มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer หรือ Gastric Cancer) เป็นหนึ่งในมะเร็งที่น่ากลัว เพราะอาการในระยะแรกมักไม่ชัดเจน หรือคล้ายกับโรคกระเพาะธรรมดา เช่น ปวดท้อง แน่นท้อง น้ำหนักลด หรือท้องอืด กว่าจะรู้ตัวก็อาจเข้าสู่ระยะที่รักษาได้ยาก
อย่าปล่อยให้โรคร้ายซ่อนตัว! มาเรียนรู้ความเสี่ยง อาการเตือน และวิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร เพื่อดูแลสุขภาพตัวเองและคนที่คุณรัก
มะเร็งกระเพาะอาหารคืออะไร?
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจาก เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารที่แบ่งตัวผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อบุช่องท้อง ตับ ปอด หรือกระดูก
จากสถิติ มะเร็งกระเพาะอาหารพบเป็นอันดับ 5 ของโรคมะเร็งทั่วโลก แม้ในไทยจะพบน้อยกว่ามะเร็งชนิดอื่น แต่ผู้ป่วยกว่าครึ่งมักเสียชีวิต เนื่องจากการวินิจฉัยโรคมักเกิดในระยะลุกลามแล้ว
อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการระยะแรก มักคล้ายโรคกระเพาะธรรมดา ได้แก่
-อืด
-แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
-อาหารไม่ย่อย
-กลืนอาหารลำบาก
-เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรืออาเจียน
อาการระยะลุกลาม
-อาเจียนเป็นเลือดหรือมีลิ่มเลือด
-อุจจาระมีเลือดปนหรือสีดำ
-ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
-คลำเจอก้อนบริเวณคอ (แอ่งไหปลาร้าด้านซ้าย)
-ตัวเหลือง ตาเหลือง
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
แม้สาเหตุแท้จริงยังไม่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่
-อายุ: พบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
-เพศชาย: ผู้ชายเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า
-พันธุกรรม: มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารในครอบครัว
-การติดเชื้อ H. Pylori: เชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง
-การรับประทานอาหารบางประเภท: เช่น อาหารหมักดอง ปิ้งย่าง หรือเค็มจัด
-พฤติกรรมเสี่ยง: สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ กินผักผลไม้น้อย
ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารได้อย่างไร?
-รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: เพิ่มผักผลไม้ ลดอาหารหมักดองและเค็มจัด
-เลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอล์
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-ตรวจสุขภาพประจำปี: โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
หากมีอาการที่ไม่ดีขึ้นหลังการรักษาโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้องเรื้อรัง น้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองอย่างละเอียด
มะเร็งกระเพาะอาหารอาจเริ่มต้นด้วยอาการเล็กน้อยที่ดูเหมือนไม่มีอะไรผิดปกติ แต่สามารถลุกลามจนเป็นอันตรายถึงชีวิต การดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอและหมั่นสังเกตอาการเป็นสิ่งสำคัญ หากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่รวดเร็วและได้ผลดีที่สุด สุขภาพที่ดีเริ่มจากการใส่ใจ อย่ารอให้สายเกินไป!
อ่านเพิ่มเติม ที่
HDcare Blog
อาการเตือนมะเร็งกระเพาะอาหาร สังเกตอย่างไร
อย่าปล่อยให้โรคร้ายซ่อนตัว! มาเรียนรู้ความเสี่ยง อาการเตือน และวิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร เพื่อดูแลสุขภาพตัวเองและคนที่คุณรัก
มะเร็งกระเพาะอาหารคืออะไร?
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจาก เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารที่แบ่งตัวผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อบุช่องท้อง ตับ ปอด หรือกระดูก
จากสถิติ มะเร็งกระเพาะอาหารพบเป็นอันดับ 5 ของโรคมะเร็งทั่วโลก แม้ในไทยจะพบน้อยกว่ามะเร็งชนิดอื่น แต่ผู้ป่วยกว่าครึ่งมักเสียชีวิต เนื่องจากการวินิจฉัยโรคมักเกิดในระยะลุกลามแล้ว
อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการระยะแรก มักคล้ายโรคกระเพาะธรรมดา ได้แก่
-อืด
-แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
-อาหารไม่ย่อย
-กลืนอาหารลำบาก
-เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรืออาเจียน
อาการระยะลุกลาม
-อาเจียนเป็นเลือดหรือมีลิ่มเลือด
-อุจจาระมีเลือดปนหรือสีดำ
-ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
-คลำเจอก้อนบริเวณคอ (แอ่งไหปลาร้าด้านซ้าย)
-ตัวเหลือง ตาเหลือง
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
แม้สาเหตุแท้จริงยังไม่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่
-อายุ: พบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
-เพศชาย: ผู้ชายเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า
-พันธุกรรม: มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารในครอบครัว
-การติดเชื้อ H. Pylori: เชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง
-การรับประทานอาหารบางประเภท: เช่น อาหารหมักดอง ปิ้งย่าง หรือเค็มจัด
-พฤติกรรมเสี่ยง: สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ กินผักผลไม้น้อย
ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารได้อย่างไร?
-รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: เพิ่มผักผลไม้ ลดอาหารหมักดองและเค็มจัด
-เลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอล์
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-ตรวจสุขภาพประจำปี: โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
หากมีอาการที่ไม่ดีขึ้นหลังการรักษาโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้องเรื้อรัง น้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองอย่างละเอียด
มะเร็งกระเพาะอาหารอาจเริ่มต้นด้วยอาการเล็กน้อยที่ดูเหมือนไม่มีอะไรผิดปกติ แต่สามารถลุกลามจนเป็นอันตรายถึงชีวิต การดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอและหมั่นสังเกตอาการเป็นสิ่งสำคัญ หากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่รวดเร็วและได้ผลดีที่สุด สุขภาพที่ดีเริ่มจากการใส่ใจ อย่ารอให้สายเกินไป!
อ่านเพิ่มเติม ที่ HDcare Blog