ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะมีความเชื่อกัน (ผิดๆ) ว่า นิพพาน คือ การตายแล้วไม่เกิดอีก ซึ่งเรื่องการตายแล้วไม่เกิดอีกนี้ บางคนก็เชื่อว่าเป็นการตายแล้วจิต (ที่เป็นตัวเรา) ดับสูญไปเลย (คือตัวตนหายไปเลย) แต่บางคนก็เชื่อว่าจิต (ที่เป็นตัวเรา) ไปเกิดอยู่ในดินแดนหรือสภาวะที่มีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ใดๆเลยอยู่ชั่วนิรันดร (คือมีตัวตนอมตะ)
แต่ในความเป็นจริงแล้ว นิพพาน แปลว่า ดับเสียซึ่งความร้อน ซึ่งความร้อนนี้ก็หมายถึง ความทุกข์ของจิตใจ คือเมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะเย็น ดังนั้นนิพพานจึงหมายถึง ความสงบเย็นของจิตใจขณะที่ไม่มีความทุกข์ ซึ่งนี่ก็แสดงว่า นิพพานไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความตายเลย เพราะเป็นเรื่องของจิตใจขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ส่วนเรื่องที่ว่าเมื่อตายแล้วจิตใจจะเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาถึงระบบการทำงานของร่างกายกับจิตใจ (คือขันธ์ ๕) ให้เข้าใจอย่างถูกต้องก่อน จึงจะเข้าใจเรื่องว่าตายแล้วจิตใจจะเป็นอย่างไรได้ด้วยปัญญาของเราเอง โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อจากใครหรือจากตำราใดๆ
นิพพานหรือความไม่มีทุกข์ของจิตในนี้ จะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ นิพพานขั้นต้นหรือนิพพานชิมลอง กับ นิพพานสูงสุด โดยนิพพานขั้นต้นนี้ก็คือ ความสงบเย็นของจิตใจเราในขณะที่จิตของเรายังไม่มีความทุกข์ที่รุนแรง หรือที่เราเรียกว่า ความเบาใจ สบายใจ อุ่นใจ หรือความไม่วิตกกังวล หรือไม่เครียด เพราะสิ่งต่างๆ อันได้แก่ ร่างกายหรือบุคลหรือสิ่งภายนอกยังมีความสุขสบาย หรือมีความปกติ หรือไม่มีปัญหาหรือไม่มีความทุกข์หรือความเดือดร้อน แต่จิตใจของเราก็ยังมีความคิดฟุ้งซ่านให้รำคาญใจอยู่บ้างเล็กน้อยเท่านั้น (เพราะยังมีนิวรณ์ครอบงำจิตอยู่) ซึ่งนิพพานขั้นต้นนี้ปกติมันก็มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวันของเราขณะที่ยังไม่มีความทุกข์ที่รุนแรง (คือขณะที่ยังไม่มีความเศร้าโศก หรือเสียใจ หรือเครียด หรือคับแค้นใจ เป็นต้น)
ส่วนนิพพานสูงสุดนั้นก็คือ ความสงบเย็นของจิตใจอย่างสูงสุด หรือจะเรียกว่าเป็นความเยือกเย็นก็ได้ เพราะไม่มีแม้ความคิดฟุ้งซ่านให้รำคาญใจแม้เพียงเล็กน้อยเลย ซึ่งนิพพานสูงสุดนี้ยากที่จะปรากฏในชีวิตประจำวันของเรา นอกจากจะบังเอิญที่จิตของเราได้พบกับสิ่งที่ทำให้จิตสงบ เช่น ได้พบเห็นสิ่งที่ทำให้จิตสลด เช่น คนตาย หรือภัยพิบัติ เป็นต้น หรือจิตของเราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชวนให้จิตสงบ เช่น ป่า เขา ทะเล ลำธาร เป็นต้น จิตของเราจึงจะนิพพานสูงสุดได้ แต่จะปรากฏได้ง่ายถ้าจิตของเรามีสมาธิอย่างสมบูรณ์ (คือไม่มีนิวรณ์รบกวนจิต)
นิพพานทั้งอย่างขั้นต้นและสูงสุดนี้ ก็มีทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร ซึ่งอย่างชั่วคราวนั้นก็สามารถที่จะปรากฏได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งนิพพานชั่วคราวนี้เองที่ได้หล่อเลี้ยงจิตใจของเราเอาไว้ไม่ให้เป็นบ้าตายไปเสียก่อน เพราะถูกกิเลสหรือความทุกข์แผดเผาอยู่ตลอดทั้งวัน เราจึงควรรู้คุณและขอบคุณนิพพานนี้เพื่อที่จะได้แสวงหานิพพานสูงสุดกันต่อไป แต่ถ้าเรามีการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ได้อย่างถูกต้องเมื่อใด (คือมีปัญญา ศีล สมาธิพร้อม) นิพพานสูงสุดก็จะปรากฏเมื่อนั้น (แต่ถ้าปัญญา ศีล สมาธิหายไปเมื่อใด นิพพานสูงสุดนี้ก็จะไม่ปรากฏเมื่อนั้น) และถ้าเราสามารถปฏิบัติอริยมรรคได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จนทำให้ความเคยชินของจิตใต้สำนึกที่จะเกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเราขึ้นมาอีก หมดความเคยชินไปอย่างถาวร ความทุกข์ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกอย่างถาวร จิตก็จะนิพพานสูงสุดได้อย่างถาวร (คือตลอดเวลาที่ยังมีจิตอยู่)
ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับความจริงเรื่องนิพพาน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว นิพพาน แปลว่า ดับเสียซึ่งความร้อน ซึ่งความร้อนนี้ก็หมายถึง ความทุกข์ของจิตใจ คือเมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะเย็น ดังนั้นนิพพานจึงหมายถึง ความสงบเย็นของจิตใจขณะที่ไม่มีความทุกข์ ซึ่งนี่ก็แสดงว่า นิพพานไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความตายเลย เพราะเป็นเรื่องของจิตใจขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ส่วนเรื่องที่ว่าเมื่อตายแล้วจิตใจจะเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาถึงระบบการทำงานของร่างกายกับจิตใจ (คือขันธ์ ๕) ให้เข้าใจอย่างถูกต้องก่อน จึงจะเข้าใจเรื่องว่าตายแล้วจิตใจจะเป็นอย่างไรได้ด้วยปัญญาของเราเอง โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อจากใครหรือจากตำราใดๆ
นิพพานหรือความไม่มีทุกข์ของจิตในนี้ จะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ นิพพานขั้นต้นหรือนิพพานชิมลอง กับ นิพพานสูงสุด โดยนิพพานขั้นต้นนี้ก็คือ ความสงบเย็นของจิตใจเราในขณะที่จิตของเรายังไม่มีความทุกข์ที่รุนแรง หรือที่เราเรียกว่า ความเบาใจ สบายใจ อุ่นใจ หรือความไม่วิตกกังวล หรือไม่เครียด เพราะสิ่งต่างๆ อันได้แก่ ร่างกายหรือบุคลหรือสิ่งภายนอกยังมีความสุขสบาย หรือมีความปกติ หรือไม่มีปัญหาหรือไม่มีความทุกข์หรือความเดือดร้อน แต่จิตใจของเราก็ยังมีความคิดฟุ้งซ่านให้รำคาญใจอยู่บ้างเล็กน้อยเท่านั้น (เพราะยังมีนิวรณ์ครอบงำจิตอยู่) ซึ่งนิพพานขั้นต้นนี้ปกติมันก็มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวันของเราขณะที่ยังไม่มีความทุกข์ที่รุนแรง (คือขณะที่ยังไม่มีความเศร้าโศก หรือเสียใจ หรือเครียด หรือคับแค้นใจ เป็นต้น)
ส่วนนิพพานสูงสุดนั้นก็คือ ความสงบเย็นของจิตใจอย่างสูงสุด หรือจะเรียกว่าเป็นความเยือกเย็นก็ได้ เพราะไม่มีแม้ความคิดฟุ้งซ่านให้รำคาญใจแม้เพียงเล็กน้อยเลย ซึ่งนิพพานสูงสุดนี้ยากที่จะปรากฏในชีวิตประจำวันของเรา นอกจากจะบังเอิญที่จิตของเราได้พบกับสิ่งที่ทำให้จิตสงบ เช่น ได้พบเห็นสิ่งที่ทำให้จิตสลด เช่น คนตาย หรือภัยพิบัติ เป็นต้น หรือจิตของเราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชวนให้จิตสงบ เช่น ป่า เขา ทะเล ลำธาร เป็นต้น จิตของเราจึงจะนิพพานสูงสุดได้ แต่จะปรากฏได้ง่ายถ้าจิตของเรามีสมาธิอย่างสมบูรณ์ (คือไม่มีนิวรณ์รบกวนจิต)
นิพพานทั้งอย่างขั้นต้นและสูงสุดนี้ ก็มีทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร ซึ่งอย่างชั่วคราวนั้นก็สามารถที่จะปรากฏได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งนิพพานชั่วคราวนี้เองที่ได้หล่อเลี้ยงจิตใจของเราเอาไว้ไม่ให้เป็นบ้าตายไปเสียก่อน เพราะถูกกิเลสหรือความทุกข์แผดเผาอยู่ตลอดทั้งวัน เราจึงควรรู้คุณและขอบคุณนิพพานนี้เพื่อที่จะได้แสวงหานิพพานสูงสุดกันต่อไป แต่ถ้าเรามีการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ได้อย่างถูกต้องเมื่อใด (คือมีปัญญา ศีล สมาธิพร้อม) นิพพานสูงสุดก็จะปรากฏเมื่อนั้น (แต่ถ้าปัญญา ศีล สมาธิหายไปเมื่อใด นิพพานสูงสุดนี้ก็จะไม่ปรากฏเมื่อนั้น) และถ้าเราสามารถปฏิบัติอริยมรรคได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จนทำให้ความเคยชินของจิตใต้สำนึกที่จะเกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเราขึ้นมาอีก หมดความเคยชินไปอย่างถาวร ความทุกข์ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกอย่างถาวร จิตก็จะนิพพานสูงสุดได้อย่างถาวร (คือตลอดเวลาที่ยังมีจิตอยู่)