จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจากไทยเดินทางไปดูงานที่ประเทศอังกฤษในช่วงมีการโหวตว่า
"สกอตแลนด์" จะประกาศเอกราชแยกตัวเป็นประเทศใหม่ ไม่ขึ้นกับ "อังกฤษ" หรือไม่
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ผู้มีบทบาทโดดเด่นเสียยิ่งกว่าประธาน สรุปแบบ
เปรียบเทียบกับประชาธิปไตยในประเทศไทยว่ามี 4 ประเด็น
1.แม้จะมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างสูง แต่บรรยากาศยังเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ประชาชน
ทุกคนทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านยังเป็นมิตรกัน ต่างต่อสู้ด้วยเหตุด้วยผล ไม่มีความรุนแรง
ปรากฏให้เห็น
2.กรรมการการเลือกตั้งเตรียมการจัดการการลงประชามติที่ดี ตั้งแต่การพิจารณาประเด็นถ้อยคำ
ที่จะใช้ในการลงประชามติ การให้มีการลงทะเบียนผู้ประสงค์ลงมติ การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล
ทุกช่องทาง และการวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาลงคะแนนแทน
3.ฝ่ายการเมือง หรือพรรคการเมืองทั้งฝ่ายที่สนับสนุน หรือไม่เห็นด้วย ต่างมีการรณรงค์ และให้ข้อมูล
เชิงเหตุผลต่อประชาชน โดยใช้สื่อต่างๆ และกล้าที่จะออกมาชี้แจงต่อประชาชนด้วยการดีเบตผ่านสื่อ
จนถึงวันสุดท้ายก่อนการลงประชามติ
และ 4. ประชาชนและภาคสังคมมีส่วนสนับสนุนอย่างจริงจังในการรณรงค์และสร้างความเข้าใจต่อสังคม
โดยมีองค์กรที่ขอจดทะเบียน เพื่อทำหน้าที่รณรงค์ถึง 42 องค์กร แบ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน 21 องค์กร
และฝ่ายคัดค้าน 21 องค์กรเท่ากัน และต่างทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในช่วงเวลาที่ผ่านมา
นั่นเป็นภาพประชาธิปไตยที่งดงาม
ที่มีความหวังว่าจะเป็นเรื่องดีคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดนี้ โดยเฉพาะตัวนายสมชัยเองที่ได้มี
โอกาสไปพบไปเห็นโลกกว้างของประชาธิปไตยเสียบ้าง
เป็นความหวังว่า ความคิดความอ่านและมุมมองในการทำหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะพัฒนา
ไปสู่สำนึกประชาธิปไตยที่งดงามเช่นนั้นบ้าง
น้ำเสียงของนายสมชัยดูคล้ายว่าจะตื่นเต้นกับประชาธิปไตยที่งดงามของอังกฤษ ทั้งที่หากในฐานะ
คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ควรจะเข้าใจสำนึกประชาธิปไตยแล้ว ไม่มีอะไรที่น่าจะตื่นเต้น เพราะทั้ง
4 ประเด็นที่นายสมชัยเล่ามาน่าจะเป็นเรื่องธรรมดามากของประชาธิปไตย
เพียงแต่คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดนี้ มีสำนึกที่รับรู้หัวใจของหลักการประชาธิปไตยสากลว่าคือ
"อำนาจที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน"
เรื่องที่เป็นประเด็นสาธารณะประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน ด้วยเสียงโหวตที่ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน
การเคารพในสิทธิที่เท่าเทียมกันของประชาชน การยึดถือการตัดสินใจของประชาชนส่วนใหญ่เป็นมติ
ที่จะตัดสินเรื่องต่างๆ ที่จะนำพาประเทศไป เป็นความงดงาม
ถ้าประชาชนเริ่มต้นกันด้วยศรัทธาในสำนึกประชาธิปไตยเช่นนี้ ความงดงามจะเกิดขึ้น
จะเป็นประเทศที่ประชาชนพร้อมที่จะเป็นมิตรที่ดีต่อกัน แม้จะมีความคิดความเห็นที่แตกต่าง
เสียงข้างน้อยเคารพการตัดสินของเสียงข้างมาก เสียงข้างมากไม่ได้มีท่าทีหมิ่นแคลนเสียงข้างน้อย
นั่นคือความงดงามของประชาธิปไตย
หน้าที่ของ กกต.คือทำให้สำนึกเช่นนี้เกิดขึ้นให้ได้
ดีอยู่ที่ กกต.ได้ไปเห็นความงดงามของประชาธิปไตย
แต่จะดีมากกว่านั้น หาก กกต.จะถามตัวเองว่า ที่ผ่านมาทำอะไรในบทบาทที่ควรจะสร้าง
ประชาธิปไตยที่งดงามให้กับประเทศ
หาคำตอบและกลับมาทำ เพื่อไม่ให้การเดินทางไปดูงานนั้นเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
...........
(ที่มา:มติชนรายวัน 21 กันยายน 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411301377
กกต.สมชัย ..... "ประชาธิปไตย"ที่งดงาม คอลัมน์ ที่เห็นและเป็นไป โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ มติชนออนไลน์
"สกอตแลนด์" จะประกาศเอกราชแยกตัวเป็นประเทศใหม่ ไม่ขึ้นกับ "อังกฤษ" หรือไม่
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ผู้มีบทบาทโดดเด่นเสียยิ่งกว่าประธาน สรุปแบบ
เปรียบเทียบกับประชาธิปไตยในประเทศไทยว่ามี 4 ประเด็น
1.แม้จะมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างสูง แต่บรรยากาศยังเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ประชาชน
ทุกคนทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านยังเป็นมิตรกัน ต่างต่อสู้ด้วยเหตุด้วยผล ไม่มีความรุนแรง
ปรากฏให้เห็น
2.กรรมการการเลือกตั้งเตรียมการจัดการการลงประชามติที่ดี ตั้งแต่การพิจารณาประเด็นถ้อยคำ
ที่จะใช้ในการลงประชามติ การให้มีการลงทะเบียนผู้ประสงค์ลงมติ การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล
ทุกช่องทาง และการวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาลงคะแนนแทน
3.ฝ่ายการเมือง หรือพรรคการเมืองทั้งฝ่ายที่สนับสนุน หรือไม่เห็นด้วย ต่างมีการรณรงค์ และให้ข้อมูล
เชิงเหตุผลต่อประชาชน โดยใช้สื่อต่างๆ และกล้าที่จะออกมาชี้แจงต่อประชาชนด้วยการดีเบตผ่านสื่อ
จนถึงวันสุดท้ายก่อนการลงประชามติ
และ 4. ประชาชนและภาคสังคมมีส่วนสนับสนุนอย่างจริงจังในการรณรงค์และสร้างความเข้าใจต่อสังคม
โดยมีองค์กรที่ขอจดทะเบียน เพื่อทำหน้าที่รณรงค์ถึง 42 องค์กร แบ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน 21 องค์กร
และฝ่ายคัดค้าน 21 องค์กรเท่ากัน และต่างทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในช่วงเวลาที่ผ่านมา
นั่นเป็นภาพประชาธิปไตยที่งดงาม
ที่มีความหวังว่าจะเป็นเรื่องดีคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดนี้ โดยเฉพาะตัวนายสมชัยเองที่ได้มี
โอกาสไปพบไปเห็นโลกกว้างของประชาธิปไตยเสียบ้าง
เป็นความหวังว่า ความคิดความอ่านและมุมมองในการทำหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะพัฒนา
ไปสู่สำนึกประชาธิปไตยที่งดงามเช่นนั้นบ้าง
น้ำเสียงของนายสมชัยดูคล้ายว่าจะตื่นเต้นกับประชาธิปไตยที่งดงามของอังกฤษ ทั้งที่หากในฐานะ
คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ควรจะเข้าใจสำนึกประชาธิปไตยแล้ว ไม่มีอะไรที่น่าจะตื่นเต้น เพราะทั้ง
4 ประเด็นที่นายสมชัยเล่ามาน่าจะเป็นเรื่องธรรมดามากของประชาธิปไตย
เพียงแต่คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดนี้ มีสำนึกที่รับรู้หัวใจของหลักการประชาธิปไตยสากลว่าคือ
"อำนาจที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน"
เรื่องที่เป็นประเด็นสาธารณะประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน ด้วยเสียงโหวตที่ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน
การเคารพในสิทธิที่เท่าเทียมกันของประชาชน การยึดถือการตัดสินใจของประชาชนส่วนใหญ่เป็นมติ
ที่จะตัดสินเรื่องต่างๆ ที่จะนำพาประเทศไป เป็นความงดงาม
ถ้าประชาชนเริ่มต้นกันด้วยศรัทธาในสำนึกประชาธิปไตยเช่นนี้ ความงดงามจะเกิดขึ้น
จะเป็นประเทศที่ประชาชนพร้อมที่จะเป็นมิตรที่ดีต่อกัน แม้จะมีความคิดความเห็นที่แตกต่าง
เสียงข้างน้อยเคารพการตัดสินของเสียงข้างมาก เสียงข้างมากไม่ได้มีท่าทีหมิ่นแคลนเสียงข้างน้อย
นั่นคือความงดงามของประชาธิปไตย
หน้าที่ของ กกต.คือทำให้สำนึกเช่นนี้เกิดขึ้นให้ได้
ดีอยู่ที่ กกต.ได้ไปเห็นความงดงามของประชาธิปไตย
แต่จะดีมากกว่านั้น หาก กกต.จะถามตัวเองว่า ที่ผ่านมาทำอะไรในบทบาทที่ควรจะสร้าง
ประชาธิปไตยที่งดงามให้กับประเทศ
หาคำตอบและกลับมาทำ เพื่อไม่ให้การเดินทางไปดูงานนั้นเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
...........
(ที่มา:มติชนรายวัน 21 กันยายน 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1411301377