นักวิจัยพบยีนคนโสด สาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้คนไร้คู่



บทความนี้ อาจมีเนื้อหาที่เราทุกคนยังสรุปไม่ได้แน่ชัด
เพราะฉะนั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพกันด้วยนะครับ

เว็บไซต์เดลี่เมล เผยผลการค้นพบยีนคนโสด
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน
โดยยีนดังกล่าวคือ 5-HTA1 ซึ่งบรรจุรูปแบบของยีน
ที่กำหนดการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมอยู่ 2 ชนิดคือ
Allele G และ Allele C โดยคนที่มี Allele G มีโอกาสเป็นคนไร้คู่สูงกว่าคนทั่วไปถึง 20%

จากการวิจัยกับนักศึกษาจำนวน 600 ราย พบว่า 60% ของนักศึกษาที่มี Allele G เป็นคนที่ยังโสดอยู่
ส่วนนักศึกษาที่มี Allele C เป็นคนโสดแค่ 50% และสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ
การเป็นโสดของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัจจัยเรื่องหน้าตาหรือฐานะเลย

นักวิจัยเผยว่า ยีน 5-HTA1 มีบทบาทในการทำงานของสารสื่อประสาทชื่อ
"Serotonin" ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ รวมทั้งความโกรธความหงุดหงิด
แต่ Allele G ในยีนตัวดังกล่าวทำให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินน้อยลง
ส่งผลให้เจ้าตัวรู้สึกหงุดหงิดง่ายในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
รวมถึงในเรื่องความรัก หรือหากมีคนรักอยู่แล้วก็จะอารมณ์แปรปรวนง่าย
เสี่ยงเกิดปัญหาในความสัมพันธ์ ทำให้มีโอกาสเป็นคนโสดสูง

แม้ Allele G ในยีนตัวดังกล่าว จะมีอิทธิพลต่อสภาวะอารมณ์ของมนุษย์
แต่นักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติอีกหลายรายเชื่อว่า
มันมีผลต่อเรื่องความเป็นโสดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โดยผู้ให้คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์อย่าง ดร.พาม สเปอร์
กล่าวว่า อย่าให้ยีนหรือพันธุกรรมมาเป็นตัวกำหนดชีวิตเรา
เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้และมีทางเลือกเสมอ

ในขณะที่ศาสตราจารย์ทิม สเปคเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องยีนจากประเทศอังกฤษ
ระบุว่า ยีนไม่ใช่ตัวตัดสินทั้งหมด โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
คู่ฝาแฝดที่แม้จะมียีนเหมือนกัน แต่สุดท้ายกลับมีชีวิตคู่แตกต่างกัน

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่