"เป็นไปตามกลไกตลาด" ของยางพารา

กระทู้สนทนา
ถ้าจะเรียงลำดับคำ จนแทบจะท่องจำกันได้ เพราะฟังกันจนชินหู
คำแรกที่สุดฮอตยอดฮิตเลย ก็ต้องเป็นคำว่า “ยังไม่ได้รับรายงาน”
เพราะไม่ว่าเรื่องอะไร ลุงแกก็ใช้คาถานี้ตล๊อด ๆ
ครั้นเมื่อใช้คาถานี้ไปซักระยะหนึ่ง ก็จะมีคาถาที่สองตามมา คือ” กำลังตั้งคณะกรรมการเพื่อพินา”
ก็พอจะทำให้หลุดรอดปลอดโปร่งไปได้อีกซักระยะหนึ่ง
และเมื่อคราวจำเป็น ก็จะต้องใช้คาถาบทต่อไป “อยู่ในขั้นตอนการพินาของคณะอนุกรรมการ”
เฮ่ยยยยยย....ราคายางมันตกต่ำสุดขีดจนนอนแช่อยู่ใต้ดินมาเป็นปีแล้ว
เพิ่งจะอยู่ในขั้นตอนการพินาของคณะอนุกรรมการหรือนี่
ยังไม่นับว่า จะต้องส่งต่อให้คณะกรรมการ กว่าคณะกรรมการจะพินา
คณะกรรมการส่งต่อให้ รมต ผู้รับผิดชอบ และกว่า รมต พินา
กว่า รมต จะนำเข้าที่ประชุม  และกว่าจะได้มติออกมาให้แถลงว่า “เป็นไปตามกลไกตลาด”
เฮ่ยยยยยย...ที่รอการพินากันมาตั้งนาน ลุงตอบสั้น ๆ แค่นี้เหรอ
แล้วไม่คิดจะแก้ไขอะไรเลยใช่มั๊ย “ปลูกจำปาดะสิพ่อคุณ”
ชาวสวนยางบางคนก็เริ่มมีความหวังขึ้นมาทันที เมื่อได้รับคำตอบนี้
หวังว่าถ้าครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าเมื่อไหร่ ก็จะได้เผาสวนยางทิ้งทันที

แต่ในขณะที่ความหวังอยู่ในระดับต่ำกว่าความริบหรี่นั้น
ก็พลันมีชายผู้หนึ่ง ชี้นิ้วขึ้นไปด้านบนแล้วบอกว่า ราคายางต้องสูงกว่า 30
ทันใดนั้น เจ้าของแนวทาง “ปลูกจำดะ”  และลูกกะโล่พร้อมใจกันนั่งส่ายหัว เหมือนเป็นไข้จับสั่น
แต่ไม่มีใครจับให้สั่น พวกเขาสั่นกันเอง ส่ายหน้าซ้ายขวา ๆ กันเป็นระวิง
พร้อมกับยิ้มน้อย ๆ ไปพร้อม ๆ กับความในใจอันแสนระรื่น “เป็นไปไม่ได้”
ซึ่งไม่ใช่เพลงของดิอิมพอสสิบ้อล แต่เป็นความในใจของคนเชื่องช้าและเหล่าลูกกะโล่
พร้อม ๆ กับอธิบายเหตุผลให้กับตัวเองเสร็จสรรพว่า” เป็นเพราะอะไร ทำไมถึงเป็นไปไม่ได้”
ก็เพราะว่า ”กลไกตลาด” มันถูกกำหนดให้เป็นเช่นนั้น “พวกผมทำไม่ได้ มีรึที่คุณจะทำได้”
การประเมินจากความคิดที่ห่วยสุด ว่าตนมีความคิดที่ดีสุดนั้น กำลังจะได้รับการพิสูจน์

“กลไกตลาด” ที่มีผลต่อราคายาง ในความคิดของพวกเขาที่เคยท่องจำมานั้น ก็มีไม่กี่อย่าง
1 ความต้องการของตลาด
2 การขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ยาง
3 เศรษฐกิจโลก
4 สต๊อคยาง
5 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
6 อื่น ๆ อีกนิดหน่อย

แต่สำหรับคนที่เอาใจใส่และเป็นห่วงประชาชน  เขาต้องคิดไปไกลกว่านั้น
เขาต้องคิดว่า สิ่งที่ชาวสวนยางใช้หยาดเหงื่อแลกมา มันต้องคุ้มค่ามากกว่านี้
กว่าจะปลูก กว่าจะดูแล มาจนถึงขั้นที่จะนำมาซึ่งรายได้เลี้ยงครอบครัว
แต่กลับจะต้องมาติดแหงกอยู่กับคำว่า “เป็นไปตามกลไกตลาด”
เขาจึงมีคำถามเกิดขึ้น เป็นคำถามง่าย ๆ ว่า “คำว่า ตลาด คือตลาดของใคร”
ถ้าเป็นตลาดที่ให้ราคาที่ยุติธรรมต่อชาวสวนยางของเรา
แล้วใช้คำว่า “เป็นไปตามกลไกตลาด” ถึงจะยอมรับกับคำ ๆ นี้ได้
หากแต่ “ตลาด” ไม่ตอบสนองความเป็นธรรมในด้านราคาแล้ว เขาคงยอมรับมันไม่ได้
และคำถามที่ว่า “ตลาดเป็นของใคร” ก็ได้รับคำตอบตามหลักเศรษฐศาสตร์

ซึ่งในขณะนั้นมีผู้ผลิตอยู่ 3 ประเทศใหญ่ ๆ คือ ไทย มาเล และอินโด
แต่ทั้ง 3 ประเทศกลับแข่งกันขาย จนตลาดกลายเป็น “ตลาดที่แข่งขันกันอย่างสมบูรณ์”
“ตลาดที่แข่งขันกันอย่างสมบูรณ์” คืออะไร พูดกันอย่างง่าย ๆ แบบภาษาชาวบ้าน ก็คือ “แย่งกันขาย” นั่นแหละ
เขาจึงต้อง "ทำตลาด" เสียใหม่ (ไม่ใช่ทำการตลาดนะ) โดยทำให้ “ตลาดยาง”
เป็น “ตลาดของผู้ขาย” หมายถึง ผู้ขายมีโอกาสที่จะกำหนดทิศทางราคามากกว่าสภาพตลาดที่เป็นอยู่เดิม

โดยเริ่มจากการเจรจากับผู้ขายเจ้าอื่น ๆ เพื่อหาราคาที่เป็นธรรมต่อชาวสวนยางของตนเอง
และหลังจากนั้น จึงปล่อยให้ “เป็นไปตามกลไกตลาด (ของผู้ขาย)” ราคาจึงขึ้นจากนั้นเรื่อยมา
จนกระทั่งลิ่วล้อของบางคน เอาไปตีกินว่าเป็นผลงานของนายเขา ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
นอกจากรักษาข้อตกลงเดิม และปล่อยให้ “เป็นไปตามกลไกตลาด (ของผู้ขาย)” เท่านั้นเอง

ปล.ยาวหน่อยนะคะ จริง ๆ แล้วอยากจะเขียนให้ละเอียดกว่านี้
แต่ความขี้เกียจมันคอยกระหน่ำอยู่ที่สันหลัง ก็เลยออกมาเท่าที่เห็นค่ะ
และขอฝากล่วงหน้าว่า ครั้งต่อไปอยากจะเขียนถึง “โอเวอร์ซัพพลายของยางพารา” ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่