ความจริง เรื่อง IMF การที่ ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจใช้หนี้ก่อนถึงกำหนด 2 ปี มีผลดี หรือ ผลเสีย กันแน่ถ้าใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์
ในปี 2546 ดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8% ในขณะที่IMF คิดดอกเบี้ยจากเราแค่ 0.25% และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ถ้าจ่ายหนี้ก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับอีก 2%
ถ้าตอนนั้น เรามีเงิน 4800 ล้านเหรียญ แปลงเป็นเงินไทย อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้น 41 บาทต่อดอลล่าร์ คิดเป็นเงินไทย 196,800 ล้านบาท เอาฝากธนาคารไว้ 2ปี หักภาษีแล้วจะได้ ดอกเบี้ย ประมาณ 28000 ล้านบาท และ เสียดอกเบี้ยให้ IMF 2ปี จำนวน 984 ล้านบาท คงเหลือกำไร กว่า 27000 ล้านบาท
แต่ ทักษิณ เลือกที่จะใช้หนี้ก่อน ผลคือ เราเสียค่าปรับ 2% จำนวน 3936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ย 2ปีลงได้ 984 ล้านบาท ถ้าเอาค่าปรับที่เสีย ลบด้วยดอกเบี้ยที่ไม่ต้องจ่าย จะเหลือ ค่าปรับ 2952ล้านบาท
คำถามก็คือ ถ้า ณ.วันนั้น ประเทศเรามีเงินสด 4800 ล้านเหรียญ หรือ 196,800 ล้านบาท เรายังไม่ชำระหนี้ แต่ฝากในธนาคารไว้เราจะได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นฟรีๆประมาณ27000 ล้านบาท แต่ถ้าเราชำระหนี้ก่อนกำหนด เราต้องเสียเงินเพิ่มอีก 2952 ล้านบาท
คำถามก็คือ ประเทศได้อะไร จากการตัดสินใจครั้งนี้ จะว่า เพราะทำให้ประเทศพ้นจากหนี้สิน แต่เมื่อไปดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลับปรากฏว่า เงินจำนวน4800ล้านเหรียญ ที่ ทักษิณ ชำระหนี้นั้น ส่วนหนึ่ง กลับเป็นเงินกู้จาก เอ ดี บี และเมื่อดูหนี้ สาธารณะของประเทศ ณ.ปี 2546 หลังจากจ่ายเงินคืน IMF หมดแล้ว กลับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะช่วงปลายรัฐบาล ชวน2 ส่งไม้ให้กับ รัฐบาล ทักษิณ1 ถึงกว่า4000ล้าน
คำถามที่คาใจจริงๆคือ หนี้สินของประเทศก็ไม่ได้ลดลงจากการใช้หนี้IMF แล้ว ทักษิณ ไปกู้ เอดีบี มาเพื่อใช้หนี้ IMF ทำไม
อีกคำถามหนึ่งคือ ทักษิณ ประกาศให้ชาวบ้านรู้กันทั่วว่า เขาเป็นคนใช้หนี้IMF ทั้งๆ ตอนไปเบิกเงินกู้ก้อนที่1 และก้อนที่2 เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชวลิต และการที่ใช้หนี้ก่อนกำหนด ประเทศต้องเสียค่าปรับตั้ง2%ซึ่งเป็นเงินถึง 3636 ล้านบาท
m.thairath.co.th/content/337576
-
ปี2540 สมัยรัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ถูก จอร์ช โซลอส โจมตีค่าเงินบาท และรัฐบาลได้ทุ่มเงินกว่า3หมื่นล้านเหรียญต่อสู้ เพื่อพยุงค่าเงินบาทไว้ แต่ผลปรากฏว่าแพ้อย่างราบคาบ จนเงินทุนสำรองเหลือเพียง 800 ล้านเหรียญซึ่งมีผลทำให้เครดิต ของประเทศไม่เป็นที่ยอมรับเพื่อจะทำการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลชวลิต ต้องลอยค่าเงินบาทเป็นผลให้ ค่าของเงินตกต่ำอย่างสุดขีด จากเดิม 25 บาทล่วงไปถึง56บาทต่อ1ดอลล่าร์ และเป็นเหตุให้ รัฐบาล พล.อ.ชวลิต จำเป็นต้องกู้เงินจาก IMFมาเพื่อพยุงสถานะของประเทศเมื่อ 22 กรกฎาคา 2540 จำนวน 17200 ล้านเหรียญ และจากการกู้เงินนี้ ทำให้ประเทศต้องอยู่ในเงินไขของIMF หรือที่เรียกกันว่าLOI ในทุกครั้งที่ไปเบิกเงินกู้ และหลังจากทำสัญญาเงินกู้ได้ 2 วัน ทักษิณ ชินวัตร ก็เข้าร่วมเป็นรองนายกรัฐมนตรีโดยดูแลด้านเศรษฐกิจ LOI ฉบับที่ 1 ทำขึ้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2540 ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลหลัง พลเอกชวลิต ประกาศลาออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่ถึงกระนั้นก็มิใช่เรื่องที่จะกล่าวโทษแก่รัฐบาลที่ทำ LOI ฉบับนั้น เนื่องจากในเวลาวิกฤติ ทางเลือกมีอยู่ไม่มาก
หลังจากกู้เงินIMFแล้ว รัฐบาล พล.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมี ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี พยายามแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่และได้เบิกเงิน จากIMF มา2งวดแล้ว จำนวนเงิน4000ล้านเหรียญ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาเสรษฐกิจได้ จนต้องยอม ลาออกไปในปลายปี2540
-
ปลดหนี้ IMF ไทยเสียค่าปรับ 2,952 ล้านบาท ทักษิณ ได้หน้าบนความเสียหายของบ้านเมือง “ทักษิณ คือ ผู้ปลดแอกไทยจากการเป็นทาส IMF” ด้วยการใช้หนี้ก่อนกำหนด เป็นกลยุทธทางการตลาดที่ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง โดยการประกาศผ่านทีวีพูลของ ทักษิณ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พร้อมกับการรณรงค์ให้คนไทยติด “ธงชาติไทย” ไว้หน้าบ้าน ยิ่งทำให้ ทักษิณ เปรียบประดุจเทพเจ้าที่ลงมาโปรดประเทศไทยให้รอดพ้นจากหายนะ จนประกาศอิสรภา พจาก IMF ได้ ทั้งที่ความจริงรัฐบาลชวน 2 ได้ปลดแอกไทยออกจากการควบคุมของ IMF ตั้งแต่การไม่เบิกเงินงวดที่ 9 แล้ว และหากรัฐบาลชวน 2 มีโอกาสได้บริหารต่อก็คงใช้หนี้ IMF ตามกำหนด ไม่ใช้ก่อนกำหนดอย่างที่ ทักษิณ ทำเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อให้ตัวเอง เพราะทำให้ชาติเสียหายในขณะที่ตนเองได้ผลประโยชน์ทางการเมือง การชำระเงินตามข้อตกลงของ IMF มีขั้นตอนดังนี้ ช่วงปี 41-44 ปลอดการชำระเงินต้นใน 3 ปี ดังนั้นในช่วงที่รัฐบาลชวน 2 บริหารจึงเพิ่งครบกำหนดชำระคืนงวดแรกช่วง ต.ค.43 ส่วนเงินกู้ที่มาจากประเทศต่าง ๆ กำหนดชำระคืนงวดแรกต้นปี 44 โดยในสองส่วนนี้จ่ายในรัฐบาลชวน 2 ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพ โดยได้ผลพวงจากการลอยตัวค่าเงินบาททำให้ส่งผลดีส่งออกที่จนงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เมื่อรัฐบาลทักษิณเข้ามาบริหารประเทศก็มีการทยอยใช้หนี้ตามลำดับ จนกระทั่งในปี 46 มีการประกาศใช้หนี้จำนวน 4,800 ล้านเหรียญ มีกำหนด 3 งวด ๆ ละ 1,600 ล้าน ก่อนกำหนด ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีแต่เป็นผลเสียมากกว่า เนื่องจากในปี 46 IMF คิดดอกเบี้ยจากไทยเพียงแค่ 0.25 % ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8 % ดังนั้นหากเรานำเงิน 4,800 ล้านเหรียญแปลงเป็นเงินไทยในอัตราแลกเปลี่ยนที่ 41 บาทในขณะนั้นจะคิดเป็นไทยได้ 196,800 ล้านบาท หากนำไปฝากธนาคารไว้ 2 ปีโดยไม่ไปชำระหนี้ก่อนกำหนด หักภาษีแล้วประเทศจะมีรายได้จากดอกเบี้ยส่วนนี้ประมาณ 28,000 ล้าน และเสียดอกเบี้ยให้ IMF ตามกำหนด 984 ล้านบาท ยังเหลือกำไรกว่า 27,000 ล้านบาท การปลดไทยจากการเป็นทาส IMF ตามแผนโฆษณาชวนเชื่อทำให้ไทยสูญเสียเงินประเทศชาติให้กับค่าการตลาดทางการเมืองของ ทักษิณ ถึง 2,952 ล้านบาท โดยเป็นผลจากค่าปรับ 2% จำนวน 3,936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ยสองปีจาก IMF 984 ล้านบาท หักกับค่าปรับเท่ากับประเทศไทยเสียค่าโง่ในการเชิดชูทักษิณถึง 2,952 ล้านบาท ที่สำคัญไปกว่านั้นคือในขณะนั้นไทยไม่ได้มีเงินมากพอที่จะใช้หนี้ IMF ได้ก่อนกำหนด แต่รัฐบาลทักษิณ กลับใช้วิธีการไปกู้เงินบางส่วนจาก ADB ซึ่งดอกเบี้ยสูงกว่า IMF มาจ่ายหนี้ให้ IMF โดยหวังผลทางการเมืองล้วน ๆ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติแม้แต่น้อย และยังส่งผลให้หนี้สาธารณะของรัฐบาลทักษิณเพิ่มสูงกว่ารัฐบาลชวน 2 ถึงกว่า 4 พันล้านบาทด้วย ประเทศไทยสูญเงิน 2,952 ล้านบาทโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ ทักษิณ กลายเป็นฮีโร่จากการปลดหนี้ IMF บนความเสียหายของชาติบ้านเมือง และหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นดินพอกหางหมู รวมทั้งหนี้ของประชาชนก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวจากนโยบายประชานิยมของ ทักษิณ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป คนที่คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง ย่อมไม่มีวันคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ
ที่นำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพราะ ทู้ล่างนี้เบย
เศรษฐกิจแย่แบบนี้ คิดถึงลุงทักษิณกันไหมครับ อิอิอิ สมาชิกหมายเลข 1722771
เศรษฐกิจแย่แบบนี้ ถ้าลุงแม้วอยู่จะกู้มาเพื่อใช้หนี้ IMF ค่าปรับแค่สามพันกว่าล้าน แถมหาเงินในอากาศได้เก่งไม่กู้แม้แต่น้อย
ในปี 2546 ดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8% ในขณะที่IMF คิดดอกเบี้ยจากเราแค่ 0.25% และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ถ้าจ่ายหนี้ก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับอีก 2%
ถ้าตอนนั้น เรามีเงิน 4800 ล้านเหรียญ แปลงเป็นเงินไทย อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้น 41 บาทต่อดอลล่าร์ คิดเป็นเงินไทย 196,800 ล้านบาท เอาฝากธนาคารไว้ 2ปี หักภาษีแล้วจะได้ ดอกเบี้ย ประมาณ 28000 ล้านบาท และ เสียดอกเบี้ยให้ IMF 2ปี จำนวน 984 ล้านบาท คงเหลือกำไร กว่า 27000 ล้านบาท
แต่ ทักษิณ เลือกที่จะใช้หนี้ก่อน ผลคือ เราเสียค่าปรับ 2% จำนวน 3936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ย 2ปีลงได้ 984 ล้านบาท ถ้าเอาค่าปรับที่เสีย ลบด้วยดอกเบี้ยที่ไม่ต้องจ่าย จะเหลือ ค่าปรับ 2952ล้านบาท
คำถามก็คือ ถ้า ณ.วันนั้น ประเทศเรามีเงินสด 4800 ล้านเหรียญ หรือ 196,800 ล้านบาท เรายังไม่ชำระหนี้ แต่ฝากในธนาคารไว้เราจะได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นฟรีๆประมาณ27000 ล้านบาท แต่ถ้าเราชำระหนี้ก่อนกำหนด เราต้องเสียเงินเพิ่มอีก 2952 ล้านบาท
คำถามก็คือ ประเทศได้อะไร จากการตัดสินใจครั้งนี้ จะว่า เพราะทำให้ประเทศพ้นจากหนี้สิน แต่เมื่อไปดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลับปรากฏว่า เงินจำนวน4800ล้านเหรียญ ที่ ทักษิณ ชำระหนี้นั้น ส่วนหนึ่ง กลับเป็นเงินกู้จาก เอ ดี บี และเมื่อดูหนี้ สาธารณะของประเทศ ณ.ปี 2546 หลังจากจ่ายเงินคืน IMF หมดแล้ว กลับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะช่วงปลายรัฐบาล ชวน2 ส่งไม้ให้กับ รัฐบาล ทักษิณ1 ถึงกว่า4000ล้าน
คำถามที่คาใจจริงๆคือ หนี้สินของประเทศก็ไม่ได้ลดลงจากการใช้หนี้IMF แล้ว ทักษิณ ไปกู้ เอดีบี มาเพื่อใช้หนี้ IMF ทำไม
อีกคำถามหนึ่งคือ ทักษิณ ประกาศให้ชาวบ้านรู้กันทั่วว่า เขาเป็นคนใช้หนี้IMF ทั้งๆ ตอนไปเบิกเงินกู้ก้อนที่1 และก้อนที่2 เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชวลิต และการที่ใช้หนี้ก่อนกำหนด ประเทศต้องเสียค่าปรับตั้ง2%ซึ่งเป็นเงินถึง 3636 ล้านบาท
m.thairath.co.th/content/337576
-
ปี2540 สมัยรัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ถูก จอร์ช โซลอส โจมตีค่าเงินบาท และรัฐบาลได้ทุ่มเงินกว่า3หมื่นล้านเหรียญต่อสู้ เพื่อพยุงค่าเงินบาทไว้ แต่ผลปรากฏว่าแพ้อย่างราบคาบ จนเงินทุนสำรองเหลือเพียง 800 ล้านเหรียญซึ่งมีผลทำให้เครดิต ของประเทศไม่เป็นที่ยอมรับเพื่อจะทำการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลชวลิต ต้องลอยค่าเงินบาทเป็นผลให้ ค่าของเงินตกต่ำอย่างสุดขีด จากเดิม 25 บาทล่วงไปถึง56บาทต่อ1ดอลล่าร์ และเป็นเหตุให้ รัฐบาล พล.อ.ชวลิต จำเป็นต้องกู้เงินจาก IMFมาเพื่อพยุงสถานะของประเทศเมื่อ 22 กรกฎาคา 2540 จำนวน 17200 ล้านเหรียญ และจากการกู้เงินนี้ ทำให้ประเทศต้องอยู่ในเงินไขของIMF หรือที่เรียกกันว่าLOI ในทุกครั้งที่ไปเบิกเงินกู้ และหลังจากทำสัญญาเงินกู้ได้ 2 วัน ทักษิณ ชินวัตร ก็เข้าร่วมเป็นรองนายกรัฐมนตรีโดยดูแลด้านเศรษฐกิจ LOI ฉบับที่ 1 ทำขึ้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2540 ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลหลัง พลเอกชวลิต ประกาศลาออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่ถึงกระนั้นก็มิใช่เรื่องที่จะกล่าวโทษแก่รัฐบาลที่ทำ LOI ฉบับนั้น เนื่องจากในเวลาวิกฤติ ทางเลือกมีอยู่ไม่มาก
หลังจากกู้เงินIMFแล้ว รัฐบาล พล.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมี ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี พยายามแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่และได้เบิกเงิน จากIMF มา2งวดแล้ว จำนวนเงิน4000ล้านเหรียญ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาเสรษฐกิจได้ จนต้องยอม ลาออกไปในปลายปี2540
-
ปลดหนี้ IMF ไทยเสียค่าปรับ 2,952 ล้านบาท ทักษิณ ได้หน้าบนความเสียหายของบ้านเมือง “ทักษิณ คือ ผู้ปลดแอกไทยจากการเป็นทาส IMF” ด้วยการใช้หนี้ก่อนกำหนด เป็นกลยุทธทางการตลาดที่ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง โดยการประกาศผ่านทีวีพูลของ ทักษิณ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พร้อมกับการรณรงค์ให้คนไทยติด “ธงชาติไทย” ไว้หน้าบ้าน ยิ่งทำให้ ทักษิณ เปรียบประดุจเทพเจ้าที่ลงมาโปรดประเทศไทยให้รอดพ้นจากหายนะ จนประกาศอิสรภา พจาก IMF ได้ ทั้งที่ความจริงรัฐบาลชวน 2 ได้ปลดแอกไทยออกจากการควบคุมของ IMF ตั้งแต่การไม่เบิกเงินงวดที่ 9 แล้ว และหากรัฐบาลชวน 2 มีโอกาสได้บริหารต่อก็คงใช้หนี้ IMF ตามกำหนด ไม่ใช้ก่อนกำหนดอย่างที่ ทักษิณ ทำเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อให้ตัวเอง เพราะทำให้ชาติเสียหายในขณะที่ตนเองได้ผลประโยชน์ทางการเมือง การชำระเงินตามข้อตกลงของ IMF มีขั้นตอนดังนี้ ช่วงปี 41-44 ปลอดการชำระเงินต้นใน 3 ปี ดังนั้นในช่วงที่รัฐบาลชวน 2 บริหารจึงเพิ่งครบกำหนดชำระคืนงวดแรกช่วง ต.ค.43 ส่วนเงินกู้ที่มาจากประเทศต่าง ๆ กำหนดชำระคืนงวดแรกต้นปี 44 โดยในสองส่วนนี้จ่ายในรัฐบาลชวน 2 ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพ โดยได้ผลพวงจากการลอยตัวค่าเงินบาททำให้ส่งผลดีส่งออกที่จนงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เมื่อรัฐบาลทักษิณเข้ามาบริหารประเทศก็มีการทยอยใช้หนี้ตามลำดับ จนกระทั่งในปี 46 มีการประกาศใช้หนี้จำนวน 4,800 ล้านเหรียญ มีกำหนด 3 งวด ๆ ละ 1,600 ล้าน ก่อนกำหนด ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีแต่เป็นผลเสียมากกว่า เนื่องจากในปี 46 IMF คิดดอกเบี้ยจากไทยเพียงแค่ 0.25 % ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8 % ดังนั้นหากเรานำเงิน 4,800 ล้านเหรียญแปลงเป็นเงินไทยในอัตราแลกเปลี่ยนที่ 41 บาทในขณะนั้นจะคิดเป็นไทยได้ 196,800 ล้านบาท หากนำไปฝากธนาคารไว้ 2 ปีโดยไม่ไปชำระหนี้ก่อนกำหนด หักภาษีแล้วประเทศจะมีรายได้จากดอกเบี้ยส่วนนี้ประมาณ 28,000 ล้าน และเสียดอกเบี้ยให้ IMF ตามกำหนด 984 ล้านบาท ยังเหลือกำไรกว่า 27,000 ล้านบาท การปลดไทยจากการเป็นทาส IMF ตามแผนโฆษณาชวนเชื่อทำให้ไทยสูญเสียเงินประเทศชาติให้กับค่าการตลาดทางการเมืองของ ทักษิณ ถึง 2,952 ล้านบาท โดยเป็นผลจากค่าปรับ 2% จำนวน 3,936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ยสองปีจาก IMF 984 ล้านบาท หักกับค่าปรับเท่ากับประเทศไทยเสียค่าโง่ในการเชิดชูทักษิณถึง 2,952 ล้านบาท ที่สำคัญไปกว่านั้นคือในขณะนั้นไทยไม่ได้มีเงินมากพอที่จะใช้หนี้ IMF ได้ก่อนกำหนด แต่รัฐบาลทักษิณ กลับใช้วิธีการไปกู้เงินบางส่วนจาก ADB ซึ่งดอกเบี้ยสูงกว่า IMF มาจ่ายหนี้ให้ IMF โดยหวังผลทางการเมืองล้วน ๆ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติแม้แต่น้อย และยังส่งผลให้หนี้สาธารณะของรัฐบาลทักษิณเพิ่มสูงกว่ารัฐบาลชวน 2 ถึงกว่า 4 พันล้านบาทด้วย ประเทศไทยสูญเงิน 2,952 ล้านบาทโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ ทักษิณ กลายเป็นฮีโร่จากการปลดหนี้ IMF บนความเสียหายของชาติบ้านเมือง และหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นดินพอกหางหมู รวมทั้งหนี้ของประชาชนก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวจากนโยบายประชานิยมของ ทักษิณ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป คนที่คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง ย่อมไม่มีวันคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ
ที่นำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพราะ ทู้ล่างนี้เบย
เศรษฐกิจแย่แบบนี้ คิดถึงลุงทักษิณกันไหมครับ อิอิอิ สมาชิกหมายเลข 1722771