คุณเป็น "นักเล่นหุ้น" แบบไหน ?
1) นักลงทุนตามปัจจัยพื้นฐาน (Fundamentalist)
นักเล่นหุ้นแบบนี้ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทนั้นๆ หัดที่จะศึกษาการประเมินมูลค่าของหุ้นตัวนั้นๆด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะอ่านและตีความงบการเงินต่างๆ ถ้าอยากจะเป็นนักลงทุนประเภทนี้ส่วนมากจะมี turnover หรือการซื้อขายหลักทรัพย์ค่อนข้างต่ำ (บัฟเฟต์และกองทุนที่บริหารคล้ายๆกับแกจะถือหุ้นเฉลี่ย 3-5 ปี) อย่างไรก็ตามการถือหุ้นระยะยาวไม่ได้หมายถึงว่า "ซื้อแล้วลืม" นักลงทุนระยะยาวควรจะติดตามผลประกอบการอย่างใกล้ชิด คอยอ่านงบรายไตรมาสพร้อมทั้งติดตามข่าวสารและมองหาโอกาสในการลงทุนเป็นประจำ
2) นักลงทุนตามรอบของตลาด (Market Timer)
นักเล่นหุ้นจำพวกนี้จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจมหภาคต่างๆ (เช่นการเติบโตของ GDP, หนี้ของภาครัฐ การขาดทุนทางการค้า เป็นต้น) ปัจจัยต่างๆที่อาจจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นบ้านเราทั้งในแง่ของ Fund Flow, การไหลเวียนของเงินในสินทรัพย์ต่างๆ, การประเมินมูลค่าของตลาดบ้านเราเทียบกับที่อื่นๆ การจะจับรอบได้ต้องอาศัยความอดทนและความเป็นตัวของตัวเองสูง เนื่องจากเวลาที่ควรจะซื้อมักจะมีแต่ “ข่าวร้าย” แต่เวลาที่ควรจะขายมักจะมีแต่ “ข่าวดี” รอบๆหนึ่งอาจจะยาวประมาณ 3 - 12 เดือนแล้วแต่สถานการณ์ (แต่ไม่ควรจะสั้นกว่านี้เพราะอาจจะทำให้ปัจจัยอื่นๆมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยเศรษฐกิจ)
3) นักเก็งกำไรระยะสั้น (Speculator/Trader)
นักเล่นหุ้นประเภทนี้จะศึกษาการวิเคราะห์กราฟ ปัจจัยทางเทคนิค การจะเป็นนักเก็งกำไรที่ดีจะเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับตลาด ผมรู้สึกว่าควรจะทำเป็น “งานประจำ” เพราะถ้าเราทำเป็น “part-time” เราจะมองเห็นโอกาสที่น้อยกว่าในขณะที่รับความเสี่ยงที่มากกว่า โดยประสบการณ์ส่วนตัวของผมแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือห้ามเอา "การเก็งกำไร" กับ "การลงทุน" มาสับสนปนเปกันเด็ดขาด ไม่ฉะนั้นจะเกิดอาการ "หลอกตัวเอง" ขึ้นมาได้ นักเก็งกำไรที่ดีต้องรู้จักการจัดการทางการเงิน (Money Management) ซึ่งก็คือรู้จักที่จะทำการตัดขาดทุน (Cut loss) ในกรณีที่ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาด อีกทั้งควรจะต้องรู้จักการควบคุมความเสี่ยงในพอร์ตอีกด้วย (เช่นไม่ซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป)
และแบบสุดท้าย
4) แบบมวยวัด คือมีความเป็นนักสู้แต่ไม่มีครู ไม่มีแผน ใช้จิตวิทยาไล่ราคาล้วนๆ บางครั้งการเล่นแบบมวยวัด อาจจะได้กำไรแบบฟลุ๊คๆ ก็จะจินตนาการเอาเองว่าตัวเองเป็นเซียนและเก่งที่สุดในสามโลก เวลาได้ก็พอได้ แต่ส่วนใหญ่จะเสียหนักและคืนตลาดไปเกือบหมดไม่วันใดก็วันหนึ่งทั้งต้นและดอก
ผมแนะนำให้คุณเลือกให้ได้ก่อนว่าอยากจะเป็นนักลงทุนแบบไหนก่อนที่จะนำเงินที่หามาได้อย่างยากลำบากของเราไปลงทุน หลายคนออมเงินมาเป็นสิบปี แต่กลับต้องมาหมดเนื้อหมดตัวเป็นหนี้เป็นสินเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการ หลุมพรางเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้นะครับ ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้และทำการบ้านเพียงสักนิด
"นักเล่นหุ้น" 4 แบบ
1) นักลงทุนตามปัจจัยพื้นฐาน (Fundamentalist)
นักเล่นหุ้นแบบนี้ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทนั้นๆ หัดที่จะศึกษาการประเมินมูลค่าของหุ้นตัวนั้นๆด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะอ่านและตีความงบการเงินต่างๆ ถ้าอยากจะเป็นนักลงทุนประเภทนี้ส่วนมากจะมี turnover หรือการซื้อขายหลักทรัพย์ค่อนข้างต่ำ (บัฟเฟต์และกองทุนที่บริหารคล้ายๆกับแกจะถือหุ้นเฉลี่ย 3-5 ปี) อย่างไรก็ตามการถือหุ้นระยะยาวไม่ได้หมายถึงว่า "ซื้อแล้วลืม" นักลงทุนระยะยาวควรจะติดตามผลประกอบการอย่างใกล้ชิด คอยอ่านงบรายไตรมาสพร้อมทั้งติดตามข่าวสารและมองหาโอกาสในการลงทุนเป็นประจำ
2) นักลงทุนตามรอบของตลาด (Market Timer)
นักเล่นหุ้นจำพวกนี้จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจมหภาคต่างๆ (เช่นการเติบโตของ GDP, หนี้ของภาครัฐ การขาดทุนทางการค้า เป็นต้น) ปัจจัยต่างๆที่อาจจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นบ้านเราทั้งในแง่ของ Fund Flow, การไหลเวียนของเงินในสินทรัพย์ต่างๆ, การประเมินมูลค่าของตลาดบ้านเราเทียบกับที่อื่นๆ การจะจับรอบได้ต้องอาศัยความอดทนและความเป็นตัวของตัวเองสูง เนื่องจากเวลาที่ควรจะซื้อมักจะมีแต่ “ข่าวร้าย” แต่เวลาที่ควรจะขายมักจะมีแต่ “ข่าวดี” รอบๆหนึ่งอาจจะยาวประมาณ 3 - 12 เดือนแล้วแต่สถานการณ์ (แต่ไม่ควรจะสั้นกว่านี้เพราะอาจจะทำให้ปัจจัยอื่นๆมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยเศรษฐกิจ)
3) นักเก็งกำไรระยะสั้น (Speculator/Trader)
นักเล่นหุ้นประเภทนี้จะศึกษาการวิเคราะห์กราฟ ปัจจัยทางเทคนิค การจะเป็นนักเก็งกำไรที่ดีจะเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับตลาด ผมรู้สึกว่าควรจะทำเป็น “งานประจำ” เพราะถ้าเราทำเป็น “part-time” เราจะมองเห็นโอกาสที่น้อยกว่าในขณะที่รับความเสี่ยงที่มากกว่า โดยประสบการณ์ส่วนตัวของผมแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือห้ามเอา "การเก็งกำไร" กับ "การลงทุน" มาสับสนปนเปกันเด็ดขาด ไม่ฉะนั้นจะเกิดอาการ "หลอกตัวเอง" ขึ้นมาได้ นักเก็งกำไรที่ดีต้องรู้จักการจัดการทางการเงิน (Money Management) ซึ่งก็คือรู้จักที่จะทำการตัดขาดทุน (Cut loss) ในกรณีที่ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาด อีกทั้งควรจะต้องรู้จักการควบคุมความเสี่ยงในพอร์ตอีกด้วย (เช่นไม่ซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป)
และแบบสุดท้าย
4) แบบมวยวัด คือมีความเป็นนักสู้แต่ไม่มีครู ไม่มีแผน ใช้จิตวิทยาไล่ราคาล้วนๆ บางครั้งการเล่นแบบมวยวัด อาจจะได้กำไรแบบฟลุ๊คๆ ก็จะจินตนาการเอาเองว่าตัวเองเป็นเซียนและเก่งที่สุดในสามโลก เวลาได้ก็พอได้ แต่ส่วนใหญ่จะเสียหนักและคืนตลาดไปเกือบหมดไม่วันใดก็วันหนึ่งทั้งต้นและดอก
ผมแนะนำให้คุณเลือกให้ได้ก่อนว่าอยากจะเป็นนักลงทุนแบบไหนก่อนที่จะนำเงินที่หามาได้อย่างยากลำบากของเราไปลงทุน หลายคนออมเงินมาเป็นสิบปี แต่กลับต้องมาหมดเนื้อหมดตัวเป็นหนี้เป็นสินเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการ หลุมพรางเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้นะครับ ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้และทำการบ้านเพียงสักนิด