เห็นอ้างกันบ่อยๆ ถึงนิกายนี้ ซึ่งระบุว่า "อภิธรรม
มาจากพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระกัจจายนะ"
แล้วคนสมัยนี้ ก็เอามาก่นให้เหลือแค่ว่า "อภิธรรมไม่ใช่พุทธพจน์"
(แล้วพระเหล่านี้ท่านไปฟังอภิธรรมมาจากหินหรือจากปูนกันครับ?)
ก็เลยไปศึกษาหลักการของนิกายสรวาสติวาทะนี้มา.
ได้เอาหลักการของสรวาสติวาทะ มาสนทนากับพระภิกษุท่านหนึ่ง
เลยเอามาให้อ่าน เผื่อมีท่านใดสนใจครับ.
-------------------------------------------------------------
กิงกุโต
ที่ภันเตเคยแปลนี่ของนิกายอะไร ครับ ใช่ สรวาสติวาทไหมครับ?
พระภิกษุ
หมวดพระสุตตันตปิฎก ถือตามมติ
ของศาสตราจารย์เหลียงฉีเชาก็มี:
๑. เอโกตตราคม ๕๑ ผูก คือ อังคุตตรนิกายของนิกายสรวาสติวาทิน
แปลสู่ภาษาจีนโดยพระธรรมนันทิเมื่อ พ.ศ. ๙๒๗
๒. มัธยามาคม ๖๐ ผูก มัชฌิมนิกาย ของนิกายสรวาสติวาทิน
แปลสู่ภาษาจีนโดย พระสังฆรักษกับพระสังฆเทวะเมื่อ พ.ศ. ๙๔๑
๓. ทีรฆาคม ๒๒ ผูก ทีฆนิกายของนิกายธรรมคุปต์
แปลสู่ภาษาจีน โดยพระพุทธยศเมื่อ พ.ศ. ๙๕๖
๔. สังยุกตาคม ๕๐ ผูก สังยุตตนิกายของนิกายมหิศาสกะ
แปลสู่ภาษาจีน โดยพระคุณภัทรเมื่อ พ.ศ. ๙๘๖
กิงกุโต
ขอบพระคุณครับ
พอดีไปอ่านปรัชญาของ สรวาสติวาทะมา
เห็นความเชื่อมโยง ตรงส่วนที่หายไปของมหาสติปัฏฐานสูตรของนิกายนี้
กับ หลักที่ว่า ความจริงแท้มีอยู่ในทุกกาลหน่ะครับ
พระภิกษุ
สาธุๆๆ
กิงกุโต
ปฏิเสธิอุปปันนะของการณะ ให้มีแต่อุปปันนะของการิยะ
อันนี้ เป็นมหายานกลายๆ เลยนะครับเนี่ย
พระภิกษุ
วิจารณ์เยอะๆ จะได้รับทราบข้อมูลด้วย
กิงกุโต
ตรง "พิจารณาเหตุแห่งความเกิด" ที่หายไปของมหาสติปัฏฐานสูตร
ของสรวาสติวาทะ ดูแล้วไม่ใช่ว่ามีแค่นั้น
แต่เหมือนกับว่าจงใจตัดออกครับ
เพื่อให้เข้ากับหลักการที่ว่า "ขันธ์มีอยู่ในทุกกาล กิริยาเท่านั้นที่เปลี่ยนไป"
น่ากลัวมากๆ เลย
สรวาสติวาท-มหาสติปัฏฐานสูตร
ที่เน้นไว้คือส่วนที่หายไปจากมหาสติปัฏฐานสูตรเถรวาทดั้งเดิม
พระภิกษุ
กำลังคิดตาม
กิงกุโต
นี่มันอัตตาประเภทหนึ่ง เป็นลัทธิจารวาก กลายๆ
ลัทธินี้ ต่อมาก็คือ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั่นเอง (สสารไม่สูญสลาย ดำรงอยู่นิรันดร์)
ตามหลักทางเถรวาทเดิมนั้น สัจจธรรมมีอยู่จริงในกาล 3 แต่เกิดที่ใด ก็หมดไปในที่นั้น
ลัดนิ้วมือละนับล้านๆ ครั้ง ตัวมันเอง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในปัจจุบันขณะ
พระภิกษุ
16:02
พระภิกษุ
อธิบายได้แจ่ม
กิงกุโต
แม้อดีตจะเป็นอารมณ์ของจิตได้ ก็เป็นอดีตที่ดับไปแล้ว เป็นจริง แต่ไม่ได้มีอยู่ ไม่ได้เกิดอยู่แล้ว
แต่สรวาสติวาท ถือว่า อดีตอนาคต ปัจจุบัน เนื้อเดียวกันหมด เฉพาะกิริยาที่เปลี่ยนไป
ซึ่งตรงนี้ ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่า (เท่าที่อ่านตามเสถียร โพธินันทะ)
ที่คำว่า "สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา" เป็นต้น ไม่มีในมหาสติปัฏฐานสูตร ของนิกายนี้ ก็เพราะ
เขาเข้าใจว่า ตัวปรมัตถ์ไม่เกิดดับ ก็เลยเอาออกเสีย ครับ
ถ้าเป็นจริงนี่.... นิกายนี้ก็มหายานชัดๆ
พระภิกษุ
ค่อยๆไล่ไปตามลำดับ
อย่าพึ่งฟันธง
ศาสตราจารย์ไซรุสกิกล่าวว่า ภิกษุบริษัทครั้งทุติยสังคายนา ปรากฏว่าฝ่ายสรวาท
กับฝ่ายสรวาสติวาทินได้ร่วมกันคัดค้านฝ่ายมหาสังฆิกะ
กิงกุโต
ใครก็เข้าพวกกันได้ ครับ
แต่หลักการที่ผิดกันอยู่ มันไม่ไปรวมพวกด้วย
ตอนรวมพวกกัน อาจจะไม่รู้ว่าใครคิดอย่างไร
แต่พอรู้แล้ว ก็แยกกันออกเป็นนิกายครับ
และถ้าตามที่ท่านเสถียรพูดไว้ ถูกต้องจริง
รวาสติวาทะ ก็เป็นลัทธิถืออัตตา ลัทธิหนึ่ง ครับ.
พระภิกษุ
อือ
กิงกุโต
ครับ การถืออัตตา แล้วตัดข้อความที่สำคัญที่สุด ของมหาสติปัฏฐานสูตรออก
ตรงนี้แหละครับ ที่ผมว่า น่ากลัวมาก
พระภิกษุ
อืม งั้นพอจะเข้าใจแล้ว
เรื่องใหญ่จริงๆๆ
กิงกุโต
แต่มันเป็นการถือในระดับปรมาณู คนเลยมองภาพกันไม่ออก ครับ
ถ้าบอกว่า สสารไม่สูญแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (นิกายจารวาก) ก็จะไม่งงกัน
พวกเราอาจจะรู้สึกว่า ไกลตัว ครับ,
แต่ถ้าปฏิบัติธรรมตามพระไตรปิฎกเถรวาทดั้งเดิมจะรู้ว่า
มันมีผลต่อมุมมองเรื่องอนัตตามากๆ
คำสอนเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเปลี่ยนหมดเลย
ในเถรวาทดั้งเดิม อนิจจัง คือขันธ์ อนิจจตา คือ อาการของขันธ์ที่ไม่เที่ยง
แต่ในสรวาสติวาท จะกลายเป็นว่า ขันธ์เป็นนิจจัง คือ เที่ยง,
ส่วนตัวอนิจจตาเท่านั้นที่ไม่เที่ยง
แม้ว่าพระไตรปิฎก จะเขียนมาเหมือนกัน แต่ถ้าตีความตามหลักอภิธรรม
ของสรวาสติวาทะ ที่ท่านเสถียร โพธินันทเขียนไว้
ก็จะต้องเอามาตีความพระไตรปิฎกต่างกัน อย่างที่ยกตัวอย่างอนิจจัง
อนิจจตาไปนั่นแหละครับผิดตรงหลักการ ที่เหลือก็ผิดไปกันหมดเลย
พระภิกษุ
อืม แจ่มจริงๆ
กิงกุโต
ฝ่ายสรวาสติวาทินกล่าวว่า สิ่งที่เป็นมายาจะตองอาศัยบนปทัฏฐานแห่ง
ความมีอยู่เสมอไป เช่นเงาคนต้องอาศัยตัวคน การิยะที่ไม่เที่ยงเกิดดับ
ก็ต้องอาศัยการณะที่ยืนโรงอยู่ดวยตัวมันเองเป็นปทัฏฐาน สัตว์บุคคลไม่มี
แต่ขันธ์ทั้งหลายจะต้องมีอยู่ตลอด (หน้า 319)
http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka/other/21.pdf
รวมหลายๆ จุดแล้ว ชัดเจนเลยว่า ลัทธิสรวาสติวาทะ เข้าใจผิดว่า อัตตา
(คือ สภาวะที่มีอยู่ตลอดกาลนั่นแหละ) ว่าเป็นอนัตตา เพราะตามอนัตตลักขณสูตรว่า...
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นควรหรือจะถือว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ถ้าเอาตามคำสรวาสติวาทะ
(โดยไม่บ่ายเบี่ยงอ้างนู่นอ้างนี่) จะต้องตอบว่า.... "ขันธ์เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา,
แต่การิยะของขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา่" ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดมาก
ซึ่งเหตุที่มันบิดเบือนไปเช่นนี้ ก็เพราะสรวาสติวาทะ ปฏิเสธไว้แต่ในแง่ที่ว่า
"ขันธ์ประชุมกัน ไม่มีสัตว์บุคคล" ที่ละด้วยนามรูปปริจเฉทญาณ,
แต่ไม่ได้ปฏิเสธความเที่ยงของขันธ์ (ปฏิเสธแต่ความเทียงของการิยะของขันธ์)
ซึ่งละด้วยตีรณปริญญา ตั้งแต่อุทยัพพยญาณ เป็นต้นไป
ทำให้ลัทธินี้ต้องตัด "สมุทยธมฺมานุปัสสี วา" เป็นต้น ในมหาสติปัฏฐานสูตรออกเสีย
จึงไม่ปรากฎข้อความนี้ในท้ายบรรพะของสูตรนี้แบบเถรวาทสายเรา
เพราะตรงนี้เป็นการประกาศ ตีรณปริญญาในขันธ์ ตั้งแต่อุทยัพยญาณ เป็นต้นไป
ซึ่งขัดกับหลักการของนิกายนี้อย่างรุนแรง
ถ้าเป็นไปได้ อยากจะขอให้ภันเต ช่วยแปล อนัตตลักขณสูตร ของลัทธินี้จะเป็นไปได้ไหมครับ
จะเอามาเทียบเคียง ครับ
----------------------------------------------------------------
ฝากเพจธรรมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง:
https://www.facebook.com/DhammaComment
กลุ่มผู้รักษาศีล 8 สัปดาห์ละครั้ง (ศีล 5 ก็เข้าร่วมได้):
https://www.facebook.com/gsila8
เครือข่ายโยมอาสาช่วยงานพุทธศาสนา
https://www.facebook.com/pages/เครือข่ายโยมอาสาช่วยงานพุทธศาสนา/528975920543584
ช่างไม่รู้อรรถกถาเลย ตอนที่ 7 ตัวอย่างความเป็นมหายานอ้อมๆ ของสรวาสติวาทะ (อ่านแล้วจะสังเวช)
มาจากพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระกัจจายนะ"
แล้วคนสมัยนี้ ก็เอามาก่นให้เหลือแค่ว่า "อภิธรรมไม่ใช่พุทธพจน์"
(แล้วพระเหล่านี้ท่านไปฟังอภิธรรมมาจากหินหรือจากปูนกันครับ?)
ก็เลยไปศึกษาหลักการของนิกายสรวาสติวาทะนี้มา.
ได้เอาหลักการของสรวาสติวาทะ มาสนทนากับพระภิกษุท่านหนึ่ง
เลยเอามาให้อ่าน เผื่อมีท่านใดสนใจครับ.
-------------------------------------------------------------
กิงกุโต
ที่ภันเตเคยแปลนี่ของนิกายอะไร ครับ ใช่ สรวาสติวาทไหมครับ?
พระภิกษุ
หมวดพระสุตตันตปิฎก ถือตามมติ
ของศาสตราจารย์เหลียงฉีเชาก็มี:
๑. เอโกตตราคม ๕๑ ผูก คือ อังคุตตรนิกายของนิกายสรวาสติวาทิน
แปลสู่ภาษาจีนโดยพระธรรมนันทิเมื่อ พ.ศ. ๙๒๗
๒. มัธยามาคม ๖๐ ผูก มัชฌิมนิกาย ของนิกายสรวาสติวาทิน
แปลสู่ภาษาจีนโดย พระสังฆรักษกับพระสังฆเทวะเมื่อ พ.ศ. ๙๔๑
๓. ทีรฆาคม ๒๒ ผูก ทีฆนิกายของนิกายธรรมคุปต์
แปลสู่ภาษาจีน โดยพระพุทธยศเมื่อ พ.ศ. ๙๕๖
๔. สังยุกตาคม ๕๐ ผูก สังยุตตนิกายของนิกายมหิศาสกะ
แปลสู่ภาษาจีน โดยพระคุณภัทรเมื่อ พ.ศ. ๙๘๖
กิงกุโต
ขอบพระคุณครับ
พอดีไปอ่านปรัชญาของ สรวาสติวาทะมา
เห็นความเชื่อมโยง ตรงส่วนที่หายไปของมหาสติปัฏฐานสูตรของนิกายนี้
กับ หลักที่ว่า ความจริงแท้มีอยู่ในทุกกาลหน่ะครับ
พระภิกษุ
สาธุๆๆ
กิงกุโต
ปฏิเสธิอุปปันนะของการณะ ให้มีแต่อุปปันนะของการิยะ
อันนี้ เป็นมหายานกลายๆ เลยนะครับเนี่ย
พระภิกษุ
วิจารณ์เยอะๆ จะได้รับทราบข้อมูลด้วย
กิงกุโต
ตรง "พิจารณาเหตุแห่งความเกิด" ที่หายไปของมหาสติปัฏฐานสูตร
ของสรวาสติวาทะ ดูแล้วไม่ใช่ว่ามีแค่นั้น แต่เหมือนกับว่าจงใจตัดออกครับ
เพื่อให้เข้ากับหลักการที่ว่า "ขันธ์มีอยู่ในทุกกาล กิริยาเท่านั้นที่เปลี่ยนไป"
น่ากลัวมากๆ เลย
สรวาสติวาท-มหาสติปัฏฐานสูตร
ที่เน้นไว้คือส่วนที่หายไปจากมหาสติปัฏฐานสูตรเถรวาทดั้งเดิม
พระภิกษุ
กำลังคิดตาม
กิงกุโต
นี่มันอัตตาประเภทหนึ่ง เป็นลัทธิจารวาก กลายๆ
ลัทธินี้ ต่อมาก็คือ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั่นเอง (สสารไม่สูญสลาย ดำรงอยู่นิรันดร์)
ตามหลักทางเถรวาทเดิมนั้น สัจจธรรมมีอยู่จริงในกาล 3 แต่เกิดที่ใด ก็หมดไปในที่นั้น
ลัดนิ้วมือละนับล้านๆ ครั้ง ตัวมันเอง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในปัจจุบันขณะ
พระภิกษุ
16:02
พระภิกษุ
อธิบายได้แจ่ม
กิงกุโต
แม้อดีตจะเป็นอารมณ์ของจิตได้ ก็เป็นอดีตที่ดับไปแล้ว เป็นจริง แต่ไม่ได้มีอยู่ ไม่ได้เกิดอยู่แล้ว
แต่สรวาสติวาท ถือว่า อดีตอนาคต ปัจจุบัน เนื้อเดียวกันหมด เฉพาะกิริยาที่เปลี่ยนไป
ซึ่งตรงนี้ ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่า (เท่าที่อ่านตามเสถียร โพธินันทะ)
ที่คำว่า "สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา" เป็นต้น ไม่มีในมหาสติปัฏฐานสูตร ของนิกายนี้ ก็เพราะ
เขาเข้าใจว่า ตัวปรมัตถ์ไม่เกิดดับ ก็เลยเอาออกเสีย ครับ
ถ้าเป็นจริงนี่.... นิกายนี้ก็มหายานชัดๆ
พระภิกษุ
ค่อยๆไล่ไปตามลำดับ
อย่าพึ่งฟันธง
ศาสตราจารย์ไซรุสกิกล่าวว่า ภิกษุบริษัทครั้งทุติยสังคายนา ปรากฏว่าฝ่ายสรวาท
กับฝ่ายสรวาสติวาทินได้ร่วมกันคัดค้านฝ่ายมหาสังฆิกะ
กิงกุโต
ใครก็เข้าพวกกันได้ ครับ
แต่หลักการที่ผิดกันอยู่ มันไม่ไปรวมพวกด้วย
ตอนรวมพวกกัน อาจจะไม่รู้ว่าใครคิดอย่างไร
แต่พอรู้แล้ว ก็แยกกันออกเป็นนิกายครับ
และถ้าตามที่ท่านเสถียรพูดไว้ ถูกต้องจริง
รวาสติวาทะ ก็เป็นลัทธิถืออัตตา ลัทธิหนึ่ง ครับ.
พระภิกษุ
อือ
กิงกุโต
ครับ การถืออัตตา แล้วตัดข้อความที่สำคัญที่สุด ของมหาสติปัฏฐานสูตรออก
ตรงนี้แหละครับ ที่ผมว่า น่ากลัวมาก
พระภิกษุ
อืม งั้นพอจะเข้าใจแล้ว
เรื่องใหญ่จริงๆๆ
กิงกุโต
แต่มันเป็นการถือในระดับปรมาณู คนเลยมองภาพกันไม่ออก ครับ
ถ้าบอกว่า สสารไม่สูญแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (นิกายจารวาก) ก็จะไม่งงกัน
พวกเราอาจจะรู้สึกว่า ไกลตัว ครับ,
แต่ถ้าปฏิบัติธรรมตามพระไตรปิฎกเถรวาทดั้งเดิมจะรู้ว่า
มันมีผลต่อมุมมองเรื่องอนัตตามากๆ
คำสอนเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเปลี่ยนหมดเลย
ในเถรวาทดั้งเดิม อนิจจัง คือขันธ์ อนิจจตา คือ อาการของขันธ์ที่ไม่เที่ยง
แต่ในสรวาสติวาท จะกลายเป็นว่า ขันธ์เป็นนิจจัง คือ เที่ยง,
ส่วนตัวอนิจจตาเท่านั้นที่ไม่เที่ยง
แม้ว่าพระไตรปิฎก จะเขียนมาเหมือนกัน แต่ถ้าตีความตามหลักอภิธรรม
ของสรวาสติวาทะ ที่ท่านเสถียร โพธินันทเขียนไว้
ก็จะต้องเอามาตีความพระไตรปิฎกต่างกัน อย่างที่ยกตัวอย่างอนิจจัง
อนิจจตาไปนั่นแหละครับผิดตรงหลักการ ที่เหลือก็ผิดไปกันหมดเลย
พระภิกษุ
อืม แจ่มจริงๆ
กิงกุโต
ฝ่ายสรวาสติวาทินกล่าวว่า สิ่งที่เป็นมายาจะตองอาศัยบนปทัฏฐานแห่ง
ความมีอยู่เสมอไป เช่นเงาคนต้องอาศัยตัวคน การิยะที่ไม่เที่ยงเกิดดับ
ก็ต้องอาศัยการณะที่ยืนโรงอยู่ดวยตัวมันเองเป็นปทัฏฐาน สัตว์บุคคลไม่มี
แต่ขันธ์ทั้งหลายจะต้องมีอยู่ตลอด (หน้า 319)
http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka/other/21.pdf
รวมหลายๆ จุดแล้ว ชัดเจนเลยว่า ลัทธิสรวาสติวาทะ เข้าใจผิดว่า อัตตา
(คือ สภาวะที่มีอยู่ตลอดกาลนั่นแหละ) ว่าเป็นอนัตตา เพราะตามอนัตตลักขณสูตรว่า...
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นควรหรือจะถือว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ถ้าเอาตามคำสรวาสติวาทะ
(โดยไม่บ่ายเบี่ยงอ้างนู่นอ้างนี่) จะต้องตอบว่า.... "ขันธ์เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา,
แต่การิยะของขันธ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา่" ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดมาก
ซึ่งเหตุที่มันบิดเบือนไปเช่นนี้ ก็เพราะสรวาสติวาทะ ปฏิเสธไว้แต่ในแง่ที่ว่า
"ขันธ์ประชุมกัน ไม่มีสัตว์บุคคล" ที่ละด้วยนามรูปปริจเฉทญาณ,
แต่ไม่ได้ปฏิเสธความเที่ยงของขันธ์ (ปฏิเสธแต่ความเทียงของการิยะของขันธ์)
ซึ่งละด้วยตีรณปริญญา ตั้งแต่อุทยัพพยญาณ เป็นต้นไป
ทำให้ลัทธินี้ต้องตัด "สมุทยธมฺมานุปัสสี วา" เป็นต้น ในมหาสติปัฏฐานสูตรออกเสีย
จึงไม่ปรากฎข้อความนี้ในท้ายบรรพะของสูตรนี้แบบเถรวาทสายเรา
เพราะตรงนี้เป็นการประกาศ ตีรณปริญญาในขันธ์ ตั้งแต่อุทยัพยญาณ เป็นต้นไป
ซึ่งขัดกับหลักการของนิกายนี้อย่างรุนแรง
ถ้าเป็นไปได้ อยากจะขอให้ภันเต ช่วยแปล อนัตตลักขณสูตร ของลัทธินี้จะเป็นไปได้ไหมครับ
จะเอามาเทียบเคียง ครับ
----------------------------------------------------------------
ฝากเพจธรรมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้