https://www.dhammahome.com/cd/topic/8/3
_____________________________________
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=5051&Z=5181
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
[๔๒๖] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ-
สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้
ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่
เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของ
โอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็น
สังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ
เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ
หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๗] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ-
สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้
ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ
เป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็นสังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ
เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตน ชิวหายตนะ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ
อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๘] ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะนั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ
โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน และ
อโนตตัปปะนั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] ส. จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะนั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ
โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน แต่อโนตตัปปะนั้น
ไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. สติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ มิใช่หรือ?
ส. หากว่าสติ ปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน
[๔๓๑] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ
ปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เพราะผัสสะปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า
ผัสสปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๒] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั้นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ
ปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เพราะเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตปรารภธรรมทั้งปวง
ตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า จิตตปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๓] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ตั้งสติมั่น เป็นผู้ประกอบด้วยสติ เป็นผู้มั่นคงด้วยสติ
สติเป็นธรรมชาติเข้าไปตั้งมั่นแก่สัตว์ทั้งปวง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๔] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ได้
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคอมตะ ชนเหล่าใด
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้บริโภคอมตะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี
อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ปฏิบัติ เสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
@๑. อํ. เอก. ข้อ ๒๓๕ หน้า ๕๙
[๔๓๕] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรคเป็นเอกายนะ
ทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วง
ซึ่งโสกะ ปริเทวะ เพื่อความสาบสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ
บรรลุอริยมรรคเครื่องออกไปจากทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
นี้คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๖] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการ
ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการ
เป็นไฉน จักรรัตนะ (จักรแก้ว) ปรากฏ ๑ หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว)
ปรากฏ ๑ อัสสรัตนะ (ม้าแก้ว) ปรากฏ ๑ มณีรัตนะ (ดวงมณีแก้ว)
ปรากฏ ๑ อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) ปรากฏ ๑ คหปติรัตนะ
(คหบดีแก้ว) ปรากฏ ๑ ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว) ปรากฏ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ
ปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการ ย่อม
ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาพุทธะ
๗ ประการเป็นไฉน รัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ ปรากฏ ๑ รัตนะคือ
วิริยสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือปีติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ
@๑. ม. ม. ข้อ ๑๓๒ หน้า ๑๐๓
คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือสมาธิสัมโพชฌงค์
ปรากฏ ๑ รัตนะคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ
ปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี
อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นรัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง
พระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็นอินทรีย์ ฯลฯ
เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สติปัฏฐานกถา จบ.
________________________________________________
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=426
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์สติปัฏฐานกถา
อรรถกถาสติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสติปัฏฐาน.
ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน เพราะถือเอาธรรมทั้งหลายมีกายเป็นต้นเป็นอารมณ์ด้วยสติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติปัฏฐานสังยุตว่า จตุนฺนํ สติปฏฺฐานานํ ภิกฺขเว สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ เทสิสฺสามิ ดังนี้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดขึ้น และความดับไปแห่งสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้.
นิกายเหล่านี้คือ ปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะ ราชคิริยะและสิทธัตถิกะทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่า นิกายอันธกะซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้นในภายหลัง. คำถามเพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้นเป็นของสกวาที คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยคำว่าสติปัฏฐาน ดังนี้ :-
ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่าย่อมตั้งมั่นในธรรมทั้งหลายมีกายเป็นต้น ถามว่าอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติ. การตั้งมั่นแห่งสติทั้งหลายแม้มีสติเป็นอารมณ์ก็ย่อมตั้งมั่นด้วยอรรถนี้ว่า สติยา ปฏฺฐานา สติปฏฺฐานา แปลว่า การตั้งมั่นแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น การตั้งมั่นแห่งสติเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน
ถามว่า ปัฏฐานอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติย่อมตั้งมั่น.
ปัฏฐาน คือสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน ย่อมได้ด้วยอรรถว่า สติยา ว ปฏฺฐานา สติปฏฺฐานา แปลว่า ปัฏฐาน คือสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน นี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง ๒ คือวาทะของสกวาทีและปรวาที ย่อมถูกต้องโดยปริยาย.
อนึ่ง ชนเหล่าใดละปริยายนี้แล้วย่อมกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน โดยส่วนเดียวเท่านั้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นของปรวาที. แต่เมื่อสกวาทีซักว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธเพราะความที่ธรรมทั้งปวงไม่เป็นสติทั้งหมด.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยคามี เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นต้น เป็นชื่อพิเศษแห่งมรรค.
จริงอยู่ เอกายนมรรคชื่อว่า ขยคามี เพราะอรรถว่าบรรลุพระนิพพานอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า โพธคามี เป็นเหตุให้ถึงการตรัสรู้เพราะอรรถว่าถึงการตรัสรู้สัจจะ ๔. ชื่อว่า อปจยคามี เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน เพราะอรรถว่าถึงการทำลายวัฏฏะ.
สกวาทีถามด้วยบทเหล่านี้โดยหมายเอาอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรคมีอยู่ตามลัทธิของท่าน อย่างนี้หรือ คำทั้งหลายแม้มีคำว่า ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อันไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อต้องการถามโดยความเป็นโลกุตตระ.
คำทั้งหลายว่า พุทธานุสสติ เป็นต้น ท่านกล่าวโดยคำที่แยกประเภท จากโลกุตตระ. คำเป็นต้นว่า จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถามอันเป็นประเภทแห่งธรรมทั้งปวง. ในปัญหาทั้งปวงแม้เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำตอบปฏิเสธมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งสติ คำตอบรับรองมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
การชำระพระสูตรมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาสติปัฏฐานกถา จบ.
-----------------------------------------------------
แนวทางการเจริญสติปัฏฐาน_อ.สุจินต์ [03]
_____________________________________
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=5051&Z=5181
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
[๔๒๖] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ-
สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้
ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่
เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของ
โอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็น
สังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ
เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ
หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๗] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ-
สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้
ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ
เป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็นสังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ
เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตน ชิวหายตนะ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ
อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๘] ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะนั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ
โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน และ
อโนตตัปปะนั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] ส. จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะนั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ
โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน แต่อโนตตัปปะนั้น
ไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. สติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ มิใช่หรือ?
ส. หากว่าสติ ปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน
[๔๓๑] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ
ปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เพราะผัสสะปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า
ผัสสปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๒] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั้นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ
ปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เพราะเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตปรารภธรรมทั้งปวง
ตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า จิตตปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๓] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ตั้งสติมั่น เป็นผู้ประกอบด้วยสติ เป็นผู้มั่นคงด้วยสติ
สติเป็นธรรมชาติเข้าไปตั้งมั่นแก่สัตว์ทั้งปวง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๔] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ได้
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคอมตะ ชนเหล่าใด
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้บริโภคอมตะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี
อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ปฏิบัติ เสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
@๑. อํ. เอก. ข้อ ๒๓๕ หน้า ๕๙
[๔๓๕] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรคเป็นเอกายนะ
ทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วง
ซึ่งโสกะ ปริเทวะ เพื่อความสาบสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ
บรรลุอริยมรรคเครื่องออกไปจากทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
นี้คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๖] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการ
ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการ
เป็นไฉน จักรรัตนะ (จักรแก้ว) ปรากฏ ๑ หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว)
ปรากฏ ๑ อัสสรัตนะ (ม้าแก้ว) ปรากฏ ๑ มณีรัตนะ (ดวงมณีแก้ว)
ปรากฏ ๑ อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) ปรากฏ ๑ คหปติรัตนะ
(คหบดีแก้ว) ปรากฏ ๑ ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว) ปรากฏ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ
ปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการ ย่อม
ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาพุทธะ
๗ ประการเป็นไฉน รัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ ปรากฏ ๑ รัตนะคือ
วิริยสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือปีติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ
@๑. ม. ม. ข้อ ๑๓๒ หน้า ๑๐๓
คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือสมาธิสัมโพชฌงค์
ปรากฏ ๑ รัตนะคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ
ปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี
อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นรัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง
พระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็นอินทรีย์ ฯลฯ
เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สติปัฏฐานกถา จบ.
________________________________________________
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=426
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์สติปัฏฐานกถา
อรรถกถาสติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสติปัฏฐาน.
ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน เพราะถือเอาธรรมทั้งหลายมีกายเป็นต้นเป็นอารมณ์ด้วยสติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติปัฏฐานสังยุตว่า จตุนฺนํ สติปฏฺฐานานํ ภิกฺขเว สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ เทสิสฺสามิ ดังนี้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดขึ้น และความดับไปแห่งสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้.
นิกายเหล่านี้คือ ปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะ ราชคิริยะและสิทธัตถิกะทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่า นิกายอันธกะซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้นในภายหลัง. คำถามเพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้นเป็นของสกวาที คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยคำว่าสติปัฏฐาน ดังนี้ :-
ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่าย่อมตั้งมั่นในธรรมทั้งหลายมีกายเป็นต้น ถามว่าอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติ. การตั้งมั่นแห่งสติทั้งหลายแม้มีสติเป็นอารมณ์ก็ย่อมตั้งมั่นด้วยอรรถนี้ว่า สติยา ปฏฺฐานา สติปฏฺฐานา แปลว่า การตั้งมั่นแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น การตั้งมั่นแห่งสติเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน
ถามว่า ปัฏฐานอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติย่อมตั้งมั่น.
ปัฏฐาน คือสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน ย่อมได้ด้วยอรรถว่า สติยา ว ปฏฺฐานา สติปฏฺฐานา แปลว่า ปัฏฐาน คือสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน นี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง ๒ คือวาทะของสกวาทีและปรวาที ย่อมถูกต้องโดยปริยาย.
อนึ่ง ชนเหล่าใดละปริยายนี้แล้วย่อมกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน โดยส่วนเดียวเท่านั้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นของปรวาที. แต่เมื่อสกวาทีซักว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธเพราะความที่ธรรมทั้งปวงไม่เป็นสติทั้งหมด.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยคามี เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นต้น เป็นชื่อพิเศษแห่งมรรค.
จริงอยู่ เอกายนมรรคชื่อว่า ขยคามี เพราะอรรถว่าบรรลุพระนิพพานอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า โพธคามี เป็นเหตุให้ถึงการตรัสรู้เพราะอรรถว่าถึงการตรัสรู้สัจจะ ๔. ชื่อว่า อปจยคามี เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน เพราะอรรถว่าถึงการทำลายวัฏฏะ.
สกวาทีถามด้วยบทเหล่านี้โดยหมายเอาอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรคมีอยู่ตามลัทธิของท่าน อย่างนี้หรือ คำทั้งหลายแม้มีคำว่า ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อันไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อต้องการถามโดยความเป็นโลกุตตระ.
คำทั้งหลายว่า พุทธานุสสติ เป็นต้น ท่านกล่าวโดยคำที่แยกประเภท จากโลกุตตระ. คำเป็นต้นว่า จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถามอันเป็นประเภทแห่งธรรมทั้งปวง. ในปัญหาทั้งปวงแม้เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำตอบปฏิเสธมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งสติ คำตอบรับรองมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
การชำระพระสูตรมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาสติปัฏฐานกถา จบ.
-----------------------------------------------------