ชาวสวนยางเรียกร้อง 5 ข้อ แก้ราคายางตกต่ำ จวก 'ฉัตรชัย-กยท.' ทำงานเหลว
https://www.matichon.co.th/news/717052
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ที่การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปยางพารา และผลิตภัณฑ์ยางจากสหกรณ์ต่างๆในสังกัดการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และวิสาหกิจชุมชน รวมกว่า 60 แห่งในจังหวัดตรัง รวมประมาณ100 คน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจโครงการ เพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงินในการนำไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และวิสาหกิจของตนเอง เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตแปรรูปยาง และผลิตภัณฑ์ยางให้ได้คุณภาพต่อสู้กับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ขณะนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ กยท.จัดตั้งบริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ขึ้นมาด้วยการดึงผู้ส่งออกยางรายใหญ่ 5 บริษัท ลงทุนถือหุ้นจัดตั้งบริษัทร่วมกับ กยท.ด้วยเงินลงทุนรายละ 200 ล้านบาท โดย กยท.ร่วมทุนด้วยจำนวนเงินเดียวกัน รวมเงินทั้งหมด 1,200 ล้านบาท
ที่ประชุมมีการถกการดำเนินงานของ กยท.ที่เป็นผู้กำกับดูแลบริษัทร่วมทุน ทำหน้าที่บริหารกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เข้าไปเปิดประมูลยางในตลาดกลางยางพาราของ กยท.ทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ แต่กลับบริหารงานล้มเหลวทั้ง การตั้งราคากลางสูงเกินความเป็นจริงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 3 – 4 บาท และยางที่ กยท.ประมูลได้แล้วจากตลาดกลาง แต่ 5 เสือบริษัทยางไม่รับซื้อยาง แต่กลับไปซื้อยางจากนอกตลาด ด้วยการตั้งราคาเอง กดดันราคาให้ต่ำลงทุกวัน บริษัทที่ร่วมทุนไม่ทำตามข้อตกลงที่จะต้องซื้อยางจากการประมูล ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นการทำลายระบบกลไกของตลาดกลางยางพาราไทย ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ผลประโยชน์ไปได้กับคนบางกลุ่ม
นาย
ประทบ สุขสนาน รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ กล่าวว่า เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ ได้มีข้อเสนอไปยังนาย
ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และพล.อ.
ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ในการแก้ปัญหาวิกฤติยางพาราตกต่ำ จำนวน 5 ข้อ คือ
1.ให้บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ชะลอการซื้อยางผ่านระบบตลาดกลาง และให้ดำเนินการรับมอบยางให้แก่ 5 บริษัทที่ร่วมทุนแล้วเสร็จทั้ง 4 ตลาด (สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และยะลา) ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ 30 ตุลาคม 2560 เนื่องจากว่าขณะนี้ยางที่ กยท.ในนามบริษัทร่วมทุนฯเข้าไปประมูลไว้ในตลาดกลาง แต่บริษัทยาง 5 เสือ ไม่รับซื้อต่อ เก็บไว้จนล้นโกดังตลาดกลาง ระบายออกไม่ได้มีมากกว่า 10,000 ตัน
“ 2.กรณีที่บริษัทร่วมทุนยางพารา จำกัด ประสงค์ซื้อยางผ่านระบบตลาดกลางต้องเข้าซื้อทุกตลาด โดยซื้อในราคาที่ไม่สูงหรือต่ำกว่าราคากลางเกินกว่า 2 บาทต่อกิโลกรัม เพราะที่ผ่านมาบริษัทร่วมทุนฯเข้าไปประมูลในบางตลาด และตั้งราคาสูงเกินจริง ทำให้ระบบกลไกราคาตลาดเสียหาย และบริษัท 5 เสือที่ร่วมทุนก็ไม่เอายางที่บริษัทร่วมทุนฯเข้าไปประมูล แต่กลับไปซื้อยางนอกระบบ และตั้งราคาต่ำหรือกดราคาจนตกต่ำ
3.ให้มีการกำหนดราคากลางที่สะท้อนความเป็นจริงตามกลไกของตลาด
4.ในกรณีที่มีการเสนอราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเกิน 2 บาท ให้หน่วยธุรกิจ การยางแห่งประเทศไทย เข้ารับซื้อในราคาชี้นำตลาดและเป็นไปตามกลไกลของตลาด
5. ให้ตลาดยางพารา การยางแห่งประเทศไทย ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยตลาดยางพาราการยางแห่งประเทศไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2560อย่างเคร่งครัด” นาย
ประทบ กล่าว
นาย
ประทบ กล่าวอีกว่า ปัญหาวิกฤติราคายางพาราขณะนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ กยท.จัดตั้งบริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ขึ้นมาด้วยการดึงผู้ส่งออกยางรายใหญ่ 5 บริษัท ลงทุนถือหุ้นจัดตั้งบริษัทร่วมกับ กยท.ด้วยเงินลงทุนรายละ 200 ล้านบาท โดย กยท.ร่วมทุนด้วยจำนวนเงินเดียวกัน รวมเงินทั้งหมด 1,200 ล้านบาท โดย กยท.เป็นผู้กำกับดูแลบริษัทร่วมทุนดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่บริหารกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เข้าไปเปิดประมูลยางในตลาดกลางยางพาราของ กยท.ทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ แต่กลับบริหารงานล้มเหลวทั้ง การตั้งราคากลางสูงเกินความเป็นจริงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 3 – 4 บาท และยางที่ กยท.ประมูลได้แล้วจากตลาดกลาง แต่ 5 เสือบริษัทยางไม่รับซื้อยาง แต่กลับไปซื้อยางจากนอกตลาด ด้วยการตั้งราคาเอง กดดันราคาให้ต่ำลงทุกวัน บริษัทที่ร่วมทุนไม่ทำตามข้อตกลงที่จะต้องซื้อยางจากการประมูล ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นการทำลายระบบกลไกของตลาดกลางยางพาราไทย ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ผลประโยชน์ไปได้กับคนบางกลุ่ม
“ดังนั้นเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางขอส่งมติในเบื้องต้น ไปยังผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทยรีบนำไปแก้ไข แต่หากยังทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับตลาดกลางยางพาราอีก ก็จะพิจารณาปัญหารายวัน เพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มชาวสวนยางที่ออกขับไล่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และบอร์ดบริหารการยางทั้งคณะต่อไป ทั้งนี้ เห็นด้วยที่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางออกขับเคลื่อนขับไล่ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ตำแหน่ง เพราะถือเป็นต้นเหตุของความล้มเหลว ซึ่งทางเครือข่ายสถาบันเกษตรกรก็จะยกระดับการเรียกร้องเช่นกัน หากตลาดกลางยังเกิดปัญหา”
นาย
ประทบ กล่าวและว่า ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้นำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่แปรรูปและพัฒนาผลผลิตยาง ที่จัดขึ้นที่จังหวัดกระบี่ในวันนี้ โดยมีนาย
ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เดินทางมาเปิดการประชุม ทางตัวแทนสถาบันเกษตรกรจะเข้าร่วมน้อยมาก เนื่องจากทุกคนไม่พอใจการบริหารงานที่ล้มเหลวของ กยท.
JJNY : ชาวสวนยางเรียกร้อง 5 ข้อ แก้ราคายางตกต่ำ / ชาวสวนยางเมืองคอนนัดรวมตัวบ่ายนี้ ล่ารายชื่อไล่บอร์ด
https://www.matichon.co.th/news/717052
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ที่การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปยางพารา และผลิตภัณฑ์ยางจากสหกรณ์ต่างๆในสังกัดการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และวิสาหกิจชุมชน รวมกว่า 60 แห่งในจังหวัดตรัง รวมประมาณ100 คน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจโครงการ เพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงินในการนำไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และวิสาหกิจของตนเอง เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตแปรรูปยาง และผลิตภัณฑ์ยางให้ได้คุณภาพต่อสู้กับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ขณะนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ กยท.จัดตั้งบริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ขึ้นมาด้วยการดึงผู้ส่งออกยางรายใหญ่ 5 บริษัท ลงทุนถือหุ้นจัดตั้งบริษัทร่วมกับ กยท.ด้วยเงินลงทุนรายละ 200 ล้านบาท โดย กยท.ร่วมทุนด้วยจำนวนเงินเดียวกัน รวมเงินทั้งหมด 1,200 ล้านบาท
ที่ประชุมมีการถกการดำเนินงานของ กยท.ที่เป็นผู้กำกับดูแลบริษัทร่วมทุน ทำหน้าที่บริหารกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เข้าไปเปิดประมูลยางในตลาดกลางยางพาราของ กยท.ทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ แต่กลับบริหารงานล้มเหลวทั้ง การตั้งราคากลางสูงเกินความเป็นจริงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 3 – 4 บาท และยางที่ กยท.ประมูลได้แล้วจากตลาดกลาง แต่ 5 เสือบริษัทยางไม่รับซื้อยาง แต่กลับไปซื้อยางจากนอกตลาด ด้วยการตั้งราคาเอง กดดันราคาให้ต่ำลงทุกวัน บริษัทที่ร่วมทุนไม่ทำตามข้อตกลงที่จะต้องซื้อยางจากการประมูล ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นการทำลายระบบกลไกของตลาดกลางยางพาราไทย ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ผลประโยชน์ไปได้กับคนบางกลุ่ม
นายประทบ สุขสนาน รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ กล่าวว่า เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ ได้มีข้อเสนอไปยังนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และพล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ในการแก้ปัญหาวิกฤติยางพาราตกต่ำ จำนวน 5 ข้อ คือ
1.ให้บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ชะลอการซื้อยางผ่านระบบตลาดกลาง และให้ดำเนินการรับมอบยางให้แก่ 5 บริษัทที่ร่วมทุนแล้วเสร็จทั้ง 4 ตลาด (สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และยะลา) ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ 30 ตุลาคม 2560 เนื่องจากว่าขณะนี้ยางที่ กยท.ในนามบริษัทร่วมทุนฯเข้าไปประมูลไว้ในตลาดกลาง แต่บริษัทยาง 5 เสือ ไม่รับซื้อต่อ เก็บไว้จนล้นโกดังตลาดกลาง ระบายออกไม่ได้มีมากกว่า 10,000 ตัน
“ 2.กรณีที่บริษัทร่วมทุนยางพารา จำกัด ประสงค์ซื้อยางผ่านระบบตลาดกลางต้องเข้าซื้อทุกตลาด โดยซื้อในราคาที่ไม่สูงหรือต่ำกว่าราคากลางเกินกว่า 2 บาทต่อกิโลกรัม เพราะที่ผ่านมาบริษัทร่วมทุนฯเข้าไปประมูลในบางตลาด และตั้งราคาสูงเกินจริง ทำให้ระบบกลไกราคาตลาดเสียหาย และบริษัท 5 เสือที่ร่วมทุนก็ไม่เอายางที่บริษัทร่วมทุนฯเข้าไปประมูล แต่กลับไปซื้อยางนอกระบบ และตั้งราคาต่ำหรือกดราคาจนตกต่ำ
3.ให้มีการกำหนดราคากลางที่สะท้อนความเป็นจริงตามกลไกของตลาด
4.ในกรณีที่มีการเสนอราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเกิน 2 บาท ให้หน่วยธุรกิจ การยางแห่งประเทศไทย เข้ารับซื้อในราคาชี้นำตลาดและเป็นไปตามกลไกลของตลาด
5. ให้ตลาดยางพารา การยางแห่งประเทศไทย ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยตลาดยางพาราการยางแห่งประเทศไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2560อย่างเคร่งครัด” นายประทบ กล่าว
นายประทบ กล่าวอีกว่า ปัญหาวิกฤติราคายางพาราขณะนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ กยท.จัดตั้งบริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ขึ้นมาด้วยการดึงผู้ส่งออกยางรายใหญ่ 5 บริษัท ลงทุนถือหุ้นจัดตั้งบริษัทร่วมกับ กยท.ด้วยเงินลงทุนรายละ 200 ล้านบาท โดย กยท.ร่วมทุนด้วยจำนวนเงินเดียวกัน รวมเงินทั้งหมด 1,200 ล้านบาท โดย กยท.เป็นผู้กำกับดูแลบริษัทร่วมทุนดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่บริหารกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เข้าไปเปิดประมูลยางในตลาดกลางยางพาราของ กยท.ทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ แต่กลับบริหารงานล้มเหลวทั้ง การตั้งราคากลางสูงเกินความเป็นจริงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 3 – 4 บาท และยางที่ กยท.ประมูลได้แล้วจากตลาดกลาง แต่ 5 เสือบริษัทยางไม่รับซื้อยาง แต่กลับไปซื้อยางจากนอกตลาด ด้วยการตั้งราคาเอง กดดันราคาให้ต่ำลงทุกวัน บริษัทที่ร่วมทุนไม่ทำตามข้อตกลงที่จะต้องซื้อยางจากการประมูล ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นการทำลายระบบกลไกของตลาดกลางยางพาราไทย ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ผลประโยชน์ไปได้กับคนบางกลุ่ม
“ดังนั้นเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางขอส่งมติในเบื้องต้น ไปยังผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทยรีบนำไปแก้ไข แต่หากยังทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับตลาดกลางยางพาราอีก ก็จะพิจารณาปัญหารายวัน เพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มชาวสวนยางที่ออกขับไล่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และบอร์ดบริหารการยางทั้งคณะต่อไป ทั้งนี้ เห็นด้วยที่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางออกขับเคลื่อนขับไล่ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ตำแหน่ง เพราะถือเป็นต้นเหตุของความล้มเหลว ซึ่งทางเครือข่ายสถาบันเกษตรกรก็จะยกระดับการเรียกร้องเช่นกัน หากตลาดกลางยังเกิดปัญหา”
นายประทบ กล่าวและว่า ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้นำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่แปรรูปและพัฒนาผลผลิตยาง ที่จัดขึ้นที่จังหวัดกระบี่ในวันนี้ โดยมีนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เดินทางมาเปิดการประชุม ทางตัวแทนสถาบันเกษตรกรจะเข้าร่วมน้อยมาก เนื่องจากทุกคนไม่พอใจการบริหารงานที่ล้มเหลวของ กยท.