้นะครับ จริงไหม