เมื่อ จขกท. พยายามเขียนทับศัพท์ภาษาไทยด้วยอักษรโรมัน

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนครับว่า การเขียนทับศัพท์คำไทยด้วยอักษรโรมันเนี่ย มีมาตรฐานของราชบัณฑิตออกมาเรื่องวิธีเขียนออกมาแล้ว

http://www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/416_2157.pdf

ซึ่งสรุปให้คร่าวๆ ละกันว่าหลักการทั่วไปของมันเป็นดังนี้ครับ

1 พยัญชนะต้น ถ้าภาษาอังกฤษตัวไหนแทนมากกว่า 1 เสียงไทย อักษรกลางจะไม่มี h อักษรสูง/ต่ำจะมี h
เช่น
- k = ก vs kh = ข, ค
- p = ป vs ph = พ, ฟ
ยกเว้น ch ใช้แทนทั้ง จ, ฉ, ช

2 สระ ก็ตามตารางใน link

3 ตัวสะกด
แม่ กก = k    -    ตก tok
แม่ กด = t    -    ผิด phid
แม่ กบ = p    -    บาป bap
แม่ กน = n    -    คน    khon
แม่ กม = m    -    ดำ    dam
แม่ กง = ng    -    เพลง phleng
แม่ เกย = i    -    วัย    wai
แม่ เกอว = o    -    ลิ่ว    lio

4 อื่นๆ
- เขียนตามเสียงอ่าน
- ไม่เขียนตัวการันต์
ฯลฯ

ซึ่ง จขกท. ก็คิดว่ามันเป็นระบบที่ดีครับ ในการเขียนป้ายต่างๆ เพื่อให้ฝรั่งที่ไม่เคยรู้ภาษาไทยมาก่อนอ่านชื่อพวกสถานที่หรืออะไรต่างๆ ได้ใกล้เคียงในระดับหนึ่ง

แต่ปัญหาคือเจ้าของกระทู้เจอกับอีกปัญหาอีกอย่างหนึ่งครับ

คือต้องเล่าก่อนว่า จขกท. ชอบใช้ e-book reader มากๆ (พวกตระกูล kindle, nook, kobo อะไรพวกนั้น)

ซึ่งปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าเจ้าเครื่องพวกนี้มันมักจะไม่สามารถลงคีย์บอร์ดไทยได้

เวลา จขกท. อยากจะเขียนบันทึกส่วนตัวก็เลยเกิดปัญหาขึ้นมา เพราะว่าเขียนภาษาอังกฤษบางทีมันก็ไม่ได้อารมณ์

แต่เขียนตามแบบราชบัณฑิตก็จะเจอปัญหาแบบที่เคยมีหลายคนวิจารณ์เอาไว้

ได้แก่

1. จ vs ฉ,ช เขียนเหมือนกัน (ไม่รู้ตัวไหนเป็นตัวไหน)
2. สระ โอ กับ สระ ออ เขียนเหมือนกัน
3. ไม่มีวรรณยุกต์
4. สระเสียงสั้นกับเสียงยาวเขียนเหมือนกัน

ก็เลยหาวิธี เริ่มจากปัญหาตัว จ ก่อน
คือ ถ้าตามหลักภาษา (เค้าว่าไว้อย่างนั้น ต้องใช้ตัว c)
แต่ว่าจะให้อ่านตัว c เป็นเสียง จ ก็ลำบากใจอยู่
ท้ายสุดเลยใช้ตัว j

สระโอ กับ สระ ออ ใช้ตัว o เหมือนกัน จะเปลี่ยนไปใช้ o with diacretics ก็จะไปชนกับวรรณยุกต์ เลยลองใช้ตัว or แทนสระ ออ และ o แทนสระ โอ

เรื่องวรรณยุกต์ เปิดอ่านในหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ เห็นเขาใช้แบบนี้

เสียงสามัญ = macron
เสียงเอก = grave accent
เสียงโท = circumflex accent
เสียงตรี = acute accent
เสียงจัตวา = caron



แต่คีย์บอร์ดมันไม่มี caron กับ macron ให้ ก็เลยหาว่า diacretic ตัวไหนมีกับทุกสระ ก็เลยกลายเป็นใช้ umlaut แทน (มั่วหนักมาก) ส่วน macron ตัดทิ้งไปเลย

ส่วนเรื่องสระเสียงสั้นสระเสียงยาวเป็นปัญหาโลกแตก

ลองไปดูว่าภาษาที่มีการแยกเสียงสั้นเสียงยาว และใช้อักษรโรมัน เขาทำอย่างไร

บางภาษาใช้การซ้ำสระ...
แต่ทดลองแล้วออกมาเละชวนมึนหัวมาก โดยเฉพาะพวกสระผสมทั้งหลาย

เห็นภาษาญี่ปุ่นโรมันจิใช้ macron แทน แต่ก็ตามเขาไม่ได้เพราะจะไปชนกับวรรณยุกต์

หาอ่านเรื่อง phonetic symbols เขาใช้จุดๆ ช่วย เลยลองใช้ colon ดูบ้าง

Kaì jÌk dèk tai: bon pà:k o:ng.
ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง
Phï: phà:k thüng khaô: sä:n haî chän.
ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน
Ngu: yaì nor:n yù: nâ: wát mo: li: lô:k.
งูใหญ่นอนอยู่หน้าวัดโมฬีโลก

แต่แอบรู้สึกว่าดูเหมือนไม่ใช่ภาษาสักเท่าไหร่ แล้วขี้เกียจกดเปลี่ยน keyboard layout ทุกรอบที่มีสระเสียงยาว (ซึ่งก็เยอะเหลือเกิน)

ก็เลยไปอ่านเรื่องการเขียน non-Hepburn rōmaji ของญี่ปุ่นที่ใช่ oh แทน ō
ก็เลยลองทำดูบ้าง (แต่ใช้กับตัวอื่นนอกจาก o ด้วย)

Kaì jÌk dèk taih bon pàhk ohng.
ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง
Phïh phàhk thüng khaôh sähn haî chän.
ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน
Nguh yaì norhn yùh nâh wát moh lih lôhk.
งูใหญ่นอนอยู่หน้าวัดโมฬีโลก

แอบรู้สึกเหมือนภาษาเวียดนาม

นั่นแหละครับ
แค่ทำขำๆ

ว่าแต่ จขกท. ควรจะตัดใจไปเล่นแท็ปเล็ตจอ LCD อาจง่ายกว่านะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่