นักวิจัยในยุโรปและสหรัฐฯ ศึกษาข้อมูลดีเอ็นเอของคนครึ่งล้าน ได้ข้อสรุปไม่มียีนที่บ่งชี้การเป็นเกย์ ผลลัพธ์ไม่ต่างจากการศึกษาถึงรูปร่างและความฉลาด ที่เกิดจากความซับซ้อนของจีโนมที่ทำงานร่วมกัน แต่ระบุได้ยากว่าปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมคืออะไร
งานวิเคราะห์จีโนมเพื่อหายีนบ่งชี้การเป็นเกย์ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขนาดใหญ่ของนักวิจัยจากยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งนำข้อมูลดีเอ็นเอ (DNA) ของคนกว่าครึ่งล้านมากวิเคราะห์และดีพิมพ์ลงวารสารไซน์ (Science) วารสารวิทยาศาสตร์ทรงอิทธิพล
ทีมผู้เขียนรายงานผลการวิจัยดังกล่าวตั้งความหวังที่จะฝังแนวคิดความเชื่อ ซึ่งเคยโด่งดังมาในยุค 90 ถึงการมีอยู่ของ “ยีนเกย์” (gay gene) ที่มีอำนาจในการกำหนดเพศสภาพในแบบเดียวกับยีนกำหนดสีตา
เบน นีเล (Ben Neale) คณะกรรมการสถานศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์และฮาวาร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีส่วนร่วมในงานวิจัยดังกล่าว ระบุว่า ทีมวิจัยได้พบว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์พฤติกรรมทางเพศของบุคคลใดบุคคลหนึ่งจากจีโนมของเขาเหล่านั้น
นักวิจัยระบุว่า แนวโน้มของลักษณะทางเพศสภาพนั้นมียีนเป็นองค์ประกอบ โดยมีการศึกษาในระดับที่เล็กกว่านี้ยืนยันในการคู่แฝด แต่ก็เกลี่ยกับองค์ประกอบยีนอื่นๆ อีกมากมาย
นีเลกล่าวว่า ไม่มียีนเกย์เดี่ยวๆ แต่ลักษณะของเพศสภาพนั้นเป็นผลจากอิทธิพลของยีนเล็กๆ จำนวนมากที่มีอยู่ทั่วจีโนม รวมถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น บุคคลนั้นได้รับการเลี้ยงดูในวัยเด็กอย่างไร และพวกเขาอาศัยอยู่ที่ใดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
ตัวอย่างเช่นความสูงไม่อาจโต้แย้งได้ว่าองค์ประกอบของยีนนั้นมีส่วนสำคัญ และเชื่อมโยงกับความสูงของพ่อแม่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น โภชนาการในช่วงวัยเด็กที่มีบทบาทสำคัญต่อความสูงอย่างยิ่ง กรณีเดียวกันนี้ยังเป็นจริงสำหรับโอกาสที่เราจะเป็นโรคหัวใจวาย ซึ่งมียีนชี้ชัดที่นำไปสู่โรคเส้นเลือดหัวใจ แต่วิถีชีวิตและอาหารการกินก็มีส่วนสำคัญอย่างที่สุด
การวิเคราะห์ทางสถิติล่าสุดเผย 5 จุดในโครโมโซมของเราที่เรียกว่า “โลคิ” (loci) ซึ่งปรากฏว่ามีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับลักษณะทางเพศ ทว่าแต่ละจุดนั้นจะมีอิทธิพลต่อลักษณะทางเพศน้อยมากๆ
อีกทั้งยังพบด้วยว่าหนึ่งใน 5 เครื่องหมายทางพันธุกรรม หรือมาร์คเกอร์ (marker) นี้ยังสัมพันธ์กับการอาการผมร่วง ซึ่งบ่งชี้ว่าเชื่อมโยงกับการควบคุมของฮอร์โมนเพศ และยังเชื่ออีกว่ามาร์คเกอร์ทั้งห้านี้ เป็นเพียงการเริ่มต้น ซึ่งยังมีอีกเป็นพันที่รอการค้นพบในอนาคต
ฟาห์ สาธิระพงสสุทธิ (Fah Sathirapongsasuti) นักวิทยาศาสตร์จาก บริษัท 23แอนด์มี (23andMe) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ด้วยประวัติของลูกค้าที่อาสามีส่วนร่วมในการวิจัย ระบุว่า พันธุกรรมนั้นมีบทบาทอย่างแน่นอน แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามมีความเป็นไปได้ว่ามีส่วนน้อยนิด และมีปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่อาจอธิบายได้ ซึ่งไม่มีใครที่จะสามารถชี้ชัดได้
สำหรับข้อมูลพันธุกรรมปริมาณมหาศาลนั้นส่วนใหญ่มาจากบริษัท ยูเค ไบโอแบงก์ (UK Biobank) ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนขาว และแต่ละคนจะต้องตอบคำถามว่า เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนเพศเดียวกันหรือไม่
ทั้งนี้ ทีมวิจัยตระหนักดีถึงความอ่อนไหวต่อหัวข้อการวิจัย ซึ่งมีผู้ร่วมวิจัย 2 คน ที่ระบุว่าตัวเองนั้นเป็นเกย์ และเพื่อเลี่ยงการตีความหมายผิด ทีมวิจัยยังได้ปรึกษากับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในวิธีดีที่สุดที่จะสื่อสารการค้นพบของพวกเขา ซึ่งได้เขียนสรุปไว้ในเว็บไซต์
geneticsexbehavior.info.
กลุ่ม GLAAD กลุ่มผู้สนับสนุนความหลากหลายทางเพศยกย่องงานวิจัยนี้ว่า เป็นงานที่เพิ่มเติมหลักฐานสนับสนุนว่า การเป็นเกย์หรือเลสเบียนนั้น เป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติของชีวิตมนุษย์
ย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ.1993 มีการศึกษาพันธุกรรมของ 40 ครอบครัว ที่ระบุว่ายีน Xq28 เป็นตัวกำหนดบทบาททางเพศ แต่งานวิจัยล่าสุดปฏิเสธเรื่องนี้
เนื้อข่าว:
https://mgronline.com/science/detail/9620000084644
ลิงค์ข่าวเพิ่มเติม:
https://www.economist.com/science-and-technology/2019/08/31/a-scientific-study-has-established-that-there-is-no-gay-gene
https://www.nature.com/articles/d41586-019-02585-6
https://www.theguardian.com/science/2019/aug/29/scientists-quash-idea-of-single-gay-gene
วิเคราะห์จีโนมครั้งใหญ่ไม่พบยีนบ่งชี้การเป็น “เกย์”
งานวิเคราะห์จีโนมเพื่อหายีนบ่งชี้การเป็นเกย์ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขนาดใหญ่ของนักวิจัยจากยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งนำข้อมูลดีเอ็นเอ (DNA) ของคนกว่าครึ่งล้านมากวิเคราะห์และดีพิมพ์ลงวารสารไซน์ (Science) วารสารวิทยาศาสตร์ทรงอิทธิพล
ทีมผู้เขียนรายงานผลการวิจัยดังกล่าวตั้งความหวังที่จะฝังแนวคิดความเชื่อ ซึ่งเคยโด่งดังมาในยุค 90 ถึงการมีอยู่ของ “ยีนเกย์” (gay gene) ที่มีอำนาจในการกำหนดเพศสภาพในแบบเดียวกับยีนกำหนดสีตา
เบน นีเล (Ben Neale) คณะกรรมการสถานศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์และฮาวาร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีส่วนร่วมในงานวิจัยดังกล่าว ระบุว่า ทีมวิจัยได้พบว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์พฤติกรรมทางเพศของบุคคลใดบุคคลหนึ่งจากจีโนมของเขาเหล่านั้น
นักวิจัยระบุว่า แนวโน้มของลักษณะทางเพศสภาพนั้นมียีนเป็นองค์ประกอบ โดยมีการศึกษาในระดับที่เล็กกว่านี้ยืนยันในการคู่แฝด แต่ก็เกลี่ยกับองค์ประกอบยีนอื่นๆ อีกมากมาย
นีเลกล่าวว่า ไม่มียีนเกย์เดี่ยวๆ แต่ลักษณะของเพศสภาพนั้นเป็นผลจากอิทธิพลของยีนเล็กๆ จำนวนมากที่มีอยู่ทั่วจีโนม รวมถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น บุคคลนั้นได้รับการเลี้ยงดูในวัยเด็กอย่างไร และพวกเขาอาศัยอยู่ที่ใดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
ตัวอย่างเช่นความสูงไม่อาจโต้แย้งได้ว่าองค์ประกอบของยีนนั้นมีส่วนสำคัญ และเชื่อมโยงกับความสูงของพ่อแม่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น โภชนาการในช่วงวัยเด็กที่มีบทบาทสำคัญต่อความสูงอย่างยิ่ง กรณีเดียวกันนี้ยังเป็นจริงสำหรับโอกาสที่เราจะเป็นโรคหัวใจวาย ซึ่งมียีนชี้ชัดที่นำไปสู่โรคเส้นเลือดหัวใจ แต่วิถีชีวิตและอาหารการกินก็มีส่วนสำคัญอย่างที่สุด
การวิเคราะห์ทางสถิติล่าสุดเผย 5 จุดในโครโมโซมของเราที่เรียกว่า “โลคิ” (loci) ซึ่งปรากฏว่ามีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับลักษณะทางเพศ ทว่าแต่ละจุดนั้นจะมีอิทธิพลต่อลักษณะทางเพศน้อยมากๆ
อีกทั้งยังพบด้วยว่าหนึ่งใน 5 เครื่องหมายทางพันธุกรรม หรือมาร์คเกอร์ (marker) นี้ยังสัมพันธ์กับการอาการผมร่วง ซึ่งบ่งชี้ว่าเชื่อมโยงกับการควบคุมของฮอร์โมนเพศ และยังเชื่ออีกว่ามาร์คเกอร์ทั้งห้านี้ เป็นเพียงการเริ่มต้น ซึ่งยังมีอีกเป็นพันที่รอการค้นพบในอนาคต
ฟาห์ สาธิระพงสสุทธิ (Fah Sathirapongsasuti) นักวิทยาศาสตร์จาก บริษัท 23แอนด์มี (23andMe) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ด้วยประวัติของลูกค้าที่อาสามีส่วนร่วมในการวิจัย ระบุว่า พันธุกรรมนั้นมีบทบาทอย่างแน่นอน แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามมีความเป็นไปได้ว่ามีส่วนน้อยนิด และมีปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่อาจอธิบายได้ ซึ่งไม่มีใครที่จะสามารถชี้ชัดได้
สำหรับข้อมูลพันธุกรรมปริมาณมหาศาลนั้นส่วนใหญ่มาจากบริษัท ยูเค ไบโอแบงก์ (UK Biobank) ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนขาว และแต่ละคนจะต้องตอบคำถามว่า เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนเพศเดียวกันหรือไม่
ทั้งนี้ ทีมวิจัยตระหนักดีถึงความอ่อนไหวต่อหัวข้อการวิจัย ซึ่งมีผู้ร่วมวิจัย 2 คน ที่ระบุว่าตัวเองนั้นเป็นเกย์ และเพื่อเลี่ยงการตีความหมายผิด ทีมวิจัยยังได้ปรึกษากับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในวิธีดีที่สุดที่จะสื่อสารการค้นพบของพวกเขา ซึ่งได้เขียนสรุปไว้ในเว็บไซต์ geneticsexbehavior.info.
กลุ่ม GLAAD กลุ่มผู้สนับสนุนความหลากหลายทางเพศยกย่องงานวิจัยนี้ว่า เป็นงานที่เพิ่มเติมหลักฐานสนับสนุนว่า การเป็นเกย์หรือเลสเบียนนั้น เป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติของชีวิตมนุษย์
ย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ.1993 มีการศึกษาพันธุกรรมของ 40 ครอบครัว ที่ระบุว่ายีน Xq28 เป็นตัวกำหนดบทบาททางเพศ แต่งานวิจัยล่าสุดปฏิเสธเรื่องนี้
เนื้อข่าว: https://mgronline.com/science/detail/9620000084644
ลิงค์ข่าวเพิ่มเติม: https://www.economist.com/science-and-technology/2019/08/31/a-scientific-study-has-established-that-there-is-no-gay-gene
https://www.nature.com/articles/d41586-019-02585-6
https://www.theguardian.com/science/2019/aug/29/scientists-quash-idea-of-single-gay-gene