สารบัญทุกตอน
http://ppantip.com/topic/32469271
***อ่านใน PC หรือ smartphone แนวนอนเท่านั้น***
เหตุผลที่เนยยบุคคลควรต้องทำฌานนำหน้าแล้วเจริญวิปัสสนา
อนึ่ง. นี่ไม่ใช่กระทู้ท้าทายนะครับ, แต่เป็นกระทู้เสนอข้อมูลครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกริ่นนำว่า เรื่องนี้เริ่มมาจากการที่ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือ
โสตถิธรรม เล่ม 7-8 ของชมรมศึกษาและปฏิบัติธรรม
สโมสรกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อปี 2546 ซึ่งในหนังสือ
ยืนกรานว่า การจะปฏิบัติวิปัสสนาสติปัฏฐานนั้นต้องได้ฌานก่อน
ต่อมาผมได้มีโอกาสสนทนากับคุณเฉลิมศักดิ์
ซึ่งท่านก็เอาหลักฐานมาแย้งว่า
การจะปฏิบัติวิปัสสนาสติปัฏฐานนั้นไม่ต้องได้ฌานก่อน
หลังจากนั้น 10 ปีต่อมา ผมได้ผ่านประสบการณ์
และได้ศึกษาธรรมะมากขึ้นๆ จึงได้รวบรวมข้อมูล
และสรุปไว้ดังนี้:-
ช่างไม่รู้อรรถกถาเลย ตอนที่ 6 เหตุผลที่เนยยบุคคล
ควรต้องทำฌานนำหน้าแล้วเจริญวิปัสสนา
1. ตามหลักเนตติปกรณ์ เทสนาหารวิภังค์ เป็นต้น
และในอีกหลายที่ อุคฆฏิตัญญู วิปัญจิตัญญู
เป็นวิปัสสนายานิก ส่วนเนยยะ เป็นสมถยานิก
เนตติ ข้อ 6 เทสนาหารวิภังค์
ซึ่งเมื่อเปลี่ยนบุคคล 4 ข้างต้นที่แสดงโดยสีหวิกีฬิตนัย
เป็นติปุกขลนัย คือ บุคคล 3 มีเนยยะเป็นบุคคลสุดท้าย
จะเทียบได้กับบุคคลตามภาพ (เนตติ ข้อ 88 ติปุกขลนัย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อธิบายเพิ่มเติมกันสับสนสำหรับคนที่เคยเรียน
เนตติปกรณ์มาแล้ว (คนที่ไม่เคยเรียนควรจะข้ามไป
เพราะอาจทำให้สับสนได้):
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จริงๆ เท่าที่อ่านคร่าวๆ เนตติแสดงไว้ 3 แนว คือ
1.ทิฏฐิจริต (อุคฆฏิตัญญู และ วิปัญจิตัญญู
ฝ่ายสุขาปฏิปทา) เป็นวิปัสสนายานิก
ตัณหาจริต (เนยยะ และ วิปัญจิตัญญู
ฝ่ายทุกขาปฏิปทา) เป็นสมถยานิก
นัยยะนี้ใช้ทั่วไป มีตั้งแต่เทสนาหารวิภังค์
ไปจนจบเนตติปกรณ์ และพบทั่วไป
ในอรรถกถาที่เกี่ยวข้องกับการภาวนาด้วย
เช่น ใน อ. สติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
2. สมถะแนะนำกะอุคฆฏิตัญญู
วิปัสสนาแนะนำกะวิปัญจิตัญญู
ข้อเมื่อกี้แสดงตามหลักสีหวิกีฬิตนัย (หมวด 4)
แต่ข้อนี้แสดงตามหลักติปุกขลนัย (หมวด 3)
เป็นคนละนัยยะกัน นัยยะในข้อ 1
คือข้อปฏิบัติของนักปฏิบัติ, ส่วนนัยยะในข้อนี้
คือข้อปฏิบัติของผู้แสดงธรรม.
กล่าวคือ นัยยะข้อ 1 อุคฆฏิตัญญู ควรทำวิปัสสนาก่อน
เนยยะควรทำสมถะก่อน, แต่นัยยะนี้ มุ่งให้ผู้สอนแนะนำ
อุคฆฏิตัญญูที่เน้นทำวิปัสสนานั้น โดยเน้นสมถะ
แต่เป็นสมถะที่เข้าเรื่องวิปัสสนา (อธิปัญญา) เลย,
ส่วนเนยยะที่เน้นให้ทำสมถะอยู่ก็บอกให้ผู้สอนแนะนำ
เริ่มตั้งแต่อธิศีลขึ้นมาเลย เพราะกิเลสกำเริบหนัก
จึงต้องเน้นทำสมถะตามสีหวิกกีฬิตนัย
และเพราะปัญญาน้อยจึงต้องเริ่มสอน
ตั้งแต่ศีลขึ้นมา ครับ.
ฉะนัน ไปอ่านแล้วก็อย่าเอามาแย้งกับข้อ 1 ครับ
เพราะแสดงด้วยวิธีการคนละอย่างกัน (แต่ก็ไม่ขัดกันนะครับ).
3. อุคฆฏิตัญญูเท่านั้น เป็นวิปัสนายานิก
ข้อนี้แสดงไว้ในวิภัตติหารวิภังค์
ในอรรถกถาของเนตติขยายว่า
ที่เหลือเป็นวิปัสสนายานิก
แต่ส่วนตัวเห็นว่า อาจจะตีความ
เหมือนข้อ 1 หรืออีกแบบคืออาจจะ
ตีความเหมือนข้อ 1 แต่แบ่งเป็น 3
แบบข้อ 3 ก็ได้, แต่โดยสรุปแล้ว
ก็เหมือนข้อ 1 แค่ตีความเคร่งกว่า
รวมความแล้ว สรุปว่า
เนยยะควรทำสมถะแล้วเจริญวิปัสสนา ครับ
ฉะนั้นตามหลักเนตติ, เนยยะควรเป็นสมถยานิก
2. อ. สติปัฏฐานสูตร ก็แสดงว่า
ตัณหาจริต
(ซึ่งรวมถึงเนยยะด้วย) เป็นสมถยานิก
3.
อรรถกถาแทบทุกที่แสดงจิตตวิสุทธิ
ว่าหมายถึง สมาบัติ 8 ซึ่งก็คือ ฌาน 8 นั่นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มีในวิสุทธิมรรคฏีกาเท่านั้น ที่แสดง
ว่า ขณิกสมาธิก็เป็นจิตตวิสุทธิด้วย
ซึ่งในกรณีนี้ตามหลักเนตติ จะต้องเป็นทิฏฐิจริต
ซึ่งก็คือ อุคฆฏิตัญญู และวิปัญจิตัญญู
แบบสุขาปฏิปทาเท่านั้น
วิสุทธิมรรค
อรรถกถาอื่นๆ
รูปข้างบนนี้ นอกจากจะบอกว่า จิตตวิสุทธิ
หมายถึงสมาบัติ 8 แล้ว, ให้สังเกตข้อสุดท้าย
ที่ว่า จิตตวิสุทธิ คือ สัมมาสมาธิ ให้ดี
ถ้าไปดูคำว่า สัมมาสมาธิ ใน อ. สติปัฏฐานสูตร
สัจจบรรพะ ท่านจะขยายว่า หมายถึง ฌาน 4
ตรงนั้นก็เป็นหลักฐานเพิ่มอีกจุด ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=6#สัมมาสมาธิ
4.พระป่าสายหลวงปู่มั่น (รุ่นเก่าๆ)
ให้ทำอานาปานัสสติฌานควบคู่ไป
กับการทำวิปัสสนา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มีหลักฐานให้ทราบได้ว่าพระป่าสายนี้
เคยมีการท่องจำพระไตรปิฎกตามหลักสูตร
ภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ และนิสสยมุจจกะมาก่อน ครับ
5. ผู้ทรงพระไตรปิฎกของไทย, ลังกา, พม่า
สังฆราชลังกานิกายมรัมมะ
ก็ไปปฏิบัติธรรมที่วัด Pa-Auk (พะอ็อกส์, พาอ้าว)
ของ U-Acinna (อูอาจิณณะ) ซึ่งวัดนี้
จะต้องให้ผู้ปฏิบัติทำฌานก่อนจะสอนวิปัสสนา
ตามแนววิสุทธิมรรคโดยละเอียด ครับ.
สหธรรมิกที่ปฏิบัติอยู่ที่นั่น ท่านบอกว่า
ถ้าไม่ได้ฌานเป็นอย่างดีก่อน จะนับ 7 ปี
7 เดือน 7 วัน ตามมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่ได้
ซึ่งก็สอบคล้องกับหลักนิวรณ์และภาวนา
ที่ห้ามมีอกุศลนิวรณ์เกิดกั้นภาวนา
เพราะจะทำให้กำลังภาวนายิ่งขึ้นไปไม่ได้
(แต่ข้อนี้เอาเป็นประมาณมากไม่ได้
เพราะผู้ทรงพระไตรปิฎกที่ไม่ปฏิบัติแบบนี้
ก็มีอยู่เช่นกัน)
-------------------------------------------------------------
จะเห็นได้ว่า หลักฐาน, หลักการ, ข้อปฏิบัติ
ที่พระภิกษุผู้เคร่งครัดปฏิบัติสืบๆกันมา,
ผุ้ทรงพระไตรปิฎกจากประเทศต่างๆ
ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า...
เนยยะควรต้องทำฌานนำหน้าวิปัสสนาครับ
มีข้อสงสัย ข้อเห็นแย้งอื่นๆ เชิญสอบถาม
แสดงความเห็นได้เลยครับ, ผมจะเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วย.
ขอบคุณครับ.
ป.ล.
ต้องทำฌานก่อน ไม่ได้แปลว่า ต้องได้อัปปนาก่อนทำวิปัสสนานะครับ
แต่แปลว่า ต้องทำฌานก่อน (จะถึงอัปปนาหรือไม่ก็ตาม)
แล้วค่อยทำวิปัสสนา (ในคาบเดียวกันนั่นแหละ)
คือ ต้องเน้นทำฌานให้มากนั่นเอง ครับ.
เหตุผลที่เนยยบุคคลควรต้องทำฌานนำหน้าแล้วเจริญวิปัสสนา (เชิญคุณเฉลิมศักดิ์ครับ)
http://ppantip.com/topic/32469271
***อ่านใน PC หรือ smartphone แนวนอนเท่านั้น***
เหตุผลที่เนยยบุคคลควรต้องทำฌานนำหน้าแล้วเจริญวิปัสสนา
อนึ่ง. นี่ไม่ใช่กระทู้ท้าทายนะครับ, แต่เป็นกระทู้เสนอข้อมูลครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ช่างไม่รู้อรรถกถาเลย ตอนที่ 6 เหตุผลที่เนยยบุคคล
ควรต้องทำฌานนำหน้าแล้วเจริญวิปัสสนา
1. ตามหลักเนตติปกรณ์ เทสนาหารวิภังค์ เป็นต้น
และในอีกหลายที่ อุคฆฏิตัญญู วิปัญจิตัญญู
เป็นวิปัสสนายานิก ส่วนเนยยะ เป็นสมถยานิก
เนตติ ข้อ 6 เทสนาหารวิภังค์
ซึ่งเมื่อเปลี่ยนบุคคล 4 ข้างต้นที่แสดงโดยสีหวิกีฬิตนัย
เป็นติปุกขลนัย คือ บุคคล 3 มีเนยยะเป็นบุคคลสุดท้าย
จะเทียบได้กับบุคคลตามภาพ (เนตติ ข้อ 88 ติปุกขลนัย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ฉะนั้นตามหลักเนตติ, เนยยะควรเป็นสมถยานิก
2. อ. สติปัฏฐานสูตร ก็แสดงว่า ตัณหาจริต
(ซึ่งรวมถึงเนยยะด้วย) เป็นสมถยานิก
3. อรรถกถาแทบทุกที่แสดงจิตตวิสุทธิ
ว่าหมายถึง สมาบัติ 8 ซึ่งก็คือ ฌาน 8 นั่นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิสุทธิมรรค
อรรถกถาอื่นๆ
รูปข้างบนนี้ นอกจากจะบอกว่า จิตตวิสุทธิ
หมายถึงสมาบัติ 8 แล้ว, ให้สังเกตข้อสุดท้าย
ที่ว่า จิตตวิสุทธิ คือ สัมมาสมาธิ ให้ดี
ถ้าไปดูคำว่า สัมมาสมาธิ ใน อ. สติปัฏฐานสูตร
สัจจบรรพะ ท่านจะขยายว่า หมายถึง ฌาน 4
ตรงนั้นก็เป็นหลักฐานเพิ่มอีกจุด ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4.พระป่าสายหลวงปู่มั่น (รุ่นเก่าๆ)
ให้ทำอานาปานัสสติฌานควบคู่ไป
กับการทำวิปัสสนา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. ผู้ทรงพระไตรปิฎกของไทย, ลังกา, พม่า
สังฆราชลังกานิกายมรัมมะ
ก็ไปปฏิบัติธรรมที่วัด Pa-Auk (พะอ็อกส์, พาอ้าว)
ของ U-Acinna (อูอาจิณณะ) ซึ่งวัดนี้
จะต้องให้ผู้ปฏิบัติทำฌานก่อนจะสอนวิปัสสนา
ตามแนววิสุทธิมรรคโดยละเอียด ครับ.
สหธรรมิกที่ปฏิบัติอยู่ที่นั่น ท่านบอกว่า
ถ้าไม่ได้ฌานเป็นอย่างดีก่อน จะนับ 7 ปี
7 เดือน 7 วัน ตามมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่ได้
ซึ่งก็สอบคล้องกับหลักนิวรณ์และภาวนา
ที่ห้ามมีอกุศลนิวรณ์เกิดกั้นภาวนา
เพราะจะทำให้กำลังภาวนายิ่งขึ้นไปไม่ได้
(แต่ข้อนี้เอาเป็นประมาณมากไม่ได้
เพราะผู้ทรงพระไตรปิฎกที่ไม่ปฏิบัติแบบนี้
ก็มีอยู่เช่นกัน)
-------------------------------------------------------------
จะเห็นได้ว่า หลักฐาน, หลักการ, ข้อปฏิบัติ
ที่พระภิกษุผู้เคร่งครัดปฏิบัติสืบๆกันมา,
ผุ้ทรงพระไตรปิฎกจากประเทศต่างๆ
ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า...
เนยยะควรต้องทำฌานนำหน้าวิปัสสนาครับ
มีข้อสงสัย ข้อเห็นแย้งอื่นๆ เชิญสอบถาม
แสดงความเห็นได้เลยครับ, ผมจะเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วย.
ขอบคุณครับ.
ป.ล. ต้องทำฌานก่อน ไม่ได้แปลว่า ต้องได้อัปปนาก่อนทำวิปัสสนานะครับ
แต่แปลว่า ต้องทำฌานก่อน (จะถึงอัปปนาหรือไม่ก็ตาม)
แล้วค่อยทำวิปัสสนา (ในคาบเดียวกันนั่นแหละ)
คือ ต้องเน้นทำฌานให้มากนั่นเอง ครับ.