การกินเนื้อวัว?
ที่มาข้อความ
http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=985.msg9674#msg9674
เรื่องการจะกินหรือไม่กินบรรดาเนื้อๆทั้งหลายนี่นะ มันเป็นเรื่องส่วนบุคคลน่ะ
คือว่า บางคนนี้เขากินเนื้อเข้าไปแล้ว ก็อาจจะไม่ถูกกับร่างกายเขา อาจจะทำให้ร่างกายเขาเกิดความไม่สะดวกสบาย
หรือ บางคนเมื่อกินเนื้อเข้าไปแล้วอาจจะแสลงโรคใดโรคหนึ่งที่กำลังเป็นอยู่ให้กำเริบหนักขึ้นมากก็ได้
พระพุทธเจ้าท่านก็สอนแบบนี้ ท่านให้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะพิจารณากันเองเพื่อความเหมาะสมของแต่ละคนๆไป
เรื่องการกินเนื้อนี้ในศาสนาพุทธ ไม่มีการบังคับ - ไม่มีข้อห้ามกฏเกณฑ์ใดทั้งนั้นแหละนะ
เมื่อใครกินเนื้อได้ก็กินเข้าไป เมื่อใครกินเนื้อไม่ได้ก็อย่าไปกินมัน
ก็แค่นี้แหละ ง่ายๆนะ แต่ว่าถูกต้องตามธรรมอย่างที่สุดแหละ
แต่อาตมาก็เคยเห็นคัมภีร์บางคัมภีร์ที่อ้างว่า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้กินเนื้อ ซึ่งก็อ้างเหตุผลมาสารพัดนั่นแหละ
แต่เมื่อตรวจสอบดูให้ดีแล้ว ก็พบว่าคัมภีร์ที่นำมาอ้างอิงนั้น เชื่อถือไม่ได้เลย เพราะเป็นคัมภีร์ที่แต่งกันขึ้นมาใหม่
คำสอนเรื่องไม่ให้กินเนื้ออย่างที่ว่ามานั้น เมื่อตรวจสอบดูก็ไม่มีปรากฏในคัมภีร์ของเถรวาททั้งหมด
และคัมภีร์ของเถรวาทนี้ก็เป็นที่ยอมรับของนักการศาสนาทั่วโลกว่า เป็นคัมภีร์ที่ถูกต้องของพุทธศาสนาอย่างที่สุดแล้ว
ในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายๆที่บอกกล่าวคำสอนของพุทธศาสนาที่มีอยู่ในโลกนี้
โดยเฉพาะพระไตรปิฎกชุดที่ใช้อ้างอิงอยู่ที่เว็บสามแยกนี้ ไม่มีเลย ไม่ปรากฏเลย ไม่เห็นวี่แววซักน้อยหนึ่งเลย
เพราะพระพุทธเจ้าเองก็ ทรงฉันเนื้อที่สมควรเหมือนกัน
อย่างเนื้อวัวนี้ฉันได้เลย สบายมากๆเลย - ไม่มีปัญหาอะไรเลย
และนี้ีก็เป็นเรื่องราวของพุทธศาสนาสายเถรวาท
แต่ถ้าใครจะไปถือนิกายอื่น หรือจะถือความเห็นอื่นใดเพิ่มเติมเข้าไปอีก ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลอีกแหละ
คงไปก้าวก่ายไม่ได้หรอก เดี๋ยวมันจะขัดใจกัน แต่ถ่ามาถามอาตมาก็ต้องตอบตามนี้แหละ
ใครกินเนื้อได้ก็กินเข้าไป ใครกินเนื้อไม่ได้ก็อย่าไปกินมัน ไม่มีการบังคับใดๆทั้งนั้น
และเจ้าแ่ม่กวนอิมนี้
ก็ไม่มีตัวตนหรือชื่อเสียงเรียงนาม ว่าปรากฏมีเรื่องราวในพุทธศาสนาสายเถรวาทแต่ประการใดๆทั้งหมดทั้งสิ้นนะ
ทีนี้มีเรื่องราวในพระสูตรมาให้พิจารณาตามเหตุ - ผลที่เป็นจริงของธรรมชาติกัน
ในเรื่องของการกินเนื้อหรือไม่กินเนื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้กินเนื้อหรือไม่กินเนื้อนี้
มีความบริสุทธผุดผ่องต่างกันมากน้อยหรือไม่ ? อย่างไร ?
เรื่องราวก็มีอยู่ว่า มีดาบสตนหนึ่งแกไม่ยอมกินเนื้อของสัตว์ใดๆเลย เพราะแกจะถือว่าถ้าบุคคลใดกินเนื้อของสัตว์ใดๆ
บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่เลวทราม - เป็นบุคคลที่มีกิเลสหนาตัณหาหยาบ
แกมีความเห็นเช่นนี้และแกก็เข้าใจของแกว่าอย่างนี้
พอแกทราบข่าวว่ามีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว แกก็อยากจะเห็น - อยากจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
แต่แกก็สงสัยอยู่ว่าพระพุทธเจ้าที่เขาว่าประเสริฐสุดๆ - สูงสุด - ยอดเยี่ยมสุด ในดินแดนโลกธาตุทั้งหลายนั้น
และไม่มีผู้เสมอเหมือนหรือไม่มีผู้ใดเปรียบเทียบได้นั้นน่ะ กินเนื้อหรือเปล่า ?
เมื่อดาบสตนนั้นแกมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว และแกก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อในเวลาจังหันเช้า
แกก็ตำหนิพระพุทธเจ้าใหญ่เลย หาว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนเหลาะแหละ - เป็นคนโกหก - เป็นคนมีกลิ่นดิบ
แกก็ตำหนิไปตามเรื่องที่แกเข้าใจนั่นแหละนะ เมื่อแกตำหนิเสร็จ
พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมที่แท้จริง - แสดงธรรมที่ถูกต้องให้แกฟัง ในเรื่องของการกินเนื้อหรือไม่กินเนื้อนั้น
ว่าเรื่องราวที่ถูกต้องตามธรรมนั้นมันเป็นอย่างไรกันแน่
เรื่องราวตัวอย่างนี้ก็อยู่ที่เล่ม 47 หน้า 80 เป็นต้นไปนะ
ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถาความว่า
...ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้อื่นทำสำเร็จดีแล้ว
ตบแต่งไว้ถวายอย่างประณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.
แต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อมไม่ควรแก่เรา
แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลีกับเนื้อนก ที่บุคคลปรุงดีแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะพระองค์ว่า
กลิ่นดิบของพระองค์มีประการอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
…ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปนด้วยของไม่สะอาด
มีความเห็นว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร
ไม่มีความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และ ไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็นคนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา ความยกตน
ความถือตัว ความดูหมิ่น และ ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประพฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้
พูดเสียดสี พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทรามกระทำกรรมหยาบช้า
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการเบียดเบียน
ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย…
การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็นคนประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น การเกล้าชฎา
ความเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ การบำเรอไฟ
หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไปด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การย่างกิเลสเป็นอันมากในโลก
มนต์และการเซ่นสรวง ยัญและการซ่องเสพฤดู
ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัย ให้หมดจดได้
ส่วนผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหกเหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์แล้ว ตั้งอยู่ในธรรม
ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อนโยน ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้
ละทุกข์ได้ทั้งหมด ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรม ที่เห็นแล้วและฟังแล้ว.
(กลิ่นดิบในที่นี้ คือ กิเลสและบาปอกุศลทั้งปวงนะ)
พระอรรถกถาจารย์อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมความว่า
...สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งมีกิเลสอันบังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่าใด
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งกว่ากลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น
แม้ร่างที่ตายแล้วของคนที่หมดกิเลสทั้งหลาย ก็ยังไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็น
เพราะฉะนั้น กลิ่นนี้ (คือการฆ่าสัตว์เป็นต้น ) จึงเป็นกลิ่นดิบ
ส่วนเนื้อและโภชนะที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน)
จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้ เพราะฉะนั้น เนื้อและโภชนะจึงไม่ใช่กลิ่นดิบเลย…
...ในบาทพระคาถานั้น คาถาว่า เย อิธ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา ความว่า
ปุถุชนจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่สำรวมในกาม เพราะทำลายความสำรวมเสียแล้วในกามทั้งหลาย
กล่าวคือการเสพกาม โดยการเว้นเขตแดนในชนทั้งหลายมีมารดาและน้าสาวเป็นต้น.
สองบทว่า รเสสุ คิทฺธา ความว่า เกิดแล้ว คือเยื่อใยแล้ว สยบแล้ว คือได้ประสบแล้ว
ในรสทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณ เป็นผู้มีปกติเห็นว่าไม่มีโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
แล้วบริโภครสทั้งหลายอยู่.
บทว่า อสุจีกมิสฺสิตา ความว่า คลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาดกล่าวคือมิจฉาทิฏฐิมีประการต่าง ๆ
เพื่อประโยชน์แก่การได้รส เพราะความติดในรสนั้น.
บทว่า นติถีกทิฏฐิ ความว่า ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง
เช่น มิจฉาทิฏฐิข้อที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล เป็นต้น
บทว่า วิสมา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่สม่ำเสมอ.
บทว่า ทุรนฺนยา ความว่า เป็นผู้อันบุคคลอื่นแนะนำได้โดยยาก
ได้แก่ ผู้ที่ประกอบด้วยการไม่สละคืนการยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ผิดๆ.
คำว่า น หิ มํสโภชนํ ความว่า ก็เนื้อและโภชนะหาใช่กลิ่นดิบไม่….
....พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยปรมัตถ์
และทรงประกาศความที่กลิ่นดิบเป็นทางแห่งทุคติอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ ดาบสมีความสำคัญในปลาเนื้อและโภชนะใดว่าเป็นกลิ่นดิบ และมีความสำคัญว่าเป็นทางแห่งทุคติ
เป็นผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยการไม่บริโภคปลาและเนื้อนั้น จึงไม่ยอมบริโภคโภชนะ คือปลาและเนื้อนั้น
เมื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่เนื้อและโภชนะนั้นและโภชนะอื่นๆ เห็นปานนั้น ไม่สามารถจะชำระตนให้บริสุทธิ์ได้...
...การไม่กินปลาและเนื้อ ก็มิได้ทำสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ได้
การบวงสรวง การบูชายัญ และการซ่องเสพฤดู ก็หาได้ยังสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ได้
ก็ในข้อนี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
คำว่า น มจฺฉมํสํ ได้แก่ การไม่บริโภคปลาและเนื้อ ก็ไม่อาจจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้เหมือนกัน....
…บาทพระคาถาว่า น โสเธติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ ได้แก่
ย่อมไม่ทำสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ ด้วยความบริสุทธิ์จากกิเลสหรือด้วยความบริสุทธิ์จากภพ
เพราะเมื่อยังมีมลทิน คือความสงสัย สัตว์ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้
และตัวท่านเอง (คือ ดาบสนั้น) ก็ชื่อว่า ยังมีความสงสัยอยู่นั่นเอง…
พระสูตรนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ใดมีความเห็นว่า การไม่กินเนื้อแล้วจะได้บุญหรือมีความบริสุทธิ์ใดๆก็ตาม
นั่นก็พึงรู้ไว้สำหรับชาวพุทธเราว่า "นี้เป็นความเห็นผิด นี้เป็นมลทิน นี้เป็นสนิมของใจอย่างยิ่ง"
ใครอยากอ่านแบบเต็มสูตรก็ไปอ่านฉบับเต็มๆในพระไตรปิฎกได้เองเลย
พระสูตรนี้มีประโยชน์มากๆสำหรับผู้ที่ยังสงสัยว่า กินเนื้อหรือไม่กินเนื้อ อย่างไหนดีกว่ากัน ?
การกินเนื้อวัว?
ที่มาข้อความ
http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=985.msg9674#msg9674
เรื่องการจะกินหรือไม่กินบรรดาเนื้อๆทั้งหลายนี่นะ มันเป็นเรื่องส่วนบุคคลน่ะ
คือว่า บางคนนี้เขากินเนื้อเข้าไปแล้ว ก็อาจจะไม่ถูกกับร่างกายเขา อาจจะทำให้ร่างกายเขาเกิดความไม่สะดวกสบาย
หรือ บางคนเมื่อกินเนื้อเข้าไปแล้วอาจจะแสลงโรคใดโรคหนึ่งที่กำลังเป็นอยู่ให้กำเริบหนักขึ้นมากก็ได้
พระพุทธเจ้าท่านก็สอนแบบนี้ ท่านให้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะพิจารณากันเองเพื่อความเหมาะสมของแต่ละคนๆไป
เรื่องการกินเนื้อนี้ในศาสนาพุทธ ไม่มีการบังคับ - ไม่มีข้อห้ามกฏเกณฑ์ใดทั้งนั้นแหละนะ
เมื่อใครกินเนื้อได้ก็กินเข้าไป เมื่อใครกินเนื้อไม่ได้ก็อย่าไปกินมัน
ก็แค่นี้แหละ ง่ายๆนะ แต่ว่าถูกต้องตามธรรมอย่างที่สุดแหละ
แต่อาตมาก็เคยเห็นคัมภีร์บางคัมภีร์ที่อ้างว่า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้กินเนื้อ ซึ่งก็อ้างเหตุผลมาสารพัดนั่นแหละ
แต่เมื่อตรวจสอบดูให้ดีแล้ว ก็พบว่าคัมภีร์ที่นำมาอ้างอิงนั้น เชื่อถือไม่ได้เลย เพราะเป็นคัมภีร์ที่แต่งกันขึ้นมาใหม่
คำสอนเรื่องไม่ให้กินเนื้ออย่างที่ว่ามานั้น เมื่อตรวจสอบดูก็ไม่มีปรากฏในคัมภีร์ของเถรวาททั้งหมด
และคัมภีร์ของเถรวาทนี้ก็เป็นที่ยอมรับของนักการศาสนาทั่วโลกว่า เป็นคัมภีร์ที่ถูกต้องของพุทธศาสนาอย่างที่สุดแล้ว
ในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายๆที่บอกกล่าวคำสอนของพุทธศาสนาที่มีอยู่ในโลกนี้
โดยเฉพาะพระไตรปิฎกชุดที่ใช้อ้างอิงอยู่ที่เว็บสามแยกนี้ ไม่มีเลย ไม่ปรากฏเลย ไม่เห็นวี่แววซักน้อยหนึ่งเลย
เพราะพระพุทธเจ้าเองก็ ทรงฉันเนื้อที่สมควรเหมือนกัน
อย่างเนื้อวัวนี้ฉันได้เลย สบายมากๆเลย - ไม่มีปัญหาอะไรเลย
และนี้ีก็เป็นเรื่องราวของพุทธศาสนาสายเถรวาท
แต่ถ้าใครจะไปถือนิกายอื่น หรือจะถือความเห็นอื่นใดเพิ่มเติมเข้าไปอีก ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลอีกแหละ
คงไปก้าวก่ายไม่ได้หรอก เดี๋ยวมันจะขัดใจกัน แต่ถ่ามาถามอาตมาก็ต้องตอบตามนี้แหละ
ใครกินเนื้อได้ก็กินเข้าไป ใครกินเนื้อไม่ได้ก็อย่าไปกินมัน ไม่มีการบังคับใดๆทั้งนั้น
และเจ้าแ่ม่กวนอิมนี้
ก็ไม่มีตัวตนหรือชื่อเสียงเรียงนาม ว่าปรากฏมีเรื่องราวในพุทธศาสนาสายเถรวาทแต่ประการใดๆทั้งหมดทั้งสิ้นนะ
ทีนี้มีเรื่องราวในพระสูตรมาให้พิจารณาตามเหตุ - ผลที่เป็นจริงของธรรมชาติกัน
ในเรื่องของการกินเนื้อหรือไม่กินเนื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้กินเนื้อหรือไม่กินเนื้อนี้
มีความบริสุทธผุดผ่องต่างกันมากน้อยหรือไม่ ? อย่างไร ?
เรื่องราวก็มีอยู่ว่า มีดาบสตนหนึ่งแกไม่ยอมกินเนื้อของสัตว์ใดๆเลย เพราะแกจะถือว่าถ้าบุคคลใดกินเนื้อของสัตว์ใดๆ
บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่เลวทราม - เป็นบุคคลที่มีกิเลสหนาตัณหาหยาบ
แกมีความเห็นเช่นนี้และแกก็เข้าใจของแกว่าอย่างนี้
พอแกทราบข่าวว่ามีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว แกก็อยากจะเห็น - อยากจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
แต่แกก็สงสัยอยู่ว่าพระพุทธเจ้าที่เขาว่าประเสริฐสุดๆ - สูงสุด - ยอดเยี่ยมสุด ในดินแดนโลกธาตุทั้งหลายนั้น
และไม่มีผู้เสมอเหมือนหรือไม่มีผู้ใดเปรียบเทียบได้นั้นน่ะ กินเนื้อหรือเปล่า ?
เมื่อดาบสตนนั้นแกมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว และแกก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อในเวลาจังหันเช้า
แกก็ตำหนิพระพุทธเจ้าใหญ่เลย หาว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนเหลาะแหละ - เป็นคนโกหก - เป็นคนมีกลิ่นดิบ
แกก็ตำหนิไปตามเรื่องที่แกเข้าใจนั่นแหละนะ เมื่อแกตำหนิเสร็จ
พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมที่แท้จริง - แสดงธรรมที่ถูกต้องให้แกฟัง ในเรื่องของการกินเนื้อหรือไม่กินเนื้อนั้น
ว่าเรื่องราวที่ถูกต้องตามธรรมนั้นมันเป็นอย่างไรกันแน่
เรื่องราวตัวอย่างนี้ก็อยู่ที่เล่ม 47 หน้า 80 เป็นต้นไปนะ
ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถาความว่า
...ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้อื่นทำสำเร็จดีแล้ว
ตบแต่งไว้ถวายอย่างประณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.
แต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อมไม่ควรแก่เรา
แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลีกับเนื้อนก ที่บุคคลปรุงดีแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะพระองค์ว่า
กลิ่นดิบของพระองค์มีประการอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
…ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปนด้วยของไม่สะอาด
มีความเห็นว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร
ไม่มีความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และ ไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็นคนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา ความยกตน
ความถือตัว ความดูหมิ่น และ ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประพฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้
พูดเสียดสี พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทรามกระทำกรรมหยาบช้า
นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการเบียดเบียน
ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย…
การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็นคนประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น การเกล้าชฎา
ความเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ การบำเรอไฟ
หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไปด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การย่างกิเลสเป็นอันมากในโลก
มนต์และการเซ่นสรวง ยัญและการซ่องเสพฤดู
ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัย ให้หมดจดได้
ส่วนผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหกเหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์แล้ว ตั้งอยู่ในธรรม
ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อนโยน ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้
ละทุกข์ได้ทั้งหมด ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรม ที่เห็นแล้วและฟังแล้ว.
(กลิ่นดิบในที่นี้ คือ กิเลสและบาปอกุศลทั้งปวงนะ)
พระอรรถกถาจารย์อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมความว่า
...สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งมีกิเลสอันบังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่าใด
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งกว่ากลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น
แม้ร่างที่ตายแล้วของคนที่หมดกิเลสทั้งหลาย ก็ยังไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็น
เพราะฉะนั้น กลิ่นนี้ (คือการฆ่าสัตว์เป็นต้น ) จึงเป็นกลิ่นดิบ
ส่วนเนื้อและโภชนะที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน)
จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้ เพราะฉะนั้น เนื้อและโภชนะจึงไม่ใช่กลิ่นดิบเลย…
...ในบาทพระคาถานั้น คาถาว่า เย อิธ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา ความว่า
ปุถุชนจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่สำรวมในกาม เพราะทำลายความสำรวมเสียแล้วในกามทั้งหลาย
กล่าวคือการเสพกาม โดยการเว้นเขตแดนในชนทั้งหลายมีมารดาและน้าสาวเป็นต้น.
สองบทว่า รเสสุ คิทฺธา ความว่า เกิดแล้ว คือเยื่อใยแล้ว สยบแล้ว คือได้ประสบแล้ว
ในรสทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณ เป็นผู้มีปกติเห็นว่าไม่มีโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
แล้วบริโภครสทั้งหลายอยู่.
บทว่า อสุจีกมิสฺสิตา ความว่า คลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาดกล่าวคือมิจฉาทิฏฐิมีประการต่าง ๆ
เพื่อประโยชน์แก่การได้รส เพราะความติดในรสนั้น.
บทว่า นติถีกทิฏฐิ ความว่า ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง
เช่น มิจฉาทิฏฐิข้อที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล เป็นต้น
บทว่า วิสมา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่สม่ำเสมอ.
บทว่า ทุรนฺนยา ความว่า เป็นผู้อันบุคคลอื่นแนะนำได้โดยยาก
ได้แก่ ผู้ที่ประกอบด้วยการไม่สละคืนการยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ผิดๆ.
คำว่า น หิ มํสโภชนํ ความว่า ก็เนื้อและโภชนะหาใช่กลิ่นดิบไม่….
....พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยปรมัตถ์
และทรงประกาศความที่กลิ่นดิบเป็นทางแห่งทุคติอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ ดาบสมีความสำคัญในปลาเนื้อและโภชนะใดว่าเป็นกลิ่นดิบ และมีความสำคัญว่าเป็นทางแห่งทุคติ
เป็นผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยการไม่บริโภคปลาและเนื้อนั้น จึงไม่ยอมบริโภคโภชนะ คือปลาและเนื้อนั้น
เมื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่เนื้อและโภชนะนั้นและโภชนะอื่นๆ เห็นปานนั้น ไม่สามารถจะชำระตนให้บริสุทธิ์ได้...
...การไม่กินปลาและเนื้อ ก็มิได้ทำสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ได้
การบวงสรวง การบูชายัญ และการซ่องเสพฤดู ก็หาได้ยังสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ได้
ก็ในข้อนี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
คำว่า น มจฺฉมํสํ ได้แก่ การไม่บริโภคปลาและเนื้อ ก็ไม่อาจจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้เหมือนกัน....
…บาทพระคาถาว่า น โสเธติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ ได้แก่
ย่อมไม่ทำสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ ด้วยความบริสุทธิ์จากกิเลสหรือด้วยความบริสุทธิ์จากภพ
เพราะเมื่อยังมีมลทิน คือความสงสัย สัตว์ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้
และตัวท่านเอง (คือ ดาบสนั้น) ก็ชื่อว่า ยังมีความสงสัยอยู่นั่นเอง…
พระสูตรนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ใดมีความเห็นว่า การไม่กินเนื้อแล้วจะได้บุญหรือมีความบริสุทธิ์ใดๆก็ตาม
นั่นก็พึงรู้ไว้สำหรับชาวพุทธเราว่า "นี้เป็นความเห็นผิด นี้เป็นมลทิน นี้เป็นสนิมของใจอย่างยิ่ง"
ใครอยากอ่านแบบเต็มสูตรก็ไปอ่านฉบับเต็มๆในพระไตรปิฎกได้เองเลย
พระสูตรนี้มีประโยชน์มากๆสำหรับผู้ที่ยังสงสัยว่า กินเนื้อหรือไม่กินเนื้อ อย่างไหนดีกว่ากัน ?