ลิงตัวที่ 100

มีทฤษฎีแปลกประหลาดอยู่ทฤษฎีหนึ่งเรียกว่า ปรากฏการณ์ลิงตัวที่ร้อย (The Hundred Monkey Effect) ซึ่งพยายามอธิบายพฤติกรรมหรือแนวคิดที่ว่า ไม่ว่าจะเป็น “พฤติกรรม” หรือ “แนวคิด” ต่างก็พร้อมจะเผยแพร่อย่างปุบปับ ไปยังกลุ่มที่เกี่ยวข้องกันมากหรือน้อยก็ตามที ขอแต่มีจำนวนในกลุ่มตั้งต้นเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนถึง จำนวนวิกฤต (critical number)

          ในป่าบนเกาะเล็กๆ ในญี่ปุ่นมีลิงพันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่ง เมื่อปี 2495 นักวิทยาศาสตร์เข้าไปสำรวจ และหยิบยื่นมะเขือเทศหวานให้แก่ลิงเหล่านี้ แต่มะเขือเทศตกลงทราย ลิงชอบมะเขือเทศ แต่ทรายรสชาติแย่มาก ลิงเด็กตัวหนึ่งค้นพบวิธีแก้ปัญหา คือนำมะเขือเทศที่เปื้อนทราย ไปล้างยังลำธารใกล้ๆ ก็ได้กินมะเขือเทศหวานฉ่ำ ลูกลิงตัวนี้จึงสอนแม่ของเธอ บรรดาเพื่อนเล่นก็ได้เรียนวิธีการนี้ด้วย แล้วก็ไปสอนบรรดาแม่ของตัวอีกต่อหนึ่ง ปรากฏการณ์นี้ เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตานักวิทยาศาสตร์ผู้เฝ้าสังเกตอยู่
          
          ผ่านไปหลายปี ลูกลิงต่างเรียนรู้วิธีกินมะเขือเทศที่อร่อยถูกปากกันหมด แต่ ลิงแก่ ที่ไม่ยอมเลียนแบบ ก็ยังคงกินมะเขือเทศปนทรายต่อไป หกปีต่อมา มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ พอมีลิงตัวที่ 100 เรียนรู่ว่าการล้างมะเขือเทศทำให้มะเขือเทศอร่อยกว่า ลิงทุกตัวในฝูงต่างล้างมะเขือเทศก่อนกินทั้งหมด แม้แต่ตัวที่เคยเห็นวิธีการแต่ไม่เคยล้าง ก็กลับมาล้างด้วย



           การที่ลิงตัวที่ 100 เรียนรู้การล้างมะเขือเทศ นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมลิง ไม่เฉพาะแค่ล้างมะเขือเทศเป็นนิสัยเท่านั้น แต่ความรู้อันนี้ ยังกระจายข้ามเกาะไปด้วย โดยลิงในเกาะอื่นๆ ก็เริ่มล้างมะเขือเทศด้วย

           ในเชิงสังคมวิทยา เขาอธิบายว่าเมื่อสมาชิกในสังคมเกิดความตระหนักรู้ใหม่ขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง (ระดับมวลวิกฤต) ความรู้นี้จะแพร่กระจายอย่างไฟลามทุ่ง แต่ถ้าความรู้ใหม่นี้ ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ มันก็จะเป็นความรู้พิเศษของผู้สูงส่งอยู่ต่อไป หากความรู้นี้แพร่กระจายออกสู่คนจำนวนมาก ก็จะกลายเป็นความตระหนักรู้สาธารณะ



           ระหว่างเหลืองกับแดงมาดูกันว่าพฤติกรรมใครจะเปลี่ยนแปลง ผมจะรอดู

ที่มา...จำไม่ได้ (ลืม)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่