พระพุทธเจ้าทานเจ?

กระทู้สนทนา
พระพุทธเจ้าทานเจ?


ตั้งชื่อกระทู้เรียกให้คนมาอ่านเยอะๆ เฉยๆ ยิ้ม
และเพื่อสงเคราะห์สัตว์ต่างๆ รวมทั้งเป็นช่วงเทศกาลเจ เห็นว่าเข้ากัน
ยิ้ม

ในการทานอาหาร พระพุทธเจ้าท่านได้ให้พิจารณาอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหรือไม่ผัก ว่าเป็นการกินเพื่อดำรงชีวิตเท่านั้น อาการกินก็ประมาณว่าให้นึกว่าเหมือนคนที่จำเป็นต้อง กินเนื้อจากศพลูกของตนที่ตายกลางทะเลทรายเพื่อดำรงชีวิต ดังนั้น การกินของพระไม่ว่าจะเป็นเนื้อหรือผัก ก็เป็นบุญไม่มีบาปหากได้พิจารณาก่อนทาน

อีกอย่างการที่ท่านไม่ระบุว่าห้ามกินเนื้อนั้น ก็เพื่อให้พระภิกษุเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่ทำความลำบากแก่อุบาสก อุบาสิกาในการทำบุญ

อย่างไรก็ตามมีคนไปโจษว่าพระพุทธเจ้าทานเนื้อ ท่านจึงได้บัญญัติวินัยไว้ ดังนี้


....พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อที่ทำเฉพาะ
             ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิด นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะรูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลา เนื้อ ที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น
ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1924&Z=2126

แต่พระพุทธเจ้าและพระที่ได้อภิญญา
จะทราบได้ง่ายๆ ว่าเนื้อใดมีคนเจาะจงฆ่าเพื่อถวายพระโดยเฉพาะหรือไม่

1. จากนี้พระพุทธเจ้าและพระที่ได้อภิญญาน่าเลือกทานเนื้อเป็นส่วนน้อยตามพระวินัยที่ท่านได้กำหนดขึ้นมา รวมทั้งอุบาสก อุบาสิกาเมื่อทราบเงื่อนไขนี้ก็คงจะ ถวายอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์น้อยลงไปด้วย  ยิ้ม

2. อุบาสก อุบาสิกา หากต้องการให้พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านได้ฉันอาหารที่เราถวายด้วยความสะดวกใจ ก็ควรจะเลือกอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ให้น้อยที่สุดนะครับ  ยิ้ม



-----------------------------------------------------------------
หมายเหตุ 1: เพิ่มเติมข้อมูลประกอบ ในวันพระที่ 28พย.2557
....
[๖๐] ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาป
มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์
ชื่อโน้นมา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้ สัตว์นั้น
เมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย
เหตุประการที่ ๒ นี้ ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่
บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้ สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส ชื่อว่า
ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้ ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวก
ตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ
ประการที่ ๕ นี้ ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาป
มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.
             [๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอันไม่มีโทษหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป
ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ดังนี้แล.
จบ ชีวกสูตร ที่ ๕.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๙๕๐ - ๑๐๔๓.  หน้าที่  ๔๒ - ๔๕

-----------------------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น สมมุติฐานที่ว่า "สูกรมัทวะ" คือเนื้อหมู น่าจะลดน้ำหนักลงไปมาก เพราะนายจุนทะผู้ปรุงอาหารมื้อสุดท้าย
ก็คงกลัวบาปเหมือนกันส่วนตัวผมว่าเป็นเห็ดทรัฟเฟิล (Truffle) (เห็ดที่หมูชอบกิน->เห็ดหมู) ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นพิษและชนิดกินได้
ถ้าผู้เก็บไม่มีความเชี่ยวชาญจริงๆ ก็ไม่รู้ ทำให้เกิดปัญหาอาหารเป็นพิษได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่