ตำนาน ที่มา "จุฬาฯคอนเน็กชั่น" การเมือง-ปฏิรูป ฉบับน้อง-พี่สีชมพู ..... มติชนออนไลน์ .... น่าภูมิใจ !!!!!!!!!!

กระทู้สนทนา
อาจเป็นเพราะความบังเอิญ อาจเป็นเพราะช่วงจังหวะอำนาจ หรืออาจเป็นเพราะทิศทางลมการเมือง
ได้เปลี่ยนทิศ หลัง การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำให้
บรรดาผู้ที่จบการศึกษาจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะภาคที่เกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ต่างถูกมัดติดไปกับผู้ถืออำนาจรัฏฐาธิปัตย์ อย่าง คสช.

เพราะคนทั่ว ไปได้รู้-รับทราบว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลัง-มันสมองในการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ตรวจร่างประกาศ-คำสั่งต่าง ๆ ให้ คสช.เป็นเครือข่ายของ "มีชัย ฤชุพันธุ์" นักกฎหมายระดับ
พญาครุฑ ก็คือศิษย์ก้นกุฏิของ "มีชัย" ชื่อ "วิษณุ เครืองาม" และ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ"
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

"วิษณุ-บวร ศักดิ์" ก็เป็น 2 คนในเครือข่ายจุฬาฯ แม้ "วิษณุ" จบจากนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
แต่ค่อนชีวิตของเขาก็สอนหนังสือที่นิติศาสตร์ จุฬาฯ และการร่างรัฐธรรมนูญจะสำเร็จเป็นทางการ
ไม่ได้ หากขาดศิษย์ร่วมสำนักจุฬาฯเดียวกันอีก 1 คน คือ "พรเพชร วิชิตชลชัย" ประธาน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนปัจจุบัน



พลันที่มีสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 220 คน นอกจากจำนวน สนช.เกินครึ่งเป็นทหารยศนายพล
ตบเท้าเข้ามาสู่สภาแล้ว ฟากพลเรือนก็ยังพ่วงคอนเน็กชั่นจุฬาฯเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่า 30 ที่นั่ง
แม้อาจเป็นเพราะความรู้ความสามารถ หรือความหลากหลายของอาชีพก็ตาม แต่ก็มิอาจปฏิเสธข้อเท็จจริงได้

เช่น นายปรีชา วัชราภัย อดีตเลขาธิการ ก.พ. รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่จบนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยกันทั้งคู่ นายกิตติ วะสีนนท์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
รัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายวัลลภ
ตังคณานุรักษ์ ครุศาสตร์ จุฬาฯ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด
(มหาชน) จบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ปัตตานี จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา นักการเมืองท้องถิ่นปทุมธานี จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ     
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และอีกหลาย ๆ
คนที่จบจุฬาฯ

โดยมี "พรเพชร" นั่งเก้าอี้เป็นประธาน มาถึงสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) 250 คน ก็ถูกวิจารณ์ว่ามีจุฬาฯ
คอนเน็กชั่นเข้ามาเป็นจำนวนมาก อาทิ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ จบจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายจรัส สุวรรณมาลา
จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายปรีชา บุตรศรี จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ประมนต์ สุธีวงศ์ จบวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นายกมล
รอดคล้าย จบครุศาสตร์ จุฬาฯ นายเกริกไกร จิระแพทย์ จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายชาติชาย ณ เชียงใหม่
จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ จบนิติศาสตร์ จุฬาฯ

ขณะที่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาฯ จบจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ติดเป็นเต็ง 1 แคนดิเดตประธาน
สปช. เคียงคู่กับ ชัยอนันต์ สมุทวนิช อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาสตราจารย์เคยสอนหนังสือที่รัฐศาสตร์
จุฬาฯ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นแคนดิเดตนั่งรองประธาน
สปช. คนที่ 1 ควบเก้าอี้ประธาน กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญอีกตำแหน่ง

ส่วน นางทัศนา บุญทอง อดีต ส.ว. จบครุศาสตร์ จุฬาฯ นั่งรองประธานคนที่ 2 ซึ่งตำแหน่งนี้ยังมีคนในจุฬาฯ
คอนเน็กชั่น เบียดเข้าชิงเก้าอี้ด้วยกันอีก 1 คน คือ นายประชา เตรัตน์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ อดีตหัวหน้าผู้ตรวจ
กระทรวงมหาดไทย

ด้าน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน ชื่อของคนจุฬาฯ 3 คน ที่เข้าไปอยู่ในโผแล้วคือ นันทวัฒน์ บรมานันท์
คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง นายไพโรจน์ พรหมสาสน์
อดีตรองปลัดมหาดไทย และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยมี "บวรศักดิ์" จ่อนั่งเป็นประธานกรรมาธิการ
ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญ 2558 กลายเป็นการสลับขั้วข้างของ 2 สำนักคิด จากเดิมที่การร่างรัฐธรรมนูญ 2550
เป็นฝั่งของนักกฎหมายจากนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ทั้ง นรนิติ เศรษฐบุตร ซึ่งนั่งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
2550 มีสมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างฯ มาในวันนี้ การร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จึงสลับ
ฝั่งมาที่นักกฎหมายจากจุฬาฯบ้าง

ไม่เพียงแค่โครงสร้างอำนาจ ระดับบัญชาการ ในยุคปัจจุบันจุฬาฯคอนเน็กชั่นยึดกุมได้ทั่วทุกหัวหาด แต่ยังลงลึก
ถึงระดับกระทรวง ถึงท้องถิ่นรากหญ้า โดยเฉพาะคอนเน็กชั่นภายในกระทรวงมหาดไทย ที่บรรดาข้าราชการ
ระดับสูงล้วนจบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีคอนเน็กชั่นที่เชื่อมโยงกับเครือช่ายอดีตข้าราชการมหาดไทย ที่นั่งอยู่ใน
สปช. อย่าง พงศ์พโยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย วัลลภ พริ้งพงษ์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย

แต่การที่บุคคลระดับนี้จะมา รวมตัวเป็นคอนเน็กชั่น เหนียวแน่น-แน่นแฟ้น ย่อมต้องได้รับการหล่อหลอมความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวจากสถาบัน ดังในเพลงพระราชนิพนธ์ "มหาจุฬาลงกรณ์" จัดเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ทำนอง
เพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "น้ำใจน้อง
พี่สีชมพู"

นอก จากนี้ หากนับเฉพาะบุคคลแวดวงคนการเมือง-การเงิน การคลังในรุ่นเก่าแต่เก๋า เฉกเช่น ดร.โกร่ง วีรพงษ์
รามางกูร หรืออย่าง "เทียนฉาย" ซึ่งเรียนเศรษฐศาสตร์ หรือ "พรเพชร" ได้ปริญญากฎหมาย แต่ก็จบจาก
คณะรัฐศาสตร์ เป็น 1 ในสิงห์ดำทั้งสิ้น เพราะในอดีตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มิได้สอนเฉพาะวิชาการปกครอง
เพื่อผลิตบุคลากรที่ออกไปเป็นข้าราชการนักปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการผลิตบุคลากร
ด้านกฎหมาย เศรษฐกิจเข้าไปด้วย ซึ่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ในต้นตำรับเดิม ได้มีแผนกนิติศาสตร์ แผนกวิชา
การคลัง เพื่อฝึกคนด้านกฎหมาย-เศรษฐกิจเข้าไปด้วย

ย้อน กลับไปในศักราช 2476 เมื่อ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง มีผลบังคับใช้ในการก่อตั้ง
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งในมาตรา 5 ของกฎหมายดังกล่าวให้โอนคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
กำหนดให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์ขึ้นใหม่ใน
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองทำ ให้คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาฯ ที่ตั้งอยู่ก่อน สิ้นสภาพ
ลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ต่อมาในปี 2491 คณะรัฐศาสตร์ได้เกิดขึ้นในจุฬาฯอีกครั้ง และได้จัดตั้งแผนกวิชา
นิติศาสตร์ขึ้นใหม่ในคณะรัฐศาสตร์ในปี 2494 และในคณะรัฐศาสตร์ก็มีแผนกวิชาการคลังรวมอยู่ด้วย

แต่ ในปี 2501 แผนกวิชานิติศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรและเปิดรับนิสิตเข้าเรียนในแผนกวิชา นิติศาสตร์โดยตรง
การเรียนการสอนในขณะนั้นก็แยกออกจากแผนกวิชารัฐศาสตร์ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง จึงเป็นอันว่าการเรียนการสอน
ในแผนกวิชานิติศาสตร์ในยุคหลังได้เกิดขึ้นโดย สมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา และในปี 2515 คณะนิติศาสตร์ก็ได้แยกตัว
ออกจากคณะรัฐศาสตร์ ถือเป็นการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้นอีกครั้ง

ขณะ ที่คณะเศรษฐศาสตร์ แต่เดิมนั้นเป็นเพียงแผนกวิชาหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์เท่านั้น ซึ่งแต่ก่อนนั้นทาง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการประสาทปริญญาเศรษฐศาสตร บัณฑิตมาเป็นเวลาร่วมกว่า 20 ปี ก่อนที่จะมี
การจัดตั้งคณะนี้ขึ้นในปี 2513 โดยได้แยกกันจัดดำเนินการโดยสองแผนกวิชาคือ แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และแผนกวิชาการคลัง คณะรัฐศาสตร์เข้าด้วยกัน ดังนั้น บรรดาจุฬาฯ
คอนเน็กชั่นรุ่นเก่า-เก๋าประสบการณ์ ทั้งจากรัฐศาสตร์ แผนกนิติศาสตร์ แผนกการคลัง ล้วนมีความเป็นพรรค
พวกเดียวกันค่อนข้างสูง

ตัวอย่าง เช่น ในยามที่การเมืองเดือด พรรคเพื่อไทยเปิดฉากวิวาทบนกระดานอำนาจ "ภูมิธรรม เวชยชัย"
รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ยังเอ่ยถึง ยกย่องถึง "จรัญ ภักดีธนากุล" ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสมอในวง
สนทนาว่า เมื่อก่อนมี 2 คนที่แข่งกันระหว่างคนรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และคนธรรมศาสตร์ จุฬาฯมี "จรัญ ภักดีธนากุล"
ธรรมศาสตร์มี "วิษณุ เครืองาม" หลังสอบเนติบัณฑิต ปรากฏว่า "จรัญ" สอบเนติฯได้ที่ 1 ของประเทศ ส่วน "วิษณุ"
ได้ที่ 2

"อาจารย์ จรัญเลยเป็นความภาคภูมิใจของจุฬาฯ" ภูมิธรรมเล่า ทั้งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญกับพรรค
เพื่อไทยเป็นคู่ปรับกันทางการ เมือง แต่ความเป็นพี่เป็นน้องในสายเลือดสีชมพูยังเข้มข้น

ยิ่งทุก ๆ ต้นปี จะมีประเพณีคืนถิ่นของบรรดาศิษย์เก่าที่จบจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เรียกว่า "สิงห์ดำสัมพันธ์"
ให้สิงห์ดำทุกรุ่นได้มาสังสรรค์รำลึกความหลังกัน ย่อมสะท้อนถึงความกลมเกลียวของเลือดสีชมพู

เมื่อจุฬาฯคอนเน็กชั่นผงาดกุมอำนาจทั่วทุกหัวระแหงตั้งแต่ฝ่ายบริหารที่มี "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี
เป็นแม่ทัพฝ่ายนิติบัญญัติมี "พรเพชร พิชิตชลชัย" เป็นหัวหอกด้านการออกกฎหมาย เป็นลมใต้ปีกให้รัฐบาล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ด้าน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็มี "เทียนฉาย กีระนันทน์" แท็กทีมกับ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" ซึ่งมีบทบาทสูง
ใน สปช. โดยเฉพาะดึงกลุ่มก้อนสถาบันพระปกเกล้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก


เมื่อทุกองคาพยพล้วนเป็นหนึ่งเดียวกันมีความกลมเกลียวเป็นคอนเน็กชั่น

เมื่อสุดท้ายเป้าหมายปลายทางคือการคลอดรัฐธรรมนูญ2558ปฏิรูปการเมือง

ต้องจับตาการเมืองภายใต้จุฬาฯคอนเน็กชั่นจะเป็นอย่างไร

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1413790140

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1413862507



สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่