สองสามวันมานี้ สื่อมวลชนในสังคมไทยมักหยิบเอาประเด็น “จุฬาฯ คอนเน็กชั่น” มาเป็นเนื้อหาในการ
รายงานข่าวค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการรายงานในเรื่องที่ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ
รองประธานสองคน ซึ่งจบการศึกษามาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังพยายามจะโยงใยให้เห็นว่า
มี สปช. อีกหลายคนจบการศึกษาจากจุฬาฯ เช่นกัน ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ดูๆ ไปแล้วก็คล้ายๆ กับพยายาม
จะ-ดันหรือเสียดสีอยู่ลึกๆ
หนังสือพิมพ์บางฉบับ และคอลัมนิสต์บางคนถึงกับเขียนข่าวและบทความทำนองว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วง
ขาขึ้นของชาวจุฬาฯ เนื่องจากมีผู้บริหารของจุฬาฯ และอดีตผู้บริหารของจุฬาฯ รวมถึงบุคลากรของจุฬาฯ
หลายคนเข้าไปอยู่ใน สปช. และสนช. (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยเฉพาะในตำแหน่งสำคัญๆ
เช่น ประธานของ สปช.
เมื่อได้อ่านคอลัมน์และข่าวที่กล่าวอ้างถึงจุฬาฯ คอนเน็กชั่นแล้ว ก็ทำให้เกิดคำถามว่า สถาบันการศึกษา
เกี่ยวข้องอย่างไรกับการที่คน คนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งจะได้รับตำแหน่งแห่งที่ใดๆ ทางการเมืองในขณะนี้
สถาบันการศึกษามีอิทธิพลมากมายถึงเพียงนั้นเชียวหรือ หรือว่าผู้เขียนข่าว เขียนคอลัมน์ ต่างก็เขียนกัน
ไปด้วยความเข้าใจผิด เพราะมีอคติต่อสถาบันการศึกษาที่ว่านั้น
จริงอยู่ที่ข่าวและบทความยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ผู้ที่มีตำแหน่งต่างๆ ใน สนช. และ สปช. ซึ่งบางคนจบ
การศึกษามาจากจุฬาฯ จะทำงานได้ดีหรือเลวสถานใด แต่การระบุว่าเป็นจุฬาฯ คอนเน็กชั่นก็ทำให้เกิด
กระแสวิพากษ์ทำนองว่าเป็นการเล่นพรรคเล่นพวกของกลุ่มคนที่จบจากจุฬาฯ
ความจริงอย่างหนึ่งที่สังคมไทยยอมรับก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุด
ของประเทศไทย และผู้เข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้ได้มักเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนสูง ซึ่งหลายคนอนุมานว่า
ผู้ที่เรียนในจุฬาฯ คือคนเรียนเก่ง (ซึ่งการอนุมานเช่นนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดในทุกกรณี)
หลายคนมองและคิดเลยเถิดไปว่า คนที่เรียนจบจากจุฬาฯ คือคนเก่งและคนดี ซึ่งประเด็นเก่งกับดีนั้นไม่ใช่
เรื่องเดียวกันอย่างแน่นอน เพราะคนเรียนเก่งหลายคนไม่ใช่คนดี คนเรียนเก่งบางคนก็มีพฤติกรรมส่วนตัว
เลวทรามต่ำช้ายิ่งกว่าคนที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา คนที่จบจากจุฬาฯ บางคนก็มีพฤติกรรม
โกงบ้านกินเมือง บางคนก็เป็นลูกสมุนและเป็นขี้ข้าของทรราช
ขอย้ำว่า คนที่จบจากจุฬาฯ ทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นคนดีเสมอไป แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจุฬาฯ สอน
ให้คนเป็นคนไม่ดี แต่ความดีความเลวของคนนั้นมันมีรากฐานมาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย
เป็นสำคัญ ส่วนการศึกษานั้นมันเป็นเรื่องที่ตามมาภายหลัง
คนจะดีหรือเลวนั้นมันมีต้นตอมาจากสายเลือดและการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่เป็นสำคัญ การจบจากจุฬาฯ
ไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้ หากคนผู้นั้นมาจากครอบครัวที่พ่อแม่สอนหรือเป็นแบบอย่างให้ลูกเป็นคนเลว
จุฬาฯ สอนได้แค่ความรู้ด้านวิชาการ แต่ความดีความเลวนั้นมาจากการบ่มเพาะของพ่อแม่ของแต่ละคน อย่า
ดึงจุฬาฯ เข้าไปเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลเลย เพราะมันไม่เกี่ยวข้องกัน
http://www.naewna.com/columnist/1141
คนจะดี-เลว ไม่ใช่เพราะสถาบันการศึกษา เฉลิมชัย ยอดมาลัย แนวหน้าออนไลน์
รายงานข่าวค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการรายงานในเรื่องที่ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ
รองประธานสองคน ซึ่งจบการศึกษามาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังพยายามจะโยงใยให้เห็นว่า
มี สปช. อีกหลายคนจบการศึกษาจากจุฬาฯ เช่นกัน ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ดูๆ ไปแล้วก็คล้ายๆ กับพยายาม
จะ-ดันหรือเสียดสีอยู่ลึกๆ
หนังสือพิมพ์บางฉบับ และคอลัมนิสต์บางคนถึงกับเขียนข่าวและบทความทำนองว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วง
ขาขึ้นของชาวจุฬาฯ เนื่องจากมีผู้บริหารของจุฬาฯ และอดีตผู้บริหารของจุฬาฯ รวมถึงบุคลากรของจุฬาฯ
หลายคนเข้าไปอยู่ใน สปช. และสนช. (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยเฉพาะในตำแหน่งสำคัญๆ
เช่น ประธานของ สปช.
เมื่อได้อ่านคอลัมน์และข่าวที่กล่าวอ้างถึงจุฬาฯ คอนเน็กชั่นแล้ว ก็ทำให้เกิดคำถามว่า สถาบันการศึกษา
เกี่ยวข้องอย่างไรกับการที่คน คนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งจะได้รับตำแหน่งแห่งที่ใดๆ ทางการเมืองในขณะนี้
สถาบันการศึกษามีอิทธิพลมากมายถึงเพียงนั้นเชียวหรือ หรือว่าผู้เขียนข่าว เขียนคอลัมน์ ต่างก็เขียนกัน
ไปด้วยความเข้าใจผิด เพราะมีอคติต่อสถาบันการศึกษาที่ว่านั้น
จริงอยู่ที่ข่าวและบทความยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ผู้ที่มีตำแหน่งต่างๆ ใน สนช. และ สปช. ซึ่งบางคนจบ
การศึกษามาจากจุฬาฯ จะทำงานได้ดีหรือเลวสถานใด แต่การระบุว่าเป็นจุฬาฯ คอนเน็กชั่นก็ทำให้เกิด
กระแสวิพากษ์ทำนองว่าเป็นการเล่นพรรคเล่นพวกของกลุ่มคนที่จบจากจุฬาฯ
ความจริงอย่างหนึ่งที่สังคมไทยยอมรับก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุด
ของประเทศไทย และผู้เข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้ได้มักเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนสูง ซึ่งหลายคนอนุมานว่า
ผู้ที่เรียนในจุฬาฯ คือคนเรียนเก่ง (ซึ่งการอนุมานเช่นนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดในทุกกรณี)
หลายคนมองและคิดเลยเถิดไปว่า คนที่เรียนจบจากจุฬาฯ คือคนเก่งและคนดี ซึ่งประเด็นเก่งกับดีนั้นไม่ใช่
เรื่องเดียวกันอย่างแน่นอน เพราะคนเรียนเก่งหลายคนไม่ใช่คนดี คนเรียนเก่งบางคนก็มีพฤติกรรมส่วนตัว
เลวทรามต่ำช้ายิ่งกว่าคนที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา คนที่จบจากจุฬาฯ บางคนก็มีพฤติกรรม
โกงบ้านกินเมือง บางคนก็เป็นลูกสมุนและเป็นขี้ข้าของทรราช
ขอย้ำว่า คนที่จบจากจุฬาฯ ทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นคนดีเสมอไป แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจุฬาฯ สอน
ให้คนเป็นคนไม่ดี แต่ความดีความเลวของคนนั้นมันมีรากฐานมาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย
เป็นสำคัญ ส่วนการศึกษานั้นมันเป็นเรื่องที่ตามมาภายหลัง
คนจะดีหรือเลวนั้นมันมีต้นตอมาจากสายเลือดและการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่เป็นสำคัญ การจบจากจุฬาฯ
ไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้ หากคนผู้นั้นมาจากครอบครัวที่พ่อแม่สอนหรือเป็นแบบอย่างให้ลูกเป็นคนเลว
จุฬาฯ สอนได้แค่ความรู้ด้านวิชาการ แต่ความดีความเลวนั้นมาจากการบ่มเพาะของพ่อแม่ของแต่ละคน อย่า
ดึงจุฬาฯ เข้าไปเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลเลย เพราะมันไม่เกี่ยวข้องกัน
http://www.naewna.com/columnist/1141