เคยตั้งข้อสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่า
“ ทำไมผู้หญิงถึงต้องมีช่วงหมดประจำเดือน หรือเป็นวัยทอง ? ”
“ ทำไมผู้หญิงถึงมีลูกยากเมื่ออายุมากขึ้น ? ”
“ แล้วผู้ชายไม่มีวัยทองกันบ้างหรอ แก่ตัวไปไม่มีลูกยากอย่างผู้หญิงบ้างหรอ ? ”
เอาจริงๆก็เป็นเหมือนกันทั้งหญิงทั้งชายนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าการเสื่อมสภาพของผู้ชายอาจไม่ชัดเจนเท่าผู้หญิง และมักค่อยๆเป็นค่อยๆไป และใช้เวลานานมากกกกกกกว่าจะหมดสภาพไร้น้ำยาเข้าจริงๆ ซึ่งอายุก็ปาเข้าไป 60-70 นู้นแหละครับ ผิดกับผู้หญิงที่พออายุย่างเข้า 35 ก็เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว มิหนำซ้ำพออายุราวๆ 49-51 ปี ก็ต่างพากันทะยอยเมนส์หายกันไปเกือบหมดแล้ว นั่นก็เพราะไข่ของผู้ชาย (อัณฑะ) ไข่ของผู้หญิง (รังไข่) ต่างกันยังไงล่ะครับ
คิดภาพดูง่ายๆว่าขนาดผู้ชายอายุ 70-80 ยังปึ๋งปั๋ง เตะปี๊บล้มกระจายระเนระนาด แถมบางคนยังได้เมียเด็กอีก มิหนำซ้ำยังมีลูกคราวหลานได้อีก ก็เห็นกันถมเถไป นั่นเป็นเพราะอัณฑะของผู้ชายสามารถผลิตตัวอสุจิสดๆใหม่ๆออกมาได้อยู่เรื่อยๆ ใช้ไปแล้วก็สร้างขึ้นมาใหม่ทดแทนอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยลงบ้างตามอายุก็ตาม แต่ก็ยังดีกว่าผู้หญิงที่รังไข่ดูเหมือนจะนับเวลาถอยหลังรอวันหยุดทำงาน สิ้นอายุไขกันเลยก็ว่าได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ พอผู้หญิงอายุย่างเข้าสู่เลข 4 โอกาสท้องเองตามธรรมชาตินั้นน้อยมากทั้งที่ก็ไม่ได้คุมกำเนิดอะไรเลย ต่างจากเด็กสาววัยรุ่นๆ แค่ลืมกินยาคุมเม็ดสองเม็ดกลับท้องง่ายเสียเหลือเกิน แล้วพออายุใกล้ๆจะเข้าวัยเลข 5 ประจำเดือนก็เริ่มแปรปรวน มาบ้างไม่มาบ้าง มามากบ้างน้อยบ้าง จนในที่สุดประจำเดือนเจ้าก็หายไปเลย ซึ่งก็เป็นอันเข้าใจตรงกันว่า ถึงช่วงเวลาแก่อย่างเต็มตัวแล้วล่ะสิทีนี้ เฮ้อ…..
สาเหตุที่รังไข่ผู้หญินับเวลาถอยหลังรอวันสิ้นอายุไขนั้นก็เพราะว่า ต้นทุนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดนั้นมีอยู่จำกัด หมายความว่า ผู้หญิงเกิดมาพร้อมรังไข่ที่มีต้นทุนของจำนวนฟองไข่ติดตัวมาจำนวนจำกัด เฉลี่ยแล้วก็ราวๆ 2 ล้านใบตั้งแต่แรกเกิด และไม่มีการสร้างใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก มีแต่จะเสื่อมสลายหายไปทีละนิดๆ จนพอเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นฟองไข่ที่มีมาตั้งแต่เกิดเป็นล้านใบ กลับเหลืออยู่ไม่ถึง 3 แสนใบเท่านั้นเอง และหลังจากนั้นเมื่อเริ่มมีประจำเดือน ในแต่ละรอบของการเป็นประจำเดือนจะมีจำนวนฟองไข่ที่ลงสนามแข่งขันกันเพื่อให้มีฟองไข่แค่เพียงใบเดียวที่สมบูรณ์ที่สุดที่พร้อมจะตกออกมาเป็นตัวแทนในแต่ละรอบประจำเดือน จึงเป็นเหตุให้ต้องเสียฟองไข่ทิ้งไปในแต่ละเดือนนั้นมากเกือบพันใบ จึงไม่แปลกว่าทำไมต้นทุนจึงร่อยหลอลงไปเรื่อยๆจนหมด เอาเข้าจริงแล้ว ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยทองมีไข่ที่สามารถตกออกมาได้แค่เพียงไม่เกิน 300 ใบเท่านั้นเอง และยิ่งอายุมากขึ้นจำนวนฟองไข่ที่ลงสนามแข่งขันกันในแต่ละรอบประจำเดือนก็เหลือน้อยลงตามไปด้วย
อีกอย่างฟองไข่ที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิดนั้นก็มีอายุตามเจ้าของ ดังนั้นคุณภาพของฟองไข่ก็เสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นด้วย เมื่อไข่เสื่อมคุณภาพโอกาสที่จะผสมกับตัวอสุจิก็น้อย จึงทำให้โอกาสท้องน้อยลง หรือหากผสมได้ก็มีโอกาสเป็นตัวอ่อนที่ผิดปกติสูง ส่งผลให้แท้ง หรือพิการตามมาได้ ยกตัวอย่างกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งจะพบว่าโอกาสที่ลูกจะผิดปกตินั้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอายุของมารดาเป็นหลัก นั่นก็เพราะเหตุผลด้านความสมบูรณ์ของฟองไข่ที่ลดลงตามอายุของมารดาที่เพิ่มขึ้น พูดง่ายๆก็คือ แม่แก่ ไข่ก็แก่ ตามไปด้วย ดังนั้นมีลูกตอนเป็นสาวๆจึงมีโอกาสที่ลูกจะพิการหรือผิดปกติน้อยกว่าลูกตอนแก่ก็ด้วยเหตุผลนี้ยังไงล่ะครับ ต่างจากฝ่ายชายที่น้ำเชื้ออสุจิ มีการสร้างใหม่ อยู่เรื่อยๆ เรียกได้ว่า ใหม่ สด เสมอ จึงไม่ค่อยมีผลต่อความพิการหรือความสมบูรณ์ของลูกเท่าใดนัก
ส่วนเรื่องวัยทองนั้นเกิดจากการที่ผู้หญิงขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นสร้างมาจากฟองไข่ ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้นจำนวนฟองไข่เหลือน้อยลง ก็ส่งผลทำให้ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงเรื่อยๆตามอายุที่มากขึ้น และเมื่อไม่มีฟองไข่เหลือเพียงพอที่จะสร้างฮอร์โมนแล้ว ร่างกายก็จะเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนโดยสมบูรณ์ ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้หญิงไทยที่เข้าสู่วัยทองอยู่ที่ 49-51 ปี
สรุปได้ว่า
อายุมากขึ้น >> จำนวนฟองไข่เหลือน้อย >> มีลูกยากขึ้น
อายุมากขึ้น >> จำนวนฟองไข่เหลือน้อย >> โอกาสที่ไข่จะไม่ผสมกับตัวอสุจิสูง >> มีลูกยากขึ้น
อายุมากขึ้น >> คุณภาพของไข่ลดลง >>โอกาสแท้ง และ โอกาสที่ลูกในครรภ์ผิดปกติสูง
อายุมากขึ้น >> จำนวนฟองไข่เหลือน้อย >> สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง >> วัยทอง
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
รังไข่ผู้หญิงเกิดมารอวันหมดอายุ !!!
เคยตั้งข้อสงสัยกันบ้างมั้ยครับว่า
“ ทำไมผู้หญิงถึงต้องมีช่วงหมดประจำเดือน หรือเป็นวัยทอง ? ”
“ ทำไมผู้หญิงถึงมีลูกยากเมื่ออายุมากขึ้น ? ”
“ แล้วผู้ชายไม่มีวัยทองกันบ้างหรอ แก่ตัวไปไม่มีลูกยากอย่างผู้หญิงบ้างหรอ ? ”
เอาจริงๆก็เป็นเหมือนกันทั้งหญิงทั้งชายนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าการเสื่อมสภาพของผู้ชายอาจไม่ชัดเจนเท่าผู้หญิง และมักค่อยๆเป็นค่อยๆไป และใช้เวลานานมากกกกกกกว่าจะหมดสภาพไร้น้ำยาเข้าจริงๆ ซึ่งอายุก็ปาเข้าไป 60-70 นู้นแหละครับ ผิดกับผู้หญิงที่พออายุย่างเข้า 35 ก็เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว มิหนำซ้ำพออายุราวๆ 49-51 ปี ก็ต่างพากันทะยอยเมนส์หายกันไปเกือบหมดแล้ว นั่นก็เพราะไข่ของผู้ชาย (อัณฑะ) ไข่ของผู้หญิง (รังไข่) ต่างกันยังไงล่ะครับ
คิดภาพดูง่ายๆว่าขนาดผู้ชายอายุ 70-80 ยังปึ๋งปั๋ง เตะปี๊บล้มกระจายระเนระนาด แถมบางคนยังได้เมียเด็กอีก มิหนำซ้ำยังมีลูกคราวหลานได้อีก ก็เห็นกันถมเถไป นั่นเป็นเพราะอัณฑะของผู้ชายสามารถผลิตตัวอสุจิสดๆใหม่ๆออกมาได้อยู่เรื่อยๆ ใช้ไปแล้วก็สร้างขึ้นมาใหม่ทดแทนอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยลงบ้างตามอายุก็ตาม แต่ก็ยังดีกว่าผู้หญิงที่รังไข่ดูเหมือนจะนับเวลาถอยหลังรอวันหยุดทำงาน สิ้นอายุไขกันเลยก็ว่าได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ พอผู้หญิงอายุย่างเข้าสู่เลข 4 โอกาสท้องเองตามธรรมชาตินั้นน้อยมากทั้งที่ก็ไม่ได้คุมกำเนิดอะไรเลย ต่างจากเด็กสาววัยรุ่นๆ แค่ลืมกินยาคุมเม็ดสองเม็ดกลับท้องง่ายเสียเหลือเกิน แล้วพออายุใกล้ๆจะเข้าวัยเลข 5 ประจำเดือนก็เริ่มแปรปรวน มาบ้างไม่มาบ้าง มามากบ้างน้อยบ้าง จนในที่สุดประจำเดือนเจ้าก็หายไปเลย ซึ่งก็เป็นอันเข้าใจตรงกันว่า ถึงช่วงเวลาแก่อย่างเต็มตัวแล้วล่ะสิทีนี้ เฮ้อ…..
สาเหตุที่รังไข่ผู้หญินับเวลาถอยหลังรอวันสิ้นอายุไขนั้นก็เพราะว่า ต้นทุนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดนั้นมีอยู่จำกัด หมายความว่า ผู้หญิงเกิดมาพร้อมรังไข่ที่มีต้นทุนของจำนวนฟองไข่ติดตัวมาจำนวนจำกัด เฉลี่ยแล้วก็ราวๆ 2 ล้านใบตั้งแต่แรกเกิด และไม่มีการสร้างใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก มีแต่จะเสื่อมสลายหายไปทีละนิดๆ จนพอเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นฟองไข่ที่มีมาตั้งแต่เกิดเป็นล้านใบ กลับเหลืออยู่ไม่ถึง 3 แสนใบเท่านั้นเอง และหลังจากนั้นเมื่อเริ่มมีประจำเดือน ในแต่ละรอบของการเป็นประจำเดือนจะมีจำนวนฟองไข่ที่ลงสนามแข่งขันกันเพื่อให้มีฟองไข่แค่เพียงใบเดียวที่สมบูรณ์ที่สุดที่พร้อมจะตกออกมาเป็นตัวแทนในแต่ละรอบประจำเดือน จึงเป็นเหตุให้ต้องเสียฟองไข่ทิ้งไปในแต่ละเดือนนั้นมากเกือบพันใบ จึงไม่แปลกว่าทำไมต้นทุนจึงร่อยหลอลงไปเรื่อยๆจนหมด เอาเข้าจริงแล้ว ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยทองมีไข่ที่สามารถตกออกมาได้แค่เพียงไม่เกิน 300 ใบเท่านั้นเอง และยิ่งอายุมากขึ้นจำนวนฟองไข่ที่ลงสนามแข่งขันกันในแต่ละรอบประจำเดือนก็เหลือน้อยลงตามไปด้วย
อีกอย่างฟองไข่ที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิดนั้นก็มีอายุตามเจ้าของ ดังนั้นคุณภาพของฟองไข่ก็เสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นด้วย เมื่อไข่เสื่อมคุณภาพโอกาสที่จะผสมกับตัวอสุจิก็น้อย จึงทำให้โอกาสท้องน้อยลง หรือหากผสมได้ก็มีโอกาสเป็นตัวอ่อนที่ผิดปกติสูง ส่งผลให้แท้ง หรือพิการตามมาได้ ยกตัวอย่างกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งจะพบว่าโอกาสที่ลูกจะผิดปกตินั้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอายุของมารดาเป็นหลัก นั่นก็เพราะเหตุผลด้านความสมบูรณ์ของฟองไข่ที่ลดลงตามอายุของมารดาที่เพิ่มขึ้น พูดง่ายๆก็คือ แม่แก่ ไข่ก็แก่ ตามไปด้วย ดังนั้นมีลูกตอนเป็นสาวๆจึงมีโอกาสที่ลูกจะพิการหรือผิดปกติน้อยกว่าลูกตอนแก่ก็ด้วยเหตุผลนี้ยังไงล่ะครับ ต่างจากฝ่ายชายที่น้ำเชื้ออสุจิ มีการสร้างใหม่ อยู่เรื่อยๆ เรียกได้ว่า ใหม่ สด เสมอ จึงไม่ค่อยมีผลต่อความพิการหรือความสมบูรณ์ของลูกเท่าใดนัก
ส่วนเรื่องวัยทองนั้นเกิดจากการที่ผู้หญิงขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นสร้างมาจากฟองไข่ ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้นจำนวนฟองไข่เหลือน้อยลง ก็ส่งผลทำให้ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงเรื่อยๆตามอายุที่มากขึ้น และเมื่อไม่มีฟองไข่เหลือเพียงพอที่จะสร้างฮอร์โมนแล้ว ร่างกายก็จะเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนโดยสมบูรณ์ ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้หญิงไทยที่เข้าสู่วัยทองอยู่ที่ 49-51 ปี
สรุปได้ว่า
อายุมากขึ้น >> จำนวนฟองไข่เหลือน้อย >> มีลูกยากขึ้น
อายุมากขึ้น >> จำนวนฟองไข่เหลือน้อย >> โอกาสที่ไข่จะไม่ผสมกับตัวอสุจิสูง >> มีลูกยากขึ้น
อายุมากขึ้น >> คุณภาพของไข่ลดลง >>โอกาสแท้ง และ โอกาสที่ลูกในครรภ์ผิดปกติสูง
อายุมากขึ้น >> จำนวนฟองไข่เหลือน้อย >> สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง >> วัยทอง
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
http://drchawtoo.com/