วันนี้ เราจะมาแบ่งปันความรู้ ที่ได้จากการอ่านหนังสือเกี่ยวกับสมุนไพรนะคะ
( เขียนไม่ค่อยเก่งซะเท่าไหร่ แต่อยากแบ่งปันความรู้ค่ะ )
ตามตำราศาสตร์การบำบัด การรักษาของคนจีนสมัยโบราณ จะรวบรวมแนวทางหลักในการรักษาผู้เจ็บป่วยไว้ 2 ประการ คือ
1. การรักษาแบบองค์รวม จะเป็นการรักษาที่ครอบคลุม เช่น อาการอ่อนเพลีย หน้าตาซีดเซียว ปากซีด หมอจีนในสมัยก่อนจะให้กินสมุนไพร
ที่มีสรรพคุณบำรุงเลือด หัวใจ และม้ามไปพร้อมๆกัน
2. การรักษาที่ดูจากสภาพแวดล้อมภายนอก ที่มากระทบลักษณะพื้นฐานของสุขภาพเดิมของแต่ละบุคคล ซึ่งโดยปกติแล้ว แพทย์จีนจะแบ่ง
พื้นฐานสุขภาพ ของคนออกเป็น 4 แบบคือ
- พวกหยางแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้ร้อน คล่องแคล่ว ตื่นเต้นได้ง่าย ชีพจรเต้นเร็ว ลิ้นมีสีแดง
- พวกหยินแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้หนาว มีนิสัยเรียบๆ ดูสงบนิ่ง อาจมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
- พวกหยางอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะมีลักษณะนิสัยเป็นคนเก็บกด หน้าตาซีดเซียวเหมือนไม่ค่อยมีเลือด
- พวกหยินอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะมีรูปร่างผอมบาง อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิด ขี้โมโหง่าย
แพทย์จีนได้กล่าวไว้ว่า ร่างกายที่แข็งแกร่งเป็นปกติคือ ร่างกายที่หยินและหยางสมดุลกัน การที่ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นเพราะการเสียสมดุล
เนื่องจากเชื้อโรคหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้ร่างกายมีหยินหรือหยางมากเกินไป เมื่อร่างกายเราเสียสมดุล ก็จะส่งผลให้อารมณ์เสียสมดุลตามไปด้วย ดังนั้น การรักษาของแพทย์จีน จึงเน้นไปที่การปรับสมดุล ซึ่งเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดีขึ้น เช่น การฝังเข็ม การกดจุด ไกเก๊กหรือการฝึกพลังลมปราณ การใช้สมุนไพร และการใช้สมุนไพรปรุงร่วมกับอาหาร
ทีนี้เราก็มาดู
สมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและร้อน จัดเป็นพวกหยาง ซึ่งใช้บำบัดอาการที่เกิดจากการมีหยินมากเกินไป
เช่น
มีอาการเย็นตามมือและเท้า ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่ค่อยแข็งแรง ถ่ายเหลว ท้องร่วง ขี้หนาว ไม่กระฉับกระเฉง หากมีอาการดังกล่าว ควรจะใช้สมุนไพรในกลุ่มนี้ประกอบอาหาร หรือชงเป็นชาดื่มเพื่อบำบัดอาการค่ะ
* กานพลู
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กานพลูเป็นเครื่องเทศและยาที่ใช้มากว่า2000ปี ส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์คือ ส่วนดอกตูมที่มีฐานดอกใหญ่ กานพลูคุณภาพดีควรแห้งสนิทและมีดอกขนาดใหญ่ ดอกกานพลูที่บานแล้วจะมีสรรพคุณทางยาต่ำกว่าดอกตูม และกานพลูที่ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว ก็จะมีสรรพคุณทางยาต่ำลงเช่นกันค่ะ
สรรพคุณ
- กานพลูมีฤทธิ์อุ่น เผ็ดร้อน กลิ่นหอมแรง จึงช่วยรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะ ลดการบีบตัวของลำไส้
- กานพลูมีสารยูจีนอล(eugenol)สูง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ แก้ปวดฟัน ยาชา รักษาโรคเหลือก ระงับแบคทีเรียและกลิ่นปากได้ดี
- ช่วยเพิ่มประสทิธิภาพในการทำงานของม้าม กระเพราะและไต ช่วยอุ่นกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน และแก้อาการสะอึก
- กานพลูมีแมงกานีสสูง มีโอเมก้า 3 วิตามินเค วิตามินซี เส้นใย มีแคลเซียมและแมกนีเซียมเล็กน้อย จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน
วิธีใช้
- เคี้ยวกานพลูแห้ง 1-2 ดอก หลังมืออาหาร เพื่อลดกลิ่นปาก ช่วยให้ปากสะอาด และช่วยลดอาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย
- ต้มกานพลูแห้งกับชา ดื่มเป็นประจำ ช่วยลดอาการเบื่ออาหาร แน่นจุกเสียด อาหารไม่ย่อย มีกรดในกระเพาะ
- บดกานพลูแห้ง 1 ดอก ผสมกับนมครึ่งลิตร ดื่มลดอาการท้องอืดในเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี
ข้อควรระวัง
- ผู้ที่เป็นไข้ อาเจียน ร้อนใน ห้ามกิน
- หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร เด็ก ผู้ป่วยโรคตับไต และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรกิน
* กุยช่าย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กุยช่าย เป็นพืชในสกุลเดียวกับกระเทียมและหัวหอม จึงมีกลิ่นแรงและฉุนจากสารประกอบพวกกำมะถัน
สรรพคุณ
- กุยช่ายมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ใบมีสรรพคุณลดการอักเสบและการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แก้แมลงกัดต่อย ผื่นคัน ฟกช้ำ บวม แก้หวัด แก้หูน้ำหนวก เลือดกำเดาไหล แก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด แก้ท้องผูก อาการแน่นหน้าอก และอาเจียนเป็นเลือด
- เมล็ด ใช้ขับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิแส้ม้า รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แก้อาการน้ำอสุจิเคลื่อนบ่อย แก้ตกขาว อาการปัสสาวะผิดปกติ และเลือดออกในช่องท้อง
- ราก รักษาอาการแน่นหน้าอก ช้ำใน เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด แก้ตกขาว
วิธีใช้
- ต้มกุยช่าย 60 กรัม เนื้อหอยกาบ 150 กรัม กินรักษาวัณโรค ไอแห้งๆ มีเหงือออกมาก และโรคเบาหวาน
- นำกุยช่ายสดมาคั้นน้ำดื่ม แก้อาการห้อเลือดบริเวณท้อง
- ผสมน้ำคั้นกุยช่าย 2 ช้อนโต๊ะ นมสดครึ่งแก้ว น้ำขิงเล็กน้อย ดื่มรักษาอาการอาเจียน
- ผัดดอกกุย่ายกับตับหมู แก้อาการเหงือออกตอนกลางคืน แก้ท้องเสีย
- เมล็ดกุยช่าย 10 กรัม ชงน้ำดื่ม รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ข้อควรระวัง
ผู้ที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี ไม่ควรกิน
* ขิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขิง จัดเป็นทั้งเครื่องเทศและยา ขิงแก่มีรสเผ็ดกว่าขิงอ่อน และมีตัวยาสำคัญหลากหลายชนิด
สรรพคุณ
- ขิงมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด กลิ่นหอม ช่วยย่อยอาหาร ขับเหงือ ขับลม แ้กท้องอืดเฟ้อ ลดเสมหะ แก้ไอ รักษาอาการหวัด แก้อาการเมารถเมาเรือ แก้อาเจียน ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะ ช่วยการไหลเวียนของเลือด แก้ปวด
- ใบมีสรรพคุณขับลม ช่วยย่อย รักษานิ่ว รักษาอาการฟกช้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง
- ดอก ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
- ผล กินแก้ไข้ เจ็บคอ คอแห้ง
- เปลือกขิง ช่วยขับปัสสาวะ ลดบวม
- ขิงสดและขิงแห้ง จะให้สรรถคุณแตกต่างกัน ขิงสดมีฤทธิ์อุ่น จึงดีต่อการทำงานของม้าม ปอด กระเพาะ ช่วยแก้หอบหืด ขับเหงื่อ แก้อาเจียน
ส่วนขิงแห้งมีฤทธิ์ร้อน ช่วยแก้อาการปวดจากความเย็น ท้องเสีย อาการมือเท้าเย็น และรักษาโรครูมาติก
- ขิงอ่อนและขิงแก่จะให้สรรถคุณแตกต่างกัน ขิงอ่อนมีสรรพคุณแก้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ส่วนขิงแก่มีสรรถคุณแก้ไอ หอบ ท้องอืด ปวดท้อง ปวดเอว มือเท้าเย็น รักษาภาวะน้ำลายมาก แก้อาเจียน
วิธีใช้
- ต้มขิงแห้งรวมกับขิงสดกินแก้หวัดและไข้ หรือต้มขิงสดกับเปลือกส้มแห้ง ดคื่มขณะอุ่นๆ ช่วยลดอาการไอ
- ขิงสดคั้นน้ำประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้ง 6 ช้อนชา อุ่นให้ร้อน กินขับเสมหะ
- ต้มขิงสดผสมกับทุทราจีนแห้ง และต้านต้นหอม ดื่มแก้หวัด
- ตุ๋นขิงสดกับกระเพาะหมูกินเป็นกับข้าว ช่วยรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- ดื่มน้ำขิงอุ่น 1 แก้ว ก่อนเดินทางอย่างน้อยสัก 20 นาที จะช่วยลดอาการเมารถเมาเรือได้ดี
- นำขิงมาทุบแล้วหมกไฟพออุ่น ถูทาหนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วง จะช่วยกระตุ้นให้ผมงอกขึ้นมาใหม่
- เมนูไก่ผัดขิง เหมาะสำหรับผู้หญิงหลังคลอด จะช่วยเสริมพลังหยาง และเลือดที่เสียไปมาก ช่วยให้ระบายของเสีย น้ำคาวปลาได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น
ข้อควรระวัง
- ผู้ที่มีอาการร้อนใน เจ็บคอ คอแห้ง และมีเหงือออกมากในตอนกลางคืน ไม่ควรกิน
- คนท้องไม่ควรกินขิงเป็นประจำหรือติดต่อกันนาน
* ตังกุย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนที่นำมาเป็นยาคือส่วนราก ซึ่งมีขนาดประมาณหัวแม่โป้ง ลักษณะตังกุยคุณภาพดี คือรากโต มีรากฝอยน้อย เมื่อผ่ากลางจะเห็นเนื้อในสีขาวใสออกเหลืองแผ่กระจายออกโดยรอบ มีกลิ่นหอม
สรรพคุณ
- ตังคุยมีฤทธิ์อุ่น รสหวานอมขม และเผ็ด ประกอบด้วย สารแอลคาลอยด์ น้ำมันหอมระเหย วิตามินเอ วิตามินบี และเกลือแร่ จึงช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสมอง ตับ ต่อมน้ำเหลือง กระตุ้นการทำงานของหัวใจ การไหลเวียนเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รักษาอาการปวดประจำเดือน บำรุงมดลูก
- ตังกุยแบ่งออกเป็นส่วนหัว ตัว และหาง ซึ่งมีสรรพคุณต่างกัน โดยส่วนหัวใช้ห้ามเลือด ส่วนตัวใช้บำรุงเลือด และส่วนหางใช้ฟอกเลือด
- เหมาะสำหรับสตรีทั้งก่อนและหลังคลอด เนื่องจากสารสกัดจากตังกุยมีผลต่อสตรีในภาวะตั้งครรภ์ คือ ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก มีผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น จึงลดโอกาสในการแท้งลูกได้ ส่วนผลต่อสตรีหลังการคลอดบุตรคือ ช่วยในการขับน้ำคาวปลา และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
- ให้สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบรรเทาอาการจากภาวะหมดประจำเดือน
- ในตังกุยมีสารโฟลิก และ ไบโอติน ซึ่งมีผลต่อการสร้างเม็ดเลือด จึงนิยมใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
- มีงานวิจัยที่พบว่า ตังกุบช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ต้านการอักเสบ และรักษาโรคหอบหืด
ข้อควรระวัง
- สำหรับผู้ที่ระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือเคยอาเจียนเป็นเลือด ไม่ควรกิน
- สำหรับผู้ที่กินยาลดความดัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรืออื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
- ผู้ใช้ตังกุยเป็นระยะเวลานาน และผู้ที่มีผิวบอบบาง ควรเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง เพราะอาจเกิดอาการผิวหนังแสบ คัน เป็นผื่นแดงได้
* เทียนข้าวเปลือก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นพืชสกุลเดียวกับผักชี แต่มีขนาดต้นใหญ่กว่า นิยมนำส่วนของเมล็ดแห้งมาประกอบอาหารและใช้เป็นยา
สรรพคุณ
- เทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์อุ่น รสหวาน เผ็ดร้อน มีน้ำมันหอมระเหยสูง ใช้บำรุงเลือด แก้ลม ท้องอืด ซึ่งต้องใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
- ช่วยลดกลิ่นปาก ช่วยย่อย รักษาโรคแผลในปาก
- ช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว
- บำรุงไต แก้ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดท้อง รักษากระเพาะ รักษาโรคเหน็บชา และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ข้อควรระวัง
- เทียนข้าวเปลือกเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการท้องเสียเป็นประจำ
- ผู้ชายที่มีปัญหาทางเพศและมีอากรหลั่งเร็ว ไม่ควรกิน
ยังมีอีกเยอะนะคะ ว่างๆเดี๋ยวมาต่อให้ค่ะ
หวังว่าจะมีประโยชน์และให้ความรู้แก่หลายๆคน
และขอแท็กหลายห้องหน่อย เพราะอยากให้ความรู้ข้อมูลตรงนี้ด้วยค่ะ
ขอบคุณ หนังสือ มหัศจรรย์สมุนไพรจีน
รูปภาพประกอบจากในอากู๋
ความรู้เรื่องของสมุนไพรกับสุขภาพค่ะ
( เขียนไม่ค่อยเก่งซะเท่าไหร่ แต่อยากแบ่งปันความรู้ค่ะ )
ตามตำราศาสตร์การบำบัด การรักษาของคนจีนสมัยโบราณ จะรวบรวมแนวทางหลักในการรักษาผู้เจ็บป่วยไว้ 2 ประการ คือ
1. การรักษาแบบองค์รวม จะเป็นการรักษาที่ครอบคลุม เช่น อาการอ่อนเพลีย หน้าตาซีดเซียว ปากซีด หมอจีนในสมัยก่อนจะให้กินสมุนไพร
ที่มีสรรพคุณบำรุงเลือด หัวใจ และม้ามไปพร้อมๆกัน
2. การรักษาที่ดูจากสภาพแวดล้อมภายนอก ที่มากระทบลักษณะพื้นฐานของสุขภาพเดิมของแต่ละบุคคล ซึ่งโดยปกติแล้ว แพทย์จีนจะแบ่ง
พื้นฐานสุขภาพ ของคนออกเป็น 4 แบบคือ
- พวกหยางแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้ร้อน คล่องแคล่ว ตื่นเต้นได้ง่าย ชีพจรเต้นเร็ว ลิ้นมีสีแดง
- พวกหยินแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้หนาว มีนิสัยเรียบๆ ดูสงบนิ่ง อาจมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
- พวกหยางอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะมีลักษณะนิสัยเป็นคนเก็บกด หน้าตาซีดเซียวเหมือนไม่ค่อยมีเลือด
- พวกหยินอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะมีรูปร่างผอมบาง อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิด ขี้โมโหง่าย
แพทย์จีนได้กล่าวไว้ว่า ร่างกายที่แข็งแกร่งเป็นปกติคือ ร่างกายที่หยินและหยางสมดุลกัน การที่ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นเพราะการเสียสมดุล
เนื่องจากเชื้อโรคหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้ร่างกายมีหยินหรือหยางมากเกินไป เมื่อร่างกายเราเสียสมดุล ก็จะส่งผลให้อารมณ์เสียสมดุลตามไปด้วย ดังนั้น การรักษาของแพทย์จีน จึงเน้นไปที่การปรับสมดุล ซึ่งเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดีขึ้น เช่น การฝังเข็ม การกดจุด ไกเก๊กหรือการฝึกพลังลมปราณ การใช้สมุนไพร และการใช้สมุนไพรปรุงร่วมกับอาหาร
ทีนี้เราก็มาดูสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและร้อน จัดเป็นพวกหยาง ซึ่งใช้บำบัดอาการที่เกิดจากการมีหยินมากเกินไป
เช่น มีอาการเย็นตามมือและเท้า ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่ค่อยแข็งแรง ถ่ายเหลว ท้องร่วง ขี้หนาว ไม่กระฉับกระเฉง หากมีอาการดังกล่าว ควรจะใช้สมุนไพรในกลุ่มนี้ประกอบอาหาร หรือชงเป็นชาดื่มเพื่อบำบัดอาการค่ะ
* กานพลู
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กานพลูเป็นเครื่องเทศและยาที่ใช้มากว่า2000ปี ส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์คือ ส่วนดอกตูมที่มีฐานดอกใหญ่ กานพลูคุณภาพดีควรแห้งสนิทและมีดอกขนาดใหญ่ ดอกกานพลูที่บานแล้วจะมีสรรพคุณทางยาต่ำกว่าดอกตูม และกานพลูที่ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว ก็จะมีสรรพคุณทางยาต่ำลงเช่นกันค่ะ
สรรพคุณ- กานพลูมีฤทธิ์อุ่น เผ็ดร้อน กลิ่นหอมแรง จึงช่วยรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะ ลดการบีบตัวของลำไส้
- กานพลูมีสารยูจีนอล(eugenol)สูง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ แก้ปวดฟัน ยาชา รักษาโรคเหลือก ระงับแบคทีเรียและกลิ่นปากได้ดี
- ช่วยเพิ่มประสทิธิภาพในการทำงานของม้าม กระเพราะและไต ช่วยอุ่นกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน และแก้อาการสะอึก
- กานพลูมีแมงกานีสสูง มีโอเมก้า 3 วิตามินเค วิตามินซี เส้นใย มีแคลเซียมและแมกนีเซียมเล็กน้อย จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน
วิธีใช้
- เคี้ยวกานพลูแห้ง 1-2 ดอก หลังมืออาหาร เพื่อลดกลิ่นปาก ช่วยให้ปากสะอาด และช่วยลดอาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย
- ต้มกานพลูแห้งกับชา ดื่มเป็นประจำ ช่วยลดอาการเบื่ออาหาร แน่นจุกเสียด อาหารไม่ย่อย มีกรดในกระเพาะ
- บดกานพลูแห้ง 1 ดอก ผสมกับนมครึ่งลิตร ดื่มลดอาการท้องอืดในเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี
ข้อควรระวัง
- ผู้ที่เป็นไข้ อาเจียน ร้อนใน ห้ามกิน
- หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร เด็ก ผู้ป่วยโรคตับไต และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรกิน
* กุยช่าย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กุยช่าย เป็นพืชในสกุลเดียวกับกระเทียมและหัวหอม จึงมีกลิ่นแรงและฉุนจากสารประกอบพวกกำมะถัน
สรรพคุณ
- กุยช่ายมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ใบมีสรรพคุณลดการอักเสบและการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แก้แมลงกัดต่อย ผื่นคัน ฟกช้ำ บวม แก้หวัด แก้หูน้ำหนวก เลือดกำเดาไหล แก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด แก้ท้องผูก อาการแน่นหน้าอก และอาเจียนเป็นเลือด
- เมล็ด ใช้ขับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิแส้ม้า รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แก้อาการน้ำอสุจิเคลื่อนบ่อย แก้ตกขาว อาการปัสสาวะผิดปกติ และเลือดออกในช่องท้อง
- ราก รักษาอาการแน่นหน้าอก ช้ำใน เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด แก้ตกขาว
วิธีใช้
- ต้มกุยช่าย 60 กรัม เนื้อหอยกาบ 150 กรัม กินรักษาวัณโรค ไอแห้งๆ มีเหงือออกมาก และโรคเบาหวาน
- นำกุยช่ายสดมาคั้นน้ำดื่ม แก้อาการห้อเลือดบริเวณท้อง
- ผสมน้ำคั้นกุยช่าย 2 ช้อนโต๊ะ นมสดครึ่งแก้ว น้ำขิงเล็กน้อย ดื่มรักษาอาการอาเจียน
- ผัดดอกกุย่ายกับตับหมู แก้อาการเหงือออกตอนกลางคืน แก้ท้องเสีย
- เมล็ดกุยช่าย 10 กรัม ชงน้ำดื่ม รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ข้อควรระวัง
ผู้ที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี ไม่ควรกิน
* ขิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขิง จัดเป็นทั้งเครื่องเทศและยา ขิงแก่มีรสเผ็ดกว่าขิงอ่อน และมีตัวยาสำคัญหลากหลายชนิด
สรรพคุณ
- ขิงมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด กลิ่นหอม ช่วยย่อยอาหาร ขับเหงือ ขับลม แ้กท้องอืดเฟ้อ ลดเสมหะ แก้ไอ รักษาอาการหวัด แก้อาการเมารถเมาเรือ แก้อาเจียน ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะ ช่วยการไหลเวียนของเลือด แก้ปวด
- ใบมีสรรพคุณขับลม ช่วยย่อย รักษานิ่ว รักษาอาการฟกช้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง
- ดอก ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
- ผล กินแก้ไข้ เจ็บคอ คอแห้ง
- เปลือกขิง ช่วยขับปัสสาวะ ลดบวม
- ขิงสดและขิงแห้ง จะให้สรรถคุณแตกต่างกัน ขิงสดมีฤทธิ์อุ่น จึงดีต่อการทำงานของม้าม ปอด กระเพาะ ช่วยแก้หอบหืด ขับเหงื่อ แก้อาเจียน
ส่วนขิงแห้งมีฤทธิ์ร้อน ช่วยแก้อาการปวดจากความเย็น ท้องเสีย อาการมือเท้าเย็น และรักษาโรครูมาติก
- ขิงอ่อนและขิงแก่จะให้สรรถคุณแตกต่างกัน ขิงอ่อนมีสรรพคุณแก้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ส่วนขิงแก่มีสรรถคุณแก้ไอ หอบ ท้องอืด ปวดท้อง ปวดเอว มือเท้าเย็น รักษาภาวะน้ำลายมาก แก้อาเจียน
วิธีใช้
- ต้มขิงแห้งรวมกับขิงสดกินแก้หวัดและไข้ หรือต้มขิงสดกับเปลือกส้มแห้ง ดคื่มขณะอุ่นๆ ช่วยลดอาการไอ
- ขิงสดคั้นน้ำประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้ง 6 ช้อนชา อุ่นให้ร้อน กินขับเสมหะ
- ต้มขิงสดผสมกับทุทราจีนแห้ง และต้านต้นหอม ดื่มแก้หวัด
- ตุ๋นขิงสดกับกระเพาะหมูกินเป็นกับข้าว ช่วยรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- ดื่มน้ำขิงอุ่น 1 แก้ว ก่อนเดินทางอย่างน้อยสัก 20 นาที จะช่วยลดอาการเมารถเมาเรือได้ดี
- นำขิงมาทุบแล้วหมกไฟพออุ่น ถูทาหนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วง จะช่วยกระตุ้นให้ผมงอกขึ้นมาใหม่
- เมนูไก่ผัดขิง เหมาะสำหรับผู้หญิงหลังคลอด จะช่วยเสริมพลังหยาง และเลือดที่เสียไปมาก ช่วยให้ระบายของเสีย น้ำคาวปลาได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น
ข้อควรระวัง
- ผู้ที่มีอาการร้อนใน เจ็บคอ คอแห้ง และมีเหงือออกมากในตอนกลางคืน ไม่ควรกิน
- คนท้องไม่ควรกินขิงเป็นประจำหรือติดต่อกันนาน
* ตังกุย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนที่นำมาเป็นยาคือส่วนราก ซึ่งมีขนาดประมาณหัวแม่โป้ง ลักษณะตังกุยคุณภาพดี คือรากโต มีรากฝอยน้อย เมื่อผ่ากลางจะเห็นเนื้อในสีขาวใสออกเหลืองแผ่กระจายออกโดยรอบ มีกลิ่นหอม
สรรพคุณ
- ตังคุยมีฤทธิ์อุ่น รสหวานอมขม และเผ็ด ประกอบด้วย สารแอลคาลอยด์ น้ำมันหอมระเหย วิตามินเอ วิตามินบี และเกลือแร่ จึงช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสมอง ตับ ต่อมน้ำเหลือง กระตุ้นการทำงานของหัวใจ การไหลเวียนเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รักษาอาการปวดประจำเดือน บำรุงมดลูก
- ตังกุยแบ่งออกเป็นส่วนหัว ตัว และหาง ซึ่งมีสรรพคุณต่างกัน โดยส่วนหัวใช้ห้ามเลือด ส่วนตัวใช้บำรุงเลือด และส่วนหางใช้ฟอกเลือด
- เหมาะสำหรับสตรีทั้งก่อนและหลังคลอด เนื่องจากสารสกัดจากตังกุยมีผลต่อสตรีในภาวะตั้งครรภ์ คือ ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก มีผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น จึงลดโอกาสในการแท้งลูกได้ ส่วนผลต่อสตรีหลังการคลอดบุตรคือ ช่วยในการขับน้ำคาวปลา และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
- ให้สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบรรเทาอาการจากภาวะหมดประจำเดือน
- ในตังกุยมีสารโฟลิก และ ไบโอติน ซึ่งมีผลต่อการสร้างเม็ดเลือด จึงนิยมใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
- มีงานวิจัยที่พบว่า ตังกุบช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ต้านการอักเสบ และรักษาโรคหอบหืด
ข้อควรระวัง
- สำหรับผู้ที่ระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือเคยอาเจียนเป็นเลือด ไม่ควรกิน
- สำหรับผู้ที่กินยาลดความดัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรืออื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
- ผู้ใช้ตังกุยเป็นระยะเวลานาน และผู้ที่มีผิวบอบบาง ควรเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง เพราะอาจเกิดอาการผิวหนังแสบ คัน เป็นผื่นแดงได้
* เทียนข้าวเปลือก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นพืชสกุลเดียวกับผักชี แต่มีขนาดต้นใหญ่กว่า นิยมนำส่วนของเมล็ดแห้งมาประกอบอาหารและใช้เป็นยา
สรรพคุณ
- เทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์อุ่น รสหวาน เผ็ดร้อน มีน้ำมันหอมระเหยสูง ใช้บำรุงเลือด แก้ลม ท้องอืด ซึ่งต้องใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
- ช่วยลดกลิ่นปาก ช่วยย่อย รักษาโรคแผลในปาก
- ช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว
- บำรุงไต แก้ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดท้อง รักษากระเพาะ รักษาโรคเหน็บชา และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ข้อควรระวัง
- เทียนข้าวเปลือกเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการท้องเสียเป็นประจำ
- ผู้ชายที่มีปัญหาทางเพศและมีอากรหลั่งเร็ว ไม่ควรกิน
ยังมีอีกเยอะนะคะ ว่างๆเดี๋ยวมาต่อให้ค่ะ
หวังว่าจะมีประโยชน์และให้ความรู้แก่หลายๆคน
และขอแท็กหลายห้องหน่อย เพราะอยากให้ความรู้ข้อมูลตรงนี้ด้วยค่ะ
ขอบคุณ หนังสือ มหัศจรรย์สมุนไพรจีน
รูปภาพประกอบจากในอากู๋