สวัสดีครับหลวงพี่ หายไปนานเลยผมมีคำถามครับ
1. ที่หลวงพี่กล่าวว่า "หลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน โดยใช้ปัญญา" ทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้แก่อะไรบ้าง?
ขอตอบว่า ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนนี้คือ ความทุกข์ของจิตใจ (ไม่ใช่ความทุกข์ทางร่างกาย) ซึ่งเป็น ความรู้สึกที่ทนได้ยาก, หรือ ทรมาน, จึงไม่มีใครอยากมีความทุกข์
ความทุกข์นี้ก็มีทั้งอย่างรุนแรงและอ่อนๆ (ไม่รุนแรง) ซึ่งความทุกข์ที่รุนแรงก็มีหลายอาการ อันได้แก่ ความเศร้าโศก, ความเสียใจ, ความแห้งเหี่ยวใจ, ความหนักใจ, ความกลุ้มใจ, ความไม่สบายใจ, ความเร่าร้อนใจ, ความเครียด เป็นต้น ที่แสดงออกมาเป็น การร้องไห้, การคร่ำครวญ, ความบ้าครั่ง (เสียสติ), และความเศร้าซึม เป็นต้น ส่วนความทุกข์อ่อนๆก็จะเป็นเพียงอาการของจิตที่ขุ่นมัว เศร้าหมอง หงุดหงิด รำคาญใจ ดิ้นรน ไม่สงบ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส ไม่เบาสบาย เป็นต้น
อาการของความทุกข์ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับความยึดถือว่ามีตัวเรา : ที่มีความทุกข์ทางร่างกาย (เช่น หิว, กระหาย, เหนื่อย, ปวด, เมื่อย), ที่มีร่างกายแก่, ที่มีความเจ็บป่วยของร่างกาย, ที่รู้ว่าใกล้จะตาย, ที่กำลังพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งที่รักหรือพอใจ, ที่ต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งที่เกลียด หรือกลัว หรือไม่พอใจ, และที่ผิดหวัง (เมื่ออยากจะได้สิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นตามที่อยากจะได้) ซึ่งความทุกข์เหล่านี้ ในอดีตเราทุกคนย่อมเคยประสบมาแล้ว และอาจกำลังเกิดอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งมันยังรอเราอยู่ในอนาคตอีกด้วย
ความทุกข์ที่น่ากลัวที่สุด คือความทุกข์จากความตาย ที่ในอนาคตไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องเกิดขึ้นกับชีวิตของเราทุกคนอย่างแน่นอน แม้ใครจะมีทรัพย์สมบัติมากมายสักเท่าใด หรือมีเกียรติยศ มีชื่อเสียง หรือมีอำนาจมากมายสักเท่าใดก็ต้องตาย สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถช่วยให้จิตหลุดพ้นจากความทุกข์เพราะความตายได้ ในทางตรงกันข้าม จิตที่ยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ จะยิ่งทำให้มีความทุกข์รุนแรงมากขึ้น เมื่อจะต้องตายจากสิ่งเหล่านี้ไป (จาก
http://www.whatami.net/bud/bud1.html )
2. ถ้าเราไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีมรรคแปด แต่เราคิดเพียงว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่ตัวเรา คิดเพียงแค่นี้จะดับทุกข์ในจิตใจตามข้อ 1 ได้หรือไม่?
ขอตอบว่า ไม่ได้ เพราะการคิดเพียงว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่ตัวเรา นั้น จะช่วยดับทุกข์ไม่ได้เลยถ้าไม่ประกอบด้วยความเข้าใจ (คือปัญญาขั้นเข้าใจ) และ สมาธิ โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน คือเท่ากับเป็นการท่องแบบนกแก้วนกขุนทองที่ไม่รู้ความหมาย จึงไม่มีผลเป็นความดับลงของทุกข์จริง
3. ที่ว่า"นิพพานต่อเมื่อตายไปแล้วอีกหมื่นชาติแสนชาติ" นั้นใครเป็นคนเชื่อครับ ผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์นั้นในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ถือว่านิพพานในชาตินี้ได้มั๊ย?
ขอตอบว่า ที่ถามว่าใครเป็นคนเชื่อ? ก็เห็นเชื่อกันอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ที่เชื่อกันว่ามีการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายนั่นเอง อย่างที่เชื่อเรื่องการสั่งสมบุญบารมีนับแสนนับล้านชาติจึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ เป็นต้น หรือโยมไม่เชื่อเรื่องนี้? ส่วนที่ถามเรื่องพระอรหันต์นั้น อย่าไปสนใจ เอาแค่เราดับทุกข์ได้ก็พอแล้ว อย่าเพ้อเจ้อไปไกลไม่มีประโยชน์ที่จะรู้ เมื่อดับทุกข์ได้แล้วจะรู้เอง
4. ถ้าบุคคลไม่สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ตามข้อ 3 เมื่อบุคคลนั้นตายไปก็ไม่ได้นิพพานตอนเป็นแล้วเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป?
ขอตอบว่า นี่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรสนใจ (อจินไตย) เราควรรู้เรื่องขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา จะดีกว่า เพราะเรื่องนี้สำคัญที่สุด เมื่อเข้าใจเรื่องนี้แล้วก็จะเข้าใจได้เองว่า มันไม่มีเราและไม่มีใครทีมีกิเลสหรือหมดกิเลส แล้วก็จะเข้าใจเรื่อง ไม่มีใครตาย ได้เอง เมื่อเข้าในเรื่องไม่มีใครตายแล้วความเชื่อเรื่องมีคนตาย เรื่องปุถุชนตาย เรื่องพระอรหันต์ตาย เป็นต้น ก็จะหมดสิ้นไปได้เอง (เพราะพ้นสมมติแล้ว)
5. นิพพานนี่มีต่อการดำรงชีวิตของคนเรามากแค่ไหน?
ขอตอบว่า นิพพาน คือความดับลงของทุกข์ หรือความสงบเย็นของจิตเมื่อไม่มีความทุกข์ (ตามข้อ ๑) ถ้านิพพานสูงสุดก็สงบเย็นนสูงสุดและถาวร (ตลอดชีวิต) ถ้านิพพานขั้นต้นก็เพียงแค่อุ่นใจ เบาใจ เย็นใจ โล่งใจ สบายใจ เป็นบางครั้ง (ชั่วคราว) เมื่อจิตพร้อม (คือมีปัญญา ศีล สมาธิ พร้อม) ซึ่งนิพพานสูงสุดนั้นเราอย่าไปหวังเลย เอาแค่นิพพานขั้นต้นและชั่วคราวก็พอแล้ว คือทำให้มันมีบ่อยๆ หรือให้มากในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าไม่มีมากพอ เราก็จะเครียด วิตกกังวล กลุ้มใจ ร้อนใจ เป็นต้น จนเป็นโรคประสาทอ่อนๆไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งปกติจิตของเรามันก็มีนิพพานขั้นต้นนี้มาหล่อเลี้ยงจิตกันอยู่บ้างแล้ว เพียงแต่ไม่มากเท่านั้น ดังนั้นเราเพียงทำให้มันมีมากขึ้นๆ บ่อยขึ้นๆ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์เหมือนคนอื่นๆ ที่เขามีทุกข์กันเต็มร้อย แต่เราเหลือเพียง ๕๐ หรือน้อยกว่านั้นได้ นิพพานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด หรือสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกคน แต่มนุษย์ไม่รู้ตัว กลับเกลียดกลัวนิพพาน ทั้งๆที่มีประโยชน์แก่ชีวิตอย่างที่สุด ถ้าจิตใจของเราไม่สงบเย็นบ้างเลย ก็คงบ้าตายกันไปหมดแล้ว
6. ผมเข้าใจว่าหลวงพี่นิพพานในชาตินี้แล้ว ไม่ต้องรออีกหมื่นชาติแสนชาติ จึงได้ออกมาสอนให้ผู้อื่นเชื่อตาม อยากให้หลวงพี่เล่าให้ฟังหน่อยว่า หลวงพี่นิพพานแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ?
ขอตอบว่า อย่าไปคิดว่าใครเป็นอย่างไรเลย มันเป็นการเดา ไม่มีประโยชน์ เรามาดูตัวเราเองดีกว่า ว่ามันนิพพาน (สงบเย็น) มากพอหรือยัง อย่างเช่นเวลาที่ดราต้องประสบกับความทุกข์ใจ (ตามข้อ ๑) เราสามารถระงับให้มันดับลงหรือลดน้อยลงกว่าคนธรรมดาที่ไม่รู้ธรรมะได้หรือเหล่า? อย่างเช่น คนทั่วไปเมื่อเขาประสบความทุกข์ อย่างเช่น เมื่อคนรักได้จากไป หรือเมื่อรู้ตัวว่าใกล้จะตาย เขาก็จะทุกข์ตรม ร้องไห้คร่ำครวญ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ แต่เราถ้าเป็นเช่นนั้นก็เพียงเสียใจบ้างนิดหน่อยเมื่อเผลอสติ แต่พอมีสติแล้วดึงเอาปัญญา (คือความเข้าใจว่า แท้จริงมันไม่มีตัวเราหรือตัวใครอยู่จริง-อนัตตาหรือสุญญตา) ออกมา พร้อมสมาธิ ความทุกข์แม้เพียงเล็กน้อยนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดอยู่ก็จะระงับหรือดับลงทันที (แม้เพียงชั่วคราว) เป็นต้น
ขอตอบปัญหาคุณโยมนิแรนที่ถามมาว่า...
1. ที่หลวงพี่กล่าวว่า "หลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน โดยใช้ปัญญา" ทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้แก่อะไรบ้าง?
ขอตอบว่า ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนนี้คือ ความทุกข์ของจิตใจ (ไม่ใช่ความทุกข์ทางร่างกาย) ซึ่งเป็น ความรู้สึกที่ทนได้ยาก, หรือ ทรมาน, จึงไม่มีใครอยากมีความทุกข์
ความทุกข์นี้ก็มีทั้งอย่างรุนแรงและอ่อนๆ (ไม่รุนแรง) ซึ่งความทุกข์ที่รุนแรงก็มีหลายอาการ อันได้แก่ ความเศร้าโศก, ความเสียใจ, ความแห้งเหี่ยวใจ, ความหนักใจ, ความกลุ้มใจ, ความไม่สบายใจ, ความเร่าร้อนใจ, ความเครียด เป็นต้น ที่แสดงออกมาเป็น การร้องไห้, การคร่ำครวญ, ความบ้าครั่ง (เสียสติ), และความเศร้าซึม เป็นต้น ส่วนความทุกข์อ่อนๆก็จะเป็นเพียงอาการของจิตที่ขุ่นมัว เศร้าหมอง หงุดหงิด รำคาญใจ ดิ้นรน ไม่สงบ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส ไม่เบาสบาย เป็นต้น
อาการของความทุกข์ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับความยึดถือว่ามีตัวเรา : ที่มีความทุกข์ทางร่างกาย (เช่น หิว, กระหาย, เหนื่อย, ปวด, เมื่อย), ที่มีร่างกายแก่, ที่มีความเจ็บป่วยของร่างกาย, ที่รู้ว่าใกล้จะตาย, ที่กำลังพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งที่รักหรือพอใจ, ที่ต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งที่เกลียด หรือกลัว หรือไม่พอใจ, และที่ผิดหวัง (เมื่ออยากจะได้สิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นตามที่อยากจะได้) ซึ่งความทุกข์เหล่านี้ ในอดีตเราทุกคนย่อมเคยประสบมาแล้ว และอาจกำลังเกิดอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งมันยังรอเราอยู่ในอนาคตอีกด้วย
ความทุกข์ที่น่ากลัวที่สุด คือความทุกข์จากความตาย ที่ในอนาคตไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องเกิดขึ้นกับชีวิตของเราทุกคนอย่างแน่นอน แม้ใครจะมีทรัพย์สมบัติมากมายสักเท่าใด หรือมีเกียรติยศ มีชื่อเสียง หรือมีอำนาจมากมายสักเท่าใดก็ต้องตาย สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถช่วยให้จิตหลุดพ้นจากความทุกข์เพราะความตายได้ ในทางตรงกันข้าม จิตที่ยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ จะยิ่งทำให้มีความทุกข์รุนแรงมากขึ้น เมื่อจะต้องตายจากสิ่งเหล่านี้ไป (จาก http://www.whatami.net/bud/bud1.html )
2. ถ้าเราไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีมรรคแปด แต่เราคิดเพียงว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่ตัวเรา คิดเพียงแค่นี้จะดับทุกข์ในจิตใจตามข้อ 1 ได้หรือไม่?
ขอตอบว่า ไม่ได้ เพราะการคิดเพียงว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่ตัวเรา นั้น จะช่วยดับทุกข์ไม่ได้เลยถ้าไม่ประกอบด้วยความเข้าใจ (คือปัญญาขั้นเข้าใจ) และ สมาธิ โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน คือเท่ากับเป็นการท่องแบบนกแก้วนกขุนทองที่ไม่รู้ความหมาย จึงไม่มีผลเป็นความดับลงของทุกข์จริง
3. ที่ว่า"นิพพานต่อเมื่อตายไปแล้วอีกหมื่นชาติแสนชาติ" นั้นใครเป็นคนเชื่อครับ ผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์นั้นในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ถือว่านิพพานในชาตินี้ได้มั๊ย?
ขอตอบว่า ที่ถามว่าใครเป็นคนเชื่อ? ก็เห็นเชื่อกันอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ที่เชื่อกันว่ามีการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายนั่นเอง อย่างที่เชื่อเรื่องการสั่งสมบุญบารมีนับแสนนับล้านชาติจึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ เป็นต้น หรือโยมไม่เชื่อเรื่องนี้? ส่วนที่ถามเรื่องพระอรหันต์นั้น อย่าไปสนใจ เอาแค่เราดับทุกข์ได้ก็พอแล้ว อย่าเพ้อเจ้อไปไกลไม่มีประโยชน์ที่จะรู้ เมื่อดับทุกข์ได้แล้วจะรู้เอง
4. ถ้าบุคคลไม่สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ตามข้อ 3 เมื่อบุคคลนั้นตายไปก็ไม่ได้นิพพานตอนเป็นแล้วเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป?
ขอตอบว่า นี่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรสนใจ (อจินไตย) เราควรรู้เรื่องขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา จะดีกว่า เพราะเรื่องนี้สำคัญที่สุด เมื่อเข้าใจเรื่องนี้แล้วก็จะเข้าใจได้เองว่า มันไม่มีเราและไม่มีใครทีมีกิเลสหรือหมดกิเลส แล้วก็จะเข้าใจเรื่อง ไม่มีใครตาย ได้เอง เมื่อเข้าในเรื่องไม่มีใครตายแล้วความเชื่อเรื่องมีคนตาย เรื่องปุถุชนตาย เรื่องพระอรหันต์ตาย เป็นต้น ก็จะหมดสิ้นไปได้เอง (เพราะพ้นสมมติแล้ว)
5. นิพพานนี่มีต่อการดำรงชีวิตของคนเรามากแค่ไหน?
ขอตอบว่า นิพพาน คือความดับลงของทุกข์ หรือความสงบเย็นของจิตเมื่อไม่มีความทุกข์ (ตามข้อ ๑) ถ้านิพพานสูงสุดก็สงบเย็นนสูงสุดและถาวร (ตลอดชีวิต) ถ้านิพพานขั้นต้นก็เพียงแค่อุ่นใจ เบาใจ เย็นใจ โล่งใจ สบายใจ เป็นบางครั้ง (ชั่วคราว) เมื่อจิตพร้อม (คือมีปัญญา ศีล สมาธิ พร้อม) ซึ่งนิพพานสูงสุดนั้นเราอย่าไปหวังเลย เอาแค่นิพพานขั้นต้นและชั่วคราวก็พอแล้ว คือทำให้มันมีบ่อยๆ หรือให้มากในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าไม่มีมากพอ เราก็จะเครียด วิตกกังวล กลุ้มใจ ร้อนใจ เป็นต้น จนเป็นโรคประสาทอ่อนๆไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งปกติจิตของเรามันก็มีนิพพานขั้นต้นนี้มาหล่อเลี้ยงจิตกันอยู่บ้างแล้ว เพียงแต่ไม่มากเท่านั้น ดังนั้นเราเพียงทำให้มันมีมากขึ้นๆ บ่อยขึ้นๆ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์เหมือนคนอื่นๆ ที่เขามีทุกข์กันเต็มร้อย แต่เราเหลือเพียง ๕๐ หรือน้อยกว่านั้นได้ นิพพานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด หรือสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกคน แต่มนุษย์ไม่รู้ตัว กลับเกลียดกลัวนิพพาน ทั้งๆที่มีประโยชน์แก่ชีวิตอย่างที่สุด ถ้าจิตใจของเราไม่สงบเย็นบ้างเลย ก็คงบ้าตายกันไปหมดแล้ว
6. ผมเข้าใจว่าหลวงพี่นิพพานในชาตินี้แล้ว ไม่ต้องรออีกหมื่นชาติแสนชาติ จึงได้ออกมาสอนให้ผู้อื่นเชื่อตาม อยากให้หลวงพี่เล่าให้ฟังหน่อยว่า หลวงพี่นิพพานแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ?
ขอตอบว่า อย่าไปคิดว่าใครเป็นอย่างไรเลย มันเป็นการเดา ไม่มีประโยชน์ เรามาดูตัวเราเองดีกว่า ว่ามันนิพพาน (สงบเย็น) มากพอหรือยัง อย่างเช่นเวลาที่ดราต้องประสบกับความทุกข์ใจ (ตามข้อ ๑) เราสามารถระงับให้มันดับลงหรือลดน้อยลงกว่าคนธรรมดาที่ไม่รู้ธรรมะได้หรือเหล่า? อย่างเช่น คนทั่วไปเมื่อเขาประสบความทุกข์ อย่างเช่น เมื่อคนรักได้จากไป หรือเมื่อรู้ตัวว่าใกล้จะตาย เขาก็จะทุกข์ตรม ร้องไห้คร่ำครวญ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ แต่เราถ้าเป็นเช่นนั้นก็เพียงเสียใจบ้างนิดหน่อยเมื่อเผลอสติ แต่พอมีสติแล้วดึงเอาปัญญา (คือความเข้าใจว่า แท้จริงมันไม่มีตัวเราหรือตัวใครอยู่จริง-อนัตตาหรือสุญญตา) ออกมา พร้อมสมาธิ ความทุกข์แม้เพียงเล็กน้อยนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดอยู่ก็จะระงับหรือดับลงทันที (แม้เพียงชั่วคราว) เป็นต้น