จิตปุถุชน ยังหลงในกายในขันธ์ 5 พระพุทธเจ้า เรียก จิต มโนและวิญญาณ คือ สิ่งเดียวกัน
แต่จิตวิมุตติ (พระอริยบุคคล) หลุดพ้น เบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จิตหลุดพ้นจากวิญญาณในขันธ์ 5
พระพุทธเจ้าทรงย้ำนักย้ำหนาว่า จิตปุถุชนผู้ไม่เบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
พระพุทธเจ้า เรียก จิต มโน วิญญาณ คือสิ่งเดียวกัน เพราะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
แต่จิตที่เบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมวิมุติหลุดพ้น ตั้งมั่น ดำรงอยู่ สิ้นชาติแล้ว
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร
๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ
๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑- พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
[๙๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี. เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
จิตปุถุชน ยังหลงในกายในขันธ์ 5 พระพุทธเจ้า เรียก จิต มโนและวิญญาณ คือ สิ่งเดียวกัน
แต่จิตวิมุตติ (พระอริยบุคคล) หลุดพ้น เบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จิตหลุดพ้นจากวิญญาณในขันธ์ 5
พระพุทธเจ้าทรงย้ำนักย้ำหนาว่า จิตปุถุชนผู้ไม่เบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
พระพุทธเจ้า เรียก จิต มโน วิญญาณ คือสิ่งเดียวกัน เพราะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
แต่จิตที่เบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมวิมุติหลุดพ้น ตั้งมั่น ดำรงอยู่ สิ้นชาติแล้ว
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร
๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ
๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑- พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
[๙๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี. เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี