ชงข้อเสนอชูโครงสร้างการเมืองใหม่
สมัยเป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองฯ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
เคลียร์ใจ 2 ขั้วขัดแย้ง ถึงจะเดินไปไม่ถึงฝั่ง แต่ได้เพาะบ่มแนวเชื่อมประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่น
มาคราวนี้คว้าเก้าอี้รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การปฏิรูปการเมือง จะนำแนวทาง
ดังกล่าวผลักดันให้ถึงฝั่งฝันตามที่ นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดนนทบุรี
(สปช.) มุ่งมั่นไว้ ขอให้ตามติดได้ตั้งแต่บรรทัดนี้
โดยให้สัมภาษณ์ ทีมการเมือง เริ่มจากฉายภาพให้เห็นว่าประเทศไทยปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย มีอำนาจแฝงอยู่จุดไหนบ้างในรัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศไทยเกิดปัญหา
เกิดการปฏิวัติเป็นระยะ
โดยเฉพาะข้อบกพร้องของรัฐธรรมนูญ (รธน.) ปี 50 มีหลากหลายประเด็นจะต้องไม่ให้ปรากฏ
ใน รธน.ฉบับใหม่ ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะมีปัญหาขัดแย้งไม่รู้จักจบสิ้นกันเสียที
จะเห็นได้ว่าการเมืองที่ล้มเหลว เกิดจากการแย่งอำนาจ อำนาจ 3 ฝ่ายไม่ถ่วงดุลกันแถมก้าวก่าย
กันอีก และอำนาจอธิปไตยไม่เป็นของปวงชนชาวไทยจริง แม้เขียนไว้ชัดเจนใน รธน. มาตรา 3 ของ
ทุกฉบับ รวมถึง รธน.ฉบับปัจจุบันด้วย
ประเทศที่ล้มเหลวจึงเกิดจากการเมืองไม่ดี เราจะต้องวางระบบการเมืองใหม่ เพราะการเมืองเป็น
หัวใจของประเทศ เมื่อหัวใจดีก็สูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดี เฉกเช่นการเมืองดี ทุกอย่าง
ในประเทศจะดีหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
ถึงตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะเข้าไปเป็น สปช.ด้านการเมือง โดยมีเป้าหมายเข้าไปเสนอวางระบบการเมือง
เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ เมื่อระบบการเมืองดี รธน.ที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจะออกมา
สมบูรณ์แบบ
ฉะนั้น คณะ กมธ.การปฏิรูปการเมืองจะผลักดันโครงสร้างทางการเมือง พรรคการเมือง กระบวน
การเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยเตรียมตั้งคณะอนุ กมธ. 4 ชุดเพื่อศึกษาในหัวข้อเหล่านี้ให้เสร็จภายในวันที่ 16 ธ.ค.57
และวันที่ 19 ธ.ค.57 จะเสนอต่อคณะ กมธ.ยกร่าง รธน.
ตามกรอบการยกร่าง รธน.ต้องยึดหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการปกครองที่สอดคล้องวัฒนธรรม ประเพณีของคนไทย
ภายใต้หลักการทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยให้อำนาจนั้นเป็นของประชาชนจริง
โดยเฉพาะ ส.ส.และ ส.ว. ขอให้มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
แต่ขณะนี้กลับมีบางฝ่ายเสนอหนักกว่า รธน.ปี 50 อีก เสนอให้ ส.ส.บางส่วนมาจากการแต่งตั้ง
แล้วคณะกรรมการสรรหา ส.ส.จะมาจากไหน มันไม่ถูกหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ถ้ายังเดินหน้าผลักดันให้มีการสรรหา ส.ส. หรือสรรหา ส.ว. จะทักท้วงทันทีไม่เช่นนั้นก็เข้าข่าย
หลอกประชาชน ปล่อยให้ รธน.ฉบับใหม่ออกไปแบบนี้ จะสร้างความแตกแยกในสังคมอีก
เดินเข้าสู่วัฏจักรการเมืองแบบเดิม นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งก็ตั้งป้อมเข้ามาแก้รธน. เชื่อว่าไม่เกิน
10 ปีรับรองทหารปฏิวัติอีก
ส่วนที่บางฝ่ายมีความพยายามผลักดันให้มีนายกรัฐมนตรีจากคนนอก โดยไม่ต้องเป็นส.ส. เรื่องนี้
มีการพูดกันมาตลอด ผมไม่เห็นด้วย มาถึงวันนี้นายกฯมาจากคนนอกถูกตัดถูกสกัดแล้ว
เพราะมีคนไม่เห็นด้วยเยอะ กลัวว่าจะได้อำนาจเผด็จการกลับมา กลัวกลับไปสู่ระบบเดิม สร้างความ
ขัดแย้ง กลัวว่าคนที่เป็นตัวแทนประชาชนไม่ได้เป็น อำนาจจะไม่ได้เป็นของประชาชน และกลัวมี
อำนาจอื่นแฝงเข้ามา
ขณะนี้ที่พูดกันอยู่เหลือเพียงจะให้ประชาชนเลือกนายกฯโดยตรง หรือพรรคการเมืองเสนอชื่อ ส.ส.
ที่สังกัดพรรคการเมือง ให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือก ซึ่งที่มาของนายกฯทั้ง 2 ช่องทาง
ไม่ขัดกับหลักประชาธิปไตย แบบนี้ยอมรับได้
ขอเตือนคณะ กมธ.ร่าง รธน. อย่าแบ่งพรรคแบ่งพวก อย่าเอาคน พรรคการเมืองเป็นตัวตั้ง เหมือน
รธน.ปี 50 ซึ่งเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นตัวตั้ง ออก รธน.เพื่อคุมเขา มันผิดหลัก
ของการออก รธน.
ขอให้ยึกหลักการยกร่างรัฐธรรมนูญตามหลักสากล เน้นจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง คุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างเสถียรภาพแก่รัฐบาล ส่งเสริม
พรรคการเมืองให้เข้มแข็ง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ต้องกำหนด การใช้อำนาจให้ชัดเจน องค์กรอิสระถ้าคงไว้
ขอระบุให้ชัดเจนว่า มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง อย่าเขียนกำกวมต้องให้ตีความ
เช่น ป.ป.ช.ขอย้ำว่า องค์กรนี้ควรให้มีอยู่ต่อไป จะยกเลิกไม่ได้ตามที่หลายคนต้องการ ถ้าไม่มี ป.ป.ช.
คอยเป็นเสือคุมการทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหานี้ก็จะยิ่งไปกันใหญ่
กกต.ควรมีอำนาจหน้าที่แค่กำกับการเลือกตั้ง แจกได้แค่ใบเหลือง อำนาจแจกใบแดงควรกำหนดให้เป็น
อำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีการเลือกตั้ง ไม่เช่นนั้น กกต.จะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่มีตัวดุลอำนาจ
ศาลรัฐธรรมนูญ เอาให้ชัดว่ามีหน้าที่ช่วยกลั่นกรองว่ากฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ควรชี้ขาด
ก่อนเกิดเรื่อง การสั่งยุบพรรคการเมืองควรกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม
ตามโทนเริ่มโยนหินถามทางจะผุดสภาอภิรัฐมนตรี อำนาจอธิปไตยที่ 4 นายดิเรก บอกว่า ไม่เห็นด้วย
เพราะอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ใช้ปฏิบัติกันมาอย่างดีอยู่แล้ว จะผุดอำนาจ
ที่ 4 มีอำนาจล้นเหลือเหนืออำนาจ 3 ฝ่ายที่มาจากประชาชนได้อย่างไร
แม้ในอดีตเคยมี แต่ไม่ใช่รูปแบบการบริหารราชการแบบนี้ ขณะนี้หมดยุคแล้วที่จะมีสภาอภิรัฐมนตรี
อย่าย้อนกลับไปอีก หากมีขึ้นมาก็ถอยหลังเข้าคลอง ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมตามมาอีก
ถ้ายังขืนกำหนดไว้ในร่าง รธน.จะคัดค้านให้ถึงที่สุด โดยแปรญัตติเสนอให้ตัดออก หากแพ้ในสภา สปช.
ก็ไม่เป็นอะไร ถือว่าได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว พร้อมจะอธิบายให้ประชาชนได้เห็นว่าทำไมไม่เห็นด้วย
ข้อเสนอทั้งหมดหาก กมธ.ยกร่าง รธน.เดินตาม รธน.ฉบับใหม่ออกมาจะมีโฉมหน้าที่สวย ทุกคนจะยอมรับ
ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมตามมา
แต่ต่อให้ รธน.สวยอย่างไร ขอให้ยึดหลักการฟังเสียงของประชาชน หากมีเวลาเหลืออยู่ควรทำ
ประชาพิจารณ์หรือทำประชามติ
ขณะที่รัฐบาลอยากให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุดภายในปลายปี 58 อาจจะไม่มีเวลาทำประชามติ ก็ขอให้ทำ
ประชาพิจารณ์แทน เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน ได้ร่วมคิดร่วมวิจารณ์ มันจะได้รัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่ที่ทุกฝ่ายยอมรับจริงๆ
นอกจากวางระบบด้านการเมืองให้ลงตัวแล้ว ยังมีด้านสังคมแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ
และด้านการศึกษา เช่น ด้านการศึกษา ควรกำหนดหลักสูตรปูพื้นฐานการเมือง การปกครองให้ ได้เรียน
ตั้งแต่เด็ก จะได้ซึมซับวัฒนธรรมและจริยธรรมทางการเมือง
และในระดับมหาวิทยาลัยต้องมีหลักสูตรการเมือง การปกครองให้เรียนทุกคณะ เพื่อให้ การเมืองเป็นยาดำ
อยู่ในสายเลือด เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ จะมีความละอาย การซื้อสิทธิ์ขายเสียงจะหมดไป
การเริ่มต้นปูพื้นฐานประชาธิปไตยให้เด็กในวันนี้ จะผลิดอกออกผลในอีก 20 ปีข้างหน้า หากไม่เริ่มต้น
ทำในช่วงนี้ อีก 20-30 ปี จะเกิดการปฏิวัติอีกได้
จะเดินไปถึงฝั่งอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการในระดับไหน เมื่อเห็นบรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สภา สปช. กมธ.ยกร่าง รธน. นายดิเรก บอกว่า เดิม กมธ.ยกร่าง รธน.มีหลักแข็งขันจะไม่ทำประชามติ
แต่ตอนนี้เริ่มฟัง อย่างน้อยจะรับฟังความเห็นจากการทำประชาพิจารณ์ เชื่อว่าถ้าไม่มีอคติในการยกร่าง
รธน. จะทำให้โฉมหน้ารธน.ฉบับใหม่ออกมาสวยงาม ไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป
ทีมการเมือง ถามว่า เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเนื้อหาเป็นไปตามหลักที่เสนอไป จะแก้ไขปัญหาความ
ขัดแย้งในสังคมได้อย่างไร นายดิเรก บอกว่า ถ้า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญยึดหลักสายกลาง
ไม่อคติ เอาประเทศเป็นตัวตั้ง ถอยหลังคนละก้าว เดินหน้าไปด้วยกัน บ้านเมืองจะไปได้ รัฐธรรมนูญ
ออกมาดี เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
จะสลายสีเสื้อได้โดยปริยาย.
ทีมข่าวการเมือง
http://www.thairath.co.th/content/463672
ปฏิรูปคู่ขนานปรองดอง .... วิเคราะห์การเมือง ... ไทยรัฐออนไลน์ ....sao..เหลือ..noi
ชงข้อเสนอชูโครงสร้างการเมืองใหม่
สมัยเป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองฯ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
เคลียร์ใจ 2 ขั้วขัดแย้ง ถึงจะเดินไปไม่ถึงฝั่ง แต่ได้เพาะบ่มแนวเชื่อมประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่น
มาคราวนี้คว้าเก้าอี้รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การปฏิรูปการเมือง จะนำแนวทาง
ดังกล่าวผลักดันให้ถึงฝั่งฝันตามที่ นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดนนทบุรี
(สปช.) มุ่งมั่นไว้ ขอให้ตามติดได้ตั้งแต่บรรทัดนี้
โดยให้สัมภาษณ์ ทีมการเมือง เริ่มจากฉายภาพให้เห็นว่าประเทศไทยปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย มีอำนาจแฝงอยู่จุดไหนบ้างในรัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศไทยเกิดปัญหา
เกิดการปฏิวัติเป็นระยะ
โดยเฉพาะข้อบกพร้องของรัฐธรรมนูญ (รธน.) ปี 50 มีหลากหลายประเด็นจะต้องไม่ให้ปรากฏ
ใน รธน.ฉบับใหม่ ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะมีปัญหาขัดแย้งไม่รู้จักจบสิ้นกันเสียที
จะเห็นได้ว่าการเมืองที่ล้มเหลว เกิดจากการแย่งอำนาจ อำนาจ 3 ฝ่ายไม่ถ่วงดุลกันแถมก้าวก่าย
กันอีก และอำนาจอธิปไตยไม่เป็นของปวงชนชาวไทยจริง แม้เขียนไว้ชัดเจนใน รธน. มาตรา 3 ของ
ทุกฉบับ รวมถึง รธน.ฉบับปัจจุบันด้วย
ประเทศที่ล้มเหลวจึงเกิดจากการเมืองไม่ดี เราจะต้องวางระบบการเมืองใหม่ เพราะการเมืองเป็น
หัวใจของประเทศ เมื่อหัวใจดีก็สูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดี เฉกเช่นการเมืองดี ทุกอย่าง
ในประเทศจะดีหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
ถึงตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะเข้าไปเป็น สปช.ด้านการเมือง โดยมีเป้าหมายเข้าไปเสนอวางระบบการเมือง
เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ เมื่อระบบการเมืองดี รธน.ที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจะออกมา
สมบูรณ์แบบ
ฉะนั้น คณะ กมธ.การปฏิรูปการเมืองจะผลักดันโครงสร้างทางการเมือง พรรคการเมือง กระบวน
การเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยเตรียมตั้งคณะอนุ กมธ. 4 ชุดเพื่อศึกษาในหัวข้อเหล่านี้ให้เสร็จภายในวันที่ 16 ธ.ค.57
และวันที่ 19 ธ.ค.57 จะเสนอต่อคณะ กมธ.ยกร่าง รธน.
ตามกรอบการยกร่าง รธน.ต้องยึดหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการปกครองที่สอดคล้องวัฒนธรรม ประเพณีของคนไทย
ภายใต้หลักการทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยให้อำนาจนั้นเป็นของประชาชนจริง
โดยเฉพาะ ส.ส.และ ส.ว. ขอให้มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
แต่ขณะนี้กลับมีบางฝ่ายเสนอหนักกว่า รธน.ปี 50 อีก เสนอให้ ส.ส.บางส่วนมาจากการแต่งตั้ง
แล้วคณะกรรมการสรรหา ส.ส.จะมาจากไหน มันไม่ถูกหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ถ้ายังเดินหน้าผลักดันให้มีการสรรหา ส.ส. หรือสรรหา ส.ว. จะทักท้วงทันทีไม่เช่นนั้นก็เข้าข่าย
หลอกประชาชน ปล่อยให้ รธน.ฉบับใหม่ออกไปแบบนี้ จะสร้างความแตกแยกในสังคมอีก
เดินเข้าสู่วัฏจักรการเมืองแบบเดิม นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งก็ตั้งป้อมเข้ามาแก้รธน. เชื่อว่าไม่เกิน
10 ปีรับรองทหารปฏิวัติอีก
ส่วนที่บางฝ่ายมีความพยายามผลักดันให้มีนายกรัฐมนตรีจากคนนอก โดยไม่ต้องเป็นส.ส. เรื่องนี้
มีการพูดกันมาตลอด ผมไม่เห็นด้วย มาถึงวันนี้นายกฯมาจากคนนอกถูกตัดถูกสกัดแล้ว
เพราะมีคนไม่เห็นด้วยเยอะ กลัวว่าจะได้อำนาจเผด็จการกลับมา กลัวกลับไปสู่ระบบเดิม สร้างความ
ขัดแย้ง กลัวว่าคนที่เป็นตัวแทนประชาชนไม่ได้เป็น อำนาจจะไม่ได้เป็นของประชาชน และกลัวมี
อำนาจอื่นแฝงเข้ามา
ขณะนี้ที่พูดกันอยู่เหลือเพียงจะให้ประชาชนเลือกนายกฯโดยตรง หรือพรรคการเมืองเสนอชื่อ ส.ส.
ที่สังกัดพรรคการเมือง ให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือก ซึ่งที่มาของนายกฯทั้ง 2 ช่องทาง
ไม่ขัดกับหลักประชาธิปไตย แบบนี้ยอมรับได้
ขอเตือนคณะ กมธ.ร่าง รธน. อย่าแบ่งพรรคแบ่งพวก อย่าเอาคน พรรคการเมืองเป็นตัวตั้ง เหมือน
รธน.ปี 50 ซึ่งเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นตัวตั้ง ออก รธน.เพื่อคุมเขา มันผิดหลัก
ของการออก รธน.
ขอให้ยึกหลักการยกร่างรัฐธรรมนูญตามหลักสากล เน้นจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง คุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างเสถียรภาพแก่รัฐบาล ส่งเสริม
พรรคการเมืองให้เข้มแข็ง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ต้องกำหนด การใช้อำนาจให้ชัดเจน องค์กรอิสระถ้าคงไว้
ขอระบุให้ชัดเจนว่า มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง อย่าเขียนกำกวมต้องให้ตีความ
เช่น ป.ป.ช.ขอย้ำว่า องค์กรนี้ควรให้มีอยู่ต่อไป จะยกเลิกไม่ได้ตามที่หลายคนต้องการ ถ้าไม่มี ป.ป.ช.
คอยเป็นเสือคุมการทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหานี้ก็จะยิ่งไปกันใหญ่
กกต.ควรมีอำนาจหน้าที่แค่กำกับการเลือกตั้ง แจกได้แค่ใบเหลือง อำนาจแจกใบแดงควรกำหนดให้เป็น
อำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีการเลือกตั้ง ไม่เช่นนั้น กกต.จะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่มีตัวดุลอำนาจ
ศาลรัฐธรรมนูญ เอาให้ชัดว่ามีหน้าที่ช่วยกลั่นกรองว่ากฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ควรชี้ขาด
ก่อนเกิดเรื่อง การสั่งยุบพรรคการเมืองควรกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม
ตามโทนเริ่มโยนหินถามทางจะผุดสภาอภิรัฐมนตรี อำนาจอธิปไตยที่ 4 นายดิเรก บอกว่า ไม่เห็นด้วย
เพราะอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ใช้ปฏิบัติกันมาอย่างดีอยู่แล้ว จะผุดอำนาจ
ที่ 4 มีอำนาจล้นเหลือเหนืออำนาจ 3 ฝ่ายที่มาจากประชาชนได้อย่างไร
แม้ในอดีตเคยมี แต่ไม่ใช่รูปแบบการบริหารราชการแบบนี้ ขณะนี้หมดยุคแล้วที่จะมีสภาอภิรัฐมนตรี
อย่าย้อนกลับไปอีก หากมีขึ้นมาก็ถอยหลังเข้าคลอง ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมตามมาอีก
ถ้ายังขืนกำหนดไว้ในร่าง รธน.จะคัดค้านให้ถึงที่สุด โดยแปรญัตติเสนอให้ตัดออก หากแพ้ในสภา สปช.
ก็ไม่เป็นอะไร ถือว่าได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว พร้อมจะอธิบายให้ประชาชนได้เห็นว่าทำไมไม่เห็นด้วย
ข้อเสนอทั้งหมดหาก กมธ.ยกร่าง รธน.เดินตาม รธน.ฉบับใหม่ออกมาจะมีโฉมหน้าที่สวย ทุกคนจะยอมรับ
ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมตามมา
แต่ต่อให้ รธน.สวยอย่างไร ขอให้ยึดหลักการฟังเสียงของประชาชน หากมีเวลาเหลืออยู่ควรทำ
ประชาพิจารณ์หรือทำประชามติ
ขณะที่รัฐบาลอยากให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุดภายในปลายปี 58 อาจจะไม่มีเวลาทำประชามติ ก็ขอให้ทำ
ประชาพิจารณ์แทน เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน ได้ร่วมคิดร่วมวิจารณ์ มันจะได้รัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่ที่ทุกฝ่ายยอมรับจริงๆ
นอกจากวางระบบด้านการเมืองให้ลงตัวแล้ว ยังมีด้านสังคมแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ
และด้านการศึกษา เช่น ด้านการศึกษา ควรกำหนดหลักสูตรปูพื้นฐานการเมือง การปกครองให้ ได้เรียน
ตั้งแต่เด็ก จะได้ซึมซับวัฒนธรรมและจริยธรรมทางการเมือง
และในระดับมหาวิทยาลัยต้องมีหลักสูตรการเมือง การปกครองให้เรียนทุกคณะ เพื่อให้ การเมืองเป็นยาดำ
อยู่ในสายเลือด เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ จะมีความละอาย การซื้อสิทธิ์ขายเสียงจะหมดไป
การเริ่มต้นปูพื้นฐานประชาธิปไตยให้เด็กในวันนี้ จะผลิดอกออกผลในอีก 20 ปีข้างหน้า หากไม่เริ่มต้น
ทำในช่วงนี้ อีก 20-30 ปี จะเกิดการปฏิวัติอีกได้
จะเดินไปถึงฝั่งอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการในระดับไหน เมื่อเห็นบรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สภา สปช. กมธ.ยกร่าง รธน. นายดิเรก บอกว่า เดิม กมธ.ยกร่าง รธน.มีหลักแข็งขันจะไม่ทำประชามติ
แต่ตอนนี้เริ่มฟัง อย่างน้อยจะรับฟังความเห็นจากการทำประชาพิจารณ์ เชื่อว่าถ้าไม่มีอคติในการยกร่าง
รธน. จะทำให้โฉมหน้ารธน.ฉบับใหม่ออกมาสวยงาม ไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป
ทีมการเมือง ถามว่า เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเนื้อหาเป็นไปตามหลักที่เสนอไป จะแก้ไขปัญหาความ
ขัดแย้งในสังคมได้อย่างไร นายดิเรก บอกว่า ถ้า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญยึดหลักสายกลาง
ไม่อคติ เอาประเทศเป็นตัวตั้ง ถอยหลังคนละก้าว เดินหน้าไปด้วยกัน บ้านเมืองจะไปได้ รัฐธรรมนูญ
ออกมาดี เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
จะสลายสีเสื้อได้โดยปริยาย.
ทีมข่าวการเมือง
http://www.thairath.co.th/content/463672