ลักษณะงานของผม คือ เด็กคนที่มีปัญหา เป็นเด็กฝ่ายขนส่ง ต้องออกไปส่งสินค้านอกสถานที่
เช่น จากกรุงเทพไปส่งของที่อยุธยา แล้วกลับถึงโรงงานสองทุ่ม
ผมก็จ่ายค่าล่วงเวลาถึงสองทุ่ม แต่เป็น 1 แรง
บางครั้งก็กลับสามทุ่ม บางทีก็ค้างคืน บางทีก็กลับตีสาม แต่ผมก็จ่ายค่าล่วงเวลาให้ตลอด
บางครั้งไปนอนที่โกดังลูกค้า 2 วัน 2 คืน เป็นงานที่กำหนดเวลากลับไม่ได้เลยครับ
แต่ก็จ่ายค่าล่วงเวลาให้ตลอด
คราวนี้ เด็กคนนี้มีปัญหาจึงลาออกไป แล้วไปฟ้องแรงงานจังหวัดว่า ผมจ่ายแค่ 1 แรง
เค้าจะขอ 1.5 แรงครับ
ผมอ้างอิงจาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
หมวด 5 - เรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
มาตรา ๖๕ ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา ๖๑ และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา ๖๓ แต่ลูกจ้างซึ่งนายจ้างให้ทำงานตาม (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) หรือ (๙) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
(๑) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง
(๒) งานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก่ลูกจ้าง
(๓) งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่งได้แก่งานที่ทำบนขบวนรถและงานอำนวยความสะดวกแก่การเดินรถ
(๔) งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(๕) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(๖) งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ
(๗) งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้
(๘) งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง
(๙) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง
ผมตีความตามข้อ 7 - ไม่ทราบว่า ผมตีความผิดหรือถูกครับ
แรงงานจังหวัดก็เข้าข้างลูกจ้าง แต่ไม่มีกฎหมายมารับรองครับ
จึงขอคำปรึกษาผู้รู้ทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
ปรึกษาครับ ---- ลูกน้องฝ่ายขนส่ง ไปแจ้งที่แรงงานจังหวัด หาว่าผมจ่ายค่าล่วงเวลา OT แค่ 1 แรง
เช่น จากกรุงเทพไปส่งของที่อยุธยา แล้วกลับถึงโรงงานสองทุ่ม
ผมก็จ่ายค่าล่วงเวลาถึงสองทุ่ม แต่เป็น 1 แรง
บางครั้งก็กลับสามทุ่ม บางทีก็ค้างคืน บางทีก็กลับตีสาม แต่ผมก็จ่ายค่าล่วงเวลาให้ตลอด
บางครั้งไปนอนที่โกดังลูกค้า 2 วัน 2 คืน เป็นงานที่กำหนดเวลากลับไม่ได้เลยครับ
แต่ก็จ่ายค่าล่วงเวลาให้ตลอด
คราวนี้ เด็กคนนี้มีปัญหาจึงลาออกไป แล้วไปฟ้องแรงงานจังหวัดว่า ผมจ่ายแค่ 1 แรง
เค้าจะขอ 1.5 แรงครับ
ผมอ้างอิงจาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
หมวด 5 - เรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
มาตรา ๖๕ ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา ๖๑ และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา ๖๓ แต่ลูกจ้างซึ่งนายจ้างให้ทำงานตาม (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) หรือ (๙) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
(๑) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง
(๒) งานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก่ลูกจ้าง
(๓) งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่งได้แก่งานที่ทำบนขบวนรถและงานอำนวยความสะดวกแก่การเดินรถ
(๔) งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(๕) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(๖) งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ
(๗) งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้
(๘) งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง
(๙) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง
ผมตีความตามข้อ 7 - ไม่ทราบว่า ผมตีความผิดหรือถูกครับ
แรงงานจังหวัดก็เข้าข้างลูกจ้าง แต่ไม่มีกฎหมายมารับรองครับ
จึงขอคำปรึกษาผู้รู้ทุกท่านครับ ขอบคุณครับ